เพราะเหตุใดพระยาตากพร้อมพรรคพวกจึงตัดสินใจ

      เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถปราบปรามชุมนุมต่างๆได้สำเร็จ ก็มีความหมายเท่ากับการรวบรวมแผ่นดินของอยุธยาที่เคยมีทั้งหมดกลับคืนมาได้ใหม่อีกครั้ง และทำให้คนไทยกลับมารวมตัวกันได้ดังเดิมด้วย ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา อาณาจักรกรุงธนบุรี จึงกลายเป็นศูนย์กลางของประเทศแห่งใหม่ ที่มีขอบเขตที่แน่ชัดมากขึ้น มีความมั่นคง เข้มแข็ง และเป็นเอกภาพทางการเมือง

พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง นับตั้งแต่ได้ถอนตัวออกจากการป้องกันพระนครนั้น ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ก็สามารถยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่เหนือกว่าชุมนุมอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและคนทั่วไปพลจำนวนมาก พระยาตากได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล และได้ประกาศแสดงแสนยานุภาพ แล้วเกิดพายุหมุนจนทำให้ต้นตาลต้นหนึ่งหมุนเป็นเกลียว เมื่อพายุหมุนหยุดแล้ว ต้นตาลที่หมุนจึงขดเป็นวงไม่คลายตัว ปัจจุบันต้นตาลต้นนั้นยังอยู่หน้าวัดประดู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า ตาลขด หลังจากนั้น บรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ ต่างพร้อมใจกันยกพระยาตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น

อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า มีพระบรมราชโองการให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม

ที่ผ่านมา เวลาเราอธิบายถึงการที่พระเจ้าตากตีฝ่าวงล้อมออกจากกรุงศรีอยุธยา เรามักอธิบายเพียงว่า เพื่อมุ่งไปยังเมืองจันทบุรี ไปจัดเตรียมกำลังเพื่อกลับมากอบกู้อยุธยา แต่เราไม่เคยตั้งคำถามว่า ทำไมพระเจ้าตากจึงพากองทัพและครอบครัวพลเรือนของพระองค์ตีฝ่าวงล้อมออกจากกรุงศรีอยุธยา และทำไมต้องตีฝ่าออกไปในค่ำคืนวันนั้น

Advertisment

วันที่พระเจ้าตากตีฝ่าวงล้อม ระบุไว้ใน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) (ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 ภาค 65-66), (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2528), หน้า 1-2.

เวลาเที่ยง วันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ ศักราช 1128 พุทธศักราช 2309 (วันที่ 3 มกราคม 2309) ฝนตกห่าใหญ่ เป็นชัยมงคลฤกษ์

พระยาตากพาพรรคพวกทหารไทยจีน ราวๆ 500 คน ฝ่าสายฝน ออกจากค่ายวัดพิชัย มุ่งหน้าตะวันออก พร้อมด้วยเหล่าทหารไทยจีน มีนายทหารคนสำคัญคือ พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา เป็นต้น

มีคำถามเสมอว่า เหตุใดพระเจ้าตากจึงตัดสินใจมุ่งหน้า “หนี” มาทางตะวันออก เหตุผลตรงไปตรงมาที่สุดคือฝากตะวันออกของกรุงศรีอยุธยามีกองกำลังของพม่าน้อยที่สุด ส่วนทางเหนือ ใต้ และตะวันตก เต็มไปด้วยกองทัพขนาดใหญ่ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสิ้น

นอกจากนี้การ “หนี” ได้ถึงชายทะเล หากเกิดเหตุคับขันประการใด ยังสามารถมุ่งหน้าออกทะเลได้ หรืออย่างน้อยก็ยังสามารถเข้าไปพึ่งพิงกรุงกัมพูชา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพันธมิตรกันอยู่ หนึ่งในพรรคพวกที่หนีมาพร้อมกันยังมี นักองค์ราม ซึ่งลี้ภัยการเมืองมาอยู่กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่น่าจะพอรู้ทางหนีทีไล่ด้านตะวันตกเป็นอย่างดี

ส่วนข้อสันนิษฐานว่า ชายทะเลตะวันออก เต็มไปด้วยชุมชน “แต้จิ๋ว” ซึ่งเป็นเชื้อสายเดียวกับพระเจ้าตาก และอาจจะเป็น “แหล่งทุน” ในสงครามกู้ชาตินั้น ยังเป็นเรื่องชวนสงสัยอยู่

ข้อแรก นาทีที่พระเจ้าตาก “หนี” นั้น อาจจะยังไม่คิดถึงการทำสงครามกู้ชาติในทันที

ข้อต่อมา ในนาทีนั้นน่าจะยังไม่มีใครรู้จัก “พระยาตาก” ขุนนางบ้านนอกหัวเมืองเหนือ ที่เพิ่งจะรับราชการเป็นพระยาได้ไม่เท่าไหร่ จึงเป็นการยากที่จะตัดสินใจ “เอาด้วย” เพราะอย่างน้อยหัวเมืองฟากตะวันออกขณะนั้นก็ยัง “ดูทิศทางลม” ไม่เข้ากับใครทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ขุนนางบ้านนอกอย่าง “พระยาตาก” จะมั่นใจได้อย่างไรว่า มีการสนับสนุนรออยู่ทางทิศตะวันออก

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การต่อต้านกองกำลังพระยาตากโดยคนไทยด้วยกัน ซึ่งส่วนมากเป็นผู้นำท้องถิ่น ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ยังไม่ทันจะหยุดผ่อนม้า วางดาบ เลยทีเดียว

เพราะเหตุใดพระยาตากพร้อมพรรคพวกจึงตัดสินใจ
“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกู้ชาติ” วาดโดย สนั่น ศิลากรณ์ พิมพ์ครั้งแรกเป็นปกนิตยสารฟ้าเมืองไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 875 วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2528

บนเส้นทาง “หนี” จากวัดพิชัย ผ่านบ้านหันตรา กำลังจะมุ่งหน้าสู่บ้านข้าวเม่า บ้านสัมบัณฑิต กองกำลังพม่าที่รู้ข่าว ก็ยกทัพตามมาต่อตี แต่ก็ต้องล่าทัพกลับไป เพราะสู้พระยาตากและพรรคพวกไม่ได้

พรรคพวกทหารไทยจีนของพระยาตากเวลานั้นมี พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี กับคนอีกราว 500-1,000 คน

วันแรก ของการเดินทัพผ่าน บ้านหันตรา แล้วหยุดลงตอนเที่ยงคืน ที่ บ้านสัมบัณฑิต เวลาเดียวกันนั้น กองกำลังพระยาตากก็ได้เห็นเพลิงลุกไหม้ในพระนคร “แสงเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ” จากการถูกปืนใหญ่ระดมยิงเข้าพระนคร แต่กองทัพพม่าก็ยังบุกเข้าเมืองไม่ได้

จุดนี้เป็นจุดสำคัญ เพราะเป็นช่วงเวลาพิสูจน์เจตนารมณ์ของพระยาตากว่าจะหนีหรือจะสู้

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บอกว่าในคืนที่เห็นเพลิงไหม้พระนครนี้เอง ที่พระยาตากคิดที่จะ “แก้กรุงเทพมหานคร”

แต่พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวไว้ช้ากว่านี้ประมาณครึ่งเดือน คือพระยาตากประกาศ ”กู้ชาติ” เมื่อเข้าเขตเมืองระยองไปแล้ว

ความต่างของข้อมูลตรงนี้ คือตัวตัดสินความมุ่งหมายในใจของพระเจ้าตาก ว่า “หนี” เอาตัวรอด หรือ “หนี” ตั้งหลัก แต่ไม่ว่าการตัดสินใจเริ่มแรกจะเป็นอย่างไร ตอนท้ายก็ได้เฉลยแล้วว่าทรงตัดสินใจทำอย่างไร

ปมสำคัญที่น่าคิดก็คือ หากพระเจ้าตากต้องการหนีเอาตัวรอด เหตุใดจึงต้องพาทหารอีกนับพันคนไปด้วย เพราะการหนีด้วยจำนวนคนน้อยน่าจะคล่องตัวกว่า อีกเรื่องหนึ่งคือ หลวงศรเสนี ที่หนีมาพร้อมกันแต่แรกนั้น กลับตัดสินใจที่จะ “พาพรรคพวกหนีไปทางอื่น” ทั้งนี้จะเป็นเพราะหลวงศรเสนีไม่เห็นด้วยกับเส้นทางหนี ซึ่งเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดขณะนั้น หรือเป็นเพราะรู้เจตนาของพระเจ้าตากจึงขอปลีกตัวไปทางอื่น

วันที่ 2 ของการเดินทัพ กองกำลังพระยาตากหยุดพักแรมที่ บ้านพรานนก ที่นี่มีเหตุต้องปะทะกับกองทัพพม่าจำนวน 2,000 คนอีกครั้งหนึ่ง และสามารถโจมตีกองทัพพม่าแตกพ่ายไปได้อีก สร้างขวัญและกำลังใจให้กับไพร่พลเป็นอันมาก การรบครั้งนี้พระยาตากขึ้นม้าออกรบพร้อมกับนายทหารอีก 4 ม้า เหล่าทหารม้า ถือเอาวันนี้เป็น “วันทหารม้า” ตรงกับวันที่ 4 มกราคม 2309

แต่ก่อนจะถึงบ้านพรานนกนี้ มีตำนานท้องถิ่น เกิดขึ้นที่ บ้านโพสาวหาญ อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า นางโพ ได้นำกำลังคนออกรบอย่างกล้าหาญจนกระทั่งตัวตาย พระยาตากจึงตั้งชื่อบ้านนามเมืองไว้เป็นเกียรติประวัติ แต่ชื่อที่บันทึกอยู่ในพระราชพงศาวดารเรียกต่างกันว่าบ้านโพธิ์สามหาว หรือ โพสังหาร

เพราะเหตุใด พระยาตากสินพร้อมพรรคพวกจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมพม่าไปทางทิศตะวันออกในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2

มีคำถามเสมอว่า เหตุใดพระเจ้าตากจึงตัดสินใจมุ่งหน้า “หนี” มาทางตะวันออก เหตุผลตรงไปตรงมาที่สุดคือฝากตะวันออกของกรุงศรีอยุธยามีกองกำลังของพม่าน้อยที่สุด ส่วนทางเหนือ ใต้ และตะวันตก เต็มไปด้วยกองทัพขนาดใหญ่ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสิ้น

เหตุผลสำคัญข้อใดที่ทำให้พระยาตากตัดสินใจละทิ้งการป้องกันกรุงศรีอยุธยาในสงครามก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

สาเหตุของการหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกันอยู่นั้น พระยาตาก (สิน) เกิดความท้อใจ และมองไม่เห็นหนทางที่จะเอาชนะข้าศึกได้เลย ทั้งนี้ เพราะพระยาตาก (สิน) ขาดความคล่องตัวในการตัดสินใจ ดังเช่นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขันจำเป็นต้องยิงปืนใหญ่ทำลายข้าศึกก็ต้องขออนุญาตเสียก่อน เพราะนโยบายประหยัด ...

เพราะเหตุใดพระยาตากสินจึงรวบรวมกำลังคนตีฝ่ากองทัพพม่าไปทางหัวเมืองตะวันออกเพื่อไปยึดเมืองจันทบุรีเป็นที่มั่น

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จันทบุรี เป็นเมืองที่มีชุมชนชาวแต้จิ๋วเข้ามาตั้งรกรากอยู่หนาแน่น ย่อมมีความคุ้นเคยกับพระยาตาก ในฐานะที่เป็นจีนเชื้อสายเดียวกัน การเดินทางไปเมืองจันทบุรีก็คือ การเดินทางกลับไปสู่ดินแดนที่ตนรู้จัก และรู้สึกปลอดภัยในหมู่คนที่รู้จักมักคุ้นและไว้ใจ

เพราะเหตุใดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงยกทัพไปปราบชุมนุมต่างๆทั้งที่เป็นคนไทยด้วยกัน

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีแนวคิดที่จะรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงโดยเร็ว เพราะเชื่อว่าอย่างไร เสียพม่าก็คงจะต้องกลับมารุกรานไทยอีกในไม่ช้า ถ้าไทยยังไม่เป็นปึกแผ่นมั่นคง ต่างคนต่างอยู่ก็คงไม่แคล้วเสียทีแก่พม่า อีก ในขั้นต้นทรงคิดที่จะปราบชุมนุมใหญ่ที่เข้มแข็งก่อน เพื่อให้ชุมนุมอื่นๆเห็นความสามารถ จะได้ยาเกรงและยอม ...

เหตุผลสำคัญข้อใดที่ทำให้พระยาตากตัดสินใจละทิ้งการป้องกันกรุงศรีอยุธยาในสงครามก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เพราะเหตุใดพระยาตากสินจึงรวบรวมกำลังคนตีฝ่ากองทัพพม่าไปทางหัวเมืองตะวันออกเพื่อไปยึดเมืองจันทบุรีเป็นที่มั่น เพราะเหตุใดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงยกทัพไปปราบชุมนุมต่างๆทั้งที่เป็นคนไทยด้วยกัน เหตุการณ์ใด เป็นเหตุการณ์แรกที่ทำให้เกิดการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรธนบุรี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในสมัยธนบุรี มีลักษณะอย่างไร เพราะเหตุใด ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาในสมัยธนบุรีจึงมีจำนวนน้อย ข้อใดอธิบายการจัดการปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ถูกต้อง พระยาตากตีฝ่าวงล้อมพม่าไปทางใด ข้อใด ไม่ใช่ ปัจจัยที่ทำให้พระยาตากตัดสินพระทัยย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่กรุงธนบุรี