การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

การทำรายงานการขาย (Sales Report) เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริหารและทีมขายเป็นอย่างมากเพราะเป็นสิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์การทำงานได้ว่าธุรกิจจะดำเนินไปในทิศทางไหน ยอดขายต่างๆ เป็นอย่างไร และนำข้อมูลเหล่านี้มาวางแผน พัฒนากลยุทธ์ ให้มีผลลัพธ์ที่ดียิ่งๆขึ้นในอนาคต และแน่นอนว่าอาวุธที่เป็นพระเอกของการทำรายงานการขายก็คงต้องเป็น Excel อย่างแน่นอน ที่เป็นตัวที่เข้ามาช่วยในการคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข สถิติต่างๆ แต่การใช้งานก็ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจพอสมควร จึงจะสามารถใช้ทำงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะหากยังไม่ค่อยคุ้นเคยก็อาจจะกลายเป็นว่าทำให้เสียเวลาการทำงาน การติดตามลูกค้าไปได้เช่นกัน ดังนั้นในวันนี้ Readyplanet จึงได้นำ 10 สูตร Excel ยอดฮิต สำหรับเซลส์ที่ต้องทำรายงานการขาย พร้อมวิธีการใช้งานสูตรเบื้องต้นที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ทุกคนได้ลองนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไปค่ะ 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • 10 สูตร Excel ยอดฮิต เซลส์ที่ต้องทำรายงานการขายควรรู้
    • VLOOKUP
    • PivotTable
    • SUM, SUMIF
    • COUNT, COUNTIF
    • MAX, MIN
    • AVERAGE
    • DATEDIF
    • IF
    • LARGE
    • INDEX
  • สรุป

10 สูตร Excel ยอดฮิต เซลส์ที่ต้องทำรายงานการขายควรรู้

สูตรที่ 1 : VLOOKUP

VLOOKUP  (Vertical Lookup) เป็นฟังก์ชั่นใน Excel ที่ใช้สำหรับสืบค้นข้อมูล โดยกำหนดค่าที่ใช้อ้างอิง เพื่อดูรายละเอียดหรือข้อมูลที่ต้องการทราบเพิ่มเติม ซึ่ง VLOOKUP จะเป็นการหาข้อมูลในแนวตั้ง เช่น ในตารางการขายมีรหัสลูกค้า และเราต้องการค้นหาว่ารหัสลูกค้านั้นมีชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรอะไร ซึ่งจะต้องค้นหาโดยอ้างอิงจากอีกตารางหนึ่ง

รูปแบบการใช้งาน =VLOOKUP(lookup_value, table_array, col_index_num, [range_lookup])

  • lookup_value ค่าที่ใช้อ้างอิง ช่องเซลล์ที่เราต้องการใส่ข้อมูลลงไป ข้อมูลที่ต้องการดู เช่น รู้รหัสลูกค้าแต่ต้องการรู้ชื่อลูกค้าให้ใช้รหัสลูกค้าในตำแหน่ง lookup_value เพื่อค้นหา
  • table_array ตารางช่วงข้อมูลอ้างอิงจาก column หนึ่งถึงอีก column หนึ่งที่เราต้องการเพื่อใช้ประกอบกันเพื่อการค้นหาข้อมูล เช่น การหาชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร
  • col_index_num ลำดับที่ column ที่ต้องดึงค่าออกมาแสดงว่าข้อมูลที่เราค้นหาอยู่ใน column ที่เท่าไรของ table_array
  • range_lookup มี 2 ค่าได้แก่ TRUE (การตรงกันที่ใกล้เคียง) และ FALSE (ตรงกับเงื่อนไขทุกประการ) ถ้าไม่ใส่จะเป็น TRUE โดยปริยาย
    - TRUE คือ ข้อมูลที่ใส่ลงไปใน lookup_value มีการเรียงจากน้อยไปมาก เช่น 0,1,2,3 ซึ่งถ้าเราใส่คำค้นหาไม่ตรง อย่างเช่นพิมพ์ผิดไปหนึ่งคำหรือก๊อปปี้คำมาแล้วมีเว้นวรรรค แต่ column ไม่มีเว้นวรรคเลย TRUE ก็จะส่งค่ากลับมาให้ได้

    - FALSE คือ ข้อมูลที่เราใส่ลงไปใน lookup_value ไม่ได้เรียงกันว่าจะน้อยไปมาก หรือมากไปน้อย ซึ่งถ้าเป็น FALSE จะต้องใส่คำให้ตรงเป๊ะ เพื่อที่จะให้ส่งคำหรือผลลัพธ์กลับมา

ตัวอย่างการใช้งาน นำรหัสลูกค้า เพื่อค้นหา ชื่อ

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง
 

จากตารางข้างต้น จะเห็นว่าเราต้องการทราบว่า รหัสลูกค้า 65016 มีชื่อว่าอะไร ก็ไปทำการใส่สูตร VLOOKUP ในช่องชื่อลูกค้า จากนั้นเมื่อเลือกค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการกด Enter ช่องชื่อลูกค้าก็จะปรากฎเป็นชื่อ  คุณจรรยา ออกมานั่นเอง และหากต้องการทราบชื่อลูกค้ารายอื่นๆ ก็สามารถพิมพ์รหัสลูกค้าใหม่ลงไปได้เช่นกัน จะเห็นว่าเมื่อเรามีข้อมูลลูกค้าเยอะๆ แล้วต้องการค้นหาข้อมูลเฉพาะเจาะจง การใช้ VLOOKUP ก็จัช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น

สูตรที่ 2 : PivotTable

Pivot Table ใช้ในการคํานวณ สรุป และวิเคราะห์ข้อมูล แหล่งข้อมูล ตามเงื่อนไขที่เราต้องการ เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่เราได้มาหรือรวบรวมมา อาจจะยังไม่ให้ผลลัพธ์หรือคำตอบตามที่เราต้องการ ดังนั้นเราสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ในการสร้างสูตรได้เองในขอบเขตข้อมูลที่เรามี

การใช้ฟังก์ชั่น PivotTable นี้อาจจะไม่ได้เหมือนสูตร Excel ทั่วไป ที่เพียงเลือกข้อมูลตามที่สูตรระบุไว้ แต่ PivotTable อาจจะต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจร่วมด้วย

ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่ง ต้องการสรุปยอดขายรวมและรายการขายของเซลส์แต่ละคน ซึ่งได้แก่ เซลส์ A,B,C,D เพื่อประเมินและวิเคราะห์ความสามารถในการขาย รวมถึงสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผน ปรับปรุงกระบวนการขายและพัฒนาสินค้าให้ดีมากยิ่งขึ้นในอนาคต 

  • วิธีการคำนวณ

1. เลือกชุดข้อมูลที่ต้องการคำนวณ จากนั้นไปที่ เมนูแทรก แล้วคลิกเลือก PivotTable

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

2. เลือกตำแหน่งของ PivotTable Worksheet ตามที่ระบบถาม ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้งาน โดยจะให้ปรากฏที่ Sheet เดิมเดียวกับตารางข้อมูลหรือขึ้น Sheet ใหม่ต่างหาก

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

3. PivotTable จะปรากฏขึ้น ตามตำแหน่ง Sheet ที่เราเลือกในข้อ 2 จากนั้นคลิกเลือกคอลัมน์ที่ต้องการแสดงผล ตามรายการช่องที่มีให้เลือกด้านขวา จากนั้นทำการลากหรือคลิกในช่องที่ต้องการสรุปผลลงมาใส่กรอบด้านล่าง

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

4. โดยสามารถเลือกและเปลี่ยน Field ตามรายการที่มีได้เอง เพื่อให้รายงานแสดงผลตามเงื่อนไขที่เราต้องการ ซึ่งทำได้เพียงไม่กี่คลิก

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

5. ตัวอย่างการเลือก Filed อื่นๆ 

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

 

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

อย่างไรก็ตาม PivotTable ยังมีความสามารถในการใช้งานที่หลากหลาย แต่ผู้ใช้งานอาจจะต้องมีพื้นฐานการคำนวณ เทคนิคการใช้ PivotTable เบื้องต้นด้วย เพื่อที่จะสามารถทำรายงานออกมาได้ถูกต้องและตรงวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 

สูตรที่ 3 : SUM, SUMIF

SUM ใช้ในการหาผลรวมตัวเลขที่อยู่ใน Cell ที่เราต้องการทั้งหมด โดยรวมตัวเลขทุกๆ ตัวในช่วงข้อมูลและตัวเลขที่เราสนใจ ซึ่งจะทำให้เราประหยัดเวลาเป็นอย่างมาก

รูปแบบการใช้งาน =SUM(number1, [number2], …)

แทนค่า number 1, number 2 ตามตำแหน่งของ cell ไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นการบวกติดกันยาวให้ใช้ firstnumber:lastnumber เป็นการบวกจากช่องแรกไปจนถึงช่องสุดท้าย ก็ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นไปอีก

ตัวอย่างการใช้งาน หายอดขายรวมของลูกค้าทุกรายรวมกัน

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากรูปข้างต้น คือเราต้องการหาผลรวมยอดขายของลูกค้าทั้ง 9 รายในตาราง ดังนั้นก็ทำการใส่สูตร SUM ลงไปในช่องแล้วทำการเลือกค่าแรก B2 แล้วลากยาวมาจนถึงค่าสุดท้ายคือ  B10 จากนั้นกด Enter เราก็จะได้ค่ายอดขายรวมของลูกค้าแล้วเป็น 360,200 โดยไม่ต้องมาคอยกดเครื่องคิดเลขให้เสียเวลา อีกทั้งมีความความแม่นยำอีกด้วย

SUMIF ใช้หาผลรวมของตัวเลขในช่วงที่กำหนดไว้ เป็นสูตรที่ใช้บวกคล้ายๆ SUM แต่มีเงื่อนไขมากำหนดเพิ่มเติม

รูปแบบการใช้งาน =SUMIF(range, criteria, [sum_range])

ตัวอย่างการใช้งาน หายอดขายสินค้าของโฉมฉาย

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

  • range ช่วง cell ที่มีเงื่อนไขทั้งหมด เช่น ช่องชื่อลูกค้า ตั้งแต่ A2 ถึง A10
  • criteria เงื่อนไขที่ระบุเพิ่มเติม โดยจะเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ เช่น โฉมฉาย
  • [sum_range] ช่วง cell ที่ต้องการให้หาผลรวมตามเงื่อนไขที่เราระบุไว้ซึ่งจะเหมือนกันกับสูตร SUM เช่น ยอดขายสินค้า ตั้งแต่ B2 ถึง B10 

ดังนั้นถ้าในช่วง cell ที่มีชื่อ โฉมฉาย อยู่ ยอดขายก็จะถูกนำมารวมๆกัน แล้วปรากฏเป็นจำนวนยอดรวมออกมานั่นเอง

สูตรที่ 4 : COUNT, COUNTIF

COUNT เป็นสูตรที่ใช้นับจำนวน cell ที่มีข้อมูลเป็นตัวเลขเท่านั้น ในช่วงข้อมูลที่เรากำหนด  ซึ่งมักจะนำมาใช้งานในการคำนวณข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ

รูปแบบการใช้งาน =COUNT(value1, [value2], ...)

ตัวอย่างการใช้งาน การนับจำนวน

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากรูปข้างต้น คือเราต้องการหาจำนวนรายการยอดขายสินค้าว่ามีกี่รายการ ก็สามารถใช้สูตร COUNT เพื่อนับจำนวนรายการในช่วงข้อมูลที่ต้องการได้ เช่นตั้งแต่ช่วงข้อมูล  C2-C10 ก็จะได้ผลลัพธ์ คือจำนวน 9 รายการ ทำให้ถ้ามีข้อมูลจำนวนมาก เราไม่ต้องมานั่งนับให้เสียเวลา และที่สำคัญอย่าลืมว่า ข้อมูลที่จะใชสูตร COUNT นี้ได้ ต้องเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น ถ้าหากเป็นรูปแบบอื่น ต้องใช้สูตรอื่นเพิ่มเติม

COUNTIF เป็นการใช้สูตร COUNT ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้นับ cell ที่อยู่ในเงื่อนไขที่ระบุ 1 เงื่อนไข

รูปแบบการใช้งาน =COUNTIF(range, criteria)

  • range แทนค่าด้วยช่วง cell
  • criteria แทนค่าด้วยเงื่อนไขที่อยู่ใน range ที่ต้องการ เช่น เราต้องการนับจำนวนลูกค้าที่อยู่จังหวัดนนทบุรี

ตัวอย่างการใช้งาน การนับจำนวนเฉพาะที่ระบุ

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากตารางข้างต้น เราต้องการหาจำนวนลูกค้าที่อยู่จังหวัดนนทบุรี จากข้อมูลช่วงค่าในตาราง เมื่อใส่สูตร COUNTIF เข้าไปและเลือกค่าพร้อมกำหนดเงื่อนไข คือ นนทบุรี จากนั้นเมื่อกด Enter ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น จำนวน 3 รายและเมื่อมาตรวจสอบความถูกต้องย้ินกลับด้วยตนเองก็จะเห็นว่า ในช่วงข้อมูลที่เราค้นหามีลูกค้าอยู่จังหวัดนนทบุรี 3 รายจริงๆ ดังนั้นสามารถมั่นใจได้เลยว่า Excel สามารถให้ผลลัพธ์ที่มีคามแม่นยำเป็นอย่างมาก

สูตรที่ 5 : MAX, MIN

MAX, MIN ใช้หาค่าสูงสุดหรือต่ำสุดในช่วง cell หรือข้อมูลที่เราเลือกทั้งหมด เช่น หายอดขายสูงสุด ต่ำสุด

รูปแบบการใช้งาน =MAX(number1, [number2], …)

รูปแบบการใช้งาน =MIN(number1, [number2], …)

  • Number คือ ช่วง cell ที่มีตัวเลขที่ต้องการหาค่าที่มากหรือน้อยที่สุด

ตัวอย่างการใช้งาน หาค่าสูงสุดหรือต่ำสุดของยอดขาย

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากตารางข้างต้น เราต้องการหายอดขายสินค้าสูงสุดและต่ำสุด ก็สามารถเลือกใช้สูตร MAX, MIN และเลือกช่วงค่าที่เราต้องการค้นหาได้เลย ซึ่งจากในตารางเมื่อใช้สูตร MAX เพื่อหายอดขายสูงสุด ผลลัพธ์ค่าที่ได้ ก็คือยอดขายที่มูลค่า 71,300 บาท ส่วนมูลค่ายอดขายต่ำสุด เมื่อใช้สูตร MIN ก็คือ 12,500 บาท นั่นเอง

สูตรนี้ นักขายหรือเซลส์หลายๆ คนคงคุ้นเคยในการใช้งานกันอยู่แล้ว เพราะถือว่าเป็นสูตรพื้นฐานที่สำคัญเวลาที่ต้องทำรายงานสรุปยอดขายต่างๆ และหากมีลูกค้าจำนวนมาก ก็ไม่ต้องมาคอยไล่ดูยอดขายแต่ละ cell ดังนั้นการใช้สูตร MAX MIN ก็ช่วยให้หาข้อมูลได้เร็วขึ้น

สูตรที่ 6 : AVERAGE

AVERAGE เป็นสูตรที่ใช้หาค่าเฉลี่ยในช่วง cell หรือช่วงข้อมูลที่เราเลือกทั้งหมด โดยจะออกมาเป็นค่ากลาง จากการคำนวณด้วยตัวเลขทั้งหมดบวกกัน หารด้วยจำนวน cell ทั้งหมดที่เราเลือก

รูปแบบการใช้งาน =AVERAGE(number1, [number2], …)

  • number คือ ช่วง cell ที่มีตัวเลขที่ต้องการหาค่าเฉลี่ย

ตัวอย่างการใช้งาน หาค่าเฉลี่ยของยอดขาย

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากตารางข้างต้น คือเราต้องการหาค่าเฉลี่ยของยอดขายสินค้า จากลูกค้าทั้งหมด 9 ราย เมื่อใส่สูตร AVERAGE และเลือกช่วงข้อมูลตั้งแต่ B2-B10 ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของยอดขายอยู่ที่ 40,022.22 

สูตรที่ 7 : DATEDIF

DATEDIF เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้หา ระยะห่างระหว่าง วัน 2 วัน ใช้สำหรับคำนวณช่วงเวลา สามารถช่วยใช้คำนวณระยะเวลาในการบริหารจัดการงานขายหรือคำนวณระยะเวลาในการปิดการขาย เป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ระยะห่าง ระหว่าง วันเริ่มต้น และ วันสิ้นสุด

รูปแบบการใช้งาน =DATEDIF ( Start Date, End Date, Unit )

สามารถแสดง หน่วยของผลลัพธ์ (Unit) เป็น วัน, เดือน, ปี ได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ ตามรายการด้านล่าง ดังนี้

  • y (year)
  • m (month)
  • d (day)
  • ym (year-month)
  • yd (year-day)
  • md (month-day)

ตัวอย่างการใช้งาน

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากตารางข้างต้น เมื่อเราต้องการคำนวณระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1/3/2019 ถึง 12/3/2022 โดยเลือกหน่วย (Interval) ที่ต้องการให้แสดงผล ก็จะได้ค่าตามที่ปรากฏในตาราง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการคำนวณระยะเวลาการดำเนินการต่างๆ สำหรับการขายได้ด้วยเช่นกัน

สูตรที่ 8 : IF

IF สูตรยอดนิยมสำหรับใช้ตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น หากำไร ขาดทุน

รูปแบบการใช้งาน =IF(logical_test, [value_if_true], [value_if_false])

  • logical_test คือ เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบ
  • value_if_true คือ ค่าที่จะแสดงถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
  • value_if_false คือ ค่าที่จะแสดงถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ

ตัวอย่างการใช้งาน ทดสอบเงื่อนไขกำไร หรือขาดทุน

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากตารางข้างต้น เราต้องการหาว่ายอดขายสินค้า เมื่อเทียบกับต้นทุนสินค้า ธุรกิจได้กำไรหรือขาดทุน  เช่น สินค้าที่ขายให้คุณแสงจันทร์ มีต้นทุนสินค้าอยู่ที่ 30,000 บาท ราคาขายสินค้าคือ 36,000 บาท เมื่อใช้สูตร IF โดยกำหนดเงื่อนไขคือ ถ้า B2<C2 (30,000<36,000) ถ้าเป็นจริงให้ผลลัพธ์ปรากฏเป็น "กำไร" แต่หากเป็นเท็จ ให้ผลลัพธ์ปรากฏเป็น "ขาดทุน" ซึ่งในตารางจะปรากฏเป็น กำไร เนื่องจาก 30,000<36,000 นั้นเป็นจริง

สูตรนี้สามารถทำให้เห็นภาพของกำไร ขาดทุนเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อได้ว่า ลูกค้ารายนี้เราต้องมีการปรับแผนการขายหรือสนับสนุนการขายต่อไปอย่างไรเพื่อให้สามารถขายได้อย่างสม่ำเสมอและทำให้เกิดกำไรแก่ธุรกิจต่อไป หรือถ้าลูกค้ารายไหนขายแล้วขาดทุน ก็ต้องมาดูว่ามีปัจจัยใดที่ทำให้เกิดการขายขาดทุน เช่น เราให้ส่วนลดเยอะไปหรือไม่ ต้องปรับวิธีการอย่างไรต่อไปในอนาคตเป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำสูตรนี้ไปประยุกต์ใช้กับการหาผลลัพธ์รูปแบบอื่นๆ ได้อีก ตามเงื่อนไขที่เราต้องการทราบ

สูตรที่ 9 : LARGE

LARGE เป็นฟังก์ชั่นในการหาลำดับจากมากไปน้อย

รูปแบบการใช้งาน =LARGE(array, k)

  • array ช่วงข้อมูลที่คุณต้องการระบุค่ามากที่สุด
  • k ตำแหน่งหรือช่วงของ cell ของข้อมูลที่ต้องการทราบ

ตัวอย่างการใช้งาน ลำดับยอดขาย ของลูกค้าลำดับที่ 3

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากตารางข้างต้น เราต้องการหายอดขายลำดับที่ 3 จากข้อมูลยอดขายทั้งหมด เมื่อใช้สูตร LARGE และเลือกช่วงค่าข้อมูลที่เราต้องการหาผลลัพธ์ และกำหนดค่าลำดับที่ต้องการ คือ 3 ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้คือ ยอดขายลำดับที่ 3 คือ 43,000 

สูตรที่ 10 : INDEX

INDEX ใช้หาค่าโดยระบุลำดับที่ต้องการใช้อ้างอิงข้อมูลโดยกำหนดช่วงข้อมูลที่เราต้องการ โดยพิกัดจะต้องระบุเป็นตัวเลขลำดับแถว และลำดับคอลัมน์ เพื่อดึงค่าที่เราต้องการออกมา

รูปแบบการใช้งาน =INDEX(array, row_num, [column_num])

  • array ช่วงของ cell หรือช่วงของข้อมูลที่กำหนด หรือตารางอ้างอิง
  • row_num ตำแหน่งลำดับแถว
  • column_num ตำแหน่งลำดับคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งาน ยอดขายสินค้าของลูกค้าลำดับที่ 5

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

จากตารางข้างต้น เราต้องการดูยอดขายของลูกค้ารายที่ 5 ก็สามารถใช้สูตร Index ในการระบุตำแหน่งเพื่อดูว่าคุณแก้วตามียอดซื้อสินค้าของเราอยู่ที่เท่าไหร่ซึ่งก็คือ 32,000 บาทนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ฟังก์ชั่น Index สามารถเลือกใช้ได้หลายหลายรูปแบบ อ้างอิงได้หลายตาราง ตามผลลัพธ์ที่เราต้องการให้แสดงผล แต่ในที่นี้เรายกตัวอย่างการใส่เลขแถวและคอลัมน์เป็นหมายเลขเดียว เพื่อเป็นการระบุพิกัดหรือตำแหน่งจุดๆเดียวของค่าที่เราต้องการหา หรือถ้าไม่ระบุ ผลลัพธ์ก็จะมีให้เลือกแสดงทั้งแบบช่วงค่า ได้เช่นกัน

สรุป

สูตร Excel ทั้ง 10 สูตรข้างต้น เป็นเพียงสูตรบางส่วน ที่เซลส์สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำรายงานการขายได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานก็ควรเรียนรู้เทคนิค และวิธีการใช้งานให้เข้าใจก่อน เพื่อที่จะได้สามารถใช้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรวมข้อมูล การแยกชุดข้อมูล การหาลำดับ การค้นหาข้อมูลต่างๆ 

แต่ด้วยยุคปัจจุบันที่ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้าบริการมีจำนวนมาก การมานั่งคำนวณโดยใช้สูตร Excel ก็อาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด ดังนั้นจะดีกว่าไหม หากธุรกิจคุณมี R-CRM เข้ามาช่วยบริหารทีมขายได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นตัวช่วยในการจัดการกับชุดข้อมูลปริมาณมากเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี R-CRM เป็นแพลตฟอร์มบริหารทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ให้ผู้บริหาร และ ผู้จัดการฝ่ายขายสามารถเข้าดูรายงานต่างๆ ผ่านระบบได้ทันที ทำให้สามารถติดตามการทำงานของทีมขายได้แบบเรียลไทม์ เซลส์เองก็สามารถจัดการข้อมูลลูกค้า ทำใบเสนอราคา จัดการงานขายต่างๆ ด้วย Sales Pipeline อย่างเป็นระบบและวัดผลได้ มีรายงานสำคัญทั้งด้านการขายและการตลาด ที่จะช่วยให้สามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ และติดปีกให้ทีมขายทำงานได้คล่องตัวขึ้น ดังนั้นแนวทางนี้ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจที่มีทีมขาย ที่ไม่ต้องการมานั่งเสียเวลาทำรายงานการขายเป็นวันๆ แต่ R-CRM จะเป็นผู้ช่วยที่พร้อมแสดงผลข้อมูลรายงานสถิติต่างๆ เป็น Dashboard ให้สามารถดูข้อมูลได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก โดยไม่ต้องใช้สูตร EXCEL เลย

R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

การ คํา น วณ ยอดขาย สูงสุด ของ ไตรมาส ที่ 3 ข้อ ใด ถูก ต้อง

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี