คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

ในอนาคต RISC by MQDC  มีแผนขยายขอบเขตงานวิจัยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) มากถึง 13 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย ในการร่วมเป็นพลเมืองโลกที่ร่วมเปลี่ยนโลกไปด้วยกัน ด้วยการนำงานวิจัยสร้างประโยชน์ ต่อยอดสู่ชุมชน สังคม และเมือง เกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน สร้างประโยชน์ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อทุกชีวิตอย่างยั่งยืน

GotoKnow คือชุมชนออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของคนทำงานภาครัฐและภาคสังคมของไทย สมาชิกถ่ายทอดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) อันเกิดจากประสบการณ์ทั้งจากการทำงานและชีวิตลงบันทึก (Post) ในสมุด (Blog) แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกคนอื่น และเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชนเพื่อเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์แก่ชนรุ่นหลังต่อไป

อนุทินล่าสุด


คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

คุณภาพชีวิตในการทำงาน วิจัย

"การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ


    ทำให้ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลักษณะของข้อมูลที่รอบด้าน (Holistic) หลากหลายที่มา เทคนิค เเละหลากหลายวิธีการ ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ในสังคมนั้นๆ


จึงทำให้ วิธีการเก็บข้อมูล ของ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีลักษณะของการ "เก็บจากแหล่งข้อมูลขนาดเล็ก" หรือ "ไม่เน้นการสำรวจจากคนจำนวนมากๆ" เเละอาจ "มีเทคนิคของการเก็บข้อมูลเเละการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่แยกออกจากกัน" อาทิเช่น ผู้วิจัยต้องการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมเเละการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในประเทศไทยจึงทำให้ผู้วิจัยต้องทำการเลือกใช้เทคนิคการสังเกตุการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมกับพื้นที่แวดล้อมของประชาชนในแต่ละพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายการเมืองในพื้นที่นั้นๆโดยอาจจะเป็นการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติต่อกันเเละกัน เป็นต้น 


ด้วยเหตุนี้ส่วนมาก การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จึงใช้การเก็บข้อมูลจาก "การสังเกตและการสัมภาษณ์" มากกว่าวิธีการอื่นเพราะเสมือนเป็นการแฝงตนในพื้นที่หรือในชุมชนทำให้ได้ข้อมูลหลายด้าน 


ข้อดี คือ ข้อมูลที่ได้จะมีความ"ยืดหยุ่นไม่เน้นการตั้งสมมติฐานถ้าสมมติฐานที่ตั้งไว้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง" เเละในความน่าเชื่อถือความถูกต้องของข้อมูลกระทำโดยนักวิจัยขณะทำการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ยังทำให้ผู้วิจัยนั้นสามารถที่จะทำการกำหนดปัญหาในการวิจัยเชิงคุณภาพจากลักษณะทั่วไปของปรากฏการณ์ เเละ ลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อหาสาเหตุ กระบวนการเเละผลกระทบรอบด้าน


เหตุนี้ การสำรวจวรรณกรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จึงทำให้ผู้วิจัยนั้นต้องคำนึงถึงบริบท (Context) ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดแบบกว้างๆ (ระดับมหภาค) เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดที่ตกผลึกทางความคิดในมิติที่ลึกซึ้งที่สุด (ระดับจุลภาค) เพื่อทำให้ผู้วิจัยได้แนวทางของกรอบแนวความคิด (Conceptual Framwork) ทั้งในรูปแบบกรอบงานวิจัย (Research Framwork) หรือแผนผังความคิด (Mind mapping) หรือรูปแบบใดๆได้อย่างละเอียดเเละเกิดจากความเข้าใจอย่างที่สุด


เเละจะทำให้ การเก็บรวบรวมข้อมูล นั้นตัวผู้วิจัยจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเก็บข้อมูลจากทั้งการสังเกตการณ์ (ทั้งแบบมีส่วนร่วมเเละแบบไม่มีส่วนร่วม) การจดบันทึก การสัมภาษณ์หรือสัมภาษณ์เชิงลึก เเละการเก็บจากข้อมูลเอกสารที่มีการจดบันทึกไว้ก่อนเเล้ว (ข้อมูลทุติยภูมิ) เพราะทำให้ได้ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิจัยได้ผ่านการกระบวนการทางความคิด ความเข้าใจอย่างเหมาะสมเเละถี่ถ้วนอย่างมากเช่น การกำหนดตัวอย่างและสนาม (พื้นที่) ของการวิจัยให้ชัดเจนและต้องรวบรวมข้อมูลที่เป็นบริบทของข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอน เพราะผู้วิจัยจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์และใช้เทคนิคการสังเกตการณ์หรือการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดเกี่ยวกับโลกทัศน์ ความรู้สึก ค่านิยม ประวัติ คุณลักษณะ ฯลฯ มาประกอบการวิเคราะห์ผลของการวิจัยต่อไปได้


การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จะใช้วิธีการจำแนกเพื่อจัดระบบข้อมูลเพื่อตอบคำถามในการตีความว่าสิ่งที่ได้มานั้นมันคืออะไรหรือเป็นอย่างไร และหาความสัมพันธ์ของข้อมูลดำเพื่อแยกแยะเงื่อนไขเเละดูสาเหตุในความสัมพันธ์เเละกระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางสถิติเพื่อรวบรวมจัดหมวดหมู่ข้อมูล


ซึ่งนั่นทำให้การเสนอรายงานผลการวิจัยเชิงคุณภาพจึงมักถูกนำไปใช้ในการตีความปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรมที่ต้องการแก้ไขปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม อย่างเช่นกรณีที่ตำรวจได้ทำการปลอมตัวเป็นสมาชิกเด็กเเว้นเพื่อทำการจับกุม โดยไม่เกิดอันตรายต่อตัวตำรวจ เด็กเเว้น เเละประชาชนที่สัญจรไปมาบนท้องถนน เป็นต้น (ซ้อนแผน!ตำรวจหนุ่มปลอมตัวแฝงเป็นเด็กแว้นตลบหลังพาเข้าซอยปิดล้อมรวบ, ที่มา https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_32241. วันที่ 4 ต.ค. 2559)


    สรุป การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นบทบาทของตัวผู้วิจัยในการลงพื้นที่ด้วยตนเองจากทั้งการศึกษาเเละการสังเกตุแบบละเอียดในทุกๆด้านแบบเจาะลึก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการตีความด้วยทักษะของการวิเคราะห์เชิงเหตุเเละผลด้วยการนำปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหามาตีแผ่หรือต้องการแนวทางการแก้ไขมาสร้างรูปแบบแนวทางให้กับสังคมได้รับรู้เเละนำไปใช้ด้วยรูปแบบของการใช้แนวคิด ทฤษฎีที่เข้าถึงมิติด้านต่างๆของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต ประเพณี  เเละเเสดงผลที่ได้จากการวิจัยด้วยตรรกยะทางทฤษฏีที่เหมาะสมเเละชี้วัดได้ถึงเหตุเเละผลที่ทำให้เกิดปัญหาหรือปรากฏการณ์ทางสังคมนั้นขึ้นมาได้ ซึ่งหากเป็น การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เเล้วนั้นจะเป็นเพียงการแสดงข้อเท็จจริงและข้อสรุปด้วยข้อมูลตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันปริมาณของปัญหานั้น ของจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือข้อมูลอื่นๆที่ไม่ได้ลงลึกแบบรอบด้านในมิติต่างๆของปัญหานั้นได้เท่าไรนัก


เหตุนี้การวิจัยที่ผสมผสานระหว่างข้อมูลหรือสถิติปัญหารายด้านจากการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จึงต้องนำมาตีความเพื่อทำความเข้าใจในระบบหรือกระบวนการที่ทำให้เกิดปัญหานั้นๆเกหิดขึ้นมาในสังคมด้วยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อนำมาสู่แนวทางการแก้ไขที่ไม่ใช่เพียงรับทราบปริมาณปัญหาเพียงเท่านั้น แต่ต้องทำการศึกษาลงไปถึงต้นตอของปัญหาด้วยการแฝงตัวเข้าไปในพื้นที่ผ่านเทคนิคการเก็บข้อมูลรูปแบบต่างๆเพื่อนำมาตีความเเละแก้ปัญหาจากข้อมูลจริงในสถานที่จริง เพื่อให้ได้รับการแก้ไขปัญหาจริงๆให้ได้