มาตรา 86/4 ตามประมวลรัษฎากร

เนื่องจากกรมสรรพากร ได้กำหนดให้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
นโยบายการปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว
จึงขอความร่วมมือในการ แจ้งเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) แก่ทางบริษัท เพื่อความถูกต้องด้วยนะครับ

ตัวอย่างการให้ข้อมูล [ Domain : บริษัท : เลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม]
ic-myhost.com
บริษัท ไอเดียล ครีเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด
0105547069522

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ข่าวสารวันที่ : 13 September 2013

คุณพณิตา สุธารุ่งแสงระวี "Panita Sutharung" ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ "สุเทพ พงษ์พิทักษ์" แฟนเพจ เมื่อ 31 ธันวาคม 2556 ว่า "...

Posted by สุเทพ พงษ์พิทักษ์ on Tuesday, December 31, 2013

วันที่เอกสาร

20 มีนาคม 2543

เลขที่หนังสือ

กค 0811/2154

ข้อกฎหมาย

มาตรา 86/4, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 ฯ

ข้อหารือ

กรณีบริษัท อ. จำกัด ได้ออกใบกำกับภาษีให้แก่บริษัท จ. (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่
เดือนพฤษภาคม 2541 เป็นต้นไป ต่อมาบริษัทฯได้รับแจ้งว่า ชื่อที่ถูกต้องตามที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 คือ “บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด” จึงหารือว่า คำว่า “
ประเทศไทย” และ “ไทยแลนด์” เป็นสาระสำคัญในใบกำกับภาษีหรือไม่และอนุโลมให้นำใบกำกับภาษี
ดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่ นอกจากนี้ หากบริษัทฯระบุชื่อลูกค้าโดยมีการเว้นวรรค แสดง
เครื่องหมาย จุด หรือลูกน้ำ ไม่ถูกต้องตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ถือเป็นสาระสำคัญหรือไม่
และอนุโลมให้นำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัท อ. จำกัด ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า ซึ่งมีชื่อตามที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 ว่า “บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด” แต่บริษัทฯ ได้ระบุชื่อลูกค้าว่า “
บริษัท จ. (ประเทศไทย) จำกัด”ซึ่งเป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็น
ผู้ประกอบการรายอื่น ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4(3) ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 และ
มาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.
2542 ดังนั้น หากใบกำกับภาษีมีรายการอื่นถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด มีสิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้แต่การออกใบกำกับภาษีในคราวต่อไป บริษัทฯต้องระบุชื่อลูกค้าตามที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. กรณีบริษัทฯ ระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการโดยตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์
ผิดพลาด แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ถือว่า
บริษัทฯระบุชื่อครบถ้วนแล้ว ตามมาตรา 86/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4(3) ของ
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 เรื่องหลักเกณฑ์ การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และ
มาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.
2542

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2563

(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

(3) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

(4) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี

(5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

(6) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

(7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

(8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

รายการในใบกำกับภาษีให้ทำเป็นภาษาไทย เป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค เว้นแต่ในกิจการบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศหรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดี

ใบกำกับภาษีอาจออกรวมกันสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการหลายอย่างก็ได้ เว้นแต่อธิบดีจะได้กำหนดให้การออกใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าหรือบริการบางอย่างหรือหลายอย่าง ต้องกระทำแยกต่างหาก โดยมิให้รวมไว้ในใบกำกับภาษีเดียวกันกับรายการอื่น