เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 หน้าที่

สาระสุขภาพ

08Jan
2018

คำแนะนำ โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 หน้าที่

โรคอัมพาตใบหน้า เป็นอาการที่เกิดจาก “เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7” (facial nerve)อักเสบหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทางเดินของเส้นประสาทสมองคู่ที่เจ็ดดังกล่าวจะออกจากก้านสมอง ผ่านใต้กระโหลกศรีษะ มาโผล่ที่หน้าหูแล้วแยกเป็นสองแขนงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านเดียวกัน แขนงบนช่วยในการหลับตา แขนงล่างช่วยดึงกล้ามเนื้อมุมปาก เช่น การยิ้ม การห่อปาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแขนงย่อยๆ ไปลี้ยงที่เยื่อแก้วหู และรับรสที่ลิ้นอีกด้วย

 

คำแนะนำโรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s palsy)

โรคอัมพาตใบหน้า เป็นอาการที่เกิดจาก เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7(facial nerve)อักเสบหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทางเดินของเส้นประสาทสมองคู่ที่เจ็ดดังกล่าวจะออกจากก้านสมอง ผ่านใต้กระโหลกศรีษะ มาโผล่ที่หน้าหูแล้วแยกเป็นสองแขนงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านเดียวกัน   แขนงบนช่วยในการหลับตา แขนงล่างช่วยดึงกล้ามเนื้อมุมปาก เช่น การยิ้ม การห่อปาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแขนงย่อยๆ ไปลี้ยงที่เยื่อแก้วหู และรับรสที่ลิ้นอีกด้วย

อาการของโรค

อาการของโรค Bell’s palsy ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเร็วใน 1-2 วัน ตื่นมารู้สึกหน้าหนักๆ หลับตาไม่สนิท ตาแห้ง ทานน้ำมีน้ำไหลจากมุมปาก บางรายมีลิ้นชาหรือหูอื้อๆ ร่วมด้วย อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงในแต่ละรายจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือการบวมอักเสบของเส้นประสาทที่ต่างกัน ในบางรายที่มีอาการน้อย อาจไม่ต้องทำอะไรก็หายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ สามารถแยกจากโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย ได้แก่ แขนขาอ่อนแรงข้างเดียวกับที่มีปากเบี้ยว มองเห็นภาพซ้อน เดินเซหรือมีอาการบ้านหมุน พูดไม่ชัด เป็นต้น

                                                         

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 หน้าที่

สาเหตุของโรค

โรคนี้พบได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งในคนที่แข็งแรงดีมาก่อน มักเกิดในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อยจนทำให้มีการติดเชื้อไวรัส เช่นไวรัสเริม ไวรัสไขหวดใหญ่ นอกจากนี้ยังพบบ่อยในสตรีตั้งครรภ์, ผู้ป่วยเบาหวาน, มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือต่อมน้ำเหลือง, ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV เป็นต้น

การวินิจฉัย

                ได้จากประวัติและอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก และการตรวจร่างกายทางระบบประสาทโดยแพทย์

-                    การตรวจเลือด มักทำเพื่อหาความเสี่ยงของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

-                    การเอ็กซเรย์สมอง ไม่จำเป็นต้องทำ แพทย์จะพิจารณาทำในรายที่เป็นนาน เกิน 2 เดือนอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำ

วิธีการรักษา

1.การใช้ยา  ปัจจุบันพบว่าการใช้ยากลุ่มสเตรียรอยด์ (steroid) ติดต่อกัน 7-10 วัน ช่วยลดการบวมและอักเสบของเส้นประสาททำให้หายเร็วขึ้น ซึ่งหากได้รับการรักษาภายใน 1 สัปดาห์แรกหลังเกิดอาการ มักจะได้รับผลการรักษาที่ค่อนข้างดี แพทย์อาจพิจาณาให้ยาต้านไวรัสร่วมด้วยในบางราย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหลับตาได้สนิทหรือเป็นแผลได้ง่าย การรักษาจึงรวมไปถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวด้วยการปิดตาหรือหยอดน้ำตาเทียม

2.กายภาพบำบัด ได้แก่ การออกกำลังการยกล้ามเนื้อใบหน้า (facial exercise) เช่น ปิดตาแน่น ทำปากจู๋ ยักคิ้ว แก้มป่อง ยิงฟัน หรือนวดหน้า เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไม่ให้ฝ่อลีบ

6) การพยากรณ์ของโรคและระยะเวลาในการรักษา

ส่วนใหญ่จะดีขึ้นมากใน 2-3อาทิตย์แรก และประมาณ50% ของผู้ป่วยจะหายสนิท  ถ้าเริ่มดีขึ้นใน 3 สัปดาห์พบว่า โอกาสที่หายสนิทสูงมาก และส่วนที่เหลืออาการจะค่อยๆดีขึ้นใน 3-6 เดือน  แต่ในรายที่เส้นประสาทมีปัญหาอยู่เดิม เช่น เบาหวาน หรือ เกิดจากเชื้องูสวัด มักจะไม่หายสนิท โอกาสที่เป็นซ้ำอีกพบน้อยมาก ถ้าเกิดเป็นซ้ำหลายครั้ง ควรไปพบประสาทแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นๆเพิ่มเติม

1.               อาการใบหน้ากระตุกครึ่งซีก โดยจะมีการกระตุกที่มุมปากและตา ทำให้ตาหรี่ลงและปากเบี้ยว มุมปากจะถูกดึงรั้งขึ้นมาเองเป็นพักๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่มีความกังวล อดนอนหรือเครียด

2.               อาการตาหรี่ลงหรือตาปิดในขณะยิ้มหรือพูด ทั้งนี้เป็นเพราะประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งงอกขึ้นมาใหม่งอกไปผิดทาง ดังนั้น จึงทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าบริเวณมุมปากและรอบตาทำงานไปพร้อมๆ กันทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อของใบหน้า

3.               อาการตาแห้งหรือไม่มีน้ำตา ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการหยอดน้ำตาเทียมเพื่อทดแทน ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดอาการตาแห้งและระคายเคือง ซึ่งอาจมีผลทำให้กระจกตาเป็นแผลได้

4.               อาการน้ำตาไหล ในขณะรับประทานอาหารหรือขณะยิ้ม ทั้งนี้เป็นผลจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 งอกใหม่และไปผิดทางแนวเดิมนั่นเอง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรค

1.               รับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด

2.               พักผ่อนเพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง/วัน

3.               ทำกายภาพฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้า (facial exercise) โดยควรทำหน้ากระจกเสมอ จนกว่าใบหน้าจะกลับเป็นปกติ เพื่อได้สังเกตอาการตนเอง เป็นการติดตาม และเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า

4.               นวดใบหน้าด้านมีอาการเบาๆ สม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาท

ความรู้ทีน่าสนใจ

  • คำแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

    เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 หน้าที่
  • คำแนะนำวิธีปฏิบัติตัวในผู้ป่วยปวดคอ

    เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 หน้าที่
  • คำแนะนำเรื่อง การบริหารร่างกายในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

    เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 หน้าที่

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 สมองส่วนใด

เส้นประสาทเฟเชียล หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 (อังกฤษ: Facial nerve) เป็นหนึ่งในเส้นประสาทสมองจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ เส้นประสาทนี้ออกมาจากก้านสมองที่ระหว่างพอนส์และเมดัลลา ออบลองกาตา และทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า และรับรสจากส่วนด้านหน้า 2/3 ของลิ้นและช่องปาก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลี้ยงใยประสาทก่อนปมประสาทของ ...

เส้นประสาทสมอง คู่ ที่ 7 อักเสบ เกิดจากอะไร

เกิดจากอะไร ? โรคนี้เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ส่วนหนึ่งพบหลักฐานว่าเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยคือเชื้อเริม (Herpes simplex virus), งูสวัด (Herpes zoster), Cytomegalovirus และ Ebstein-Barr virus.

Glossopharyngeal nerve ทําหน้าที่อะไร

2.1.9 ประสาทสมองคูที่ 9 (Glossopharyngeal nerve / CNIX) มีหนาที่ควบคุมการทํางานของลิ้นไก เพดานปาก หลอดคอ กลองเสียง การหลั่งน้ําลายและการรับรสที่โคนลิ้น 2.1.10 ประสาทสมองคูที่ 10 (Vagus nerve / CNX) มีหนาที่ ควบคุมการทํางานของคอหอย หลอดลม หัวใจ ปอด และอวัยวะในชองทอง 2.1.11 ประสาทสมองคูที่ 11 (Accessory nerve / ...

เส้นประสาทสมองคู่ที่8มีหน้าที่อะไร

คู่ที่ 8 Acoustic nerve (Vestibulocochlear nerve, CN8) ทำหน้าที่ใน การได้ยิน การทรงตัว คู่ที่ 9,10 ทำหน้าที่ในการกลืนอาหาร โดยคู่ที่ 9 คือ Glossopharyngeal nerve (CN9) ส่วนคู่ที่ 10 คือ Vagus nerve (CN10) คู่ที่ 11 Spinal accessory nerve (CN11) ทำหน้าที่ หยักไหล่ เคลื่อนไหวคอ ศีรษะ