การแสดง “ละครใน” นิยมแสดงเรื่องใด

���Ф÷�����Ѻ�Է�Ծ��ٻẺ�Ըա���ʴ�仨ҡ����ʴ��Фù͡ ��駹�����ͧ�ҡ��� ����ʴ�����ࢵ����Ҫ�ҹ����������ʴ������ � �к� � ��§���ҧ���� ����Һ�ôҹҧ�ӷ���������Ѻ��ý֡�Ѵ���·ʹ�Ըա���ʴ��Ф�仨ҡ��ôҤ�ٷ�����·���ʴ��Фáѹ����͡ࢵ����Ҫ�ҹ ���ǹ���ʴ�����˹�Ҿ�з���� ����ͷç�ʹ���๵á�ç�;�з�� ��������Ҫ��ͷ�������¡����ʴ��Ф��ࢵ����Ҫ�ҹ�֧�ժ������¡��� � �Фâ�ҧ� � ��е���ҡ����¡�������§ � �Ф�� �

�ٻẺ�Ըա���ʴ� ���ͧ�ҡ�Ф���繡���ʴ�����ʴ����¾����ҡ�ѵ���� �������ç������ҭ�������ç���������áԨ��ҹ���ͧ �ѧ��鹡���ʴ����Ѵ���¹�鹨е�ͧ���ٻẺ��觴�����гյ �Ըա���ʴ��֧������âѺ��ͧ����������С�кǹ����ӷ�觴��� ����պ��ٴ ��ô��Թ����ͧ��д��Թ����ͧ仴��¤�����гյ ����ʴ�������˭ԧ�ʴ���ǹ�

����ͧ�������ʴ� ����ͧ���������ʴ��Ф�� �����ʴ���§ 3 ����ͧ ���� ���˹� �س�ط ���������õ��

����շ�����Сͺ㹡���ʴ� ���ҡ������ǧ����ջ��ҷ������ͧ��� ����ǧ���ҷ������ͧ���


ǧ���ҷ������ͧ��� ��Сͺ����

1. ����
2. �йҴ�͡
3. ��ͧǧ�˭�
4. ��⾹
5. ��ͧ�Ѵ
6.���

ǧ����ջ��ҷ������ͧ��� ��Сͺ����

1.����
2.���͡
3.�йҴ�͡
4.�йҴ����
5.��ͧǧ�˭�
6.��ͧǧ���
7.��⾹
8.��ͧ�Ѵ
9.���
10.�Һ
11.��Ѻ
12.����

����觡�� �������觡��������͹�Ф������ҵ�� ����������Ф�� ����觡�¢ͧ�Фù͡�֧����¹仨ҡ������觵�����¹Ẻ�Ф�� ����Ǥ�� �觵�����¹Ẻ����ͧ������ͧ�ç�ͧ�����ҡ�ѵ�����ҡ��� ���¡��� �׹����ͧ�������׹����ͧ�ҧ

            ละครไทย เป็นศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แบ่งออกเป็น ละครรำแบบดั้งเดิม ได้แก่ ละครชาตรี ละครนอก ละครใน และ ละครรำที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครสังคีต ละครร้อง ละครพุด ละครเพลง ละครหลวงวิจิตรวาทการ เช่น
ละครชาตรี   ละครนอก   ละครใน   ละครดึกดำบรรพ์   ละครพันทาง   ละครเสภา   ละครสังคีต   ละครร้อง   ละครพูด   ละครเพลง   ละครหลวงวิจิตรวาทการ   ลิเก


            เป็นละครรำที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา นับเป็นละครชนิดแรก ที่ไทยเริ่มมีการแสดงเป็นเรื่อง มีการร่ายรำตามบทร้องที่มีเนื้อเรื่อง ระยะแรกเริ่มผู้

แสดงเป็นชายล้วน มีตัวละคร เพียง ๓ ตัว คือ นายโรง(พระเอก) นาง และตลก หรือจำอวด ซึ่งแสดงเป็นตัวประกอบอื่นๆ ด้วย ตามเนื้อเรื่อง เช่น ฤาษี ม้า ยักษ์


