อริยสัจ 4 ข้อใดเป็นสิ่งที่ควรเจริญหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

อริยสัจ 4  :  อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา

  • [หน้าหลัก]
  • อริยสัจ 4  :  อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา

อริยสัจ 4 ข้อใดเป็นสิ่งที่ควรเจริญหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ไว้แก่ชาวโลก
หนทางสู่การเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐเป็นเทวดา
เป็นพรหม ในร่างของมนุษย์
เผยแพร่ธรรมะให้เพื่อนมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายพบเจอแต่ความดี พ้นจากทุกข์



อริยสัจ 4  :  อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้

1) ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกขณะ เราจึงไม่ควรประมาทและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความจริงของทุกข์นั้นๆ

2. สมุทัย (หลักธรรมที่ควรละ)  สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งความทุกข์ เพราะความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุเกิดจากอะไรบางอย่าง ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ โดยไม่เหตุ  หลักธรรมที่ควรละ เพื่อไม่ให้เกิดทุกข์ต่างๆ

3. นิโรธ  (หลักธรรมที่ทำให้บรรลุ) นิโรธ  คือ ความดับทุกข์หรือดับปัญหาต่างๆ   พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องความสุขมากมาย จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน เป็นบรมสุขที่สูงสุด

4. มรรค (หลักธรรมที่ควรเจริญ หรือทำให้เกิดขึ้น) มรรค คือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ

ผู้เขียน : @samorat
โพสต์เมื่อ : 28 ม.ค. 2565
ป้ายกำกับ : หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่มีความคิดเห็น โพสต์เลยตอนนี้

ข้อสอบกลางภาควิชาอริยสัจ 4 ที่เปิดให้สอบในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 จึงนำมาเผยแพร่เพื่อส่งเสริมการศึกษาและต่อยอดในหมวดวิชาพุทธศาสนาต่อไป

เป็นข้อสอบปรนัย 30 ข้อ ให้เวลานักศึกษาทำข้อสอบ 1:30 ชั่วโมง

ข้อสอบแบ่งเป็น 2 หมวด
1. ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานอริยสัจ 18 ข้อ
2. สภาวธรรมตามหลักอริยสัจ 12 ข้อ

ทดลองทำข้อสอบออนไลน์ ใน Google form

ดาวน์โหลดข้อสอบวิชา อริยสัจ 4 (ไฟล์ไม่รวมเฉลย)

        • ดาวน์โหลดไฟล์ word
        • ดาวน์โหลดไฟล์ pdf
        • ดาวน์โหลดเฉลยข้อสอบ
        • ดาวน์โหลดไฟล์ jpeg | หน้า 1, หน้า 2, หน้า 3, หน้า 4, หน้า 5, หน้า 6, หน้า 7

*(แก้ไขครั้งที่ 1 วันที่ 9 พฤษภาคม 2564)


ข้อสอบวิชา อริยสัจ 4 (กลางภาค)

คำชี้แจงข้อสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวมเป็น 30 คะแนน ปรนัยทั้งหมด เวลาทำข้อสอบไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาที

แบ่งเป็น 2 หมวด1. ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานอริยสัจ 18 ข้อ2. สภาวธรรมตามหลักอริยสัจ 12 ข้อ

วันที่เริ่มสอบ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2564 (ปิดรับก่อนวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ตามเวลาในประเทศไทย)

ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานอริยสัจ 18 ข้อ (1 – 18)

  1. ทุกขสมุทัยอริยสัจ รู้แจ้งเหตุให้เกิดทุกข์ มีอะไรเป็นเหตุ

ก. ตัณหา 3

ข. กิเลส 3

ค. เวทนา 3

ง. อุปาทานขันธ์ 5

  1. ทุกขอริยสัจรู้แจ้งทุกข์ในข้อใด

ก. นิวรณ์ 5

ข. อุปาทานขันธ์ 5

ค. ไตรลักษณ์ 3

ง. ตัณหา 3

  1. ข้อใดคือ ทุกขอริยสัจ

ก. ความทุกข์ใจ

ข. ความทุกข์ทางร่างกาย

ค. ความทุกข์จากเหตุการณ์

ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใด คือ สมุทัย ตามหลักอริยสัจ 4

ก. อยากให้เกิดดีดั่งใจหมาย

ข. ความยึดมั่นถือมั่น

ค. ชอบที่เกิดเรื่องดี ชังที่เกิดเรื่องร้าย

ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใดคือความหมายของอริยสัจ 4

ก. ทรัพย์อันประเสริฐ 4 ประการ

ข. ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

ค. บุคคลผู้ประเสริฐ 4 ประเภท

ง. หลักธรรมที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ 4 ประการ

  1. อริยสัจ 4 ข้อใดที่เราควรปฏิบัติไปให้ถึง

ก. สมุทัย

ข. นิโรธ

ค. มรรค

ง. นิโรธ และมรรค

  1. เราจะสามารถรู้ “ทุกขอริยสัจ” ได้อย่างไร

ก. กระทบผัสสะ

ข. อ่านอาการเวทนาในใจ

ค. มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม

ง. มีสมาธิ จิตตั้งมั่น

  1. เมื่อรู้ทุกขอริยสัจแล้ว ควรจะรู้ชัดในเรื่องใด เพื่อที่จะดับทุกข์ได้

ก. ทุกข์

ข. สมุทัย

ค. นิโรธ

ง. มรรค

  1. ทุกขอริยสัจ คือทุกข์ใจ จะเกิดขึ้นในชีวิตจากสภาพใดบ้าง

ก. เกิดในจิตอย่างเดียว

ข. เกิดในจิตและในร่างกายเท่านั้น

ค. เกิดในจิต ในร่างกาย ในเหตุการณ์

ง. เกิดขึ้นโดยไม่เจาะจง

  1. ข้อใดคือทุกข์ใจที่เกิดกับจิต โดยไม่เกี่ยวข้องกับร่างกายและเหตุการณ์

ก. มันบรรลุตามใจไม่เร็วอย่างใจหมาย

ข. ใจมันทำไม่ได้ดั่งใจหมาย

ค. ทำไมยังทุกข์อยู่ ทำไมยังคิดไม่ออก ทำไมมันลืม

ง. ถูกทุกข้อ

  1. เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ในขั้นกามตัณหามีอาการอย่างไร

ก. มีอาการอยู่ภายในใจไม่แสดงออกมาทางคำพูด สีหน้า ท่าทาง

ข. มีอาการละเมิดทางกาย ทางวาจา หยุดยั้งกาย วาจา ไม่ได้

ค. มีอาการอยากให้เกิดดีแล้วพูดออกไป แต่ก็วางใจที่จะพูดหรือไม่พูดก็ได้

ง. มีอาการอยากเกิดขึ้นแว็บหนึ่งแล้วหายไป

  1. เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ในขั้นภวตัณหามีสภาวะอย่างไร

ก. ไม่ละเมิดทางกาย ทางวาจาอาการอยากอยู่ข้างในสามารถกำจัดกิเลสได้ ลดกิเลสได้เป็นลำดับ

ข. อาการอยากเกิดขึ้นแว็บหนึ่งแล้วหายไป จับได้ยาก แต่ก็ยังสบายใจดี

ค. อาการอยากได้แล้วไม่ได้อยู่ข้างในยังไม่สดชื่นไม่เบิกบานเท่าที่ควร แต่ก็กำจัดกิเลสได้เป็นลำดับ

ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง

  1. เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ในขั้นวิภวตัณหามีสภาพอย่างไร

ก. อยากให้เกิดดีอยู่ข้างในแบบมีกิเลสคือยึดมั่นถือมั่นเล็กน้อย แบบไม่มีกิเลสคือทำเต็มที่แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น

ข. อยากให้เกิดดีอยู่ข้างในพากเพียรทำเต็มที่ ทำเท่าที่ทำได้ แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น

ค. อยากให้เกิดดีอยู่ข้างในพากเพียรทำเต็มที่ ทำเท่าที่ทำได้ แต่ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่มาก

ง. ผิดทุกข้อ

  1. ทุกขนิโรธเป็นสภาพดับทุกข์ที่เกิดจากการอะไร

ก. การดับอุปาทาน (ความยึด) ในกิเลสของเราและคนอื่น

ข. การดับตัณหา (ความอยาก) ในกิเลสของเราและคนอื่น

ค. การดับอุปาทาน (ความยึด) และตัณหา (ความอยาก) ในกิเลสของเรา

ง.การดับอุปาทาน (ความยึด) และตัณหา (ความอยาก) ในกิเลสของคนอื่น

  1. อาการอยากให้เกิดดีแต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า ควรรีบบอกให้แก้ไขและบอกบ่อย ๆ จะได้ทำผิดน้อยลง

ข. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า ถ้าเขาศรัทธาเราก็ควรบอกเขาแก้ไขได้เท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร เราก็สบายใจ
ไร้กังวล

ค. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า ถ้าเขาศรัทธาเราก็ควรบอกกัน ถ้าเขาแก้ไขไม่ได้ก็จะช่วยจนแก้ได้

ง. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า เขาไม่ได้ศรัทธาเราแต่เราก็ควรบอกกัน เขาแก้ไขได้เท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร

  1. การตั้งศีลมากำจัดกิเลส เพื่อให้อ่านอาการกิเลสออก ควรตั้งอย่างไร

ก. ตั้งตามที่อยากเราตั้ง

ข. ตั้งตามเพื่อน ๆ หมู่มิตรดี

ค. ตั้งตามครูบาอาจารย์บอก

ง. ตั้งตามกิเลสที่เราติดยึด

  1. การพิจารณาจนสลายกิเลสได้ และสลายวิปลาส4 ได้ ข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. พิจารณาเรื่องกรรมดีกรรมชั่วในอดีตอย่างแจ่มแจ้ง

ข. พิจารณาโทษของกิเลส ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส เข้าใจกรรมดีกรรมชั่วในอดีตและปัจจุบันอย่างแจ่มแจ้ง

ค. พิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนของกิเลสที่กำลังยึดมั่นอยู่

ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก

  1. การล้างทุกข์เป็นลำดับ และทำไปทีละเรื่องมีผลดีอย่างไร

ก. ทำให้ไม่หลงตัวเอง ไม่โลภดีเกินความจริงที่ทำได้ เล่าสภาวะการล้างกิเลสให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย

ข. เก่งกว่าคนอื่น มีบารมีมาก อยากทำอะไรก็ได้ตามที่ใจหวังตลอดเวลา

ค. ผู้คนชื่นชม ช่วยคนได้มาก พูดอะไรคนก็เชื่อใจ ไม่ระแวงสงสัย

ง. ไม่มีข้อใดถูก

สภาวธรรมตามหลักอริยสัจ 12 ข้อ (19 – 30)

การเลือกทุกข์ สมุทัย นิโรค มรรค ให้ถูกต้อง

  1. ข้อใดคือทุกขอริยสัจ

ก. พ่อบ้านพูดมากไม่หยุดสักที

ข. มีอาการเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ ล้า ๆ

ค. อาการหงุดหงิดใจ เมื่อเห็นความไม่เรียบร้อย

ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใดคือทุกขอริยสัจ

ก. หิว เลยกินอาหารเย็น

ข. ขุ่นใจที่จะถูกเอาเปรียบ

ค. จำคำตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้อ่านหนังสือเลย

ง. ถูกทุกข้อ

  1. ข้อใด “ไม่ใช่” ทุกขอริยสัจ

ก. ความไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจเขียนการบ้านได้ไม่ดีดั่งใจ

ข. ใจร้อน อยากได้เร็ว ๆ

ค. ไม่ได้ทำการบ้าน

ง. กังวล กลัวว่า เพื่อนไม่มีเวลาตรวจการบ้านให้เรา

  1. ข้อใดเป็นสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ที่ “ไม่ชัดเจน”

ก. กลัวจะไปขายของสาย

ข. ยึด อยากให้เกิดดีดั่งใจตนเอง

ค. ยึดว่าจะได้ร่วมกิจกรรมสำคัญของจิตอาสาทุกกิจกรรม

ง. ความอยากได้ดั่งใจหวัง พอไม่ได้ก็ชัง

  1. ข้อใด “ไม่ใช่” สมุทัย

ก.รักษาดูแลตนเองใช้ยา 9 เม็ดแล้ว แต่มือยังไม่หายชา ทำใจเฉยๆ

ข. ชอบถ้าใช้อินเตอร์เน็ตได้ ชังถ้าใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้

ค. อยากให้หมู่เข้าใจว่าเราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น ยึดว่า ถ้าเราไม่ทำพฤติกรรมแบบนั้น และหมู่เข้าใจจะดี

ง. ชอบให้ได้ดั่งใจ ชอบให้น้องมาช่วยอย่างเต็มที่ ชังที่ไม่ได้ดั่งใจที่น้องมาช่วยไม่เต็มที่

  1. ข้อใดมีสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) แตกต่างจากข้ออื่น

ก. เห็นตัวยึดที่อยากสอบพร้อมเพื่อนจะสุขใจ ไม่ได้สอบพร้อมเพื่อนจะทุกข์ใจ

ข. ยึดมั่นถือมั่นว่า ชอบถ้าได้ส่งการบ้าน ชังที่ไม่ได้ส่งการบ้าน

ค. อยากให้หมู่เข้าใจว่าเราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น ยึดว่า ถ้าเราไม่ทำพฤติกรรมแบบนั้น และหมู่เข้าใจ จะดี

ง.ถ้าได้กินข้าวต้มมัดเพิ่ม ตามที่กิเลสต้องการ จะพอใจ สุขใจ แต่ไม่ได้กินเพิ่ม ตามที่อยาก ไม่พอใจ ทุกข์ใจ

  1. ข้อใดเป็นสภาพนิโรธที่ไม่สามารถรู้แจ้งการดับทุกข์ได้

ก. สภาพปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ช่วยเขาได้ก็สุขใจ ช่วยไม่ได้ก็สุขใจ ยินดี พอใจ ไร้กังวล

ข. สามารถผาสุกที่ใจได้ไม่ว่าจะสามารถบันทึกเนื้อทั้งหมดของรายการที่ถ่ายทำมาได้หรือไม่ ถ้าได้พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้แล้ว

ค. เพื่อนจะเข้าใจได้แค่ไหนก็ไม่ทุกข์ใจ

ง. ไม่ต้องไปคิดอะไรปล่อยวางให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม

  1. ข้อใด“ไม่ใช่” นิโรธ (สภาพความดับทุกข์)

ก. พ่อบ้านจะแสดงสีหน้าหรือน้ำเสียงแสดงความพอใจหรือไม่พอใจ เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ

ข. ยินดีที่มีสภาพนิ้วมือเป็นปกติ ไม่อยากให้มีสภาพนิ้วมือเกร็ง แข็ง ขยับลำบาก

ค. แมลงจะอยู่ข้างในก็ได้ จะต่อยซ้ำอีกก็ได้ ยินดีได้ เมื่อระวังแล้วจะโดนยังไงก็ต้องโดน

ง. ข้อ ข. และ ข้อ ค.

  1. การตั้งนิโรธ (สภาพความดับทุกข์) แบบใดแล้ว “ไม่พ้นทุกข์”

ก. ตั้งจิต“ขอให้เพื่อนคิดดีได้เร็วๆนะ ขอให้เพื่อนคิดถูกต้องได้เร็วๆนะ”

ข. ทำกิจกรรมร่วมกับหมู่มิตรดี เป็นสิ่งดีแต่ไม่ควรยึดว่าจะต้องทำได้มาก ทำเท่าที่ทำได้ เมื่อเราได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว ไม่ทุกข์ใจ

ค. ไปรวมญาติก็มีประโยชน์เหมือนกัน ใจที่พร้อมทำและพร้อมจะวางดี ไปทำดีอีกแบบมันพ้นทุกข์กว่า

ง.กิจกรรมที่พากันลดกิเลสของหมู่มิตรดีนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้ามีคนไม่เห็นคุณค่าไม่ให้ความสำคัญเหมือนเรา เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ

  1. “ทุกข์เกิดจากความรำคาญคนพูดเสียงดัง” การปฏิบัติมรรค (การปฏิบัติถึงความดับทุกข์) แบบใด “ไม่พ้นทุกข์”

ก. เห็นโทษจากกิเลสที่เราไปเอาความได้ดั่งใจ ตามใจที่เราอยากได้ ว่าเป็นการสะสมกิเลส เป็นวิบากร้ายไม่สิ้นสุด

ข้อใดคือหลักธรรมที่ควรรู้ของอริยสัจ 4

นิโรธ หมายถึงธรรมที่ว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละ ตัณหา เมื่อความทุกข์เกิดจากสาเหตุ ถ้าเราดับสาเหตุเสีย ความทุกข์นั้นย่อมดับไป ด้วย สภาพที่ความทุกข์หมดสิ้นไปหรือปราศจากทุกข์เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติ ธรรมของชาวพุทธ นิโรธจึงเป็นธรรมที่ควรบรรลุ ที่เราจะได้ศึกษา คือ หลักธรรม สุข 2.

อริยสัจ 4 หัวข้อธรรมในข้อใดที่ควรทำให้เจริญยิ่งขึ้น

กิจในอริยสัจ 4 ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย

หลักอริยสัจ 4 มีลักษณะสำคัญตามข้อใด

ดังนั้นอริยสัจ 4 จึงมองไปในทางมุมมองของปัญหา คือ1. ทุกข์คือ ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ว่าตัวทุกข์ คืออะไร 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร เป็นสิ่งที่ควรละ 3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา เพื่อให้หลุดพ้น จากทุกข์ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง 4. มรรค คือ วิธีแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรอบรมบำเพ็ญให้เกิดมี ซึ่งแบ่งเป็นการ แก้ปัญหาระดับ ...

ข้อใด คือ สมุทัย ตามหลักอริยสัจ 4

2. สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ได้แก่ ตัณหาหรือความทะยาน อยาก มี3 ประการ คือ กาม ตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา