ข้อใดเป็นกฎหมายระดับท้องถิ่น

การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่าหรืออาจเรียกอีกอย่างว่ากฎหมายลูก จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หากบัญญัติออกมามีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่แล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่าใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มีความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้

1.  รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้  โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย  ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง  สิทธิเสรีภาพของประชาชน

2.  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น

3.  พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ  ความปลอดภัยของประเทศ  แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว

4.  พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี  เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้

5.  กฎกระทรวง  เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด

6.  ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น

7.  ประกาศคำสั่ง  เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ คำสั่งหน่วยงานราชการ  เป็นต้น

ประโยชน์การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายก็เพื่อประโยชน์ในการเริ่มต้นจัดทำร่างกฎหมายว่ากฎหมายประเภทนี้ระดับใดเป็นผู้จัดทำร่างเพื่อตราและประกาศใช้บังคับ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ใช้กฎหมายทราบลำดับชั้นของกฎหมายที่ใช้อยู่ว่าประเภทใด หรือฉบับใดมีศักดิ์และความสำคัญสูงกว่ากัน สามารถพิจารณาตรากฎหมายฉบับใหม่เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิกฉบับเดิมได้ตามศักดิ์ของกฎหมาย รวมทั้งกรณีมีปัญหาในการวินิจฉัยและตีความกฎหมาย โดยยึดหลักว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นต้องให้กฎหมายที่มีศักดิ์ระดับเดียวกันหรือสูงกว่ามาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก จึงจะมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย

[11] Department for Communities and Local Government, "Local government legislation: Byelaws,", September 18, 2012, accessed July 25, 2016, https://www.gov.uk/guidance/local-government-legislation-byelaws.

ข้อใดเป็นกฎหมายระดับท้องถิ่น

ข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

  ข้อบัญญัติองค์การส่วนตำบล (อบต.) เป็นกฎหมายที่คณะผู้บริหารหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้ออกกฎหมายเพื่อบริหารและพัฒนาท้องถิ่นที่ตนเองรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย

ข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ออกกฎหมายบังคับใช้ในท้องถิ่นของตนเอง ได้แก่

(1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล

(2) การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย

(3) การจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ

(4) การจำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ)

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ) เป็นกฎหมายที่คณะผู้บริหาร หรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ออกกฎหมายเพื่อบริหารและพัฒนาท้องถิ่นที่ตนเองรับผิดชอบ ตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย

กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 2

  • 20 November 2012
  • กฎหมายน่ารู้

การจัดทำกฎหมายท้องถิ่น  กฎหมายท้องถิ่นหรือกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง เป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง โดยออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นตนเองได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูป ซึ่งสามารถออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นของตนเองได้ คือ

1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เทศบาลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น ๆ

2. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำขึ้นใช้ในเขตจังหวัดนั้น ๆ

3. ข้อบังคับสุขาภิบาล เป็นกฎหมายที่คณะกรรมการสุขาภิบาล จัดทำขึ้นใช้ในเขตสุขาภิบาลนั้น ๆ

4. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตตำบลนั้น ๆ

5. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร

6. ข้อบังคับเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยาจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเมืองพัทยา

 

ตารางการจัดทำกฎหมายท้องถิ่น

ชื่อกฎหมาย

ผู้เสนอร่าง

ผู้พิจารณา

ผู้อนุมัติ

การประกาศใช้

เทศบัญญัติ

คณะเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาล

สภาเทศบาล

ผู้ว่าราชการจังหวัด บางกรณี รมว. มหาดไทย

สำนักงานเทศบาล 7วัน กรณีฉุกเฉินใช้ได้ทันที

ข้อบัญญัติจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ สมาชิสภาจังหวัด

สภาจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัด บางกรณี รมว. มหาดไทย

ศาลากลางจังหวัด 15 วัน กรณีฉุกเฉินใช้ได้ทันที

ข้อบังคับสุขาภิบาล

กรรมการสุขาภิบาล

คณะกรรมการสุขาภิบาล

ผู้ว่าราชการจังหวัด

สำนักงานสุขาภิบาล 7 วัน กรณีฉุกเฉินใช้ได้ทันที

ข้อบังคับตำบล

คณะกรรมการบริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

สภาองค์การบริหารส่วนตำบล

นายอำเภอ

ที่ว่าการอำเภอ

ข้อบัญญัติกรุงเทพ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกกรุงเทพ

สภากรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ราชกิจจานุเบกษา

ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

ปลัดเมืองพัทยาหรือสมาชิกสภาเมืองพัทยา

สภาเมืองพัทยา

ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

ศาลาว่าการเมืองพัทยาปกติ ประกาศ 3 วัน

 

การบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายที่ผ่านกระบวนการจัดทำและประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับใช้ได้ การบังคับข้อกฎหมายจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ และบุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ 

วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย จะมีผลตั้งแต่เมื่อใดนั้น โดยทั่วไปในกฎหมายนั้นจะระบุวัน เวลา ที่กฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้ไว้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันกับวันที่ประกาศใช้กฎหมายก็ได้ แต่ถ้าในกฎหมายนั้นไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มบังคับใช้ไว้ ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” เว้นแต่บางกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องบังคับใช้ย้อนหลัง ก็จะมีการระบุไว้ชัดเจนในกฎหมายนั้นว่า ให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับเฉพาะในอาณาเขตของรัฐนั้นหรือประเทศนั้นโดยตลอดทั่วทั้งรัฐหรือประเทศ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นบางกรณีเกี่ยวกับอาณาเขตกฎหมายไทยใช้บังคับคือ

– กรณียกเว้นบังคับใช้ออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แก่ การกระทำความผิดในเรือหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เช่น ความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง เช่น ปลอมเงินตรา หรือความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง ฯลฯ เป็นต้น

– กรณียกเว้นไม่บังคับใช้ตลอดทั่วราชอาณาจักร อาจจะเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ สังคม ศาสนาประเพณี วัฒนธรรม เล่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พ.ศ. 2498 ใช้บังคับเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีภูมิลำเนาในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าว เป็นต้น 

บุคคลที่กฎหมายบังคับ โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นหรือประเทศนั้น กฎหมายไทยจึงมีผลใช้บังคับกับทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนสัญชาติใด เชื้อชาติใด ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นตามกฎหมายบางประเทศ ที่จะไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคน ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1. พระมหากษัตริย์ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้