แบบ เจดีย์ ทรง ปรางค์ เป็น รูป แบบ ศิลปกรรม สมัย ใด

          สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีพุทธศักราช 2564 จำนวนเงิน 2,000,000.- บาท (สองล้านบาทถ้วน) ถึงแม้ว่าเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในปัจจุบันจะได้รับการบูรณะแล้ว แต่ยังไม่เคยมีการขุดค้นทางโบราณคดี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากแผนผังที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดเจดีย์ยอดทอง จะพบว่า มีคูน้ำอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของโบราณสถาน ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นคูน้ำโบราณที่ล้อมรอบวัดตามแบบแผนผังวัดในสมัยสุโขทัย (ปัจจุบันคูน้ำด้านทิศเหนือถูกถมเพื่อก่อสร้างอาคารไปแล้ว) ดังนั้น พื้นที่ด้านหน้าเจดีย์ประธานจึงควรเป็นพื้นที่ของวิหาร แม้ว่าในปัจจุบันวิหารด้านหน้าไม่ปรากฏสภาพให้เห็นบนพื้นผิวดิน แต่สันนิษฐานว่า ใต้ดินยังมีหลักฐานของวิหารเหลืออยู่ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ส่วนที่เป็นวิหารพบว่า เป็นลานจอดรถของผู้มาติดต่อที่วัด และมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานดังนี้  

พระปรางค์

          พระปรางค์ หรือ ปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ

แบบ เจดีย์ ทรง ปรางค์ เป็น รูป แบบ ศิลปกรรม สมัย ใด

ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์
            พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมขอม มีลักษณะจำแนกเป็น 4 แบบ คือ
            1. ทรงศิขร เป็นปรางค์รูปแบบดั้งเดิม สร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอม เน้นคติความเชื่อว่าเป็นการ จำลองภูเขา และ สวรรค์ชั้นฟ้า ตัวอย่างได้แก่ ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ เป็นต้น
            2. ทรงงาเนียม มีลักษณะคล้ายงาช้าง ลักษระใหญ่แต่สั้น ตอนปลายโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม ถือเป็นประดิษฐกรรมของช่างไทย โดยมีการพัฒนาจากรูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเองในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างได้แก่ ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองเชลียง สุโขทัย เป็นต้น
            3. ทรงฝักข้าวโพด มีลักษณะ ผอมบางและตรงยาวคล้ายฝักข้าวโพด ส่วนยอดนั้นจะค่อยๆเรียวเล็กลง ก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลาย เป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างเช่น วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เป็นต้น
            4. ทรงจอมแห มีลักษณะคล้ายแหที่ถูกยกขึ้น ตัวอย่างได้แก่ วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี
            ปรางค์คือรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ เช่นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม) ของสมัยสุโขทัย เช่นเจดีย์ทรงระฆัง ของสมัยสุโขทัยก็มี ของสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยรัตนโกสินทร์ก็มี

องค์ประกอบของพระปรางค์
            1. นภศูล คือส่วนยอดปลายสุดของพระปรางค์ ทำด้วยโลหะหล่อเป็นรูป 4 แฉกคล้ายปลายดาบ ต่อซ้อนกัน 2-3 ชั้น ระหว่างกลางแทรกด้วยแกนคล้ายปลายหอก
            2. บัวกลุ่ม คือส่วนของอาคารที่อยู่บนยอดสุดของพระปรางค์ ทำเป็นรูปกลีบบัวแย้ม ตั้งรับนภศูล
            3. ชั้นรัดประคด คือส่วนชั้นของยอดพระปรางค์ที่มีลักษณะโค้งเข้า คล้ายรูปเอวพระภิกษุที่คอดเข้าอันเนื่องมาจากการนุ่งสบงที่รัดด้วยสายรัดประคด
            4. กลีบขนุน คือส่วนตกแต่งที่ประดับแทรกเข้าไปใต้ ชั้นรัดประคด ตรงตำแหน่งมุมที่ย่อของแต่ละชั้น
            5. บัณแถลง คือส่วนตกแต่งที่ทำเป็นรูปหน้าจั่วอาคารขนาดเล็ก ประดับอยู่ระหว่างกลางของกลีบขนุน คู่ในของ ชั้นรัดประคด แต่ละชั้นของพระปรางค์
            6. ชั้นอัสดง คือส่วนของเรือนยอดพระปรางค์ส่วนที่ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุ
            7. เรือนธาตุ คือส่วนที่เป็นตัวเรือนประธานของพระปรางค์
            8. ซุ้มจระนำ หรือ ซุ้มคูหา หรือ ซุ้มทิศ หรือ ซุ้มประตู คือส่วนที่ทำขึ้นประกอบเข้ากับองค์พระปรางค์หรือพระเจดีย์บริเวณภายนอกอาคารส่วนที่เป็นเรือนธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มี 4 ด้าน เรียกว่า ซุ้มทิศ ถ้าพระปรางค์นั้นกลวงมีทางเข้าออก จะเรียกและทำหน้าที่เป็น ซุ้มประตู
            9. ชุดฐานสิงห์ คือส่วนที่ทำเป็นฐานสิงห์ 3 ชั้น เทินเหนือ "ฐานปัทม์" เพื่อรับองค์ "เรือนธาตุ"
            10. ฐานปัทม์ คือส่วนที่เป็นฐานอาคาร ใช้ตั้งรับองค์เรือนธาตุอาคาร
            11. ฐานเขียง คือส่วนของโครงสร้างที่เป็นฐานชั้นล่างสุด

แบบ เจดีย์ ทรง ปรางค์ เป็น รูป แบบ ศิลปกรรม สมัย ใด

http://th.wikipedia.org/wiki/พระปรางค์

เจดีย์ทรงปรางค์ที่ได้พัฒนามาจากปราสาทขอมนั้น ถือเป็นรูปแบบเฉพาะที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น และมักปรากฏในวัดสำคัญๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น วัดมหาธาตุ วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระราม วัดราชบูรณะ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง การสร้างปรางค์เริ่มลดน้อยลง เนื่องจากกระแสอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เจดีย์สำคัญในสมัยนี้ จึงนิยมสร้างเป็นเจดีย์ทรงระฆังเป็นส่วนใหญ่

เจดีย์ทรงปรางค์ได้กลับมานิยมอีกครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น ที่วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งนิยมสร้างเจดีย์ทรงปรางค์อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๓ พบว่า มีการสร้างปรางค์เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม พระปรางค์ในรัชกาลที่ ๓ นี้ มีพัฒนาการไปไกลจากรูปแบบดั้งเดิมของขอม และสมัยอยุธยาตอนต้นอย่างมาก กล่าวคือ พระปรางค์มีทรงสูงชะลูดมากขึ้นจนมีลักษณะเป็นแท่ง มีการเพิ่มมุมและชั้นฐานมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มจำนวนชั้นหลังคามากขึ้นด้วย

การสร้างเจดีย์ทรงปรางค์นี้คงหมดไปภายหลังรัชกาลที่ ๓ เพราะในรัชกาลที่ ๔ ได้มีพระราชนิยมสร้างเจดีย์ทรงระฆังขึ้นแทน