พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจใดบ้าง

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศ ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม "

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น [2] ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น

พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัยซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อ

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่างๆอาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา ไม่ใช่เฉพาะแต่ศาสนาที่พระองค์ทรงนับถือ เนื่องจากทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดีและให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นจำนวน45เล่ม

พระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงภายในประเทศ

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวไทยว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ตลอดระยะเวลา 60 ปีของการเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงปกครองประเทศ พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าตลอดจนผู้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่างได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขภายใต้พระบารมีและพระบรมเดชานุภาพเป็นที่ประจักษ์ของผู้คนทั้งหลาย พระองค์ได้เสด็จฯ เยี่ยมพสกนิกรไปทุกหนทุกแห่งได้ทรงพบผู้คนในระดับล่าง แลกเปลี่ยน รับรู้ และทรงเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของคนเหล่านั้นและได้นำข้อเท็จจริงทั้งหลายอันนำมาซึ่งความทุกข์ยากต่างๆที่คนเหล่านั้นประสบมาหาแนวทางช่วยเหลือแก้ไข เป็นที่มาของโครงการพระราชดำริมากมายกว่าหนึ่งพันโครงการ พิสูจน์ให้เห็นถึงพระปฐมบรมราชโองการดังกล่าวว่า พระองค์ท่าน "ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" อย่างแท้จริง

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม ๒๗ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ

พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม

  • ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย

  • ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร

  • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา

เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13

นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว ยังทรงเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส ยิงปืน เป็นต้น

ที่มา  : https://th.wikipedia.org/wiki/