การ จะ เห็น แจ้ง ในอริยสัจ ต้อง ปฏิบัติตามหลักธรรม ใด

การ จะ เห็น แจ้ง ในอริยสัจ ต้อง ปฏิบัติตามหลักธรรม ใด

อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงแห่งพระอริยะ สำหรับการดับทุกข์ เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงอันประกอบด้วยธรรม 4 ประการ คือ
1. ทุกข์ คือ ความทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
2. สมุทัย คือ มูลเหตุหรือต้นเหตุแห่งทุกข์นั้น
3. นิโรธ คือ สิ่งที่ใช้ดับทุกข์
4. มรรค คือ แนวทางแห่งการดับทุกข์

คุณสมบัติของอริยสัจ 4
1. เป็นความจริงที่พระอริยะรู้แจ้ง (ตรัสรู้)
2. เป็นความจริงที่พระอริยะพึงมี
3. เป็นความจริงที่ทำให้เป็นอริยะ
4. เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ และไม่มีวันหักล้างได้

การ จะ เห็น แจ้ง ในอริยสัจ ต้อง ปฏิบัติตามหลักธรรม ใด

ขั้นตอนการเข้าถึงอริยสัจสี่ 3 ประการ คือ
1. การรับรู้
การรับรู้ คือ ความเข้าใจในสิ่งที่มากระทบกับประสาทสัมผัสทั้ง 6 ที่นำมาสู่สิ่งที่กาย และใจตนไม่ปรารถนา เรียกว่า ทุกข์

2. การใช้ปัญญา
การใช้ปัญญา คือ การคิด วิเคราะห์เหตุแห่งที่มาของความทุกข์นั้น โดยใช้พื้นฐานแห่งความรู้ของตนที่มีมาจนรู้แจ้งในเหตุ และผลในสิ่งเหล่านั้น เรียกว่า สมุทัย

3. การกำหนดสิ่งดับทุกข์
การกำหนดสิ่งดับทุกข์ เป็นขั้นหลังจากที่รู้เหตุแห่งทุกข์แล้วจึงใช้ปัญญากำหนดเครื่องดับทุกข์ คือ การยอมรับในทุกข์ด้วยความเข้าใจในความจริงของทุกสรรพสิ่ง เรียกว่า นิโรธ

4. การปฏิบัติ
การปฏิบัติ คือ การดำเนินตามแนวทางที่ช่วยส่งเสริมเครื่องดับทุกข์หรือทำให้เกิดการดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์ 8

อธิบายเพิ่มเติมแห่งอริยสัจ 4
1.ทุกข์
ทุกข์ แห่งอริยสัจ 4 หมายถึง สภาพที่ทำให้เกิดความไม่สบายกาย และสบายใจ ทั้งสภาพที่ทนได้ คือ เกิดขึ้นน้อย และสภาพที่ทนได้ยาก คือ เกิดขึ้นมาก แต่หากกล่าวให้ลึกในทางธรรมแห่งพระอริยะ คือ สภาวะของทุกสรรพสิ่งที่ไม่เป็นไปตามการยึดมั่น ถือมั่น เพราะเหตุที่ต้องตกอยู่ในกฎแห่งความไม่เที่ยง

ปัญจุปาทานักขันธ์ 11 ประการ (ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับทุกชีวิต)
– การเกิด (ชาติ)
– การแก่ (ชรา)
– การตาย (มรณะ)
– การโศกเศร้า (โสกะ)
– การร่ำไร และรำพัน(ปริเทวะ)
– การทุกข์กาย (ทุกขะ)
– การทุกข์ใจ (โทมนัสสะ)
– การคับแค้นใจ (อุปายาส)
– การพลั้งเจอหรืออยู่ร่วมกับสิ่งที่ตนไม่รัก ไม่ยินดี (อิปปิยสัมปโยค)
– การพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก (ปิยวิปปโยค)
– การปรารถนาที่ไม่ได้ตามปรารถนา (อิจฉาวิฆาตะ)

ความทุกข์เหล่านี้ ย่อมเกิดแก่ทุกชีวิต ทั้งปุถุชนทั่วไป และผู้ทรงศีลที่ยังไม่เข้าถึงพระนิพพาน สำหรับปุถุชนทั่วไป คือ ฆราวาสผู้รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 แนวทางแห่งอริยสัจ 4 นี้ จะมีประโยชน์ต่อการดับทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต อาทิ ความทุกข์จากความยากจน ความทุกข์จากถูกดุด่า ความทุกข์จากการสูญเสีย เป็นต้น

2. สมุทัย
สมุทัย แห่งอริยสัจ 4 หมายถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ กำหนดรู้ด้วยการใช้ปัญญาในการคิด วิเคราะห์ ภายใต้พื้นฐานของความรู้ และสติปัญญาของตน

สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ ในคำสอนของพระพุทธองค์ คือ ตัณหา อันประกอบขึ้นด้วยความยึดมั่นถือมั่น และความทะยานอยากในจิตของตน แบ่งเป็น 3 อย่าง
1. กามตัณหา คือ ความอยากที่ต้องการในการได้มา การต้องจับหรือสัมผัสกับสิ่งที่ตนรักใคร่ ได้แก่ เห็นรูปกาย ได้ยินเสียง ได้กลิ่นหอมเหม็น รับรสทั้ง5 และสัมผัสกาย
2. ภวตัณหา คือ ความอยากอยากมี อยากเป็นในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นกับตน เช่น อยากเป็นคนร่ำรวย อยากมีรถยนต์ เป็นต้น
3. วิภวตัณหา คือ ความอยากที่ไม่ต้องการให้เป็นไปในสิ่งที่ตนไม่ปรารถนา หรือต้องการให้เกิดขึ้นในสิ่งที่ตนปรารถนา เช่น ไม่อยากเจอคนพาล ไม่อยากไปโรงเรียน เป็นต้น

การพิจารณาเพื่อเข้าถึงสมุทัยตามวิถีแห่งปุถุชนในการดำเนินชีวิตนั้น เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบสาเหตุทั่วไปของความทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต ถือว่ายังไม่ถึงขั้นของการเข้าถึงสมุทัยแห่งพระนิพพาน อาทิ สาเหตุการสอบตก สาเหตุการมาโรงเรียนสาย เป็นต้น

3. นิโรธ
นิโรธ แห่งอริยสัจ 4 หมายถึง ความดับทุกข์หรือสิ่งที่ใช้ดับทุกข์ ด้วยการเข้าใจในความทุกข์อันมีตัณหาเป็นสาเหตุที่ทุกชีวิตไม่สามารถหลีกพ้นได้

เมื่อจิตมองเห็นถึงความดับทุกข์ คือ จิตสงบไม่มีความยินดีหรือไม่ยินดีกับความทุกข์ที่เกิด อันประกอบขึ้นด้วยการหลุดพ้นแห่งกิเลสทั้งปวง นั่นคือ พระนิพพาน ที่ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิทั้งหลาย

การเข้าถึงนิโรธของปุถุชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตนั้น เป็นเพียงการดับทุกข์ที่เป็นกิเลสพื้นฐานทั่วไป มิใช่การดับซึ่งกิเลสแห่งพระนิพพาน เรียกการเข้าถึงนิโรธในลักษณะนี้ว่า การดับทุกข์ชั่วขณะหรือนิพพานชั่วขณะ (ตพังคนิพพาน)

ธรรมอันช่วยทำให้เข้าถึงนิโรธได้นั้น ท่านกล่าวให้พึงใช้หลักธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ 3 อันประกอบด้วย
– อนิจจัง คือ ทุกสรรพสิ่งไม่มีความเที่ยง
– ทุกขัง คือ ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความทุกข์
– อนัตตา คือ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่มีตัวตน ไม่สามารถทำให้เป็นไปตามที่ตนมุ่งหมายได้ทุกอย่าง

4. มรรค
มรรค แห่งอริยสัจ 4 หมายถึง หนทางหรือแนวทางแห่งการดับทุกข์

มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์นั้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. มรรค 8 คือ มรรคที่อรรถาธิบายในเชิงที่เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนพึงนำไปใช้ปฏิบัติ
2. อริยมรรค 8 คือ มรรคที่อรรถาธิบายในเชิงที่เหมาะสำหรับผู้ทรงศีลพึงนำไปใช้ปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน แห่งการเป็นพระอริยะ

มรรค 8 คือ ธรรมอันเป็นแนวทางแห่งการดับทุกข์ 8 ประการคือ
1. สัมมาทิฏฐิ คือ การเห็นชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ สมุทัย และนิโธ
2. สัมมาสังกัปปะ คือ การคิดชอบหรือรู้ดำริชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ เว้นจากมิจฉาสังกัปปะ 3
3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ เว้นจากวจีทุจริต 4
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ เว้นจากกายทุจริต 3
5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ วิริยะ
6. สัมมาวายามะ คือ การเพียรชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ ปธาน 4
7. สัมมาสติ คือ การตั้งสติชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ สติสัมปชัญญะ
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งมั่นชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ ฌาน 4

การปฏิบัติตนตามหลักอริยสัจ4ต้องปฏิบัติอย่างไร

1. สัมมาทิฏฐิ คือ การเห็นชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ สมุทัย และนิโธ 2. สัมมาสังกัปปะ คือ การคิดชอบหรือรู้ดำริชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ เว้นจากมิจฉาสังกัปปะ 3. 3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ เว้นจากวจีทุจริต 4. 4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติชอบ ใช้ธรรมพื้นฐาน คือ เว้นจากกายทุจริต 3.

หลักธรรมใดที่จัดอยู่ใน "ทุกข์" แห่งอริยสัจ 4

1) ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2) สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3) นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์ 4) มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

หลักอริยสัจ 4 มีลักษณะสำคัญตามข้อใด

ดังนั้นอริยสัจ 4 จึงมองไปในทางมุมมองของปัญหา คือ1. ทุกข์คือ ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ว่าตัวทุกข์ คืออะไร 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร เป็นสิ่งที่ควรละ 3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา เพื่อให้หลุดพ้น จากทุกข์ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง 4. มรรค คือ วิธีแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรอบรมบำเพ็ญให้เกิดมี ซึ่งแบ่งเป็นการ แก้ปัญหาระดับ ...

หลักธรรมที่ควรบรรลุ มีอะไรบ้าง

นิโรธ 5.
ปหาน 5 (การละกิเลส 5 ประการ).
วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ).
วิเวก 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ).
วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ).
โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ).