ใบกํากับภาษีอย่างย่อ สรรพากร

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นหลักฐานแสดงจำนวน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณได้จากมูลค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อเกิดการซื้อสินค้าหรือให้บริการ1

องค์ประกอบของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

ใบกํากับภาษีอย่างย่อ สรรพากร

โดยปกติ ใบกำกับภาษีที่ถูกต้องจะต้องประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้2

  • คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
  • ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  • หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี (และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี)
  • ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้า/บริการให้ชัดแจ้ง
  • วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
  • ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

ลูกค้าไม่แจ้งชื่อ อย่าใส่ชื่อผู้ซื้อว่า ‘สด’ หรือ ‘ไม่ระบุ’

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จำเป็นต้องมีชื่อของผู้ซื้อ หากไม่ระบุชื่อหรือใช้ข้อความอื่น เช่น ‘สด’ หรือ ‘ไม่ระบุ’ จะทำให้ผู้ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปนั้นถูกลงโทษได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องระบุชื่อลูกค้าให้ถูกต้อง

แต่ในกรณีที่เป็นกิจการขายปลีกกับผู้บริโภคโดยตรงและลูกค้าไม่สะดวกให้ชื่อไว้ สามารถใช้วิธีออก “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” แทนการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่บังคับให้ต้องกรอกชื่อผู้ซื้ออยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ลูกค้าให้ชื่อไว้ แต่ไม่ได้ให้เลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไว้ ฝ่ายผู้ขายที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะไม่มีความผิด แต่ฝ่ายผู้ซื้อที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่สามารถนำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปดังกล่าวไปเคลมภาษีซื้อได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีที่ไม่ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อจะทำให้กลายเป็นภาษีซื้อต้องห้าม3

พิมพ์ชื่อที่อยู่ผู้ซื้อผิดเล็กน้อยยังให้ถือว่าระบุชื่อที่อยู่ครบถ้วนแล้ว

กรณีระบุชื่อผู้ซื้อตรงตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด แต่ยังไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว4

ส่วนที่อยู่ของผู้ซื้อต้องใช้ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้วเช่นกัน5

ใบกำกับภาษีไม่จำเป็นต้องเซ็นด้วยปากกาเท่านั้น

หลายคนเข้าใจผิดว่าใบกำกับภาษีต้องมีลายเซ็นซึ่งเซ็นด้วยปากกาเท่านั้น มิเช่นนั้นจะทำให้กลายเป็นใบกำกับภาษีที่ใช้ไม่ได้ แต่ความจริงแล้ว ใบกำกับภาษีจะเซ็นลายเซ็นด้วยปากกา ใช้แสกนลายเซ็นผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือต่อให้ไม่มีลายเซ็นเลยก็ได้ เพราะกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดให้ลายเซ็นเป็น 1 ใน 8 องค์ประกอบสำคัญที่ใบกำกับภาษีต้องมี

ดังนั้น จะมีลายเซ็นหรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญ ขอเพียงใบกำกับภาษีมีรายการครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นใบกำกับภาษีที่สมบูรณ์แล้ว ผู้ออกใบกำกับภาษีจึงไม่มีความผิด ในขณะที่ผู้รับก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคนเข้าใจผิดว่าการแต่งตั้งผู้ที่มีอำนาจเซ็นในใบกำกับภาษีต้องมีการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ความจริงแล้วผู้ประกอบการจะแต่งตั้งโดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละกิจการ


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 86 ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 86/4 ประมวลรัษฎากร

  3. ^

    คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การระบุเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกากับภาษีแบบเต็มรูป ลว. 25 มี.ค. 2558

  4. ^

    ข้อ 4 (3) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป

  5. ^

    ข้อ 4 (3) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป

ทำความเข้าใจ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ สำหรับร้านค้าออนไลน์

ใบกํากับภาษีอย่างย่อ สรรพากร

จากบทความ วิธีออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกํากับภาษี สำหรับคนขายออนไลน์ ที่พิมเพลินได้นำมาไขข้อสงสัยให้กับร้านค้าออนไลน์เปิดใหม่กันบ้างแล้ว “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ร้านค้าออนไลน์ยังสงสัย และต้องทำความเข้าใจเช่นกัน

ใบกำกับภาษีอย่างย่อคืออะไร? มีไว้ทำไม ต่างจากใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตรงไหน? ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้มั๊ย? บุคคลธรรมดาออกได้หรือเปล่า? และต้องออกแบบไหนถึงจะไม่มีปัญหากับสรรพากร วันนี้พิมเพลินรวบรวมข้อมูลที่คนขายออนไลน์อย่างเราต้องรู้มาให้แล้วค่ะ :)

ใบกำกับภาษีอย่างย่อคืออะไร ? 

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ เอกสารที่ร้านค้ากิจการประเภท “ค้าปลีก” ที่ขายสินค้าและบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกให้กับลูกค้าทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าหรือบริการ เอาไว้เป็นหลักฐานแสดงมูลค้าสินค้าและบริการนั้น ๆ ในแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าเป็นร้านค้าออนไลน์ในนามบุคคลธรรมดา จะต้องมีรายได้ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จึงจะสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ค่ะ

ใบกำกับภาษีอย่างย่อต่างจากใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบยังไง ?

ใบกำกับภาษีอย่างย่อใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่จำเป็นต้องแสดงชื่อ - สกุล ที่อยู่อาศัย เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ต้องแสดงชื่อ - สกุล ที่อยู่อาศัย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอย่างชัดเจน
ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าสามารถแสดงเป็นรหัสสินค้าได้ ต้องแสดงชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าอย่างชัดเจน
มีข้อความแสดงอย่างชัดเจนว่าราคาสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Included) ไว้แล้ว ต้องแยกจำนวนราคาภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้

ใบกํากับภาษีอย่างย่อ สรรพากร

รายละเอียดที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอย่างย่อ

รายการที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอย่างย่อ

  1. ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลข 13 หลักของผู้ออกใบกำกับ

  2. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”

  3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี

  4. ชื่อ ชนิด ประเภทสินค้า และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ (ออกเป็นรหัสได้)

  5. วันที่ออกใบกำกับภาษี

  6. ข้อความที่ระบุในใบกำกับภาษีอย่างย่อว่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (VAT Included)

  7. ข้อความอื่น ๆ ที่สรรพากรกำหนด

ข้อควรรู้ : ปัญหาหนึ่งที่ร้านค้าออนไลน์ต้องเจอ นั่นก็คือลูกค้ามักจะไม่ค่อยให้ข้อมูลเพื่อให้นำไปออกใบกำกับภาษี ไม่ว่าจะเป็นชื่อ - สกุล ที่อยู่ นอกเสียจากลูกค้าจะต้องการจริง ๆ ไว้เพื่อทำการลดหย่อนภาษี ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัญหาอย่างมากถ้าร้านค้าออนไลน์อยากจะทำให้ถูกต้อง การออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับลูกค้า จึงเป็นวิธีช่วยแก้ปัญหาลูกค้าไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวสำหรับการออกใบกำกับภาษีแล้ว ยังช่วยลดเวลาการทำงานของร้านค้าอีกด้วยค่ะ 

ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่ ?

ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษีแบบย่อได้เช่นกันค่ะ เพราะว่าเป็นการขายปลีกให้ลูกค้าจำนวนมากเพื่อนำไปใช้สอยเอง แต่ว่าจะมีข้อกำหนดประเภทประเภทธุรกิจร้านค้าที่สรรพากรได้ออกเอาไว้ดังนี้ 

  • กิจการร้านค้าที่ขายในลักษณะขายปลีก 

  • การขายปลีก จะต้องเป็นการขายแก่ผู้บริโภคตรง เพื่อนำไปใช้เองโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะนำไปขายต่ออีกทอดนึง เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ร้านขายของชำ ร้านขายยา เป็นต้น

  • กิจการที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร โรงแรม เป็นต้น

ร้านค้าออนไลน์ ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อยังไง? 


ร้านค้าออนไลน์บุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) ในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ร้านค้าออนไลน์สามารถใช้ Page365 ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้โดยไม่ต้องสร้างฟอร์มเองให้วุ่นวายค่ะ เพียงแค่เปิดบิลออนไลน์ให้กับลูกค้า ระบบก็จะดึงข้อมูลของลูกค้ามาจัดทำออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ/ใบเสร็จรับเงิน ให้อัตโนมัติค่ะ

ใบกํากับภาษีอย่างย่อ สรรพากร

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ข้อควรรู้: ร้านค้าที่ต้องการออกใบกำกับภาษีแบบย่อ โดยใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) จะต้องใช้เครื่องเก็บเงินที่ได้ขึ้นทะเบียนกันกรมสรรพากร โดยร้านค้าจะต้องมีคุณสมบัติตามที่สรรพกรได้กำหนดไว้  และต้องได้รับการอนุมัติก่อนถึงจะใช้ได้ หากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท ค่ะ

และนี่ก็คือข้อมูลของใบกำกับภาษีอย่างย่อ ที่น้องพิมเพลินนำข้อมูลมาไขข้อสงสัยกันค่ะ หวังว่าคุณพ่อค้า แม่ออนไลน์จะเข้าใจกันมากขึ้นว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อที่ถูกต้อง จะต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อที่ร้านค้าจะได้ออกไม่ผิดกัน แต่อย่าลืมนะคะ! แม้จะขายออนไลน์ในนามบุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้ก็อย่าลืมไปรายงานภาษีกันด้วยนะ เรื่องภาษีไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ โดยสามารถเข้าไปอ่านและทำความเข้าใจกันได้ที่ ภาษีขายของออนไลน์เข้าใจง่าย 3 นาที ค่ะ ^^

หากคุณสนใจใช้งาน Page365 คุณสามารถ สมัครใช้งานฟรี

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เริ่มต้นกับ Page365 หรือ ทำไมเราถึงฟรี?

Previous

เพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ได้ผลด้วยวิธีไลฟ์สด

แม่ค้ามือโปร, แม่ค้าอินเทรนด์, อยากเป็นแม่ค้าPimploenDecember 22, 2020เฟสบุ๊คไลฟ์, เพิ่มยอดขายออนไลน์, เพิ่มยอดขาย, ไลฟ์สด

Next

รวมของน่าขาย หาได้ใน “ตลาดนัดจตุจักร” ซื้อไปขายต่อ ได้กำไรดี

อยากเป็นแม่ค้า, แม่ค้า Page365, แม่ค้ามือโปรPimploenNovember 24, 2020ขายออนไลน์, ขายอะไรดี, ตลาดนัดจตุจักร

ใบกำกับภาษีอย่างย่อใช้ยื่นภาษีได้ไหม

1.ใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่สามารถขอเป็นภาษีซื้อคืนได้ 2.ใบกำกับภาษีซื้ออย่างย่อสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ โดยมีเงื่อนไขเล็กน้อยคือ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องเกี่ยวข้องกับกิจการ ถ้าอยากปลอดภัยก็ขอแนะนำว่าควรใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

ใครมีสิทธิออกใบกํากับภาษีอย่างย่อ

1. ผู้มีสิทธิออกใบกากับภาษีอย่างย่อ ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจานวนมาก ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก มีสิทธิออกใบก ากับภาษีอย่างย่อได้ แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกากับภาษีอย่างย่อไม่ได้

ใบกํากับภาษีเต็มรูปแบบ เขียนได้ไหม

ส่วนอื่นๆ เช่น รายการ, วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี, ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ จะลงรายการด้วยการเขียนด้วยมือ พิมพ์ดีด ใช้ตราประทับ หรือพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ได้ และยังสามารถลงรายการรวมกันในใบกำกับภาษีใบเดียวกันได้

ใบกํากับภาษี สำคัญไหม

ใบกำกับภาษี เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการที่ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อเป็นการยืนยันว่าเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้ามาแล้ว โดยจะต้องออกให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าและบริการทุกครั้งที่ทำการขายสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้ ใบกำกับภาษีจะต้องระบุมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการเรียก ...