รัฐธรรมนูญ มีความสําคัญต่อประเทศอย่างไร


กรุงเทพ--3 ก.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
ร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญนำเสนอต่อรัฐสภาเมื่อ 15 สิงหาคม 2540 มี บทบัญญัติรวม 336 มาตรา ครอบคลุมระบบการเมืองของประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าถูกหลักวิชา ตรงกับความประสงค์ของประชาชนและเป็นรูปแบบที่ใช้ได้ผลดีทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วแทบทั้งสิ้น จึงขอนำมาสรุปเฉพาะเรื่องสำคัญ ๆ ว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนแต่ละคนและแก่ประเทศชาติหรือประชาชนโดยส่วนรวม ได้ดังนี้
1. ประโยชน์ต่อประชาชน
1.1 ด้านสิทธิเสรีภาพ ร่างรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเรื่องนี้ 53 มาตรา รวมกว่า 100 เรื่องเฉพาะที่สำคัญที่ประชาชนจะนำไปใช้อ้างเรียกร้องบริการและความคุ้มครองจากรัฐได้มีดังนี้
1) ม.30 ให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันและห้ามปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุที่แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ ความเชื่อทางศาสนาหรือความคิดเห็นทางการเมือง
2) ม.31 ห้ามการทรมานทารุณกรรมหรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม
3) ม.38 มีเสรีภาพในการถือศาสนา หรือปฎิบัติตามศาสนาบัญญัติหรือพิธีกรรมตามความเขื่อของตน
4) ม.43 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับบุตรหลานของท่านไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
5) ม.46, 47 มีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นโดยรัฐต้องส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมด้วย
6) ม.52 ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและส่งเสริมให้ อบต.และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริการทางสาธารณสุขของรัฐ
7) ม.53, 80 เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาจากรัฐ
8) ม.54, 80 ผู้ชราอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ จะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐรวมทั้งผู้ยากไร้ พิการ ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส
9) ม.55 บุคคลพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐและค่าตอบแทนที่จำเป็น
10) ม.58 มีสิทธิรับทราบข้อมูลข่าวสารในครอบครองของทางราชการ
11) ม.59 มีสิทธิได้รับชี้แจงพร้อมทั้งเหตุผลจากการดำเนินโครงการของรัฐที่กระทบถึงความเป็นอยู่และคุณภาพของชีวิตของตน
12) ม.60 มีสิทธิมีส่วนร่วมในการพิจารณาการดำเนินโครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของตน
13) ม.61 เมื่อได้รับความเดือนร้อนหรือไม่เป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการมีสิทธิเเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ซึ่งจะต้องได้รับการแจ้งผลการพิจารณาโดยเร็ว
14) ม.62 มีสิทธิฟ้องหน่วยราชการและหน่วยงานของรัฐเมื่อข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทำการละเมิด
1.2 ด้านความคุ้มครองในการดำเนินคดีอาญา
1) ม.237 ในทางคดีอาญา ถ้าถูกจับต้องมีหมายศาลและต้องได้รับการแจ้งข้อหารวมทั้งแจ้งญาติให้ทราบทันทีและถ้าหากยังถูกควบคุมตัวอยู่ต้องถูกนำตัวไปส่งศาล ภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ถูกนำตัวมาถึงโรงพัก
2) ม.239 คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และจะเรียกหลักประกันสูงเกินควรไม่ได้
3) ม.240 มีสิทธิได้รับการสอบสวน หรือพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วและสามารถให้ทนายหรือผู้ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำได้
4) ม.241 เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนไดส่วนเสีย มีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการได้
5) ม.242 ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ยากจนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐให้จัดหาทนายความให้
6) ม.246 จำเลยในคดีอาญาที่ถูกขังระหว่างการพิจารณาคดี หากพิพากษาแล้วไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามความสมควรรวมทั้งสิทธิต่างๆ ที่เสียไปคืนด้วย
7) ม.247 ถ้าหากต้องรับโทษ โดยคำพิพากษาไปแล้วภายหลังมีการรื้อฟื้นคดีแล้วพิพากษาว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด มีสิทธิได้รับค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายตามความสมควรรวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ที่เสียไปคืนด้วย
