อาบัติที่ไม่มีมูลกําหนดโดยอาการอย่างไร

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒

๑.   พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร ?  ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร ?
๑.   พุทธ บัญญญัติ  คือข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น  เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง ส่วนอภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ ทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า พระวินัย ฯ


๒.   อาบัติ คืออะไร ? อาบัติที่เป็นโลกวัชชะและที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ?  จงยกตัวอย่างประกอบด้วย
๒.   คือ  โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ
   อาบัติ ที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย คนสามัญทำก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น ส่วนที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย เช่น ขุดดิน เป็นต้น ฯ


๓.   สิกขากับสิกขาบท  ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๓.   สิกขา  คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา  มี ๓  ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา
   ปัญญาสิกขา ส่วนสิกขาบท  คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบท
   หนึ่ง ๆ  มี ๒๒๗ สิกขาบท  ได้แก่ ปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓ 
   อนิยต ๒  นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐  ปาจิตตีย์ ๙๒  ปาฏิเทสนียะ ๔ 
   เสขิยะ ๗๕  และ อธิกรณสมถะ ๗ ฯ 


๔.   คำว่า  อาบัติที่ไม่มีมูล  กำหนดโดยอาการอย่างไร ?   ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ?
๔.   กำหนด โดยอาการ ๓  คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑  ไม่ได้ยินเอง ๑  ไม่ได้เกิด รังเกียจสงสัย ๑  ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ   โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส  โจทด้วยอาบัติอื่นจากอาบัติปาราชิกต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ


๕.   ในสิกขาบทที่ ๒ แห่งอาบัติปาราชิก  ทรัพย์เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติถุลลัจจัย และอาบัติทุกกฏ มีกำหนดราคาไว้เท่าไร ?
๕.   มีกำหนดราคาไว้ดังนี้
ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ มีราคาไม่ถึง ๕ มาสก แต่มากกว่า ๑ มาสก เป็นเหตุให้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา เป็นเหตุให้ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


๖.   ผ้าไตรครอง  มีอะไรบ้าง ? ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร ?
๖.   มี  สังฆาฏิ  อุตตราสงค์  อันตรวาสก ฯ   ต่างกันอย่างนี้  ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน  มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน   ส่วนอติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง  มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ


๗.   พระ ก. นำเบียร์มาให้พระ ข. ดื่ม  โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม  พระ ข. หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป ถามว่า พระ ก. และพระ ข. ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? 
๗.   พระ ก. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพูดปด
   พระ ข. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มน้ำเมา   แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ
   เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ฯ


๘.   ภิกษุนำตั่งของสงฆ์ไปตั้งใช้ในที่แจ้ง จะหลีกไปสู่วัดอื่นต้องทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นอาบัติ ?
๘.   ต้องเก็บด้วยตนเอง  หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายให้ผู้อื่น 
จึงจะไม่เป็นอาบัติ ฯ


๙.   ลักษณะ การประเคนประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง ?   การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนก็ดี  การจับผ้าปูโต๊ะประเคนก็ดี   ทั้ง ๒ วิธีนี้ถูกต้องหรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?
๙.   ประกอบด้วยองค์ต่อไปนี้
   ๑.   ของที่จะพึงประเคนนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป  พอคนปานกลาง
      ยกได้คนเดียว
๒.   ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส
๓.   เขาน้อมเข้ามา
๔.   กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
   ด้วยโยนให้ก็ได้
๕.   ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ ฯ
   ไม่ถูกทั้ง ๒ วิธี  เพราะไม่ต้องลักษณะองค์ประเคน  คือ การช่วยกัน
   ยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๑ 
   การจับผ้าปูโต๊ะประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๓ ฯ


๑๐.   อธิกรณ์ คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ?
๑๐.   คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ 
   ต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น ๆ ฯ

เฉลยโดย แม่กองธรรมสนามหลวง

เทคนิคการทำข้อสอบทุกครั้งจะต้องเขียนตอบปัญหาแบบถ้วนคำถามและควรจะแสดงภูมิความรู้ให้สมกับที่ได้เรียนมา ดังนั้นผู้เรียนสามารถศึกษาและติวเข้มจากเก็งข้อสอบวิชาธรรมวิภาคด้านล่างนี้


๑.     พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร? ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร?

ตอบ พุทธบัญญัติ คือ ข้อห้ามที่พระพุทะเจ้าทรงตั้งขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง ส่วน

อภิสมาจาร คือขบนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงให้ดีงาม

ทั้ง ๒ อย่างนี้รวมเรียกว่า พระวินัย


๒.     สิกขา สิกขาบท และอาบัติ ได้แก่อะไร?

ตอบ สิกขา ได้แก่ ข้อที่ภิกษุควรศึกษา มี ๓ อย่าง คือ สีสสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา

สิกขาบท ได้แก่ พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ ทรงตั้งขึ้นด้วยพุทธอาณาไว้สำหรับปรับโทษแก่ภิกษุหนักบ้าง เบาบ้าง

อาบัติ ได้แก่ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม


๓.     อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ มีอะไรบ้าง?

ตอบ อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ มี ๖ อย่าง คือ

          ๑. ต้องด้วยไม่ละอาย

          ๒. ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ

          ๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำ

          ๔. ต้องด้วยสำคัญควรในของที่ไม่ควร

          ๕. ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

          ๖. ต้องด้วยลืมสติ


๔.    อาบัติว่าโดยชื่อมีกี่อย่าง? อะไรบ้าง?

ตอบ อาบัติว่าโดยชื่อมี ๗ อย่าง คือ

๑. ปาราชิก

๒. สังฆาทิเสส

๓. ถุลลัยจัย

๔. ปาจิตตีย์

๕. ปากิเทสนียะ

๖. ทุกกฎ

๗. ทุพภาสิต


๕.    ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ต้องอาบัติ?

ตอบ ต้องอาบัติแบบนี้คือ ฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ฆ่าอมนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติถุลลัยจัย ฆ่าสัตว์เดรัจฉานให้ตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์


๖.     ไตรจีวรประกอบด้วยผ้าอะไรบ้าง? ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ต้องปฏิบัติอย่างไร?

ตอบ ไตรจีวรประกอบด้วยผ้า ๓ ผืนคือ ๑.สังฆาฏิ คือผ้าคลุม ๒.อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม และ ๓.อันตรวาสก คือผ้านุ่ง

ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรต้องปฏิบัติดังนี้ คือต้องสละไตรจีวรผืนที่อยู่ปราศจากนั้น แล้วแสดงอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อได้รับผ้ากลับคืนมาแล้วต้องอธิฐาษใหม่


๗.    จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้

๑. อติเรกจีวร ๒. จีวรกาล ๓. อนุปสัมบัน

ตอบ ๑. อติเรกจีวร หมายถึง จีวรที่ไม่ใช่จีวรอธิษฐาน

๒. จีวรกาล หมายถึงคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (คืออยู่จำพรรษาแล้ว ถ้าไม่ได้กรานกฐิน นับแต่วันปวารณาไป ๑ เดือน แต่ถ้าได้กรานกฐิน เพิ่มออกไปอีก ๔ เดือนในฤดูหนาว)

๓. อนุปสัมบัน หมายถึงบุคคลที่มิใช่ภิกษุ


๘.    เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็ษไว้ฉันได้กี่วันเป็นอย่างยิ่ง?

ตอบ เภสัช ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

ภิกษุรับประเคนแล้วเก็ษไว้ฉันได้ ๗ วัน


๙.    อธิกรณ์ คืออะไร? การตัดสินอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก เรียกว่าอะไร?

ตอบ อธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ

การตัดสินอธิกรณ์ตามเสียงข้างมากเรียกว่า เยภุยยสิกา


๑๐. ข้อว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ นั้นมีอธิบายอย่างไร?

ตอบ มีอธิบายอย่างนี้คือ รับโดยแสดงความเอื้อเฟื้อในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น และให้แสดงเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่นหรือเอามาทิ้งเสีย





สำคัญ:ผู้เรียนนักธรรมชั้นตรีควรอ่านปัญาหาข้างต้นบ่อยๆ บวกกับการฝึกเขียนฝึกทำข้อสอบ ฝึกตอบปัญหาด้วยตนเองจากปัญหาดังกล่าว ข้อไหนยากจำยากควรใช้วิธีท่องจำก็ได้ครับ และเมื่อผู้เรียนได้อ่านบ่อยๆ ทำข้อสอบบ่อยๆ ก็จะเป็นตัวช่วยแรงๆ ของเราอย่างมากแน่นอนเวลาสอบธรรมสนามหลวงจริงครับ