            เรื่องที่แสดง ละครชาตรีนิยม แสดงเรื่อง มโนห์รา และรถเสน


            การแต่งกาย สมัยโบราณผู้แสดงเป็นชายล้วน แต่งกายไม่สวมเสื้อ นุ่งสนับเพลา เชิงกรอมข้อเท้า นุ่งผ้าหยับ  รั้ง จีบโจงไว้หางหงส์ มีห้อยหน้า เจียระบาด รัดสะเอว สวมสังวาล กรองคอ ทับทรวง ศีรษะสวมเทริด(เซิด)

            การแสดง เรื่มด้วยพิธีบูชาครู เป็นการเบิกโรง แล้วจึงโหมโรง ร้องประกาศหน้าบท ร้องขานเอ เป็นการไหว้ครู นายโรงออกรำซัด พร้อมทั้งว่าคาถาอาคมกันเสนียดจัญไร รำเวียนซ้าย เรียกว่า ชักใยแมงมุม หรือชักยันต์ เริ่มแสดงโดยตัวละครออกนั่งเตียง ตัวละครต้องร้องเอง มีลูกคู่รับ มีคนบอกบท จบการแสดงจะมีการรำซัดอีกครั้ง พร้อมทั้งว่าอาคมถอยหลัง รำเวียนขวา เรียกว่าคลายยันต์ เป็นการถอนอาถรรพณ์
            ดนตรีประกอบ มีน้อยชิ้น และเป็นเครื่องเบาๆ เหมาะที่จะขนย้ายร่อนเร่ไปแสดงที่ต่างๆ ดนตรีมีเพียง ปี่ ๑ เลา โทน(ชาตรี) ๑ คู่ กลองเล็ก(กลองชาตรี) ๑ คู่ ฆ้องคู่ ๑ ราง ละครชาตรีที่มาแสดงในกรุงเทพฯ มักตัดเอาฆ้องคู่ออก ใช้ม้าล่อแทน ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อมา และบางครั้งก็ยังใช้กลองแขกอีกด้วย
เพลงร้อง ในสมัยโบราณตัวละครมักจะเป็นผู้ด้นกลอนและร้องเป็นทำนองเพลงร่าย และปัจจุบันเพลงร้องมักมีคำว่า ชาตรี อยู่ด้วย เช่น ร่ายชาตรี ร่ายชาตรีกรับ ร่ายชาตรี ๒ ร่ายชาตรี ๓ รำชาตรี ชาตรีตะลุง
            สถานที่แสดง ที่บ้าน ที่กลางแจ้ง หรือจะเป็นที่ศาลเจ้าก็ได้ ไม่ต้องมีสิ่งใดประกอบมากมาย ไม่ต้องมีฉาก บริเวณที่แาดงนอกจากมีหลังคาไว้บังแดดบังฝนตามธรรมดา โบราณใช้เสา ๔ ต้น ปัก ๔ มุม เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเตียง ๑ เตียง จะลงเสากลางซึ่งถือว่าเป็นเสามหาชัยอีก ๑ เสา เสากลางนี้สำคัญมาก (ในสมัยก่อนจะต้องใช้ไม้ชัยพฤกษ์) เป็นเสาที่พระวิสสุกรรมเสด็จมาประทับเพื่อปกป้องผองภัยอันตราย จึงได้ทำเสาผูกผ้าแดงปักไว้ตรงกลางโรง เสานี้ใช้เป็นที่ผูกซองคลี (ซองใส่ไม้รบต่าง ๆ) ในภายหลัง เพื่อสะดวกในการแสดงที่ตัวละครจะหยิบได้ตามความต้องการโดยรวดเร็ว

                                        ละครนอก


            เป็นละครที่พัฒนามาจากละครชาตรี แต่เดิมคงมีตัวละครเพียง ๓-๔ ตัว อย่างละครชาตรี ต่อมามีการแสดงละครกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในหมู่ราษฎร มีการเล่นเรื่องต่างๆ มากขึ้น ต้องเพิ่มตัวละครขึ้นตามเนื้อเรื่อง ผู้แสดงยังคงเป็นชายล้วน แต่การแต่งกายได้ประดิษฐ์เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงให้ประณีตงามขึ้น
            เรื่องที่แสดง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา นิยมเล่นกันหลายเรื่อง ล้วนแต่เป็นประเภทจักรๆ วงศ์ๆ นิทานชาวบ้าน นิทานชาดก มีคติสอนใจ เช่น การเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนราห์ โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ โสวัต ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบทพระราชนิพนธ์ละครนอก ในรัชกาลที่ ๒ อีก ๖ เรื่อง คือ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี สังข์ศิลป์ชัย ทั้ง ๖ เรื่องนี้ พระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อให้ละครผู้หญิงของหลวงแสดง
            การแต่งกาย คงแต่งอย่างชาวบ้านธรรมดา เพราะเป็นละครชาวบ้าน เพียงแต่ให้รัดกุมสะดวกในการทำบท และใช้ผ้าโพกหรือห่มพอให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ต่อมา มีผู้ประดิษฐ์ให้งดงาม ปักดิ้นเลื่อมแพราวพราว ศีรษะสวมชฎาและรัดเกล้า ทั้งรัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว ตลอดจนปันจุเหร็จ กระบังหน้ารูปต่างๆ
ผู้แสดง เริ่มมีผู้หญิงแสดงละครนอก ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แต่เป็นละครหลวง ผู้แสดงต้องเป็นคนแคล่วคล่องว่องไว มีไหวพริบปฏิภาณชำนาญทั้งรำและร้อง มีลูกคู่รับ หากเป็นบทเล่าหรือบรรยาย ลูกคู่จะร้อง และผู้แสดงต้องพูดเอง เล่นตลกเอง มีคนบอกบทร้องให้
            การแสดง ดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว แทรกตลกขบขัน ไม่เคร่งครัดขนบประเพณี ตลกจะเล่นกับเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดินและมเหสีก็ได้ การร่ายรำด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง ว่องไว
เพลงร้องและดนตรี เดิมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าบรรเลงประกอบการแสดง ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตามความใหญ่โตของงาน เพลงร้องส่วนมากเป็นเพลงชั้นเดียว หรือสองชั้นที่มีจังหวะรวบรัด ดำเนินเรื่องด้วยเพลงร่ายนอก ระดับเสียงในการร้องและบรรเลงใช้ทางนอก เหมาะกับเสียงผู้ชาย
            สถานที่แสดง โรงละครเป็นรูปสี่เหลี่ยมดูได้ ๓ ด้าน (เดิม) กั้นฉากผืนเดียวโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามท้องเรื่อง มีประตูเข้าออก ๒ ทาง หน้าฉากตรงกลางตั้งเตียงสำกรับตัวละครนั่ง ด้านหลังฉากเป็นส่วนสำหรับละครพักแต่งตัว

                                        ละครใน


            เป็นละครที่แสดงในวัง ได้นำวิธีการเล่นเดินเรื่องอย่างละครนอก มาให้เหล่าระบำในพระราชฐานแสดง โดยนำบทที่เคยแสดงโขนคือเรื่องรามเกียรตื์ และอุณรุท มาแสดงโดยนางในราชสำนัก จึงเรียกว่าละครนางใน หรือละครข้างใน ต่อมาเรียกสั้นๆ ว่า ละครใน
            เรื่องที่แสดง แสดงเฉพาะ ๓ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา
            การแต่งกาย เครื่องแต่งกายประณีตงดงาม ตามแบบของกษัตริย์ เช่น มีมงกุฎ สังวาล ทับทรวง เจียระบาด ห้อยหน้า สนับเพลา พระภูษา ฉลองพระองค์ ฯลฯ
            ผู้แสดง เดิมเป็นหญิงล้วน ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๑ มี ละครในผู้ชายแสดง เช่น นายทองอยู่เป็นอิเหนา
            การแสดง ท่ารำ ต้องประณีตงดงามตามแบบราชสำนัก ละครในมุ่งดูศิลปะการร่ายรำมากกว่าเนื้อเรื่อง
            ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก ใช้ทางในซึ่งมีระดับเสียงเหมาะกับผู้หญิง และมักเป็นเพลงที่มีลีลา ท่วงทำนองค่อนข้างช้า วิจิตรพิสดาร เหมาะกับลีลาท่ารำ
            เพลงร้อง ปรับปรุงให้มีทำนองและจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียงและลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน
            สถานที่แสดง เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาแสดงไม่จำกัดสถานที่

                                        ลิเก


            เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 คำว่า ลิเก ในภาษามลายู แปลว่า ขับร้อง เดิมเป็นการสวดบูชาพระในศาสนาอิสลาม สวดเพลงแขกเข้ากับจังหวะรำมะนา พวกแขกเจ้าเซ็นได้สวดถวายตัวเป็นครั้งแรกในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อ พ.ศ. 2423 ต่อมาคิดสวดแผลงเป็นลำนำต่างๆ คิดลูกหมดเข้าแกมสวด ร้องเป็นเพลงต่างภาษา และทำตัวหนังเชิด โดยเอารำมะนาเป็นจอก็มี ลิเกจึงกลายเป็นการเล่นขึ้น ต่อมามีผู้คิดเล่นลิเกอย่างละคร คือ เริ่มร้องเพลงแขก แล้วต่อไปเล่นอย่างละครรำ และใช้ปี่พาทย์อย่างละคร  

            ลิเกมี 3 แบบ คือ

            1. ลิเกบันตน เริ่มด้วยร้องเพลงบันตนเป็นภาษามลายู ต่อมาก็แทรกคำไทยเข้าไปบ้าง ดนตรีก็ใช้รำมะนา จากนั้นก็แสดงเป็นชุดๆ ต่างภาษา เช่น แขก ลาว มอญ พม่า ต้องเเริ่มด้วยชุดแขกเสมอ ผู้แสดงแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ ร้องเอง พวกตีรำมะนาเป็นลูกคู่ มีการร้องเพลงบันตนแทรกระหว่างการแสดงแต่ละชุด
            2. ลิเกลูกบท คือ การแสดงผสมกับการขับร้องและบรรเลงเพลงลูกบท ร้องและรำไปตามกระบวนเพลง ใช้ปี่พาทย์ประกอบแทนรำมะนา แต่งกายตามที่นิยมในสมัยนั้นๆ แต่สีฉูดฉาด ผู้แสดงเป็นชายล้วน เมื่อแสดงหมดแต่ละชุด ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลง 3 ชั้นที่เป็นแม่บทขึ้นอีก และออกลูกหมดเป็นภาษาต่างๆ ชุดอื่นๆ ต่อไปใหม่
            3. ลิเกทรงเครื่อง เป็นการผสมผสาน ระหว่างลิเกบันตนและลิเกลูกบท มีท่ารำเป็นแบบแผน แต่งตัวคล้ายละครรำ แสดงเป็นเรื่องยาวๆ อย่างละคร เริ่มด้วยโหมโรงและบรรเลงเพลงภาษาต่างๆ เรียกว่า "ออกภาษา" หรือ "ออกสิบสองภาษา" เพลงสุดท้ายเป็นเพลงแขก พอปี่พาทย์หยุด พวกตีรำมะนาก็ร้องเพลงบันตน แล้วแสดงชุดแขก เป็นการคำนับครู ใช้ปี่พาทย์รับ ต่อจากนั้นก็แสดงตามเนื้อเรื่อง ลิเกที่แสดงในปัจจุบันเป็นลิเกทรงเครื่อง
            วิธีแสดง เดินเรื่องรวดเร็ว ตลกขบขัน การแสดงเริ่มด้วยโหมโรง 3 ลา จบแล้วบรรเลงเพลงสาธุการ ให้ผู้แสดงไหว้ครู แล้วจึงออกแขก บอกเรื่องที่จะแสดง สมัยก่อนมีการรำถวายมือหรือรำเบิกโรง แล้วจึงดำเนินเรื่อง ต่อมาการรำถวายมือก็เลิกไป ออกแขกแล้วก็จับเรื่องทันที การร่ายรำน้อยลงไปจนเกือบไม่เหลือเลย คงมีเพียงบางคณะที่ยังยึดศิลปะการรำอยู่
ผู้แสดง เดิมใช้ผู้ชายล้วน ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ให้บุตรสาวชื่อละออง แสดงเป็นตัวนนางประจำคณะ ต่อมาคณะอื่นก็เอาอย่างบ้าง บางคณะให้ผู้หญิงเป็นพระเอก เช่น คณะกำนันหนู บ้านผักไห่ อยุธยา การแสดงชายจริงหญิงแท้นั้น คณะนายหอมหวล นาคศิริ เริ่มเป็นคณะแรก ผู้แสดงต้องมีปฏิภาณในการร้องและเจรจา ดำเนินเรื่องโดยไม่มีการบอกบทเลย หัวหน้าคณะจะเล่าให้ฟังก่อนเท่านั้น นอกจากนี้ การเจรจาต้องดัดเสียงให้ผิดปกติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของลิเก แต่ตัวสามัญชนและตัวตลกพูดเสียงธรรมดา
            เพลงและดนตรี ดำเนินเรื่องใช้เพลงหงส์ทองชั้นเดียว แต่ดัดแปลงให้ด้นได้เนื้อความมากๆ แล้วจึงรับด้วยปี่พาทย์ แต่ถ้าเล่นเรื่องต่างภาษา ก็ใช้เพลงที่มีสำเนียงภาษานั้นๆ ตามท้องเรื่อง แต่ด้นให้คล้ายหงส์ทอง ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ได้ดัดแปลงเพลงมอญครวญของลิเกบันตนที่ใช้กับบทโศก มาเป็นเพลงแสดงความรักด้วย
            เรื่องที่แสดง นิยมใช้เรื่องละครนอก ละครใน และเรื่องพงศาวดารจีน มอญ ญวน เช่น สามก๊ก ราชาธิราช ฉันใดเวือง
            การแต่งกาย แต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงาม เลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ จึงเรียกว่าลิเกทรงเครื่อง "สมัยของแพง" ก็ลดเครื่องแต่งกายที่แพรวพราวลงไป แต่บางคณะก็ยังรักษาแบบแผนเดิมไว้ โดยตัวนายโรงยังแต่งเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ในส่วนที่มิใช่เครื่องต้น เช่น นุ่งผ้ายกทอง สวมเสื้อเข้มขาบหรือเยียรบับ แขนใหญ่ถึงข้อมือ คาดเข็มขัดนอกเสื้อ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ แต่ดัดแปลงเสียใหม่ เช่น เครื่องสวมศีรษะ เครื่องประดับหน้าอก สายสะพาย เครื่องประดับไหล่ตัวนางนุ่งจีบยกทอง สวมเสื้อแขนกระบอกยาว ห่มสไบปักแพรวพราว สวมกระบังหน้าต่อยอดมงกุฎ ที่แปลกกว่าการแสดงอื่นๆ คือสวมถุงเท้ายาวสีขาวแทนการผัดฝุ่นอย่างละคร แต่ไม่สวมรองเท้า
            สถานที่แสดง ลานวัด ตลาด สนามกว้างๆ โดยปลูกเพิงสูงระดับตา ด้านหน้าเป็นที่แสดง ด้านหลังเป็นที่พักที่แต่งตัว