8) ม.243 ในส่วนของพยานและผู้เสียหายในคดีอาญาใครก็ตามมีสิทธิที่จะไม่ได้ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองและการให้ถ้อยคำโดยถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาณ หรือหลอกลวง จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้
9) ม.244 ถ้าต้องเป็นพยานในคดีอาญาจะต้องได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสมและค่าตอบแทนที่จำเป็น
10) ม.245 มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐถ้าหากได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจจากการกระทำผิดทางอาญาของผู้อื่น
1.3 ด้านบทบาทของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้น คือประชาชนมีสิทธิเสนอกฏหมาย, ร่วมในการแต่งตั้งและถอดถอนบุคลากรระดับสูง, และการได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ดังนี้
1) ม.170 มีสิทธิเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อขอให้รัฐสภาพิจารณาออกกฏหมายที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและนโยบายพื้นฐาน
2) ม.135 มีสิทธิส่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่อวุฒิสภาเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งบุคลากรของรัฐ
3) ม.304-307 มีสิทธิเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อขอให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. และบุคลากรระดับสูงของรัฐได้
4) ม.196 ราษฎรนอกจากจะมีสิทธิยื่นเรื่องราวร้องทุกข์และฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม ยังสามารถยื่นเรื่องราวต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
5) ม.200 ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อมีการละเมิดสิทธิ
6) ม.255 มีศาลรัฐธรรมนูญ คอยช่วยดูแลวินิจฉัยว่ากฎหมายใดที่ศาลใช้พิพากษาคดีต่าง ๆ จะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
7) ม.276 มีศาลปกครองพิจารณาคดีพิพาทระหว่างทางราชการกับเอกชน
2. ประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นส่วนรวม
2.1 สภาผู้แทนราษฎร จะได้ผู้แทนราษฎรที่มีคุณภาพสูงขึ้น ลดการซื้อสิทธิขายเสียงโดย
1) ม.98, 99, 102 ให้เลือกตั้งแบบใหม่ ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว และระบบบัญชีรายชื่อพรรค (เพื่อให้ประชาชนมองเห็นว่าพรรคนั้นจะเสนอชื่อใครขึ้นเป็น รมต. บ้าง จะได้เป็นการทำลายระบบโควต้า รมต.)
2) ม.68 ประชาชนมีหน้าที่ต้องไปลงคะแนนเลือกตั้ง (ถ้าคนไปใช้สิทธิเกือบ 100% จะทำให้การซื้อเสียงต้องใช้เงินมากจนซื้อเสียงได้ยาก)
3) ม.136 มีคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นกลาง เพื่อจัดการเลือกตั้งแทนกระทรวงมหาดไทย
4) ม.104 แยกคะแนนไปรวมกันนับที่อำเภอ (เพื่อลดการซื้อเสียงเพราะ ส.ส. หัวคะแนนไม่รู้ว่าใครลงคะแนนให้เท่าไหร่ในหมู่บ้านที่แจกเงินไปแล้ว)
5) ม.105 มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ณ สถานที่ทำงานโดยไม่ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาที่มีทะเบียนบ้านในวันเลือกตั้ง
6) ม.328 ให้รัฐสนับสนุนการเงินต่อพรรคการเมือง แต่พรรคการเมืองต้องเปิดเผยรายได้รายจ่ายและบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณชน ประชาชนต้องทราบว่าใครให้เงินพรรคเท่าไร
2.2 วุฒิสภาแบบใหม่
1) ม.121-134 มีสิทธิเลือกตั้งวุฒิสภาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพื่อไปทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายให้รอบคอบและควบคุมการแต่งตั้ง ถอดถอนนักการเมืองและข้าราชการระดับสูง
2) ม.126 มีความเป็นกลางทางการเมือง เป็นสมาชิกพรรคหรือทำงานให้พรรคการเมืองไม่ได้
3) ม.127 สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นใดมิได้
4) ม.128 สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากจังหวัดต่างๆ มิใช่นักการเมือง จึงห้ามมิให้มีการหาเสียงเลือกตั้ง แต่รัฐจะช่วยแนะนำตัวผู้สมัครให้โดยผู้สมัครไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
5) ม.130 วุฒิสภามีอายุ 6 ปี และเป็นต่อเนื่องมิได้ สมาชิกวุฒิสภาจึงมีความมั่นคง และไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการเมือง
2.3 คณะรัฐมนตรี ได้แยกหน้าที่กับรัฐสภา, รัฐมนตรีเป็น ส.ส. ในขณะเดียวกันมิได้, มีจำนวนน้อยลงเพียง 36 คน เพื่อให้นายกรัฐมนตรีสามารถควบคุมคณะรัฐมนตรีให้มีเอกภาพได้ รัฐบาลจึงน่าจะมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น มีหลายมาตราที่สำคัญคือ
1) ม.118, 204 แยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ โดยห้าม ส.ส. หรือ ส.ว. เป็นรัฐมนตรี ถ้า ส.ส. ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีให้หลุดจากตำแหน่ง ส.ส. (เพื่อทำให้ ส.ส.แย่งกันเป็นรัฐมนตรีน้อยลง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะถ้ารัฐมนตรีไม่ร่วมมือจะถูกปลด โดยจะวิ่งเต้นเปลี่ยนพรรคร่วมรัฐบาลหรือแฉความลับเมื่อถอนตัวไปเป็นฝ่ายค้านไม่ได้)
2) ม.185 ส.ส. ขออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ยากกว่าอภิปรายรัฐมนตรี ทั้งต้องเสนอชื่อผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย รัฐบาลจะมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
2.4 รัฐบาลไทยจะมีความสะอาดโปร่งใสขึ้น เมื่อบุคลากรระดับสูงขององค์กรต้องแสดงความบริสุทธิ์ และถูกตรวจสอบหลายรูปแบบ เช่น
1) ม.110, 128, 208, 209 รมต., ส.ส., ส.ว. ห้ามรับสัมปทานหรือทำสัญญาผูกขาดกับรัฐ, รัฐมนตรีต้องโอนหุ้นให้ผู้อื่นจัดการแทน
2) ม.291, 293 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวมทั้งลูกเมียต้องแสดงทรัพย์สินเปิดเผยต่อสาธารณะ ส่วนบุคลากรระดับสูงอื่นต้องแจ้ง ป.ป.ช.
3) ม.297-301 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีบทบาทอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบสูงขึ้น
4) ม.299-301, 331 องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น ป.ป.ช. จะถูกตรวจสอบโดยรัดกุมถ้าทำผิดเสียเองจะได้รับโทษสูงขึ้น
5) ม.304-307 บุคลากรระดับสูงของรัฐถูกตรวจสอบโดย ป.ป.ช., ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และถูกถอดถอนโดยวุฒิสภาได้ถ้ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
6) ม.312 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีบทบาท อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบสูงขึ้น
2.5 ประเทศไทยจะมีการกระจายรายได้และกระจายความเจริญมากขึ้น ผ่านกลไกด้านกระจายสิทธิเสรีภาพ, บทบาทของรัฐที่ต้องจัดสวัสดิการแก่ประชาชน และกลไกอื่น ๆ เช่น
1) ม.89 มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้คำปรึกษาและเสนอข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2) ม.282-290 มีการกระจายอำนาจหน้าที่และบทบาทให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น (โดยไม่ได้ทำลายระบบการปกครองส่วนภูมิภาค) ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น
2.6 รัฐธรรมนูญใหม่แก้ไขง่ายถ้าพบว่าสิ่งใดบกพร่องก็ควรขอแก้ภายหลัง
ม.313 ให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ แก้ไขได้ง่ายขึ้น โดย ครม. หรือ ส.ส. 100 คน สามารถยื่นญัตติขอแก้ไขได้ (ฉะนั้นถ้ารัฐสภาสงสัยว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจุดบกพร่องบางจุดก็ควรรับไว้ทดลองปฏิบัติก่อนและสามารถแก้ไขภายหลังได้โดยไม่ยาก)
ถ้าท่านสนใจจะประเมินว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้มีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเพียงใด สมควรจะนำมาใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ก็ควรจะลองตรวจเช็ครายการต่าง ๆ ข้างต้นดู ว่าท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในเรื่องใดบ้าง จึงจะพูดได้ว่าพิจารณาโดยใช้เหตุผลและสติปัญญาแล้ว--จบ--

รัฐธรรมนูญ หมายถึง และมีความสําคัญอย่างไร

รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมายทั้งหลายทั้งปวง ในประเทศ ถ้ากฎหมายใดที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นถือว่าเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ และโดยทั่วไป แล้ว รัฐธรรมนูญจะบัญญัติหลักการที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับการบริหารประเทศไว้ เช่น รูปของรัฐ การแบ่งอำนาจ อธิปไตย สิทธิหน้าที่ของประชาชน และ ...

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็น ...

โครงสร้างของรัฐธรรมนูญมีลักษณะสําคัญอย่างไรบ้าง

โครงสร้างและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ.
รูปแบบของรัฐและระบอบการปกครอง ... .
สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ... .
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ... .
รัฐสภา ... .
พระมหากษัตริย์.

สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญที่ควรรู้มีอะไรบ้าง

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ.
คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน.
ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจประชาชน.
การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม.
ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ.