ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใช้ทำอะไร

Show

1. ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้

2. การประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือการให้บริการในลักษณะรายย่อย

แก่บุคคลจำนวนมาก ที่สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ ต้องมีลักษณะดังนี้

2.1 เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง

และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปใช้บริโภค หรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เช่น การขายสินค้าของกิจการแผงลอย กิจการขายของชำ กิจการขายยากิจการจำหน่ายน้ำมัน และกิจการห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะในการขายสินค้าที่เป็นไปตามลักษณะและหรือเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น

2.2 การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น การให้บริการ

ของกิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม กิจการซ่อมแซมทุกชนิด กิจการโรงภาพยนตร์ และกิจการสถานบริการน้ำมัน เป็นต้น

กิจการภัตตาคาร ได้แก่ กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้ง กิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้

ผู้ประกอบการตาม 2.1 และ 2.2 ต้องจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป พร้อมทั้งสำเนา ใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

การเป็นผู้ประกอบกรค้าปลีกที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อนั้น หากเข้าลักษณะเป็นกิจการค้าปลีกแล้ว มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เลยโดยไม่ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร

3.รายการของใบกำกับภาษีอย่างย่อ

1.คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด (ต้องระบุว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”)
2.ชื่อหรือชื่อย่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
3.หมายเลขลำดับของใบกำกับ และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
4.ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
5.ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
6.วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
7.ข้อความอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกาหนด

สำหรับคำว่า “ใบกำกับภาษี” ตาม 1จะต้องมีคำย่อว่า “อย่างย่อ” ต่อท้ายด้วย ดังนั้น รายการตาม 1 จึงเป็นรายการคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”
ชื่อ ชนิด หรือประเภทของสินค้าตาม 4 จะออกเป็นรหัสก็ได้ โดยผู้ประกอบการ จดทะเบียนจะต้องแจ้งรหัสให้อธิบดีทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันก่อนวันใช้รหัสนั้น

รายการในใบกำกับภาษีอย่างย่อให้ทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เป็นหน่วยเงินตราไทยและใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิค เว้นแต่ในกิจการบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นที่มิใช่เป็นภาษาอังกฤษ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดี

การจัดทำรายการของใบกำกับภาษีอย่างย่อ กฎหมายไม่ได้เคร่งครัดอย่างการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เนื่องจากภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ดังนั้น จึงสามารถขีด ฆ่า ขูด ลบ ตกแต่ง ต่อเติม หรือแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยไม่ผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย และกรณีที่มีรายการอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็สามารถกระทำได้ เช่น ใบกำกับภาษี อย่างย่อบางฉบับ นอกจากรายการตามที่กฎหมายกำหนด ยังมีรายการราคาสินค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่แยกออกจากกันก็สามารถมีได้

ข้อสังเกต

  1. รายการของใบกากับภาษีอย่างย่อ แตกต่างจากใบกากับภาษีแบบเต็มรูป คือ
    1.1 ไม่ต้องแสดงชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
    1.2 ชื่อ ชนิด หรือประเภทของสินค้าจะออกเป็นรหัสก็ได้
    1.3 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มให้รวมอยู่ในมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยต้องหมายเหตุว่าราคาได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
  2. ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ หากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้องใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ ผู้ประกอบการค้าปลีกจะต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  3. ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับใบกำกับภาษีอย่างย่อจะนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ แต่หากผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็น ผู้ซื้อสินค้าหรือเป็นผู้รับบริการ ประสงค์จะนำภาษีซื้อไปคำนวณภาษีหักออกจากภาษีขาย ก็ให้เรียกร้องเอาใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ตาม 2.

ประโยชน์ของการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อที่เห็นได้ชัดเจนคือ ไม่ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษีอย่างย่อ ซึ่งสะดวกแก่ผู้ออก เพราะปัญหาส่วนหนึ่งของการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปก็คือ ผู้ซื้อสินค้าฯ ไม่บอกชื่อที่อยู่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร: 081-648-7459
LINE ID: @greenprokspacc
แอดไลน์คลิกลิงก์: https://bit.ly/2dMmtrHP

เครดิตเนื้อหา/อ้างอิง

กรมสรรพากร, เรื่อง คู่มือใบกำกับภาษี
https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf

ทำความเข้าใจ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ สำหรับร้านค้าออนไลน์

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใช้ทำอะไร

จากบทความ วิธีออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกํากับภาษี สำหรับคนขายออนไลน์ ที่พิมเพลินได้นำมาไขข้อสงสัยให้กับร้านค้าออนไลน์เปิดใหม่กันบ้างแล้ว “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ร้านค้าออนไลน์ยังสงสัย และต้องทำความเข้าใจเช่นกัน

ใบกำกับภาษีอย่างย่อคืออะไร? มีไว้ทำไม ต่างจากใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตรงไหน? ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้มั๊ย? บุคคลธรรมดาออกได้หรือเปล่า? และต้องออกแบบไหนถึงจะไม่มีปัญหากับสรรพากร วันนี้พิมเพลินรวบรวมข้อมูลที่คนขายออนไลน์อย่างเราต้องรู้มาให้แล้วค่ะ :)

ใบกำกับภาษีอย่างย่อคืออะไร ? 

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ เอกสารที่ร้านค้ากิจการประเภท “ค้าปลีก” ที่ขายสินค้าและบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกให้กับลูกค้าทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าหรือบริการ เอาไว้เป็นหลักฐานแสดงมูลค้าสินค้าและบริการนั้น ๆ ในแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าเป็นร้านค้าออนไลน์ในนามบุคคลธรรมดา จะต้องมีรายได้ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จึงจะสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ค่ะ

ใบกำกับภาษีอย่างย่อต่างจากใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบยังไง ?

ใบกำกับภาษีอย่างย่อใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่จำเป็นต้องแสดงชื่อ - สกุล ที่อยู่อาศัย เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ต้องแสดงชื่อ - สกุล ที่อยู่อาศัย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอย่างชัดเจน
ชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าสามารถแสดงเป็นรหัสสินค้าได้ ต้องแสดงชื่อ ชนิด และประเภทของสินค้าอย่างชัดเจน
มีข้อความแสดงอย่างชัดเจนว่าราคาสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Included) ไว้แล้ว ต้องแยกจำนวนราคาภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อส่ง ภ.พ. 30 ได้

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใช้ทำอะไร

รายละเอียดที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอย่างย่อ

รายการที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอย่างย่อ

  1. ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลข 13 หลักของผู้ออกใบกำกับ

  2. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”

  3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี

  4. ชื่อ ชนิด ประเภทสินค้า และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ (ออกเป็นรหัสได้)

  5. วันที่ออกใบกำกับภาษี

  6. ข้อความที่ระบุในใบกำกับภาษีอย่างย่อว่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (VAT Included)

  7. ข้อความอื่น ๆ ที่สรรพากรกำหนด

ข้อควรรู้ : ปัญหาหนึ่งที่ร้านค้าออนไลน์ต้องเจอ นั่นก็คือลูกค้ามักจะไม่ค่อยให้ข้อมูลเพื่อให้นำไปออกใบกำกับภาษี ไม่ว่าจะเป็นชื่อ - สกุล ที่อยู่ นอกเสียจากลูกค้าจะต้องการจริง ๆ ไว้เพื่อทำการลดหย่อนภาษี ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัญหาอย่างมากถ้าร้านค้าออนไลน์อยากจะทำให้ถูกต้อง การออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับลูกค้า จึงเป็นวิธีช่วยแก้ปัญหาลูกค้าไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวสำหรับการออกใบกำกับภาษีแล้ว ยังช่วยลดเวลาการทำงานของร้านค้าอีกด้วยค่ะ 

ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่ ?

ร้านค้าออนไลน์สามารถออกใบกำกับภาษีแบบย่อได้เช่นกันค่ะ เพราะว่าเป็นการขายปลีกให้ลูกค้าจำนวนมากเพื่อนำไปใช้สอยเอง แต่ว่าจะมีข้อกำหนดประเภทประเภทธุรกิจร้านค้าที่สรรพากรได้ออกเอาไว้ดังนี้ 

  • กิจการร้านค้าที่ขายในลักษณะขายปลีก 

  • การขายปลีก จะต้องเป็นการขายแก่ผู้บริโภคตรง เพื่อนำไปใช้เองโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะนำไปขายต่ออีกทอดนึง เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ร้านขายของชำ ร้านขายยา เป็นต้น

  • กิจการที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร โรงแรม เป็นต้น

ร้านค้าออนไลน์ ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อยังไง? 


ร้านค้าออนไลน์บุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) ในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ร้านค้าออนไลน์สามารถใช้ Page365 ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้โดยไม่ต้องสร้างฟอร์มเองให้วุ่นวายค่ะ เพียงแค่เปิดบิลออนไลน์ให้กับลูกค้า ระบบก็จะดึงข้อมูลของลูกค้ามาจัดทำออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ/ใบเสร็จรับเงิน ให้อัตโนมัติค่ะ

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใช้ทำอะไร

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ข้อควรรู้: ร้านค้าที่ต้องการออกใบกำกับภาษีแบบย่อ โดยใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (POS) จะต้องใช้เครื่องเก็บเงินที่ได้ขึ้นทะเบียนกันกรมสรรพากร โดยร้านค้าจะต้องมีคุณสมบัติตามที่สรรพกรได้กำหนดไว้  และต้องได้รับการอนุมัติก่อนถึงจะใช้ได้ หากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท ค่ะ

และนี่ก็คือข้อมูลของใบกำกับภาษีอย่างย่อ ที่น้องพิมเพลินนำข้อมูลมาไขข้อสงสัยกันค่ะ หวังว่าคุณพ่อค้า แม่ออนไลน์จะเข้าใจกันมากขึ้นว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อที่ถูกต้อง จะต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อที่ร้านค้าจะได้ออกไม่ผิดกัน แต่อย่าลืมนะคะ! แม้จะขายออนไลน์ในนามบุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้ก็อย่าลืมไปรายงานภาษีกันด้วยนะ เรื่องภาษีไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ โดยสามารถเข้าไปอ่านและทำความเข้าใจกันได้ที่ ภาษีขายของออนไลน์เข้าใจง่าย 3 นาที ค่ะ ^^

หากคุณสนใจใช้งาน Page365 คุณสามารถ สมัครใช้งานฟรี

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เริ่มต้นกับ Page365 หรือ ทำไมเราถึงฟรี?

Previous

เพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ได้ผลด้วยวิธีไลฟ์สด

แม่ค้ามือโปร, แม่ค้าอินเทรนด์, อยากเป็นแม่ค้าPimploenDecember 22, 2020เฟสบุ๊คไลฟ์, เพิ่มยอดขายออนไลน์, เพิ่มยอดขาย, ไลฟ์สด

Next

รวมของน่าขาย หาได้ใน “ตลาดนัดจตุจักร” ซื้อไปขายต่อ ได้กำไรดี

อยากเป็นแม่ค้า, แม่ค้า Page365, แม่ค้ามือโปรPimploenNovember 24, 2020ขายออนไลน์, ขายอะไรดี, ตลาดนัดจตุจักร