เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA มีประโยชน์อย่างไร

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2535 เป็นความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีฯให้เสร็จภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะค่อยๆลดภาษีสินค้าทุกรายการให้เหลือ 0-5% ภายในปี พ.ศ. 2553 จากนั้นก็จะยกเลิกเครื่องกีดขวางทางการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษีให้หมดไปด้วย เช่น การจำกัดโควต้านำเข้า เป็นต้น ข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและศิลปะ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน หมายความว่าการที่ได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน

ผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์อะไร? อาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน การแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบจะส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้

เกษตรกรไทยได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่? ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงในการเปิดเสรีทางการค้าในสินค้าเกษตร ซึ่งมีสินค้าผูกพันตามข้อตกลงจำนวน 23 รายการ ได้แก่ น้ำนมดิบ/นมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ลำไยแห้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง พริกไทย ข้าว เมล็ดถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง ชา เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ไหมดิบ น้ำตาล และใบยาสูบ

สินค้าเกษตรไทยต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการแข่งขันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  การเปิดเสรีทางการค้าทำให้การผลิตสินค้าทางการเกษตรเป็นการผลิตเชิงพาณิชย์ มีการลงทุนโดยกลุ่มทุนการเกษตรคราวละมากๆ แต่เกษตรกรไทยมีพื้นที่จำกัด ขาดเทคโนโลยีทางการเกษตรที่จะช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ หรือให้ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก ทำให้ไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศไม่ได้ ประกอบกับถูกมาตรการกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้าด้อยคุณภาพ ทำให้เกษตรกรไทยไม่พร้อมจะแข่งขันในระดับโลก และในขณะเดียวกันก็จะทำให้สินค้าเกษตรจากต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าประเทศไทยไหลเข้ามาในประเทศ ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าทำให้สินค้าเกษตรไทยขายไม่ได้ เมื่อเกษตรกรไทยไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรเพื่อแข่งขันในประเทศตนเองไม่ได้ เกษตรกรไทยก็อาจจะต้องสูญเสียอาชีพไปในที่สุด

ผู้บริโภคได้อะไร? ประชาชนที่เป็นผู้บริโภคก็อาจจะซื้อสินค้าราคาถูกลงในระยะแรก แต่เมื่อเกษตรกรรายย่อยล่มสลายก็จะเกิดการผูกขาดทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงตลอดไป

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะรับมืออย่างไร? อาจกล่าวว่าเป็นความโชคดีก็ได้ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะไปเจรจาขอเลื่อน AFTA ภาคการบริการการท่องเที่ยวออกไปอีกเป็น พ.ศ. 2558 เนื่องจากต้องการเวลาในการพัฒนาบุคคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอในการแข่งขัน ในด้านผู้ประกอบการจะเป็นกังวลเรื่องการลงทุนว่าเมื่อต่างชาติมีความพร้อมด้านเงินลงทุนมากกว่าก็จะเข้ามาตีตลาดได้ แต่ธุรกิจนำเที่ยวไทยที่ไม่มีความพร้อมด้านเงินลงทุนจำนวนมากก็จะแข่งขันด้านการตลาดไม่ได้ นอกจากนี้การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน ในปี 2558 จะทำให้บุคลากรของไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะยังมีจุดอ่อนทางด้านภาษาและไอที กลุ่มแรงงานที่เพิ่งจบการศึกษาก็จะหางานทำได้ยากขึ้น เพราะจะมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานเพราะความได้เปรียบด้านภาษา อย่างไรก็ตามกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยวมากถึง 242 หลักสูตรเพื่อรับมือกับปัญหาด้านแรงงานที่จะมีขึ้น หลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งหมดนี้ต้องนำเสนอให้ที่ประชุมอาเซียนพิจารณาและรับรองหลักสูตรเพื่อให้เกิดการยอมรับก่อนนำไปใช้ ปัจจุบันหลักสูตรที่ทำเสร็จแล้วคือ หลักสูตรพนักงานต้อนรับในโรงแรมที่ได้เปิดทดลองใช้และพัฒนาให้ดีขึ้น และได้รับความร่วมมือจากกระทรวงแรงงานเพื่อการออกใบรับประกันการผ่านงาน ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำประกาศนียบัตรนี้ไปสมัครทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ทั้ง 10 ประเทศ (หลังจากกลุ่มอาเซียนเซ็นยอมรับในหลักสูตรอบรมมาตรฐานแล้ว)

การเปิดเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) มีทั้งประโยชน์และอุปสรรคต่อคนไทยในทุกภาคส่วนทั้งในฐานะผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องศึกษารายละเอียดและข้อตกลงต่างๆเพื่อเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งคว้าโอกาสที่จะมาถึง ก็จะดีกว่าการวิพากษ์วิจารณ์หรือวิตกกังวลจนเกินไป

          สินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบจากการจัดตั้ง AFTA  การค้าเสรีอาเซียน ส่วนใหญ่คือ สินค้าที่ไม่มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสินค้าที่ใช้เวลาในการปรับตัวนาน เช่น เหล็ก สิ่งทอ และสินค้าประเภทที่มีการลดภาษีใน AFTA แล้ว แต่เป็นสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าจากนอกอาเซียนซึ่งไทยมีอัตราภาษีศุลกากรอยู่ในระดับสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

พฤษภาคม 2565 วันเริ่มมีผลบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Operational Certification Procedures: OCP) ที่ปรับปรุงใหม่ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA)
การใช้สิทธิประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ของไทย

Facebook

Twitter

Google+

TRF Policy Brief ปีที่ 1 ฉบับที่ 7/2553 (344 downloads)

ประเด็นสำคัญ

•    การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาความน่าลงทุนของประเทศในภูมิภาค ASEAN มากกว่าส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศใน ASEAN ด้วยกัน 

•    ในช่วงปี 2546 – 2549 การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีจาก AFTA ของผู้ประกอบการไทยอยู่ในระดับที่ต่ำ (ร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกจากไทยไป ASEAN ทั้งหมด และร้อยละ 15 ของมูลค่านำเข้าจาก ASEAN มายังไทยทั้งหมด) โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้สิทธิพิเศษในอุตสาหกรรมรถยนต์สำเร็จรูป

•    การตัดสินใจขอใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA ขึ้นอยู่กับว่า ขนาดของสิทธิพิเศษ (ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีปกติกับอัตรา CEPT) สูงพอที่จะชดเชยต้นทุนจากการขอใช้สิทธิพิเศษหรือไม่ ซึ่งต้นทุนดังกล่าวโดยมากคือต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin: RoO) ของสินค้านั้น

•    อีกปัจจัยหลักที่ทำให้การใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA อยู่ในระดับต่ำคือการที่ประเทศใน ASEAN ส่วนใหญ่นำเข้าและส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าปกติที่ต่ำอยู่แล้ว โดยการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises: MNEs) ในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ใช้ประเทศภูมิภาค ASEAN เป็นฐานการผลิตโดยการตั้งบริษัทลูกในประเทศใน ASEAN ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน และสามารถใช้สิทธิการคืนภาษีนำเข้าได้ 

•    บทบาทของ AFTA เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้เกิดการค้าเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมให้ MNEs ในอุตสาหกรรมรถยนต์สามารถใช้ประเทศในภูมิภาค ASEAN เป็นฐานการผลิตและเพิ่มความสามารถในการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปขายทั้งประเทศในและนอก ASEAN

•    เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการหันมาใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA มากขึ้น รัฐบาลไทยควรลดต้นทุนด้านธุรกรรมในการขอใช้สิทธิพิเศษ

•    การยกระดับ AFTA ไปสู่สหภาพศุลกากร (Custom Union) ไม่น่าจะก่อให้เกิดการเพิ่มประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน ASEAN ต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย เนื่องจาก RoO ใน AFTA ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิพิเศษ AFTA อยู่แล้ว ดังนั้น การเป็นสหภาพศุลกากรเพียงแต่จะทำให้เพิ่มต้นทุนเท่านั้น

* สรุปและเรียบเรียงจากเอกสารหลักอาชนัน เกาะไพบูลย์, ผศ.ดร. (2550) การประเมินผลการดำเนินงานของเขตการค้าเสรีอาเซียนกับทิศทางการค้าระหว่างประเทศของไทย (Performance of AFTA and 


1 อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) ซึ่งเป็นอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าที่นำเข้าระหว่างกันของประเทศ สมาชิก ASEAN ภายใต้ AFTA Implication of Trade Policy in Thailand), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” และเอกสารประกอบอื่นๆ (ยอดยิ่ง ศุภศรี: ผู้สรุปและเรียบเรียง)
 

1.    บทนำ

AFTA ถูกจัดตั้งขึ้นโดยการลงนามในข้อตกลง AFTA ของผู้นำประเทศสมาชิก ASEAN ในระหว่างการประชุมสุดยอด ASEAN ที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม .. 1992 (2535) จากข้อเสนอของอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน โดยหลังจากนั้น จากการประชุมสุดยอด ASEAN หลายครั้ง ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีภายใต้ AFTA ดังนี้

•    ประเทศสมาชิก ASEAN เดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย) จะต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าในบัญชี Inclusion List (IL) ให้เหลือร้อยละ 0 – 5 ภายใน 1 มกราคม .. 2003 (2548) และประเทศสมาชิก ASEAN ใหม่ จะพยายามลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 – 5 ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี .. 2006 (2549) สำหรับเวียดนาม; ปี .. 2008 (2551) สำหรับลาวและพม่า; และปี ..2010 (2553) สำหรับกัมพูชา

•    ประเทศสมาชิก ASEAN จะยกเลิกภาษีสินค้าทุกรายการใน IL ภายใน 1 มกราคม .. 2010 (2553) สำหรับสมาชิกเดิม และภายใน 1 มกราคม .. 2015 (2556) สำหรับสมาชิกใหม่ ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม .. 2003 (2546) กำหนดให้ร้อยละ 60 ของรายการสินค้าทั้งหมดของสมาชิกเดิม 6 ประเทศมีอัตราภาษีเท่ากับร้อยละ 0 และภาษีของสินค้าใน 9 สาขาหลัก (เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ) จะต้องถูกยกเลิกภายใน 1 มกราคม .. 2007 (2550) สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม .. 2012 (2555) สำหรับสมาชิกใหม่

•    กำหนดเวลาการลดภาษีสำหรับบัญชียกเว้นภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List: TEL) บัญชีอ่อนไหว (Sensitive List: SL) และบัญชีอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List: HSL) มีกำหนดเวลาการลดภาษีที่แตกต่างกัน ส่วนบัญชียกเว้นทั่วไป (General Exclusion List: GE) เป็นสินค้าที่แต่ละประเทศไม่สามารถนำมาลดภาษีได้ (มีเพียงไทยและสิงคโปร์ที่ไม่มี GE)

ด้วยเหตุนี้ AFTA จึงเป็นเขตการค้าเสรีที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค ASEAN และเป็นเพียงข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เพียงไม่กี่ข้อตกลงที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานถึงกว่า 15 ปี การประเมินผลการดำเนินงานของ AFTA ว่ามีประสิทธิผลต่อการกระตุ้นให้ประเทศใน ASEAN หันมาค้าขายระหว่างกันมากขึ้นหรือไม่จึงทวีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบันจากการที่ไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ยึดแนวทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออก (Export-led growth) และอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางนโยบายระหว่างการยึดถือแนวนโยบายการค้าระหว่างประเทศเดิมที่เดินหน้าปฏิรูปภาษีนำเข้าแบบฝ่ายเดียวในขณะที่ใช้การเจรจาพหุภาคีในกรอบองค์กรการค้าโลก (WTO) เพื่อเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศอื่น กับการหันมาพึ่งพาการทำ FTA หรือความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) โดยเฉพาะในแบบทวิภาคีแทน 

 

2.    ข้อค้นพบ
          2.1 แนวโน้มการค้าระหว่างไทยกับ ASEAN
              การจัดตั้ง AFTA มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาความน่าลงทุนของประเทศใน ASEAN มากกว่าการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ASEAN ด้วยกัน อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ ASEAN ขยายตัวขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัวของทั้งการส่งออกและนำเข้า โดยไทยเกินดุลการค้ากับ ASEAN มาตลอดตั้งแต่ปี .. 1993 (2537) โดยภาพรวม ASEAN เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมมีความหลากหลายกว่าสินค้าเกษตรและสินค้าขั้นปฐม และเป็นสินค้าที่มีปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ เมื่อประเทศต่าง ใน ASEAN มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง มีรสนิยมที่คล้ายกันมากขึ้น โอกาสที่การค้าใน ASEAN จะเป็นไปในลักษณะการค้าในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-industry Trade) จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ มูลค่าการค้าสินค้าอุตสาหกรรมในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และชิ้นส่วนระหว่างไทยกับ ASEAN คิดเป็นสัดส่วนถึงเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าระหว่างไทยกับ ASEAN ทั้งหมด โดยเป็นสินค้าที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของการค้าระหว่างกันภายใน ASEAN (Intra-ASEAN Trade) เป็นอย่างมาก 

           โดยเฉพาะรถยนต์เป็นสินค้าส่งออกและนำเข้าที่ทวีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน การทวีความสำคัญของการค้ารถยนต์ระหว่างไทยกับ ASEAN เป็นผลจาก MNEs ในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ได้ปรับแผนการผลิตโดยกระจายการผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นไปยังแต่ละประเทศตามต้นทุนการผลิตและส่งออกไปยังประเทศอื่น ในภูมิภาค เช่น ฮอนด้าใช้ฟิลิปปินส์เป็นฐานการผลิตฮอนด้า Stream แต่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตฮอนด้า Accord และ City ดังนั้น ไทยจะนำเข้าฮอนด้า Stream จากฟิลิปปินส์ และส่งออกฮอนด้า Accord และ City ไปขายที่ฟิลิปปินส์ 

           การค้าระหว่างไทยกับ ASEAN กระจุกตัวอยู่กับอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ เป็นหลัก โดยคิดเป็นถึงมากกว่าร้อยละ 80 ของการค้าระหว่างไทยกับ ASEAN ทั้งหมด ทั้งนี้ บทบาทสำคัญของสิงคโปร์ซึ่งเคยเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดได้ลดลงทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า ในขณะที่ มาเลเซียและฟิลิปปินส์มีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย เนื่องจากการทวีความสำคัญของปรากฏการณ์การแบ่งขั้นตอนการผลิตสินค้า (Product fragmentation) ที่เกิดขึ้นในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการค้าสินค้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์มีบทบาทสำคัญมากต่อการค้าสินค้าอุตสาหกรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน

         2.2 การใช้สิทธิประโยชน์ตามกรอบ AFTA
             แผนการเปิดเสรีของ AFTA ซึ่งเป็นการเปิดเสรีเฉพาะประเทศใน ASEAN มีบทบาทไม่มากนักต่อการทวีความสำคัญของการค้าระหว่างไทยกับประเทศใน ASEAN อื่น เนื่องจาก ข้อมูลการขอใช้สิทธิพิเศษในกรอบ AFTA ในช่วงปี .. 2003 – 2006 (2546 – 2549) ชี้ให้เห็นว่าการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้า AFTA ยังอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับ ASEAN ทั้งหมด โดยผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิพิเศษ AFTA ในการส่งออกเพียงร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดจากไทยไปยัง ASEAN และในการนำเข้าเพียงร้อยละ 15 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมดจาก ASEAN มายังไทย และการใช้สิทธิพิเศษกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะ รถยนต์สำเร็จรูป

          ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่กำหนดว่าผู้ประกอบการจะตัดสินใจใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า ขนาดของสิทธิพิเศษ (คิดจากส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีนำเข้าปกติกับอัตรา CEPT) สูงพอที่จะชดเชยต้นทุนจากการขอใช้สิทธิพิเศษหรือไม่ ซึ่งต้นทุนดังกล่าวได้แก่ ต้นทุนในการปฏิบัติตาม RoO โดยตรงและต้นทุนทางด้านธุรกรรมของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบว่าผู้ประกอบการส่งออกนั้นมีการปฏิบัติตาม RoO จริงหรือไม่ ซึ่งแปรผันตามความยุ่งยากในการพิสูจน์  โดยหากขนาดของสิทธิพิเศษที่ได้รับมากพอที่จะชดเชยต้นทุนต่าง ที่เกี่ยวข้องในการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้า ผู้ประกอบการก็จะตัดสินใจใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA อย่างไรก็ดี ต้นทุนในการปฏิบัติตาม RoO ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่มีการใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA เสมอไป ดังเช่น กรณีของการค้าเม็ดพลาสติก กฎของ RoO ของเม็ดพลาสติกใน AFTA ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าในการใช้สิทธิพิเศษ แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจไม่ใช้สิทธิพิเศษเนื่องจากการที่ผู้ประกอบการที่จะใช้สิทธิพิเศษจะต้องเปิดเผยโครงสร้างด้านต้นทุนซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวสำหรับสินค้าเม็ดพลาสติกโดยเฉพาะประเภท Compound ที่ส่วนผสมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดความสามารถในการแข่งขันระยะยาวในอุตสาหกรรม

         อีกปัจจัยหลักที่การใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA อยู่ในระดับต่ำเป็นเหตุจากทิศทางการค้าระหว่างประเทศของไทยรวมทั้งประเทศใน ASEAN ส่วนใหญ่ จะมุ่งไปสู่การผลิตสินค้าเฉพาะด้านมากขึ้น และสินค้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์จะทวีความสำคัญมากขึ้นภายใต้เครือข่ายการผลิตซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ Product fragmentation โดยการผลิตภายใต้เครือข่ายดังกล่าวมุ่งที่จะตอบสนองทั้งตลาดภายในและนอกประเทศ และพึ่งพาชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยจะแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ ประเทศใน ASEAN ส่วนใหญ่จึงนำเข้าและส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าปกติที่ต่ำอยู่แล้ว โดยการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises: MNEs) ในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ใช้ประเทศภูมิภาค ASEAN เป็นฐานการผลิตโดยการตั้งบริษัทลูกในประเทศใน ASEAN ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน และสามารถใช้สิทธิการคืนภาษีนำเข้าได้ ดังนั้น แม้ภาษีนำเข้าในบางประเทศอาจจะยังอยู่ในระดับสูง แต่ก็ไม่สามารถจูงใจให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์หันไปขอใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA ได้

         จากปัจจัยข้างต้น ในด้านการส่งออก อัตราการใช้สิทธิประโยชน์จาก AFTA ที่ต่ำของผู้ประกอบการไทยเป็นผลจากขนาดของสิทธิประโยชน์ที่ต่ำในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยใน ASEAN ซึ่งได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ โดยขนาดของสิทธิพิเศษจากการใช้ AFTA ส่งออกสินค้ากว่าร้อยละ 70 ของรายการสินค้าทั้งหมดจากไทยไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 5 เท่านั้น ซึ่งต่ำมากและอาจไม่สามารถชดเชยต้นทุนในการปฏิบัติตาม RoO ได้ ในขณะที่ ในด้านการนำเข้า แม้ว่าอัตราภาษีนำเข้าของไทยจะสูงกว่าประเทศคู่ค้าที่สำคัญใน ASEAN และน่าจะจูงใจให้ผู้ประกอบการนำเข้าไทยขอใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA แต่การที่โครงสร้างการนำเข้าของไทยเป็นการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกที่การตัดสินใจเลือกแหล่งนำเข้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านราคาเพียงอย่างเดียว รวมทั้งมาตรการคืนภาษีนำเข้าต่าง ที่ภาครัฐให้แก่ภาคเอกชน เป็นเหตุทำให้ความจำเป็นในการขอใช้สิทธิพิเศษ AFTA ลดลง         รายการสินค้าที่สำคัญที่ผู้ประกอบการส่งออกไทยใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA สูง ได้แก่ รถยนต์สำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าของประเทศคู่ค้าในสินค้าเหล่านี้ยังคงสูงอยู่ สำหรับรายการสินค้าสำคัญที่ผู้ประกอบการนำเข้าไทยใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA มีความหลากหลาย เช่น ในกรณีการนำเข้าจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ รถยนต์สำเร็จรูปจะเป็นสินค้านำเข้าที่มีการขอใช้สิทธิพิเศษมากที่สุด ในขณะที่ กรณีการนำเข้าจากมาเลเซียและสิงคโปร์ สินค้านำเข้าที่ผู้ประกอบการนำเข้าไทยขอใช้สิทธิพิเศษมากที่สุด ได้แก่ สินค้ากลุ่มสารเคมี และผลิตภัณฑ์พลาสติกและปิโตรเคมี โดยรายละเอียดของมูลค่าและอัตราการใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA ของผู้ประกอบการไทยในปี .. 2003 – 2006 (2546 – 2549) ปรากฏตามภาคผนวก

          2.3 บทบาทของ AFTA ในอนาคต
              จากแนวโน้มของการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศภายใต้ปรากฏการณ์การแบ่งขั้นตอนการผลิต (Product fragmentation) ทำให้ในปัจจุบัน ไทยหันมาทำการค้ากับประเทศใน ASEAN (โดยเฉพาะมาเลเซียและฟิลิปปินส์) จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มมากขึ้น โดยรูปแบบการแบ่งงานกันทำมีแนวโน้มที่ประเทศในภูมิภาค ASEAN เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนและส่งไปประกอบที่จีน และสินค้าที่ประกอบแล้วส่งออกไปขายยังประเทศนอกภูมิภาคเช่นอเมริกาและยุโรป ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวทำให้การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ในภูมิภาค ASEAN มีสูงมากขึ้น นอกจากนี้ การส่งออกของประเทศในภูมิภาค ASEAN ยังพึ่งพาตลาดนอกภูมิภาคมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาด้วย เนื่องจากสินค้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ไทยส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาค ASEAN เป็นสินค้าขั้นกลางที่นำไปประกอบต่อเพื่อส่งออกไปยังตลาดนอกภูมิภาคอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นหากสินค้าสำเร็จรูปไม่สามารถส่งออกได้ ความต้องการในสินค้าส่งออกของไทยก็จะไม่มีเช่นกัน 
            ภายใต้ทิศทางการค้าระหว่างประเทศดังกล่าว ทำให้ AFTA ไม่น่าจะมีบทบาทต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยมากนัก อย่างไรก็ดี AFTA น่าจะยังมีประโยชน์ต่อสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปยังประเทศคู่ค้าที่ยังมีอัตราภาษีนำเข้าสูงอยู่ แต่บทบาทของ AFTA น่าจะเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้เกิดการค้าเพิ่มมากขึ้น โดย AFTA ส่งเสริมให้ MNEs ในอุตสาหกรรมรถยนต์สามารถใช้ประเทศในภูมิภาค ASEAN เป็นฐานการผลิตและเพิ่มความสามารถในการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปขายในประเทศทั้งในและนอกภูมิภาค ASEAN ทั้งนี้ แม้ AFTA จะทำให้รถยนต์สำเร็จรูปที่ส่งจากประเทศใน ASEAN ประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งในราคาที่ต่ำลงจากภาษีนำเข้าที่ได้รับการยกเว้น และช่วยกระตุ้นอุปสงค์ต่อรถยนต์ในภูมิภาคและการค้าขายระหว่างประเทศใน ASEAN ด้วยกันให้มากขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะกระตุ้นให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยได้อย่างมีนัยสำคัญนัก เนื่องจากรถยนต์เป็นสินค้าคงทน ซึ่งอุปสงค์ขึ้นอยู่กับรายได้ที่ได้รับในปัจจุบันและรายได้ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตซึ่งแปรผันตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม การเปลี่ยนแปลงด้านราคาจึงไม่น่าจะมีผลต่ออุปสงค์มากนัก


 2การผลิตสินค้าสำเร็จรูปหนึ่ง สามารถแยกย่อยขั้นตอนการผลิตออกเป็นขั้นตอนย่อย และกระจายการผลิตชิ้นส่วนย่อยออกไปยังประเทศต่าง แล้วส่งมาประกอบรวมกัน แหล่งประกอบหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการแข่งขันของสินค้าสำเร็จรูปนั้น โดย MNEs เป็นกลุ่มที่บุกเบิกและใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

 

3.    ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

•    จากอัตราการใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA ที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจาก ต้นทุนในการปฏิบัติตาม RoO สูงกว่าขนาดของสิทธิพิเศษ ดังนั้น เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการหันมาใช้สิทธิพิเศษจาก AFTA มากขึ้นรัฐบาลไทยรวมทั้งรัฐบาลของประเทศ ASEAN อื่น ควรลดต้นทุนด้านธุรกรรมในการขอใช้สิทธิ เช่น การเพิ่มความยืดหยุ่น RoO โดยอนุญาตให้สามารถเลือกใช้การเปลี่ยนแปลงพิกัดภาษีศุลกากรเป็นทางเลือกหนึ่งในการพิสูจน์แหล่งกำเนิดสินค้าได้ การอนุญาตให้ผู้ประกอบการต่าง ที่ใช้ประเทศใน ASEAN เป็นฐานการผลิตเพื่อขายไปยังประเทศใน ASEAN อื่น สามารถใช้ใบแจ้งรายการสินค้า (Invoice) ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ใช้ในการขอใบรับรอง RoO ได้ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การอนุญาตให้บริษัทที่ส่งสินค้าที่ผลิตและผ่านการตรวจสอบ RoO แล้ว มาเก็บสต็อกในอีกประเทศ ASEAN หนึ่งเพื่อส่งต่อไปยังประเทศ ASEAN อีกประเทศหนึ่ง สามารถส่งออกสินค้านั้นได้โดยไม่ต้องทำการตรวจสอบ RoO อีกครั้งหนึ่งเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการตรวจสอบ RoO การลดค่าธรรมเนียมในการออกใบรับรอง RoO ตลอดจน การลดระยะเวลาและขั้นตอนของพิธีการศุลกากร 

•    แม้ว่าปัจจุบันจะมีความพยายามยกระดับให้ AFTA เป็นสหภาพศุลกากร (Custom Union) เพื่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นโอกาสการใช้ภูมิภาค ASEAN เป็นฐานการผลิตเพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขัน แต่การยกระดับ AFTA ไปสู่สหภาพศุลกากร ไม่น่าจะก่อให้เกิดการเพิ่มประโยชน์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน ASEAN ต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย เนื่องจาก RoO ใน AFTA ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิพิเศษ AFTA อยู่แล้ว ดังนั้น การเป็นสหภาพศุลกากรเพียงแต่จะทำให้เพิ่มต้นทุนเท่านั้น ทั้งนี้ ความพยายามดังกล่าวไม่น่าจะสำเร็จได้ง่าย เนื่องจากความหลากหลายในระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกใน ASEAN โครงสร้างทางภาษีนำเข้าที่แตกต่างกันมาก และปัจจัยทางการเมืองของประเทศสมาชิกบางประเทศ 

•    จากการที่ไทยและประเทศสมาชิก ASEAN เดิมอีก 5 ประเทศ ได้ยกเลิกภาษีนำเข้าของสินค้ากว่า 8,000 รายการ เมื่อ 1 มกราคม .. 2010 (2553) ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้ารวมถึงแรงงาน และเงินลงทุนทำได้ง่ายมากขึ้น รัฐบาลควรติดตามและหามาตรการรองรับเพื่อดูแลผู้ประกอบการที่ยังไม่สามารถปรับตัวด้านการผลิต คุณภาพสินค้าและต้นทุนสินค้าได้ โดยเฉพาะเกษตรกร เช่น การกำหนดคุณสมบัติสินค้านำเข้าอย่างรัดกุม กำหนดแหล่งที่มาของสินค้าและสุขอนามัยของสินค้า นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่อง โดยเปิดหรือเพิ่มช่องทางติดต่อกับผู้ประกอบการ เช่น การเปิดศูนย์ให้ความรู้และตอบข้อสงสัยที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้สะดวก นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาและติดตามผลการใช้สิทธิประโยชน์จาก AFTA อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เช่น การเก็บและรวบรวมสถิติต่าง ที่สำคัญ และเผยแพร่สถิติดังกล่าวให้หน่วยงานด้านวิชาการของรัฐ เช่น สกว. และมหาวิทยาลัยต่าง นำไปใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะข้อเสนอในเชิงนโยบายแก่รัฐบาลต่อไป

•    เพื่อรองรับการยกเลิกภาษีนำเข้าของประเทศสมาชิก ASEAN ทั้งหมดใน 1 มกราคม .. 2015 (2558) รัฐบาลควรมีมาตรการสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ที่น่าจะได้รับผลกระทบ ซึ่งได้แก่ (1) กลุ่มยานยนต์ แม้ว่าภายหลังการยกเลิกภาษีของสินค้าทั้งหมดจาก AFTA น่าจะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยรวมได้เปรียบประเทศอื่นใน ASEAN เนื่องจากไทยมีการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลไทยควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี คุณภาพและต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีด้านยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะญี่ปุ่น โดยอาจใช้ประโยชน์จากความร่วมมือด้านยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์กับญี่ปุ่นภายใต้ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย ญี่ปุ่น (Japan – Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) (2) กลุ่มสินค้าเกษตร หามาตรการเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในสินค้าเกษตรที่ไทยยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น น้ำมันปาล์มและยางพารา ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่ต่ำกว่าของอินโดนีเซียและมาเลเซียเข้าแย่งส่วนแบ่งตลาดได้ 

 

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

อาชนัน เกาะไพบูลย์, ผศ.ดร. (2550) การประเมินผลการดำเนินงานของเขตการค้าเสรีอาเซียนกับทิศทางการค้าระหว่างประเทศของไทย (Performance of AFTA and Implication of Trade Policy in Thailand), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภาษาอังกฤษ

Asian Development Bank (2007) “Asian Development Outlook: Update,” Manila.

Athukorala, P. (2006) “Product Fragmentation and Trade Patterns in East Asia,” Asian Economics Papers, Vol. 4(3), pp 1-27.

Hayakawa, K., Hiratsuka, D., Shiino, K. and Sukegawa, S. (2009) “Who Uses FTAs?,” Institute of Developing Economies, Discussion Paper No. 207

Hiratsuka, D., Isono, I., Sato, H. and Umezaki, S. (2008) “Escaping from FTA Trap and Spaghetti Bowl Problem in East Asia: An Insight from the Enterprise Survey in Japan, In: Seosastro, H. (Eds.),” Deepening Economic Integration n East Asia: The ASEAN Economic Community and Beyond, ERIA Research Project Report 2007 No. 1-2, Chapter 16.

Kohpaiboon, A. (2008) “Export Creation of AFTA and the Response of the Private Sector: Evidence from Thai Manufacturing,” mimeograph. 

Ng, F. and Yeats, A. (2003) “Major trade trends in East Asia: what are their implications for regional cooperation and growth?,” Policy Research Working paper 3084, Washington DC: World Bank.

Takahashi, K. and Urata, S. (2009) “On the Use of FTAs by Japanese Firms: Further Evidence,” RIETI Discussion Paper, 09-E-028.

AFTA คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2535 เป็นความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีฯให้เสร็จภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะค่อยๆลดภาษีสินค้า ...

AFTA คืออะไร มีประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างไร

เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area — AFTA) คือ ข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เป็นความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีให้เสร็จภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะค่อยๆ ลดภาษีสินค้าทุก ...

วัตถุประสงค์ของเขตการค้าเสรีคืออะไร

FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะลดอุปสรรคทางการค้า ระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างกัน และปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็ได้ขยายขอบเขตของ FTA ให้ครอบคลุมการค้าด้านบริการ อาทิ บริการท่องเที่ยว การรักษา พยาบาล การสื่อสาร การขนส่ง ฯลฯ พร้อมกับความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การ ...

ข้อใดคือวัตถุประสงค์ ของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA)

เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เกิดจากความต้องการร่วมมือทางการค้าจากประเทศต่างๆในอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก พร้อมกันนี้อาเซียนยังมีความต้องการที่จะดึงดูดประเทศต่างๆให้เข้ามาลงทุน เพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค โดย AFTA นั้น ...