เครื่องปั่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใด

พลังงานความร้อน เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า ให้กับประเทศไทยได้มากที่สุด ซึ่งต้องใช้น้ำมันเตา ถ่านลิกไนต์และแก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ความร้อนจากการเผาไหม้จะทำให้น้ำภายในหม้อต้มน้ำเดือน กลายเป็นไอ ไปผลักดันกังหันไอน้ำที่เชื่อต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้หมุน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น 

เครื่องปั่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใด

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ จะได้มาจากเขื่อน ซึ่งเขื่อนจะทดน้ำและจะทำให้น้ำไหลผ่านช่องทางบังคับไปขับดันกังหัน เมื่อกังหันหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งต่อกับกังหันก็จะหมุนไปด้วยกันได้ กระแสไฟฟ้าออกมาใช้งาน

เครื่องปั่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใด

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและพลังงานแสงสว่าง ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ไม่มีวันหมด ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้คิดดัดแปลงพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เราเรียกว่า “เซลล์สุริยะ” หรือ “โซลาเซลล์” เซลสุริยะหรือโซลาเชลล์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง

พลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานรูปอื่นได้  อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเรามากมายล้วนแต่ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น

1.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง  ได้แก่  หลอดไฟ  โคมไฟต่างๆ ฯลฯ
2.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน  ได้แก่  เตาไฟฟ้า  เตารีด  หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  เครื่องเป่าผม  เตาอบ  ฯลฯ
3.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์หมุน  ได้แก่  พัดลม  เครื่องซักผ้า  เครื่องผสมอาหานไฟฟ้า  ฯลฯ
4.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความเย็น  ได้แก่  ตู้เย็น  เครื่องปรับอากาศ  ฯลฯ
5.  เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทวงจรอิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่  วิทยุ  โทรทัศน์  เครื่องคอมพิวเตอร์  ฯลฯ

            ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้ามีมากขึ้น  ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมี่มีจำกัดและไม่สามารถทดแทนได้  ลดลงอย่างรวดเร็ว  เช่น น้ำ  ถ่านหิน  และก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำให้เกิดพลังงานไดน้ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  และการเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้มากๆ  อาจก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกหรือมลพิษในอากาศอีกด้วย

ส่วนไฟฟ้าที่ได้จากพลังน้ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  มักจะเกิดปัญหาเนื่องจากการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำทำให้ต้องเสียพื้นที่ป่าไม้บางส่วนซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ

วิธีที่ดีที่สุดคือการประหยัดไฟฟ้าและใช้เท่าที่จำเป็น นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ (Generator Set) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของระบบสำรองไฟที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย 

หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 

*** จุดประสงค์การใช้งาน เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองในกรณีที่กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับเพื่อให้หน่วยงานมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง ***

หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set) คือ 

“การเปลี่ยนแปลงพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟ้า” เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการหมุนของขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก หรือ การหมุนสนามแม่เหล็กตัดขดลวด (การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กตามหลักการของ ไมเคิล ฟาราเดย์ ที่ว่า การเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็กหรือการเคลื่อนที่แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดตัวนำนั้น) ลักษณะทั่วไปของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ

1. ชนิดกระแสตรงเรียกว่า ไดนาโม (Dynamo) 

2. ชนิดกระแสสลับเรียกว่า อัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator)

เนื่องจาก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้มีการให้กระแสไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ และสามารถนำมาประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

- เครื่องต้นกำลัง จะเป็นส่วนที่ให้กำเนิดพลังงานกลของเครื่องปั่นไฟออกมา ซึ่งมีหลากหลายแหล่งพลังงานทั้ง กังหันน้ำ, กังหันไอน้ำ, กังหันแก๊ส ฯลฯ

- ตัวผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือ Generator มีหลักการทำงานคือ การอาศัยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กเพื่อให้กำเนิดพลังงานในเครื่องปั่นไฟ โดยมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้ 

รูปแบบที่ 1  แบบทุ่นหมุน Revolving Armature Type (Ra Type)

มีหลักการทำงานโดยการอาศัยการหมุนของขดลวดทองแดง ซึ่งมีการพันอยู่บริเวณเส้นแกนเพลาหมุนตัดบริเวณเส้นแรงแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นที่ปลายของขดลวดทองแดง

รูปแบบที่ 2 แบบขั้วแม่เหล็กหมุน Revolving Field Type (Rf Type)

มีหลักการทำงานโดยการอาศัยการหมุนของขั้วแม่เหล็กที่อยู่บนเพลา ซึ่งจะทำให้เส้นแรงแม่เหล็กตัดบริเวณขดลวดทองแดงที่ติดอยู่ตรงเปลือก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าบริเวณขดลวดทองแดงขึ้น

รูปแบบที่ 3 แบบไม่มีการใช้แปรงถ่าน Brushless Type (Bl Type)

เป็นรูปแบบการทำงานเพื่อให้กำเนิดพลังงานในเครื่องปั่นไฟโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่มีการใช้แปรงถ่าน Brushless Type เพื่อเหนี่ยวนำพลังงานของสนามแม่เหล็ก อันจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่สม่ำเสมอและสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบ่งตามขั้นตอนการทำงานออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

- Exciter ประกอบด้วย Exciter Field Coil เป็นขดลวดที่ทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะติดอยู่กับส่วนที่อยู่กับที่

- Exciter Armature เป็นชุดที่ประกอบด้วยขดลวดที่จะถูกทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ โดยเป็นส่วนที่ติดอยู่กับเพลาและหมุนไปพร้อมกับเพลา กระแสที่เกิดขึ้นใน Exciter Armature จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส

- Rotating Rectifier จะติดอยู่บนเพลาจึงหมุนตามเพลาไปด้วย มีหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าสลับที่เกิดจาก Exciter Armature ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง

- Main Generator เป็นส่วนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อออกไปใช้งานจริง ประกอบด้วย

- Rotating Field Coil เป็นขดลวดที่พันรอบแกนเหล็กที่ติดกับเพลาเพื่อทำให้เหล็กกลายเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยได้รับไฟฟ้ากระแสตรงที่ป้อนมาจาก Rotating Rectifier

- Stator Coil (Alternator Armature) เป็นขดลวดที่จะถูกทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นและจ่ายกระแสไฟฟ้าสลับออกไปใช้งาน

- Automatic Voltage Regulator (A.V.R.) เป็นชุดควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่นำไปใช้งานให้คงที่ ซึ่งเป็นการทำงานควบคุมอย่างอัตโนมัติ หลักการทำงานของ A.V.R. เป็นการนำกระแสสลับที่เกิดจาก Stator Coil มาแปลงเป็นกระแสตรง จ่ายเข้า Exciter Field Coil โดยปริมาณกระแสตรงจะมีการควบคุมให้มากหรือน้อยตามสภาพการณ์ของแรงดันไฟฟ้าจาก Stator Coil โดยเป็นไปอย่างอัตโนมัติ 

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set) ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือ 

- เครื่องยนต์ (Engine) 

- ไดร์ปั่นไฟ (Alternator) 

- ชุดควบคุม (Controller) 

ทุกส่วนจะถูกนำมาประกอบร่วมเป็นชุดเดียวกัน โดยที่จะมีชุดควบคุมเป็นตัวสั่งการเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับเลือกแหล่งจ่ายไฟหรือที่เรียกว่า ATS (Automatic Transfer Switch) ว่าจะให้สับไปรับไฟจากส่วนไหน ระหว่างหม้อแปลงการไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 

โดย เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set) ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดโดยทั่วไป จะมีส่วนของตัวต้นกำลัง ซึ่งนิยมใช้ในรูปแบบของ “เครื่องยนต์” โดยแบ่งออกได้เป็น เครื่องยนต์เบนซิน, เครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊ส ซึ่งคุณสามารถเลือกรูปแบบการใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการ  ระบบสายส่งมีทั้ง ระบบ 1 เฟส (Single Phase) และ  ระบบ 3 เฟส (Three Phase) หรือ 3 เฟส 4 สาย ส่วนระบบควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้า มี 2 ชนิด คือ ชนิดควบคุมด้วยมือ (Manual) และ ชนิดควบคุมโดยอัตโนมัติ (Automatic)

*** สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมนั้น โดยมากจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งมีทั้งแบบ 1 เฟส และแบบ 3 เฟส ซึ่งจะมีทั้งแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ***