การทำงานเชิงประสิทธิภาพ หมายถึง

     การทำงานในปัจจุบันต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ตลอด มีความไม่แน่นอน เกิดความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ทำให้งานที่ได้รับมอบหมาย
หรืองานที่ต้องรับผิดชอบให้สำเร็จ.....เป็นเรื่องท้าทายความรู้ความสามารถของทุกๆคน
   ประเด็นที่ประกอบ ให้เกิดการทำงานเชิงรุก ดังนี้.....
     การเป็นบุคคลเชิงรุกจากภายใน (Be Proactive)….พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับ ego ของตัวเอง
     การสร้างกรอบความคิดการทำงานเชิงรุก (Proactive Working Mindset)….ปรับกรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset)
         ให้เป็นกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) กับเป้าหมายใหม่ๆทุกครั้ง
     การมุ่งมั่นไปที่เป้าหมาย (Target Focus)….ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ต้องเผชิญปัญหา/อุปสรรคระหว่างทางอยู่เสมอๆ
         การทำงานเชิงรุกจะค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ต่อไป
     การใช้หลักการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)….ตั้งคำถามกับความเชื่อเดิมๆ ด้วยการใช้ข้อมูลใหม่ๆมาเสริมในการตัดสินใจ
         เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ตัวเองอย่างมีเหตุและผล ไม่ยึดติดกับวิธีการเดิมๆ

   การพัฒนาตัวเองให้ฝึกฝนการทำงานเชิงรุก (Proactive Working) อยู่เรื่อยๆ ก็จะทำให้เรากลายเป็นบุคคลเชิงรุกอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกกรณีสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆที่เกิดขึ้นโดยยังลงมือปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นครับ

          ปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งการทำงานเชิงรุกให้เกิดขึ้นในองค์กร เริ่มต้นได้จากตัวเรา ส่งต่อพลังเชิงบวกไปถึงทุกคนในองค์กร ในขณะเดียวกันผู้บริหารก็ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการทำงานเชิงรุกให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพต่อคนทำงาน jobsDB เชื่อว่าถ้าคุณมีทัศนคติการทำงานเชิงรุก และนำไปปฏิบัติแล้ว ทั้งตัวคุณและองค์กรจะพัฒนาไปสู่ทิศทางของความสำเร็จได้ดังมุ่งหวังตั้งใจอย่างแน่นอน

ข้อสอบปลายภาค ม.3 เทอม 1

ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1.ข้อใดหมายถึงทักษะกระบวนการทำงาน
ก. การแบ่งหน้าที่กันตามความถนัดของแต่ละบุคคล
ข. การใช้หลักการอธิบายแก้ปัญหา เพื่อให้ได้ความจริง
ค. เทคนิควิธีการต่างๆที่จะใช้ในการปฏิบัติงาน
ง. การตัดสินใจแก้ปัญหาภายใต้ทางเลือกต่างๆ
2.ข้อใดเป็นวินัยพื้นฐานในการทำงาน
ก. ความซื่อสัตย์
ข. ความประหยัด
ค. ความตรงต่อเวลา
ง. ความขยันและอดทน
3.ใครทำงานแบบมีประสิทธิภาพ
ก. ปอรีดผ้าพร้อมกับต้มน้ำ
ข. ปรายนำผ้าไปรีดที่ร้านซักอบรีด
ค. แป้งรีดผ้าโดยใช้เตารีดแบบไอน้ำ
ง. ปอยรีดผ้าโดยใช้ความร้อนแบบต่ำสุด
4. “ในการทำงานร่วมกัน กลุ่ม B สามารถทำ
กิจกรรมเสร็จเร็วกว่ากำหนด” แสดงว่ากลุ่ม B
ทำงานเชิงประสิทธิภาพตามข้อใด
ก. ประหยัดเวลา
ข. ประหยัดทรัพยากร
ค. ประหยัดค่าใช้จ่าย
ง. คำนึงถึงความปลอดภัย
5.การวางแผนการทำงานเชิงประสิทธิภาพ
ข้อใดมีความสำคัญมากที่สุด
ก. การจัดลำดับงาน
ข. การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์
ค. การกำหนดระยะเวลาการทำงาน
ง. การกำหนดผู้รับชอบในการทำงาน

6.การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
จะเกิดผลดีที่สุดในข้อใด
ก. ทำให้ขยันทำงาน
ข.ทำให้มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น
ค. ทำให้การทำงานมีความราบรื่น
ง. ทำให้รู้จักปฏิบัติตามกติกามารยาท
7.การทำงานร่วมกันข้อใดสำคัญที่สุด
ก. สมาชิกมีเป้าหมายเดียวกัน
ข. หัวหน้ากลุ่มมีความรับผิดชอบ
ค. สมาชิกทำงานเต็มความสามารถ
ง. สมาชิกเผยแพร่งานได้เป็นอย่างดี
8.ปัจจัยใดมีผลต่อความคิด
ก. อาชีพ
ข. สังคม
ค. ครอบครัว
ง. ประสบการณ์
9.การวางแผนการทำงานเชิงประสิทธิภาพ
ข้อใดมีความสำคัญมากที่สุด
ก. การจัดลำดับงาน
ข. การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์
ค. การกำหนดระยะเวลาการทำงาน
ง. การกำหนดผู้รับผิดชอบในการทำงาน
10.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงาน
ก. ประหยัดเวลา
ข. ประหยัดอาหาร
ค. ประหยัดแรงงาน
ง. ประหยัดทรัพยากร

11.ถ้านักเรียนสวมใส่เสื้อผ้าที่สกปรกจะส่งผลอย่างไรต่อตัวนักเรียน
ก. ยากจน
ข. ปรับตัวได้ง่าย
ค. เสียบุคลิกภาพ
ง. ดูเป็นคนเอาการเอางาน
12.ข้อดีของการซักผ้าด้วยมือ คือข้อใด
ก. ซักผ้าได้จำนวนมาก
ข. ซักผ้าที่ไม่ต้องใช้ความพิถีพิถันมากนัก
ค. สามารถทำความสะอาดเฉพาะส่วนได้ดี
ง. ถูกทุกข้อ
13.ก่อนการซักผ้า ควรทำสิ่งใดเป็นอันดับแรก
ก. แยกผ้าขาวออกผ้าสีออกจากกัน
ข. นำเสื้อผ้าไปแช่ลงในกะละมัง
ค. ผสมน้ำกับผงซักฟอกเข้าด้วยกัน
ง. ตรวจดูกระเป๋าเสื้อกระเป๋ากางเกง
14.เพราะเหตุผลใดจึงขจัดรอยเปื้อนก่อนซักเสื้อผ้า
ก. เพราประหยัดสารซักฟอก
ข. เพราะช่วยให้ซักผ้าสะอาดง่ายขึ้น
ค. เพราะจะทำให้เสื้อผ้ามีสีสดยาวนาน
ง. เพราะจะทำให้เส้นใยผ้าทนทานมากยิ่งขึ้น
15.ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก. งานตกแต่งเสื้อผ้าใช้กับเสื้อผ้าใหม่เท่านั้น
ข. งานตกแต่งเสื้อผ้าเหมาะกับกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น
ค. การตกแต่งเสื้อผ้าช่วยเพิ่มราคาให้กับเสื้อผ้า
ง. งานตกแต่งเสื้อผ้าทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
16.การซักผ้าสัปดาห์ละ 1–2 ครั้ง มีผลดีข้อใด
มากที่สุด
ก. ประหยัดเวลา
ข. ประหยัดแรงงาน
ค. ประหยัดค่าใช้จ่าย
ง. ประหยัดทรัพยากร

17.ข้อใดคือลำดับขั้นตอนของการรีดเสื้อที่ถูกวิธี
1.รีดปกเสื้อ 2.รีดแขนเสื้อ
3.รีดเสื้อด้านหน้า 4.รีดเสื้อด้านหลัง
ก. 1-2-3-4
ข. 4-2-3-1
ค. 1-3-4-2
ง. 2-3-4-1
18.การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการดูแลเสื้อผ้าตรงกับข้อใด
ก. ไม่เปิดไฟฟ้าขณะซักผ้า
ข. รีดผ้าหลายตัวในครั้งเดียว
ค. ตากผ้าในทีมีแสงแดดจัดให้แห้งสนิท
ง. ใช้เครื่องซักผ้าแทนการใช้มือซักผ้า
19.การสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์ในการ
ตากผ้าจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของ
ทักษะการจัดการ
ก. การตั้งเป้าหมาย
ข. การวิเคราะห์ทรัพยากร
ค. การวางแผนและกำหนดทรัพยากร
ง. การปฏิบัติตามแผนและปรับแผน
20. “แอนนาเปลี่ยนที่ตากผ้าจากกลางแจ้งมาตาก
ในบ้านเพราะฝนตก” แอนนาปฏิบัติอยู่ใน
ขั้นตอนใดของทักษะการจัดการ
ก. การตั้งเป้าหมาย
ข. การวิเคราะห์ทรัพยากร
ค. การวางแผนและกำหนดทรัพยากร
ง. การปฏิบัติตามแผนและปรับแผน
21.การตากผ้าโดยกลับเอาด้านในออกมีจุดประสงค์เพื่ออะไร
ก. เพื่อให้ผ้าแห้งเร็วขึ้น
ข. เพื่อป้องกันผ้าสีซีดจาง
ค. เพื่อให้ผ้ามีกลิ่นหอม
ง. เพื่อป้องกันผ้าหดตัว

22.เสื้อผ้าในข้อใดเมื่อซักแล้วห้ามบิด
ก. เสื้อผ้าฝ้าย
ข. เสื้อผ้าใยสังเคราะห์
ค. เสื้อผ้าใยกึ่งสังเคราะห์
ง. เสื้อผ้าที่ปักเลื่อมและลูกปัด
23.อาหารประเภทสำรับหมายถึงข้อใด
ก. อาหารที่จัดเป็นชุด
ข. มีอาหารหลายอย่าง
ค. อาหารหลายรสชาติหลายลักษณะจัดเป็นชุด
ง. ถูกทุกข้อ
24.อาหารสำรับจัดเป็นอาหารคาวหรือทั้งอาหารคาวอาหารหวานรวมทั้งผลไม้นิยมจัดในมื้อใด
ก. มื้อเช้า
ข. มื้อกลางวัน
ค. มื้อเย็น
ง. ถูกทุกข้อ
25.ประโยชน์ที่โดดเด่นของการรับประทานอาหารสำรับคือข้อใด
ก. รับประทานอาหารได้มากขึ้น
ข. มีอาหารหลายอย่างให้เลือกรับประทาน
ค. ได้รับสารอาหารอย่างหลากหลาย
ง. ได้รู้จักอาหารสำรับของแต่ละภาค
26.ข้อใดเป็นการประกอบอาหารสำรับอย่างมีอนามัย
ก. ล้างวัตถุดิบ อุปกรณ์ทุกอย่าง ก่อนประกอบอาหาร
ข. ใช้ถ้วยตวงและช้อนตวงในการตวงเครื่องปรุง
ค. วัตถุดิบทุกอย่างต้องลวกก่อนประกอบอาหาร
ง. ปรุงรสอาหารหลังจากอาหารสุกแล้ว
27.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของอาหารสำรับ
ก. เป็นอาหารที่มีคุณภาพแต่ราคาถูกกว่าอาหารจานเดียว
ข. มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนเพราะประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่
ค. แสงถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยจาการมีเครื่องเคียงเครื่องแนม
แกะสลักพืชผักผลไม้เป็นภาชนะใส่อาหารหรือตกแต่งอาหารให้สวยงาม
ง. สะดวกต่อการรับประทานบริการอาหารและยังเหมาะในการจัดเลี้ยงพิเศษ
28.เครื่องเคียงคืออาหารที่นำมารับประทานด้วยกันแต่ตนละอย่างกันเพื่อเสริมรสชาติซึ่งกันและกัน เนื้อเค็มเคียงกับข้อใด
ก. ไข่เจียว
ข. แกงจืด
ค. แกงเผ็ด
ง. แกงส้มผักรวม

29.เครื่องแนมเป็นอาหารที่รับประทานคู่กันเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อยของอาหารมีลักษณะเป็นชุดเดียวกัน ข้าวคลุกกะปิมีเครื่องแนมในข้อใด
ก. เนื้อทอด
ข.ไข่ดาว
ค.ไข่ลูกเขย
ง. หมูหวาน
30.ข้อใดคืออาหารสำหรับภาคกลาง
ก. ข้าวเหนียว น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู แกงฮังเล ผักสด ไส้อั่ว
ข. ข้าวสวย แกงมัสมั่น ปลาสลิดทอด ผักดองสามรส
ค. ข้าวสวย แกงเหลือง ผัดสตอกุ้งสด ยำทะเลรวมมิตร ผักสด มังคุด
ง. ข้าวเหนียว ลาบเป็ด ต้มเป็ด ทอดเป็ด ผักลวก น้ำพริกปลาช่อน มะม่วงสุก
31.ข้อใดคืออาหารสำหรับภาคเหนือ(ใช้ตัวเลือกข้อ 9)
32.ข้อใดคือการจัดอาหารสำหรับภาคอิสาน(ใช้ตัวเลือกข้อ 9)
33.ข้อใดคือการจัดสำรับอาหารภาคใต้ (ใช้ตัวเลือกข้อ 9)
34.ขนมจีนภาคเหนือเรียกขนมเส้นภาคะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวปุ้น จัดอยู่ในอาหารสำรับประเภทใด
ก. อาหารที่ต้องมีเครื่องเคียงและเครื่องแนม
ข. อาหารที่ต้องจัดเข้าชุดกันกับข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก
ค. อาหารที่ต้องคลุกเคล้าด้วยกันเป็นอาหารจานเดียว
ง. อาหารจานเดียวที่มีสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
35.ภาชนะที่ทำด้วยไม้รูปทรงกลมใช้วางอาหารแล้วจัดเป็นสำรับของภาคเหนือคือ
ก. ขันโตก
ข. ถาด
ค. พาน
ง. ชามผสม

36.อาหารมีปลาและอาหารทะเลเป็นส่วนประกอบนิยมใช้เครื่องเทศเป็นขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวอาหารทุกอย่างจึงมีสีเหลืองหมายถึงอาหารภาคใด
ก. ภาคเหนือ
ข. ภาคกลาง
ค. ภาคอีสาน
ง. ภาคใต้
37.อาหารภาคใต้จะมีรสชาติเค็มจัดเผ็ดจัดแต่ไม่มีรสชาติหวานรสเค็มได้จาก
ก. กะปิ
ข. เกลือ
ค. น้ำปลา
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
38.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะอาหารประเภทสำรับ
ก. มีเครื่องเคียงของแนม
ข. จัดเสิร์ฟบนถาดหรือขันโตก
ค. ใช้ภาชนะใส่อาหารมีขนาดเดียวกันทั้งหมด
ง. ต้องคลุกเคล้าส่วนผสมเข้าด้วยกันเป็นจานเดียว
39.รสเปรี้ยวในแกงฮังเลเกิดจากเครื่องปรุงรสในข้อใด
ก. มะขามเปียก
ข. มะนาว
ค. มะเขือเทศ
ง. มะเฟือง
40.การแช่เส้นมะละกอที่สับแล้วในน้ำเย็นจัดที่แกว่งสารส้ม มีวัตถุประสงค์ตรงกับข้อใด
ก. ทำให้เส้นมะละกอไม่มีรสขม
ข. ทำให้เส้นมะละกอสด
ค. ทำให้เส้นมะละกอสีไม่เปลี่ยน
ง. ทำให้เส้นมะละกอกรอบ

Rate this:

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to email a link to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to share on box (Opens in new window)

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

การทํางานเชิงประสิทธิภาพ หมายถึงอะไร

ประสิทธิภาพ คือ การทำงานอย่างประหยัดต้นทุน ให้เสร็จทันเวลา ภายในคุณภาพที่กำหนดไว้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการทำงานให้เกิดผล หรือบรรลุเป้าหมายได้แบบประหยัดต้นทุน เสร็จทันเวลา ภายในคุณภาพที่ระบุไว้ โดยปัจจัยของประสิทธิภาพจะมีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ค่าใช้จ่าย, เวลา และคุณภาพ ส่วน

การทำงานร่วมกันมีหลักในการทำงานอย่างไร

Teamwork อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ.
1. เข้าใจการทำงานของตนเอง และคนอื่น ... .
2. สร้างและโฟกัสเป้าหมายร่วมกัน ... .
3. สร้างทีมด้วยความสามารถหรือจุดเด่นของแต่ละคน ... .
4. ตรงไปตรงมา จริงใจต่อกัน ให้การสนับสนุนกัน ... .
5. เพิ่มความสนิทสนม สานสัมพันธ์ ... .
6. เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่มีวินัย.

หลักการที่ใช้ในการทำงานมีอะไรบ้าง

หลักปฏิบัติสู่ความสำเร็จของคนทำงาน.
ยึดมั่นในเป้าหมายขององค์กร ... .
สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ... .
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ... .
เชื่อมั่นในตัวเอง ... .
แก้ปัญหาอย่างประณีประนอม ... .
แบ่งปันและประสานงานอย่างมีศิลปะสร้างสรรค์ ... .
ยอมรับผิดเมื่อกระทำผิดและให้อภัยเพื่อนร่วมงานเสมอ ... .
ให้เกียรติกัน.