สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว

ครอบครัวลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะ หมายถึง ครอบครัวที่ไม่มีความสมบูรณ์ ประสบปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิต ได้แก่ ครอบครัวแม่วัยรุ่น ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวที่มีเด็กพิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง และครอบครัวที่ผู้สูงอายุดูแลเด็กตามลำพัง คนในครอบครัวจำเป็นต้องมีการปรับตัวทางสังคมเพื่อคลายความทุกข์ใจ และการปรับตัวมีหลายรูปแบบ บุคคลที่สามารถปรับตัวได้ดี คือ ต้องกล้าเผชิญปัญหา มีสติ มีความมั่นใจในตนเอง ไม่โทษตัวเอง สภาพปัญหาของครอบครัวลักษณะพิเศษ เช่น แม่วัยรุ่นต้องพบกับปัญหาด้านสุขภาพจิต สุขภาพกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว และด้านการศึกษา ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวต้องพบกับปัญหาเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ ทีอยู่อาศัย ภาวะจิตใจ และความเครียด การเลี้ยงดูบุตร ครอบครัวผู้สูงอายุเลี้ยงเด็กตามลำพังต้องพบกับปัญหาสุขภาพ ความสามารถในการดูแลเด็ก ช่องว่างระหว่างวัย รายได้ และการประกอบอาชีพ เมื่อมีปัญหาต่างกันย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน ดังนี้ ครอบครัววัยรุ่น ต้องการการดูแล การบริการด้วยความเป็นมิตร ต้องการอาชีพเสริม ทักษะการดูแลบุตร การวางแผนครอบครัวไม่ไห้เกิดการตั้งครรภ์ซ้ำ ครอบครัวพ่อหรือแม่คนเดียว ต้องการอาชีพ เงินทุน ที่อยู่อาศัย ครอบครัวผู้สูงอายุเลี้ยงหลาน ต้องการเงินช่วยเหลือ คำแนะนำในการดูแลบุตรหลาน ความช่วยเหลือและกำลังใจจากเครือญาติ อีกทั้งครอบครัวเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้เพราะมีปัญหาทางทะเบียนราษฎร์ ไม่รู้ข้อมูล ไม่เข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ สวัสดิการ แนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว โดยการจัดหน่วยงานเฉพาะดูแล แก้ไข ทำงานประสานและบูรณาการกันทั้งภาครัฐ เอกชน มิให้เกิดความซ้ำซ้อน ซึ่งควรเป็นประเด็นหนึ่งในการปฏิรูปประเทศครั้งนี้

Show

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Issue

Vol. 21 No. 1 (2015): สักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์

Section

บทความทางวิชาการ (Academic article)

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร

ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย

ในวัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเติบโตและมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายและนิสัยใจคอของเด็ก โดยพื้นฐานจิตใจเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกและการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน ซึ่งอิทธิพลครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรง

ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตัวเด็กอย่างมาก ดังนั้นหากต้องการให้เด็กมีลักษณะนิสัยเป็นแบบไหน ต้องเริ่มต้นที่ครอบครัวก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อหล่อหลอมเด็กให้มีพื้นฐานจิตใจและนิสัยที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น

จุดเริ่มต้นของการสร้างพื้นฐานนิสัยที่อ่อนโยนมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นในตัวเด็ก

คือครอบครัวต้องให้ความรักความเมตตากับเด็กก่อน ให้ความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเด็กจากพ่อแม่ของเด็กเอง เพื่อให้เด็กซึมซับกับการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงการกลัวว่าผู้อื่นจะได้รับความทรมาน หากเด็กได้รับจากพ่อแม่ก็จะรู้จักมอบสิ่งนั้นให้กับผู้อื่นด้วย

ตรงกันข้ามหากเด็กไม่เคยได้รับการเห็นอกเห็นใจ ไม่เคยได้รับความเมตตา ก็จะไม่รู้จักการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นไปด้วย ทำให้เด็กมีจิตใจแข็งกระด้าง ไม่รู้สึกสงสาร ไม่กลัวว่าผู้อื่นจะทรมาน และฝังอยู่ในพื้นฐานจิตใจเด็กส่งผลไปถึงตอนโตเป็นผู้ใหญ่ ที่อาจทำร้ายผู้อื่นได้โดยไม่รู้สึกผิด

อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญต่อตัวเด็กก็คือเรื่องของค่านิยมที่ตัวเด็กจะได้รับ เริ่มต้นจะได้รับจากครอบครัวก่อนและต่อมาจะได้รับจากสังคมโรงเรียน หากค่านิยมในครอบครัวมีเรื่องต้องห้ามที่จะไม่ทำโดยเด็ดขาด จัดเป็นเรื่องที่ผิดและร้ายแรง เด็กจะจดจำในส่วนนั้นและหลีกเลี่ยงการกระทำนั้นไปโดยปริยาย ดังนั้นพ่อแม่ควรสร้างค่านิยมที่ดีในครอบครัวขึ้นมา

ต่อมาในเรื่องของการแก้ปัญหาของคนในครอบครัวที่ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ซึมซับ และเลียนแบบในที่สุด หากพ่อแม่แก้ไขปัญหาด้วยวิธีไหน เด็กจะจดจำวิธีนั้นไว้ เช่น เมื่อพ่อแม่ทะเลาะกันหากแก้ปัญหาด้วยการใช้ความรุนแรง เด็กจะซึมซับและมองเป็นเรื่องธรรมดา หากเด็กมีปัญหาก็จะแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกัน นั่นก็คือตัดสินด้วยกำลังที่ไร้ซึ่งเหตุและผล ดังนั้นพ่อแม่ควรมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและเหมาะสมเพื่อรองรับเมื่อเกิดปัญหาในแต่ละครั้ง

ช่วงวัยที่เด็กจดจำและซึมซับสิ่งต่างๆ ได้ดีที่สุด

ในทางทฤษฎีทางจิตเวชเชื่อว่ามโนธรรมหรือคุณธรรมต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุ 3 ขวบขึ้นไป หรือในช่วงวัยอนุบาล (3-5 ขวบ) จะจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากและเริ่มซึมซับกับเรื่องราวเหล่านั้น เพราะฉะนั้นต้องระวังเรื่องของพฤติกรรมความรุนแรงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ ให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เด็กซึมซับหรือซึมซับน้อยที่สุด รวมถึงการพยายามแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมและอยากให้เด็กเป็น เพื่อให้เด็กซึมซับและเกิดการเลียนแบบ

หากเริ่มสังเกตเห็นว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หรือมีรายงานมาจากทางโรงเรียนว่าเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวกับเพื่อนหรือกับครูบาอาจารย์ พ่อแม่ควรดูแลเอาใจใส่ให้มากๆ และรีบแก้ไขในส่วนนั้นโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เด็กติดนิสัยนี้ไปใช้ในอนาคต

สำหรับบางครอบครัวที่ไม่มีเวลาและต้องปล่อยเด็กให้อยู่กับพี่เลี้ยง อาจมีความกังวลในเรื่องของการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของพี่เลี้ยง ในความเป็นจริงแล้วกรณีนี้สามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี คือกรณีที่พ่อแม่กลับบ้านทุกวันและกรณีที่พ่อแม่กลับบ้านนานๆ ครั้ง อาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน

หากเป็นกรณีแรกที่พ่อแม่กลับบ้านทุกวัน เด็กมีการอยู่กับพี่เลี้ยงในช่วงวันเท่านั้น

เมื่อตกเย็นพ่อแม่ก็จะกลับมาอยู่กับเขา มักไม่ค่อยเกิดปัญหามากนัก เพราะพ่อแม่ยังคงเป็นคนสำคัญกับเขา ส่วนพี่เลี้ยงยังเป็นแค่คนอื่น อิทธิพลที่มีผลต่อตัวเด็กยังคงเป็นพ่อแม่เหมือนเดิม หากเด็กเผลอเลียนแบบพฤติกรรมพี่เลี้ยงมาบ้าง โดนพ่อแม่ตำหนินิดหน่อยพฤติกรรมเหล่านั้นก็จะหายไปเอง

แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่สองที่พ่อแม่กลับบ้านนานๆ ครั้ง

ปล่อยให้เด็กอยู่กับพี่เลี้ยงในระยะเวลาที่ยาวนาน หรือเด็กอยู่กับพี่เลี้ยงมากกว่าพ่อแม่มากเกินไป อาจส่งผลให้เด็กเห็นพี่เลี้ยงเป็นคนสำคัญได้ และพฤติกรรมของพี่เลี้ยงก็จะมีอิทธิพลต่อตัวเด็กมากเช่นกัน

ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการให้ความรักความเห็นใจ พยายามแสดงตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีของลูก อยากให้ลูกเป็นคนแบบไหนก็ต้องเป็นคนแบบนั้นให้เด็กดูก่อน อยากให้เด็กทำแบบไหนก็ต้องทำแบบนั้นให้เด็กดูก่อน เพราะโดยปกติแล้วพ่อแม่คือคนสำคัญของเด็กเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ถ้าพ่อแม่เอาใจใส่ลูก ก็จะสามารถควบคุมเด็กได้โดยอัตโนมัติ เพราะเด็กเองก็อยากเอาใจพ่อแม่ด้วยเช่นกัน ที่สำคัญคือพ่อแม่จะต้องมีกรอบที่ชัดเจนด้วย ควบคู่ไปกับการให้ความรัก เพื่อการอบรมสั่งสอนเด็กที่มีประสิทธิภาพ

ในกรณีที่เด็กมีการจดจำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไปแล้ว

