การทดสอบสมรรถภาพทางกลไกมีกี่รายการ

การทดสอบสมรรถภาพกลไกวิชาพลศึกษา

        พิชิต   ภูติจันทร์  (2547:67-73) กล่าวว่า  สมรรถภาพกลไก   หมายถึง  ขีดจำกัดของ

ความสามารถทางกลไก  โดยเน้นถึงความสามารถในการทำงานที่หนัก มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่  ความทนทาน พลัง ความแข็งแรง ความคล่องแคล่วว่องไว ความยืดหยุ่นตัว  และการทรงตัว  ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติทักษะเบื้องต้น ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การกระโดด การล้ม การหลบหลีก การกลับตัว การปีนป่ายห้อยโหน การแบกหาม

วิริยา บุญชัย, 2532  อ้างถึงใน ประเสริฐ ขำดำ (2550:10) ได้กล่าวถึง สมรรถภาพกลไก

ไว้ว่า สมรรถภาพกลไก หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อ มัดใหญ่ๆ ที่จะปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นเวลานาน เป็นความสามารถของบุคคลที่เคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์ประกอบของสมรรถภาพกลไกประกอบด้วย

1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ใน

การดัน โดยมีน้ำหนักตัวเป็นแรงต้านทาน

2. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) คือความสามารถของกล้ามเนื้อ ที่จะ

หดตัวอย่างต่อเนื่องกันได้เป็นระยะเวลานานๆ

3.พลังกล้ามเนื้อ (Muscular Power) คือความสามารถในการให้พลังงานสูงสุดของกล้ามเนื้อ

ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

4. ความเร็ว (Speed) คือความเร็วในการปฏิบัติกิจกรรมในการเคลื่อนไหว

5. ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) คือความเร็วในการเปลี่ยนตำแหน่งหรือทิศทางในการ

เคลื่อนที่ของร่างกาย

6. ความอ่อนตัว (Flexibility) คือช่วงกว้างของการเคลื่อนไหวในข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย

สามารถบิดหรือโค้งไปได้

7.ความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิต และการหายใจ(Cardio-Respiratory Endurance) สามารถปรับตัวต่อการหดตัวของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ปฏิบัติกิจกรรมในระยะเวลายาวนาน

มหาวิทยาลัยโอเรกอน ได้สร้างแบบทดสอบความสามารถทางกลไก (Oregon Motor Fitness Test) Mathews. 1978: 170 – 172 อ้างถึงใน ประเสริฐ ขำดำ (2550:11-12) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อศึกษาหรือสำรวจความสามารถทางกลไกของเด็กแต่ละระดับการศึกษา

2. เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความสามารถทางกลไกของเด็กแต่ละชั้น

3. เพื่อจูงใจให้เด็กที่มีความสามารถทางกลไกต่ำกว่ามาตรฐานได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น

4. เพื่อให้โรงเรียนได้ปรับปรุงบทเรียนพลศึกษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ผลการสร้างแบบทดสอบของมหาวิทยาลัยโอเรกอน สมรรถภาพทางกลไก ออกมา 3 ชุด ใช้

วัดความสามารถทางกลไกของเด็กในระดับต่างๆ แต่ทุกแบบทดสอบมีจุดมุ่งหมายในการวัด คือ วัดความเร็ว ความทนทาน ความคล่องแคล่วว่องไว ความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ท้อง ความทนทานของกล้ามแขนและไหล่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

แบบทดสอบชุดที่ 1 ใช้สำหรับวัดสมรรถภาพกลไกของเด็กชายระดับประถมศึกษาตอนต้น

และตอนปลาย ประกอบด้วย

1. ยืนกระโดดไกล (Standing Broad Jump)

2. ดันพื้น (Push - Ups)

3. ลุกนั่ง (Sit - Ups)

แบบทดสอบชุดที่ 2 ใช้สำหรับวัดสมรรถภาพกลไกของเด็กชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

และตอนปลาย ประกอบด้วย

1. ดึงข้อ (Pull - Ups)

2. กระโดดแตะ (Jump - Ups)

3. วิ่งเก็บของ 160 หลา (160 Yard Potato Race)

แบบทดสอบชุดที่ 3 ใช้สำหรับวัดสมรรถภาพกลไกของเด็กหญิงระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ประกอบด้วย

1. งอแขนห้อยตัว (Hanging in Arm – Fiexed Position)

2. ยืนกระโดดไกล (Standing Broad Jump)

3. ลุกนั่ง เอียงตัวศอกแตะเข่าตรงข้าม (Crossed – Arm Curl - Ups)

ประเสริฐ ขำดำ (2550:13-14)  กล่าวว่า แบบทดสอบสมรรถภาพกลไกที่กรมพลศึกษาใช้เป็นแบบทดสอบสมรรถภาพกลไกและสร้างเกณฑ์มาตรฐานของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.. 2512 จนถึงปัจจุบัน (กระทรวงศึกษาธิการ, กรมพลศึกษา, สำนักงานการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ, 2543)  มีแบบทดสอบต่างๆ ดังนี้

1. แบบทสอบสมรรถภาพกลไกของนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา ประกอบด้วย

รายการทดสอบ ดังนี้

1.1  นั่งงอตัวไปข้างหน้า

1.2   ยืนเขย่งปลายเท้า

1.3   ยืนกระโดดไกล

1.4   วิ่ง 20 หลา

2. แบบทดสอบสมรรถภาพกลไกมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Committee

for the Standardization of Physical Fitness Test. (ICSPFT) ซึ่งมีรายการทดสอบ 8 รายการ

(กระทรวงศึกษาธิการ, กรมพลศึกษา, สำนักงานการพลศึกษา สุขภาพ และนันทนาการ, 2543) คือ

2.1   วิ่ง 50 เมตร

2.2   ยืนกระโดดไกล

2.3   แรงบีบมือที่ถนัด

2.4   ลุกนั่ง 30 วินาที

2.5   ดึงข้อราวเดี่ยว (สำหรับผู้ชาย อายุ 12 ปีขึ้น ไป) งอแขนห้อยตัว (สำหรับชาย อายุ   ต่ำกว่า 12 ปี และหญิง)

2.6   วิ่งเก็บของ

2.7   วิ่งทางไกล 600 เมตร (สำหรับชายและหญิง อายุต่ำกว่า 12 ปี)

        วิ่งทางไกล 800 เมตร (สำหรับหญิง อายุ 12 ปีขึ้น ไป)

        วิ่งทางไกล 1,000 เมตร (สำหรับชาย อายุ 12 ปีขึ้น ไป)

2.8   งอตัวไปข้างหน้า

3. แบบทดสอบสมรรถภาพกลไกของสมาคมกีฬาสมัครเล่นของประเทศญี่ปุ่น (Japan Amateur

Sport Association (JASA)) มีรายการทดสอบ 5 รายการ คือ

3.1   ยืนกระโดดไกล

3.2   ลุกนั่ง 30 วินาที

3.3   ดันพื้น

3.4   วิ่งกลับตัว

3.5   วิ่ง 5 นาที

ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่กรมพลศึกษา นำมาใช้ทำการทดสอบ นักเรียนชายหญิง อายุ       

4 – 6  ปี ตั้ง แต่ปี พ.. 2527 เป็นต้นมา เนื่องจากกรมพลศึกษาได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิญี่ปุ่น ส่งนายจุนโกะ โอกะ มาเป็นที่ปรึกษาร่วมดำเนินงานกับกองส่งเสริมการศึกษาและสุขภาพ กรมพลศึกษา ตามโครงการพัฒนาและแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างประเทศ และนายจุนโกะ โอกะ ได้นำแบบทดสอบนี้มาดำเนินการทดสอบสมรรถภาพกลไกนักเรียนไทยในปี พ.. 2527 (กรมพลศึกษา, กองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพ งานทดสอบสมรรถภาพทางกาย, 2534)

4. แบบทดสอบสมรรถภาพกลไกของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วยรายการทดสอบ

(กระทรวงศึกษาธิการ, กรมพลศึกษา, สำนักพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพ และ นันทนาการ, 2543)

4.1   งอตัวไปข้างหน้า

4.2   ยืนกระโดดไกล

4.3   ลุกนั่ง 30 วินาที

4.4   วิ่งเก็บของ

4.5   วิ่ง 50 เมตร

พบว่า เป็นแบบทดสอบที่มีรายการบางรายการที่สามารถนำไปใช้กับนักเรียนระดับก่อน

ประถมศึกษา อายุ 4 – 6 ปี ได้ เช่น งอตัวไปข้างหน้าและยืนกระโดดไกล

การประเมินสุขภาพเบื่องต้น และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย

สุขภาพ

      สุขภาพ (Health) หมายถึง สุขภาวะ (Well–Being หรือ Wellness) ทีสมบูรณ์และเชื่อมโยงกันเป็น

องค์รวมอยู่อย่างสมดุลทั้งมิติทางจิตวิญญาณ (มโนธรรม) ทางสงคม ทางกาย และทางจิต ซึ่งมิได้

หมายถึงเฉพาะความไม่พิการและความไม่มีโรคเท่านั้น

การประเมินสุขภาพ

                การประเมินสุขภาพ หมายถึง การคาดคะเนหรือประมาณค่าความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต

และทางสังคม