โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ฟรี

แต่แม้ว่า GNU จะเป็นผู้ถากถางเส้นทาง Open Source และ Freeware ทว่าคนซึ่ง “มาทีหลังแต่ดังกว่า” อย่าง LINUX กลับได้รับคำชื่นชม และได้รับความนิยมแทนอย่างท่วมท้น
หลังจาก GNU ถางป่าเปิดเส้นทางราดยางมะตอย LINUX ก็สร้างถนนคอนกรีต 4 เลน ทะลวงโลก Software
แต่ในปัจจุบัน แม้กระแส LINUX ในวงกว้างดูจะอ่อนแรงลงบ้าง ทว่า คุณูปการที่ LINUX เคยสร้างเคยทำไว้ให้กับแวดวง ICT ยังคงมีดอกผลให้เก็บเกี่ยว ถึงกับบริษัท Software ขาโหดต้องเจ๊ง
ขณะเดียวกัน การทะยานขึ้นสู่ฟากฟ้าของ Wikipedia ทำให้ GNU กลับมาได้รับการกล่าวขวัญถึงอีกครั้ง ในฐานะเจ้าพ่อแห่งวงการ Open Source และ Freeware ผู้ชนะสิบทิศ

โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ฟรี

และทั้ง LINUX “ตัวพ่อ” Open Source และทั้ง GNU “ตัวแม่” Freeware ก็มีสาวกลูกๆ ติดตามกันเป็นพรวน จากการนำ Code และ Program ของทั้งคู่ไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โดยในรอบกว่า 30 ปีที่ผ่านมา หลังจาก GNU เปิดตัวในปี พ.ศ. 2527 และ LINUX เปิดตัวในปี พ.ศ. 2533 มี Software House มากมายที่เจริญรอยตามปรัชญาของ “คนคู่” ผู้ก่อตั้ง
โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ฟรี
Richard Stallman ชาวอเมริกัน เจ้าของแนวคิด GNU // en.wikipedia.org
นั่นก็คือ Richard Stallman ชาวอเมริกัน เจ้าของแนวคิด GNU และ Linus Torvalds ชาวฟินแลนด์ ผู้สร้างสำนัก LINUX โดยในปัจจุบัน ทั้งสองคนเป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจ
หนึ่งในผลพวงของ GNU ที่อยากพูดถึงในครั้งนี้ เป็นหนึ่งใน Software การคำนวณทางสถิติที่นักวิจัยหลายล้านคนบนโลกใบนี้กำลังใช้เพื่อประมวลผลทางสถิติอยู่อย่างเจ้มจ้น
นั่นก็คือ Software ทางสถิติ ที่มีชื่อว่า PSPP ซึ่งย่อมาจาก Public/Social/Private Partnership อันเป็น Software ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็น Program คู่ขนานกับ SPSS บันลือโลก

SPSS เป็นคำที่มีที่มาจาก Statistical Package for the Social Sciences โดย SPSS เป็น Software ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่นักวิจัยระดับสากล มาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยในปัจจุบัน IBM เป็นเจ้าของ SPSS

โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ฟรี
Linus Torvalds ชาวฟินแลนด์ ผู้สร้างสำนัก LINUX // en.wikipedia.org
แม้จะมี Software ทางด้าน Statistical หรือที่เรียกว่า Statistical Software Analytic หลายร้อยตัวบนโลกใบนี้ และมี Software ฟรีให้เลือกใช้ ทว่า SPSS กลับได้รับความนิยมสูงสุด
เหตุผลก็คือ ความ Simple หรือใช้งานง่าย โดยมีลักษณะคล้ายตาราง Excel ที่หลายคนคุ้นเคย อีกทั้งขั้นตอนการสั่งประมวลผลก็ไม่ยุ่งยากเมื่อเทียบกับ Program ตัวอื่นๆ ที่เคยทำมา
โดยเฉพาะการสร้าง การกำหนดคุณลักษณะ การ Combine หรือควบรวม “ตัวแปร” ก็มีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน นักสถิติที่ไม่คุ้นเคยกับการประมวลผลด้วย Computer จึงชื่นชอบ
แต่จุดอ่อน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นข้อเสียของ SPSS ก็คือความจู้จี้จุกจิกเรื่อง “ลิขสิทธิ์” คือทั้งหวง และทั้งห่วง
คือหวงประสิทธิภาพที่อุตส่าห์สร้างสมมา และห่วงว่าจะมี Software เถื่อน
แต่ความห่วงของ SPSS ก็เป็นความห่วงที่สูญเปล่า เพราะมีคนละเมิดลิขสิทธิ์ SPSS มากมายจากสนนราคาที่แพงแสนแพง ขนาดเวอร์ชั่นนักเรียน ก็ยังมีราคาแพงเสียจน “จับไม่ลง”
และยิ่ง SPSS ออกอาการหวงประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีคนหมั่นไส้มากขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้น เนื่องจากทุกวันนี้ มี Programmer เก่งๆ มากมายที่สามารถเลียนแบบ SPSS ได้
โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ฟรี
www.gnu.org/software/pspp
หนึ่งในนั้นก็คือ PSPP ซึ่งเป็น Software ของฟรี หนึ่งในสมาชิกของ GNU ที่เปิดเผย Source Code และอนุญาตให้นำต้นฉบับ Program ไปพัฒนาต่อยอดได้ทันที โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

จากการทดลองใช้ PSPP ผมพบว่า ใช้งานง่ายกว่า SPSS มากเกือบเท่าตัว การ Run ผลลัพธ์ก็มีรูปแบบ Graphics ที่อ่านง่ายกว่า ที่สำคัญก็คือไม่จู้จี้จุกจิก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม

โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ฟรี
ผมจึงขอรณรงค์สนับสนุนให้นักวิจัยรุ่นใหม่ หันมาใช้ PSPP กันให้มากๆ ยิ่งใครที่เขียนโปรแกรมเก่งๆ ก็สามารถนำ Code ของ PSPP ไปปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็ยิ่งเป็นการดี
โดยสามารถเข้าไป Download ชุดติดตั้ง Software ของ PSPP ได้ที่ www.gnu.org/software/pspp
รับรองว่าท่านจะประทับใจในคุณภาพสินค้าและบริการของ PSPP ไปอีกนานครับ!

Post Views: 2,413

  • TAGS
  • Freeware
  • GNU
  • Linus Torvalds
  • LINUX
  • Open Source
  • PSPP
  • Richard Stallman
  • Software แจกฟรี
  • SPSS
  • Statistical Software Analytic
  • Wikipedia

Previous articleสาลิกาคาบข่าว Vol.166

Next articleนโยบายเศรษฐกิจกับโคโรน่า อะไรเป็นตัวการหลักที่ทำให้ ‘ดอลลาร์’ เสื่อมราคาลง?

โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ฟรี

Jakkrit Siririn

ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน เจ้าของนามปากกา “นกป่า อุษาคเนย์” อยู่ในวงการสื่อสารมวลชนมา 25 ปี ทั้งนักข่าว นักเขียน บรรณาธิการ มาเป็น ดร.ด้านการศึกษา ผ่านประสบการณ์ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน จะมาแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม