สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ

1.ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆว่าโอเอส(Operating System : OS)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกส์ และแมคอินทอช เป็นต้น

 1)ดอส(Disk Operating Ststem : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใชงานไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีดปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้
 2)วินโวส์(Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
 3)ยูนิกส์(Unix)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้(multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
4)ลืนุกซ์(linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว(GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free Ware)ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUNSPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
5)แมคอินทอช(macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา

ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งานสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ

        1.ประเภทใช้งานเดียว(Single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งระหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
        2.ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไปและ UNIX เป็นต้น
        3.ประเภทใช้งานหลายคน(Multi-user) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์  จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น

2.ตัวแปลภาษา

การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา  ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic,Pascal,C และภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก ได้แก่ Fortran . Cobol , และภาษาอาร์พีจี

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...


บทที่ 4 ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

ซอร์ฟแวร์ระบบปฏิบัติการ มีหลายชนิดด้วยกัน เนื่องจากถูกออกแบบและสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการที่แตกต่างกันคือ
1.อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
2.ประเภทของระบบปฎิบัติการ
3.ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน


อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
อินเตอร์เฟชของระบบปฏิบัติการ สามารถถูกออกแบบให้อยู่ในรูปแบบของการโต้ตอบด้วยคำสั่ง หรือแบบกราฟิกก็ได้ โดยที่

อินเตอร์เฟซแบบคำสั่ง(Command Line)
เป็นอินเตอร์เฟชที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านคำสั่งต่างๆ ดังน้ันผู้ใช้งานจึงต้องรู้ว่า ต้องป้อนคำสั่งอะไรลงไปเพื่อโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์หรือสั่งงานให้เครื่องทำ ตัวอย่างเช่น ในระบบปฏิบัติการ DOS หากต้องการสร้างไดแรกเทอรี(โฟล์เดอร์)จะต้องใช้คำสั่ง md หรือหากต้องการคัดลอกไฟล์ก็จะต้องใช้คำสั่ง Copy ซึ้งนอกจากต้องรู้คำสั่งแล้ว ยังต้องเขียนรูปแบบคำสั่งให้ถูกต้องด้วย


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ




อินเตอร์เฟซแบบกราฟิก(Graphics User Interface : GUI)
ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ อินเตอร์เฟซเพื่อโต้ตอบมักถูกออกแบบเป็น GUI  ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังดึงดูดความสนใจแก่ผู้ใช้และยังช่วยให้การโต้ตอบระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น MS-Windows และ MAC-OS ในขณะที่ระบบปฏิบัติการ Unix และ Linux ก็จะมีเวอร์ชั่นทั้งแบบ Command Line และ GUI ทั้งนี้ อินเตอร์เฟซGUI สามารถจัดการไฟล์ได้ง่ายมาก โดยเฉพาะ Windows Explorer (ในระบบปฏิบัติการวินโดรว์) ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีไม่ว่าจะเป็นการสร้างโฟลเดอร์  หรือลบไฟล์ต่างๆ สามารถคลิกผ่านไอคอนเพื่อทำงานทันที โดยไม่จำเป็นต้องจดจำคำสั่งแต่อย่างใด



สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ







ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ ยังถูกจัดแบ่งประเภทดังนี้

ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล (Personal Operating Systems )
เป็นระบบปฏิบัติที่นำมาใช้ส่วนบุคคลเป็นหลัก ในลักษณะของผู้ใช้คนเดียวเป็นหลัก(Stand-Alone)
ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows แต่อย่างไรก็ตาม ระบบปฏิบัติการจากค่ายไมโครซอฟต์ Widows XP , Windows 7 และ Windows 8 ก็ตาม นอกจากนำมาใช้งานส่วนบุคคลได้แล้ว ยังสามารถตั้งค่าเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายเล็กๆ  เชื่ิมต่อกัน รวมถึงการเชื่อต่อเข้ากับระบบเครือข่ายระดับองค์กร และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต

สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(Network Operating Systems)
เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนเครือข่ายเป็นหลัก สามารถรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยมีศูนย์บริการที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เป็นเครื่องแม่ข่ายหรือที่มักเรียกกันว่าโฮสต์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่าย เช่น Windows Server Novell Netware และ Unix เป็นต้น

สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ




ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน
โดยทั่วไปแล้ว ระบบปฏิบัติการมักถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนซีพียูประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ใช้งานกับซีพียูของเครื่องพีซีทั่วไป เครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต และ 64 บิต  ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ก็จะมีทั้งแบบ 32 หรื 64 บิต ให้เลือกใช้งาน นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมของซีพียูที่ใช้งานบนเครื่องพีซีทัวไป ก็ยังมีทั้งแบบ CISC และ RISC

ซีพียู CISC (Complex Instruction Set Computing)
สถาปัตยกรรมซีพียูชนิดนี้ ภายในซีพียูจะประกอบไปด้วยชุดคำสั่งภายในจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุดคำสั่งพื้นฐานและชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อน โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนพีซียูชนิดนี้ จะใช้ประโยชน์จากคำสั่งที่บรรจุอยู่ภายในซีพียุได้ทันที จึงทำให้ตัวโปรแกรมเขียนได้ง่ายและสั่นลง อย่างไรก็ตาม ด้วยชุดคำสั่งที่บรรจุอยู่ภายในซีพียูที่มีมากถึง 200-300 ชุดคำสั่ง ย่อมส่งผลให้ซีพียูมีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้พลังงานมากขึ้น จึงทำให้เกิดความร้อนสะสมสูง อีกทั้งชุดคำสั่งต่างๆ เหล่านี้ ก็ใช่ว่าจะถูกเรียกใช้งานเป็นประจำจากตัวโปรแกรมเนื่องจากโปรแกรมโดยส่วนใหญ่มักเรียกใช้งานเพียงบางชุดคำสั่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่นซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม CISC เช่น ชิปตระกูล Intel และ AMD ซึ่งพีซีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ในทุกวันนี้ล้วนเป็นซีพีแบบ CISC ทั้งสิ้น


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ
สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ
  















ซีพียู RISC (Reduced Instruction Set Computing)
เป็นสถาปัตยกรรมซีพียูที่มีแนวคิดตรงข้ามกัน CISC โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ภายในซีพียู RISC จะมีชุดคำสั่งภายในที่น้อยกว่า โดยบรรจุชุดคำสั่งพื้นฐานง่ายๆ ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำกล่าวคือ เป็นชุดคำสั่งที่ส่วนใหญ่ล้วนจำเป็นต่อการถูกเรียกใช้งานจากโปรแกรมอยู่บ่อยๆ นั่นเอง ส่วนคำสั่งที่ซับซ้อนก็จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการในการนำคำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่มาประกอบเข้าด้วยกันทำให้การประมวลผลคำสั่งของซีพียุ RISC ใช้เวลาน้อยกว่า CISC และด้วยภายในซีพียู RISC ที่มีการบรรจุเฉพาะชุดคำสั่งพื้นฐานเท่านั้น จึงทำให้ซีพียูมีขนาดเล็ก และใช้พลังงานน้อยมาก ตัวอย่างซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม RISC เช่น ชิปตระกูล Power PC , Silicon Graphics และ DEC Alpha  เป็นต้น


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ





ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเซิร์ฟเวอร์
ในหัวข้อ จะขอกล่าวถึงระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Dos , Windows , Windows Server , Mac-OS , Unix และ Linux

ดอส (Disk Operating System : DOS)
เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย การใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร Text Mode

สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ


วินโดวส์(Windows)

 Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัท ไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่ง ใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส

สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



ระบบปฏิบัติการ Windows XP
  WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง  Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น




สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ




ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Vista
เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ที่พัฒนาต่อมาจาก Microsoft Windows XP และ Microsoft Windows Server 2003 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความล้ำสมัย ทั้งรูปร่างหน้าตา (Interface) และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ นอกจากที่ Vista จะมีความพิเศษในเรื่องฟังก์ชั่นต่างๆ แล้ว ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและเน็ตเวิร์คให้สามารถทำงานได้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ Microsoft Windows Vista อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์

สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



windows 7
ในปลายปี 2543 โลกเข้าสู่ยุคของระบบไร้สาย เมื่อ Windows 7 วางจำหน่ายในเดือนตุลาคม 2552 แล็ปท็อปมียอดขายดีกว่าเดสก์ท็อปพีซีและมีการใช้งานออนไลน์กันโดยทั่วไปผ่าน ฮอตสปอตไร้สายสาธารณะ เช่น ร้านกาแฟ เครือข่ายไร้สายสามารถสร้างได้ในสำนักงานหรือบ้าน Windows 7 มีคุณลักษณะจำนวนมาก เช่น วิธีการใหม่ๆ ในการทำงานกับหน้าต่าง ไม่ว่าจะเป็น Snap, Peek หรือ Shake Windows Touch ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งให้คุณสามารถใช้นิ้วเพื่อเรียกดูเว็บ พลิกดูภาพถ่าย และเปิดแฟ้มและโฟลเดอร์ คุณสามารถส่งกระแสข้อมูลเพลง วิดีโอ และภาพถ่ายจากพีซีของคุณไปยังสเตอริโอหรือทีวี ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2553 Windows 7 สามารถขายได้เจ็ดสำเนาต่อวินาที ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



windows 8
 วินโดวส์ 8 เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ เริ่มพัฒนาก่อน Windows 7 ในปี 2009 ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2011 Windows 8 ปล่อยออกมา 3 เวอร์ชันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 ส่งไปยังผู้ผลิตในวันที่ 1 สิงหาคม 2555 และเปิดให้ใช้งานโดยกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปในวันที่ 26 ตุลาคม 2555 วินโดวส์ 8 ปรับเปลี่ยนโดยเน้นการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเช่น แท็บเล็ต เพื่อเป็นคู่แข่งกับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เช่น ไอโอเอสและแอนดรอยด์ และได้ปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน ทีมีชื่อว่ารูปแบบโมเดิร์นมีหน้าตาที่เรียบง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน มีการอัปเดตแอปต่าง ๆ ตลอดเวลาด้วยระบบไลฟ์ไทล์และยังผนวกโปรแกรมป้องกันไวรัสเข้ามากับระบบปฏิบัติการโดยตรง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัสเพิ่มเติม



สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ




แมคโอเอส(Mac-OS)
แมคโอเอส (Mac OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยทั้งคู่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์. แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) รายแรกที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์รุ่นแรกๆ ของระบบปฏิบัติการนี้ ไม่ได้ใช้ชื่อแมคโอเอส, อันที่จริงระบบปฏิบัติการนี้ในรุ่นแรกๆ ยังไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำ
ทีมพัฒนาแมคโอเอสประกอบด้วย บิลล์ แอตคินสัน, เจฟ รัสกิน, แอนดี เฮิตซ์เฟลด์ และคนอื่นๆ

แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับสองรองจาก วินโดวส์ 


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



ยูนิกซ์(Unix)
นิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system)ซี่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติด กับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานใน ลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลาย ๆ งานใน เวลาเดียว กันในลักษณะที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (multitasking)



สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



ลินุกซ์(Linux)
ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ







ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ เช่น Windows phone , Android , Apple , IOS , BlackBerry , HP WebOS  และ Symbian เป็นต้น


Windows Phone 
วินโดวส์โฟน เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กรเปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



Android
แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซ และกูเกิลได้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเชซึ่งโอเพนซอร์ซจะอนุญาตให้ผู้ผลิตปรับแต่งและวางจำหน่ายได้ (ภายใต้เงื่อนไขที่กูเกิลกำหนด) รวมไปถึงนักพัฒนาและผู้ให้บริการเครือข่ายด้วย อีกทั้งแอนดรอยด์ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ มากมาย ภายใต้ภาษาจาวา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีโปรแกรมมากกว่า 700,000 โปรแกรมสำหรับแอนดรอยด์ และยอดดาวน์โหลดจากกูเกิล เพลย์ มากถึง 2.5 หมื่นล้านครั้งจากการสำรวจในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2556 พบว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่นักพัฒนาเลือกที่จะพัฒนาโปรแกรมมากที่สุด ถึง 71% ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนำหน้าซิมเบียน ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2553และยังเป็นทางเลือกของผู้ผลิตที่จะใช้ซอฟต์แวร์ ที่มีราคาต่ำ, ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดี สำหรับอุปกรณ์ในสมัยใหม่แม้ว่าแอนดรอยด์จะดูเหมือนได้รับการพัฒนาเพื่อใช้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต แต่มันยังสามารถใช้ได้กับโทรทัศน์, เครื่องเล่นวิดีโอเกม, กล้องดิจิทัล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แอนดรอยด์เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา



สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ




Apple IOS

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S 800 C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551 IOS (ก่อนหน้าiPhone OS ) เป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัท Apple Incออกจำหน่ายในปี 2007 สำหรับiPhoneและiPod Touch ของมันได้รับการขยายเพื่อรองรับอุปกรณ์ที่แอปเปิ้ลอื่น ๆ เช่นiPadและโทรทัศน์แอปเปิ้ลซึ่งแตกต่างจากไมโครซอฟท์ 's Windows CE (Windows โทรศัพท์ ) และGoogle 's Android , แอปเปิ้ลไม่ได้ใบอนุญาตสำหรับการติดตั้ง IOS บนฮาร์ดแวร์ที่ไม่ใช่แอปเปิ้ล ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2012 , แอปเปิ้ลที่ App Storeมีมากกว่า 650,000 โปรแกรม IOS ซึ่งได้รับการเรียกรวมดาวน์โหลดมากกว่า 30 ล้านครั้ง มันมีส่วนแบ่ง 16% จากมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการหน่วยที่ขายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2010 หลังทั้งสองของ Google 's AndroidและNokia 's Symbian ในเดือนพฤษภาคม 2010 ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็คิดเป็น 59% ของการใช้โทรศัพท์มือถือบนเว็บของข้อมูล(รวมถึงการใช้ทั้งบนไอพอดทัชและไอแพด ) ส่วนติดต่อผู้ใช้ของ IOS ขึ้นอยู่กับแนวคิดของการจัดการตรงโดยใช้ท่าทางสัมผัสหลาย . องค์ประกอบการควบคุมการเชื่อมต่อประกอบด้วยเลื่อนสวิตช์และปุ่ม เพื่อตอบสนองผู้ใช้ป้อนเป็นได้ทันทีและให้อินเตอร์เฟซของเหลว ปฏิสัมพันธ์กับระบบปฏิบัติการรวมถึงท่าทางเช่นรูด , แตะ , หยิกและหยิกย้อนกลับซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายเฉพาะในบริบทของระบบปฏิบัติการ IOS และอินเตอร์เฟซแบบมัลติทัชของมัน ภายใน accelerometers ถูกนำมาใช้โดยการใช้งานบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อการสั่นของอุปกรณ์ (หนึ่งผลเหมือนกันคือคำสั่ง undo) หรือหมุนมันในสามมิติ (หนึ่งผลร่วมกันคือการเปลี่ยนจากแนวตั้งเป็นโหมดแนวนอน) IOS มาจากOS Xกับที่มันหุ้นดาร์วินรากฐานและดังนั้นจึงเป็นUnixระบบปฏิบัติการใน Ios, มีสี่เป็นชั้น abstractionหลักของระบบปฏิบัติการชั้น: Core Servicesชั้นชั้น Media, และโกโก้ Touchชั้น รุ่นปัจจุบันของระบบปฏิบัติการ (IOS 5.1.1) อุทิศ 1-1.5 GB ของหน่วยความจำแฟลชของอุปกรณ์สำหรับพาร์ติชันระบบที่ใช้ประมาณ 800 MB ของพาร์ติชันที่ (ที่แตกต่างกันไปตามรุ่น) สำหรับ IOS ตัวเอง


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



HP webOS

HP webOS หรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า Palm webOS เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือ ที่พัฒนามาจาก พื้นฐานระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ้งพัฒนามาเพื่อใช้งานบนเครื่องปาล์ม เช่น Palm Pre และ HP Veer เป็นระบบที่สนับสนุนลักษณะการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง รวมถึงคุณสมบัติด้านอื่นๆ 

เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถืออื่นๆ ทั้งนี้ หากผู้ใช้ต้องการใช้งานแอปพลิเคชั่นเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน App Catalog


สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็น 4 ลักษณะ



Symbian OS 

ซึ่ง Symbian OS ก็คือระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารไร้สายโดยเฉพาะ เป็นระบบปฏิบัติการที่เน้นการใช้งานที่ง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก มีความปลอดภัยทางด้านข้อมูลสูง ซึ่งถ้าจะให้นึกภาพออกง่ายๆ ลองนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ มันก็จะมีระบบปฏิบัติการ Windows OS หรือ Linux OS อยู่ เป็นลักษณะทำนองเดียวกันระบบปฏิบัติการ (Operating System) คืออะไร ง่ายๆ ก็ให้นึกถึง Windows ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ดู ไม่ว่าจะเป็น XP, 2000, 98, 2003, ME หรืออื่นๆ และลองนึกถึงเครื่องเล่นเกมส์แบบพกพาเช่น game boy ดู จะเห็นว่ามันทำได้แค่เล่นเกมอย่างเดียวเท่านั้น จะให้มันทำงานอย่างอื่นให้คงไม่ได้ เปรียบเสมือนมือถือทั่วไปที่ไม่มีระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือโดยเฉพาะ ทำงานได้ตามความสามารถหรือฟังก์ชันที่มีอยู่แต่เดิมเท่านั้นประโยชน์ของ Symbian OS ก็คือจะช่วยให้โทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ เครื่องหนึ่งมีความสามารถและความฉลาดมากกว่ามือถือทั่วไป จึงทำให้ถูกเรียกว่ามือถือ Smartphone โดยจะสามารถทำงานนอกเหนือจากการใช้โทรศัพท์ได้หลายอย่าง คล้ายกับการนำเครื่อง PDA หรือ Pocket PC มารวมกันกับโทรศัพท์มือถือนั่นเองซึ่งถ้ามือถือรุ่นใดไม่มีระบบปฏิบัติการ Symbian OS ก็จะทำงานได้ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่คุณสมบัติเท่าที่ตัวเครื่องให้มา เน้นฟังก์ชันที่ควรจะมีสำหรับโทรศัพท์มือถือ ไม่มีความยืดหยุ่นในการติดตั้งโปรแกรมใช้งานเพิ่มเติมตามที่ต้องการได้อย่างเต็มที่

สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็นกี่ลักษณะ

ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่แบบ "งานเดี่ยว" (single-tasking) และแบบ "หลายงาน" (multi-tasking) ระบบแบบงานเดี่ยวเป็นระบบที่ยอมให้มีผู้ใช้เพียงหนึ่งคนเท่านั้นในการใช้่แต่ละครั้ง และเมื่อมีผู้ใช้หนึ่งคนก็จะสามารถใช้โปรแกรมได้เพียงหนึี่งโปรแกรมเท่านั้น

ข้อใดจัดเป็นประเภทของระบบปฏิบัติการ

1. ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX).
2. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (LINUX).
3. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์(Microsoft Windows).
4. ระบบปฏิบัติการ APPLE Mac OS X..
5. ระบบปฏิบัติการ Apple iOS..
6. ระบบปฏิบัติการ GOOGLE Android..
7. ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine).

วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะอย่างไร

Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (OS = Operating System) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาให้เพื่อให้เราสามารถใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อนมีการใช้งานดอส (DOS = Disk Operating System) ซึ่งมีความยากในการใช้งาน เพราะเวลาใช้งาน ผู้ใช้ต้องป้อนชุดคำสั่งต่างๆ เข้าไปเป็นจำนวนมาก

ระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน ผู้ใช้หลายคน มีลักษณะอย่างไร

ประเภทของระบบปฏิบัติการ แบบหลายผู้ใช้ (Multi-user) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ผู้ใช้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์

สามารถจัดประเภทของระบบปฏิบัติการออกเป็นกี่ลักษณะ ข้อใดจัดเป็นประเภทของระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะอย่างไร ระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน ผู้ใช้หลายคน มีลักษณะอย่างไร มาตรฐานของโปรแกรมระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดประกอบด้วยอะไรบ้าง ข้อใด ไม่ใช่ ชนิดของระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย จงบอกข้อดีของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 มีอะไรบ้าง ปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานกันแพร่หลาย ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ คือ os คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร ระบบปฏิบัติการ มีอะไรบ้าง