วิธีแก้ไขคือต้องพยายามหาสาเหตุให้เจอก่อน ที่พบบ่อยมักเจอในเรื่องของความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็กและเด็กไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ก้าวร้าว หากพบปัญหาพ่อแม่ต้องแก้ปัญหาที่ความเครียดนั้น เมื่อความเครียดนั้นหมดไป ปัญหาเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะหายไปเอง และถ้าหากเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอันเนื่องมาจากพ่อแม่แสดงอาการก้าวร้าวใส่กัน วิธีแก้ไขคือให้พ่อแม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้น เด็กก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามพ่อแม่ไปเอง เพราะโดยปกติแล้วเด็กเป็นวัยที่แก้ไขได้ง่ายและชอบที่จะเลียนแบบพ่อแม่ซึ่งเป็นคนสำคัญ

สำหรับเด็กที่ซึมซับพฤติกรรมไม่เหมาะสมมาจากภายนอก

ทั้งที่ภายในครอบครัวทำตัวเองเป็นแบบอย่างที่ดีและเหมาะสมแล้วทุกอย่าง ส่วนมากมักเกิดกับเด็กในช่วงวัยรุ่นมากกว่าวัยเด็ก โดยเฉพาะเรื่องของการเลียนแบบเพื่อนที่อาจส่งผลให้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมติดไปในอนาคต วิธีแก้ไขคือพ่อแม่ต้องพยายามสังเกตพฤติกรรมลูกอย่างสม่ำเสมอและคอยห้ามปราม แต่การจะจัดการกับเด็กวัยนี้ได้ต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสม ไม่สามารถห้ามปรามในทุกเรื่องได้ เพราะเด็กจะไม่ยอมฟังเด็ดขาด พ่อแม่ควรห้ามเฉพาะเรื่องที่ร้ายแรงจริงๆ

ควบคุมดูแลในเรื่องของการใช้สื่อทั้งออฟไลน์ (โทรทัศน์ หนังสือ ฯลฯ) และออนไลน์

พ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตว่าลูกให้ความสนใจเรื่องอะไร คอยสอดส่องอยู่ห่างๆ เพื่อควบคุมไม่ให้ลูกเสพสื่อที่ไม่เหมาะสม และพยายามอย่าให้เด็กเสพสื่อในพื้นที่ส่วนตัว แต่ควรอยู่บริเวณโถงบ้านที่พ่อแม่สามารถรับรู้ได้ว่าลูกรับชมเนื้อหาประเภทไหน พยายามให้อิสระเด็กตามความเหมาะสมแต่ก็มีขอบเขตกำหนดไว้ ไม่ควรห้ามทุกเรื่องแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรปล่อยปะละเลยมากจนเกินไป

สรุปภาพรวมในเรื่องของอิทธิพลครอบครัวที่ส่งผลต่อตัวเด็ก

จัดว่าสถาบันครอบครัวมีความสำคัญมากที่สุดทั้งในวัยเด็กและวัยรุ่น ที่จะหล่อหลอมให้เด็กเป็นคนแบบไหน ประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร ดังนั้นควรให้ความใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่และอบรมสั่งสอนเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกเด็กอยู่เสมอ

สภาพครอบครัว มีอะไรบ้าง

โดย UNFPA แบ่งประเภทครอบครัวเป็น 4 ประเภท คือ 1. ครอบครัวเดี่ยว 2. ครอบครัวขยาย 3. ครัวเรือนคนเดียว 4. ครัวเรือนที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

สภาพครอบครัวหมายถึงอะไร

๑.๕.๑ สภาพแวดล้อมของครอบครัว หมายถึง สภาพครอบครัวของนักเรียน ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา รายได้ของครอบครัว ค่าใช้จ่ายของนักเรียนต่อ วัน การอยู่อาศัยกับบิดามารดาหรือผู้อื่น การอบรมเลี้ยงดู ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความคาดหวังของ บิดามารดาต่อการศึกษาของบุตร สภาพของบ้านและพื้นที่ ...

พื้นฐานครอบครัวคืออะไร

1) ครอบครัวเนื้อแท้ หรือครอบครัวพื้นฐาน (Nuclear or Elementary Family) หรือครอบครัวเบื้องต้น ประกอบด้วย 2 Generation คือ บิดา มารดา และบุตรธิดา แต่ในทางวัฒนธรรมก็จะมีญาติอยู่ด้วย เช่น ในสังคมไทย บางครอบครัวต้องเลี้ยงบิดามารดาของฝ่ายสามีหรือภรรยา หรือบางครอบครัวมีพี่หรือน้องของสามีที่ยังเป็นโสดอาศัยอยู่ การที่มีญาติ ...

ค่านิยมของครอบครัวคืออะไร

ค่านิยมครอบครัวเกิดขึ้นมาจากความเชื่อของบุคคล ตั้งแต่ผู้นำลงมาถึงลูกหลานและถูกหล่อหลอมออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติสู่ภายนอก ในรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ส่วนใหญ่คือพ่อแม่ และลูก ๆ ค่านิยมที่พ่อแม่สอนย่อมมีความแข็งแกร่ง จดจำได้ทั้งในคำพูด หรือการดูแบบอย่างของพ่อ (Role Model) เพราะอาศัยอยู่บ้านเดียวกันกินนอนเล่นด้วยกัน แต่เมื่อ ...