การอ่านบทร้อยกรอง ประเภท ใด ที่ ต้องมีความ แม่นยำ ในการอ่าน ลงเสียงหนัก เสียงเบา

3.2 การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

            การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์ ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด
การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ดังนี้
            1. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน
            2. อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม
3.2.1 หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง

            1. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น
            2. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์
            3. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
            4. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
            5. คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
            6. มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท
3.2.2 ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง

        การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
            1. ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
            2. ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านเเละขณะกำลังอ่าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
            3. ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผัวรรณยุกต์ และอื่นๆ
            4. พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
            5. หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่างๆอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ
3.2.3 คุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะ

            1. ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
            2. ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง
            3. เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
            4. จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วเเม่นยำ
            5. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน
            6. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ
3.2.4 วิธีการอ่านทำนองเสนาะจากคำประพันธ์

            กลอนสุภาพ นิยมอ่านเสียงสูง ๒ วรรค และเสียงต่ำ ๒ วรรค

            การเเบ่งจังหวะวรรคในการอ่าน มีดังนี้

                วรรคละ ๖ คำ อ่าน ๒/๒/๒ OO/OO/OO
                วรรคละ ๗ คำ อ่าน ๒/๒/๓ OO/OO/OOO
                วรรคละ ๘ คำ อ่าน ๓/๒/๓ OOO/OO/OOO
                วรคคละ ๙ คำ อ่าน ๓/๓/๓ OOO/OOO/OOO

ตัวอย่าง

การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๖ คำ
            ไผ่ซอ/อ้อเสียด/เบียดออด//                   ลมลอด/ไล่เลี้ยว/เยวไผ่//
            ออดเเอด/แอดออด/ยอดไกว//                แพใบ/ไล้น้ำ/ลำคลอง//

การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๘ คำ
            เเล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์                มันเเสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด
            ถึงเถาวัลย/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด//            ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน//

กาพย์ยานี ๑๑ มีจำนวนคำ ๑๑ คำ นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติจึงจะเกิดความไพเราะ

 การเเบ่งจังหวะวรรดในการอ่าน มีดังนี้
            วรรคหน้า ๕ คำ อ่าน ๒/๓ OO/OOO
            วรรคหลัง ๖ คำ อ่าน ๓/๓ OOO/OOO

ตัวอย่าง การเเบ่งจังหวะกาพย์ยานี ๑๑

            เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//                       ทิพากร/จะตกต่ำ//
            สนธยา/จะใกล้ค่ำ//                            คำนึงหน้า/เจ้าตราตรู
            เรื่อยเรื่อย/มาเรียงเรียง//                      นกบินเฉียง/ไปทั้งหมู่//
            ตัวเดียว/มาพลัดคู่//                           เหมือนพี่อยู่/ผู้เดียวดาย//

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

การอ่านบทร้อยกรองที่ถูกต้องควรอ่านแบบใด

1. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่าน ร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน 2. อ่านเป็นทานองเสนาะ เป็นการอ่านมีสาเนียงสูง ต่า หนัก เบา ยาว สั้น เป็นทานองเหมือนเสียงดนตรีมีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและ ท่วงทานองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม

ข้อใดเป็นการอ่านบทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่ถูกต้อง

1. อ่านทอดจังหวะคำแต่ละวรรคตามแต่ชนิดของฉันท์ 2. อ่านออกเสียงคำให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับลหุครุของฉันท์แต่ละชนิด 3. คำสุดท้ายวรรคที่ใช้คำเสียงจัตวา ต้องอ่านให้เสียงสูงเป็นพิเศษ เพื่อความไพเราะใช้คำเสียงจัตวาตรงท้ายคำบาทแรก

การอ่านร้อยกรองประเภทใดที่ต้องเน้นคำ ครุ

ฉันท์เป็นร้อยกรองของไทยรูปแบบหนึ่ง โดยถ่ายแบบมาจากอินเดีย คำประพันธ์ประเภทฉันท์มีความแตกต่างจากโคลงและกลอนตรงที่มีการบังคับ “คำครุ” และ “คำลหุ” ด้วย คำครุ คือ คำหนัก หมายถึง คำที่ออกเสียงหนัก ได้แก่

การเอื้อนเสียงควรใช้อ่านในข้อใด

(๒) การเอื้อนเสียงทอดเสียง การอ่านร่ายเมื่ออ่านถึงค ารับสัมผัส ผู้อ่านต้อง เน้นเสียง หรือทอดเสียงให้เหมาะกับเนื้อความ และต้องทอดเสียงท้ายวรรคทุกวรรค เมื่ออ่านถึง ตอนจบซึ่งจบด้วยโคลงสอง ให้เอื้อนเสียงท้ายวรรคให้ยาวนานกว่าทอดเสียงท้ายวรรคอื่นๆ เพื่อ ให้ผู้ฟังทราบว่าเรื่องที่ฟังอยู่ก าลังจะจบ