เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

     ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ

  • การใช้ (Use)
  • เข้าใจ (Understand)
  • การสร้าง (create)
  • เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

 

หมายเหตุ ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ได้มีการนำ “มาตรฐานสมรรถนะสาขาผู้ใช้ไอที (Digital Literacy) จัดทำโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” ซึ่งมีความชัดเจนและครอบคลุมองค์ประกอบที่จำเป็น  มาใช้ไปพลางก่อน และในระยะต่อไป สำนักงาน ก.พ. จะร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดทำ องค์ประกอบทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทและลักษณะงานของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐมากขึ้น


เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย
เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล เฉลย

Infographics ทั้งหมด

ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากยุค Analog ไปสู่ยุค Digital และยุค Robotic จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการทำงาน ข้าราชการซึ่งเป็นแกนหลักของการพัฒนาประเทศ จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด culture shock เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูญเสียการเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การโจรกรรมข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น

Digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นทักษะด้านดิจิทัลพื้นฐานที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญ สำหรับข้าราชการในการปฏิบัติงาน การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในลักษณะ “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work less but get more impact” และช่วยส่วนราชการสร้างคุณค่า (Value Co-creation) และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน (Economy of Scale) เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยให้ข้าราชการ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้รับโอกาสการทำงานที่ดีและเติบโตก้าวหน้าในอาชีพราชการ (Learn and Growth) ด้วย

         MIL หมายถึง  "ความรู้และความเข้าใจวิธีการทำงานของสื่อ วิธีที่สื่อสร้างความหมาย วิธีใช้สื่อ และวิธีประเมินข้อมูลข่าวสารที่สื่อนำเสนอ นอกจากนี้ ยังมีความหมายโดยนัยถึงความรู้และความเข้าใจในคุณค่าของบุคคลและทางสังคม หน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างมีจริยธรรม ตลอดจนการมีส่วนร่วมในบทสนทนาเกี่ยวกับประชาธิปไตยและวัฒนธรรม"(พรทิพย์ เย็นจะบก, 2554)

MIL เกิดจากการบูรณาการ 2 ศาสตร์และทักษะเข้าด้วยกัน ดังนี้คือ

         1) ศาสตร์และทักษะด้าน "การเรียนรู้สื่อ" (Media literacy)

คือการเข้าถึงสือ การอ่านสื่อออก เข้าใจความหมาย ลักษณะรูปแบบของสื่อและมีความสามารถในการวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าสื่อนั้นๆ ซึ่งทักษะการเรียนรู้สื่อแบ่งออกเป็น 2 ระดับหลักๆ คือ ทักษะขั้นพื้นฐาน คือสามารถเข้าใจสื่อ เรียนรู้จากสื่อ และใช้ประโยชน์จากสื่อได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และพัฒนาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่นสามารถวิเคราะห์ วิพากษ์สื่อได้ด้วยทักษะการคิดระดับต่างๆ เช่น การคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ ฯลฯ เป็นต้น อีกทั้งที่สำคัญที่สุดคือ สามารถสร้างสรรค์สื่อในแบบฉบับของตนเองๆได้อย่างสร้างสรรค์

         2) ศาสตร์และทักษะด้าน "การเรียนรู้สารหรือสารสนเทศ" (Information literacy)

น่าจะมีความหมายโดยภาพรวมเหมือนในโครงการรณรงค์การเรียนรู้เกี่ยวกับสารสนเทศของทวีปแอฟริกา ดังนี้ (Towards a Functional Info-literacy Campaign in African States") 2002

         "เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน โดยการกำหนดสารสนเทศที่ต้องการ การค้นหาสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ และสนับสนุนตามความสนใจของแต่ละบุคคล ชุมชน และสังคมเศรษฐกิจของชาติ" (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2554)

ตัวชี้วัด MIL (Media and Information Literacy)
        ตัวชี้วัด  หรือคุณลักษณะหลักๆ  ของการรู้เท่าทันสื่อและสาร (Media and Information Literacy)  โดยภาพรวมจะมีลักษณะที่คล้ายกัน  และแบ่งออกเป็นหลายระดับ  หรือมีความหลากหลายแตกต่างกันไปโดยเริ่มจากฐานการคิด  และทักษะการคิดต่างๆเป็นฐานหลัก  ดังเช่น
ตัวอย่างการคิดและการตอบคำถามต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด MIL เช่น
ความสามารถในการคิดและการตอบคำถามต่างๆทีเกี่ยวข้องเช่น
    1) เกิดคำถามอะไรขึ้นในใจเราบ้างขณะที่เรารับสื่อและสารสนเทศนั้นๆ
    2) สื่อและสารสนเทศนั้นๆ   นำเสนอค่านิยมทางสังคม การเมือง หรือเศรษฐกิจอย่างไร
    3) ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากสื่อและสารสนเทศนั้นๆสะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคมหรือส่วนบุคคลอย่างไร
    4) บริบททางสังคมและวัฒนธรรมขณะนั้นเป็นอย่างไร
    5) สื่อและสารสนเทศนั้นๆนำเสนอความคิดหรือค่านิยมใดบ้าง
    6) สื่อและสารสนเทศนั้นๆสร้างบุคลิกลักษณะของตัวแสดงต่าง ๆ อย่างไร
    7) เป้าหมายของสื่อและสารสนเทศนั้นๆ คือ กลุ่มใด
    8) เมื่อรับสื่อและสารสนเทศนั้นๆแล้ว น่าจะมีพฤติกรรมหรือผลสืบเนื่องอย่างไร
    9) มีเรื่องใดบ้างในสื่อและสารสนเทศนั้นๆนั้นที่ไม่ได้นำเสนอออกมา (ทั้ง ๆ ที่ควรนำเสนอ)

จากฐานการคิดหลักๆ  ดังกล่าว   นำไปสู่การทักษะพื้นฐานของการรู้เท่าทันสื่อและสาร  ดังต่อไปนี้เช่น

    1)  มีความสามารถในการเปิดรับสื่อและสารสนเทศ  โดยสามารถที่จะเข้าถึงสื่อและสารสนเทศตามที่ตนเอง                ต้องการได้            

    2)  มีความสามารถในการวิเคราะห์สื่อและสารสนเทศที่ได้มา  โดยพิจารณาความครอบคลุมของสื่อและสารสนเทศนั้นได้  ความถูกต้อง  ความชัดเจน ฯลฯ            

    3)  มีความสามารถในการเข้าใจสื่อและสารสนเทศ   โดยเฉพาะภาษาของสื่อและสารสนเทศนั้นๆ  เช่น          ตัวอักษรสัญญลักษณ์ เนื้อหา วัจนภาษาและอวัจนภาษาต่างๆ            

    4)  มีความสามารถในการประเมินค่าสื่อและสารสนเทศนั้นๆ  ไม่ว่าจะเป็นความเที่ยงตรง  ความถูกต้องเหมาะสม  โดยเฉพาะความเหมาะสมกับบริบทของสื่อและสารสนเทศ ภายใต้กรอบของสังคมในขณะนั้น   เช่น  กรอบหรือ บริบทของความเป็นประชาธิปไตย เสรีภาพของการแสดงออก ความรับผิดชอบ บริบททางสังคม กฎหมาย  จรรยาบรรณ และวัฒนธรรม เป็นต้น

    5)  มีความสามารถในการใช้สื่อและสารสนเทศให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง  ครอบครัว  ชุมชน  และสังคมภายใต้กรอบของความเป็นประชาธิปไตย เสรีภาพของการแสดงออก ความรับผิดชอบ บริบททางสังคม กฎหมาย      จรรยาบรรณ และวัฒนธรรม เช่น
        5.1) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อการสื่อสารข่าวสารข้อมูลต่างๆ
        5.2) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อการศึกษาและให้ความรู้
        5.3) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ
        5.4) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อความจรรโลงใจ
        5.5) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์ความทรงจำของสังคม
        5.6) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของสังคม
        5.7) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการข้อมูลข่าวสารและแหล่งเรียนรู้ของสังคม
        5.8) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
        5.9) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
        5.10) ใช้สื่อและสารสนเทศเพื่อให้การศึกษาผู้ใช้ให้เป็นผู้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สรุปตัวอย่างตัวชี้วัดของคนที่มีทักษะ MIL
        ผู้มีทักษะการรู้สื่อและสารสนเทศคือผู้ที่มีความสามารถในการรู้ว่า  เขาต้องการสารสนเทศอะไร  หรือประเภทใด สามารถที่จะหา  หรือเข้าถึงสื่อ หรือแหล่งของสารสนเทศนั้นได้ที่ไหน  และอย่างไร  อีกทั้งสามารถกำหนด ระบุ ประเมินผล จัดการ และใช้ทั้งสือ  และสารสนเทศเพื่อการแก้ไขปัญหาหรือความต้องการต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        ทั้งนี้  สิ่งที่สำคัญและมีผลต่อทักษะการรู้ทั้งสื่อและสารสนเทศคือ ทักษะในการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา และรับรู้อย่างชัดเจนร่วมกันว่า   ทักษะการรู้สื่อและสารสนเทศเป็นพื้นฐานของทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญ เพราะ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนั้นมีความสำคัญต่อความอยู่รอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ตามสูตร L>C ซึ่ง L เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นของการเรียนรู้ ส่วน C เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้าแต่ละคนไม่เรียนรู้ จะทำให้เสียโอกาสและเสียประโยชน์มากมายในการพัฒนาความก้าวหน้าในชีวิต  ดังลักษณะหลักๆ  ดังต่อไปนี้เช่น
        1) รู้ว่าตนเองได้รับสื่อ  หรือสารสนเทศที่ถูกต้อง   มีความสมบูรณ์หรือเพียงพอ  หรือมีความ    สำคัญต่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
        2) รู้ว่าตนเองมีความต้องการสารสนเทศ   และสื่อประเภทใด  เพื่ออะไร
        3) สามารถตั้งคำถามจากความต้องการจากสื่อ  และสารสนเทศนั้นๆได้
        4) สามารถระบุแหล่งสื่อ  และสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์  หรือตรงกับความต้องการของตนเอง    ของงาน  หรือของชุมชนตนเองได้
        5) สามารถ  หรือมีทักษะในการค้นหาสื่อและสารสนเทศที่ตนต้องการ  ตลอดจนสามารถพัฒนา    ต่อยอดทักษะ  และกลยุทธ์ต่างๆการค้นหา  และใช้ประโยชน์จากสื่อและสารได้อย่างมี    ประสิทธิภาพ
        6) สามารถ  หรือมีทักษะในการเข้าถึงแหล่งสื่อ  และสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        7) สามารถ  หรือมีทักษะในการประเมินสื่อและสารสนเทศที่ได้มา  เช่น  ความถูกต้อง      ความชัดเจน  ความเท่าทันสถานการณ์  และอื่นๆ
        8) สามารถ  หรือมีทักษะในการบริหารจัดการ  การจัดเก็บ  การจัดทำระบบสารสนเทศ      และแม้แต่สื่อเองเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  หรือคุ้มค่า
        9) สามารถ  หรือมีทักษะในการบูรณาการสารสนเทศใหม่เข้ากับฐานความรุ้เดิม      หรือองค์ความรู้เดิม และ
        10) สามารถ  หรือมีทักษะในการใช้สารสนเทศที่ได้จากสื่อแหล่งต่างๆเพื่อการคิดเชิงวิเคราะห์     วิจารณ์  การแก้ปัญหา และการใช้ประโยชน์ต่างๆได้
*สรุปโดยการดัดแปลงเนื้อหาจากคู่มือ MIL  ประเทศไทย  โดย พรทิยพ์ เย็นจะบก  และน้ำทิพย์ วิภาวิน, 2554

ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ เทคนิคขั้นตอนในการรู้เท่าทันสื่อ และการวิเคราะห์สื่อ

จากหนังสือ รู้เท่าสื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ ได้ให้หลักการ เทคนิค ขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

การพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อที่จะเท่าทันสื่อได้นั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญเรียงลำดับ ได้ดังนี้

1. การเข้าถึง (Access)

การเข้าถึงสื่อ คือ การได้รับสื่อประเภทต่างๆ ได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วสามารถรับรู้และเข้าใจเนื้อหาของสื่อประเภทต่างๆได้อย่างเต็มความสามารถ พร้อมทั้งทำความเข้าใจความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดย

- อ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นๆและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้

- จดจำและเข้าใจความหมายของคำศัพท์ สัญลักษณ์ และเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสาร

- พัฒนากลยุทธ์ เพื่อหาที่มาของข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่หลากหลาย

- เลือกคัดกรองข้อมูล ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

2. การวิเคราะห์ (Analyze)

การวิเคราะห์ คือ การตีความเนื้อหาสื่อตามองค์ประกอบและแบบฟอร์มของสื่อ แต่ละประเภทว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอนั้นส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อสังคม การเมืองหรือเศรษฐกิจโดยใช้พื้นความรู้เดิมและประสบการณ์ในการคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้น โดยอาจใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ การแยกองค์ประกอบย่อยต่างๆ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเหตุและผลการทำความเข้าใจเนื้อหาบริบทที่ต้องการสื่อ เช่น

- ใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อทำนายผลที่จะเกิด

- ตีความเนื้อหา โดยใช้หลักการวิเคราะห์พื้นฐาน

- ใช้กลวิธีต่างๆ ได้แก่การเปรียบเทียบ/หาความแตกต่าง/ข้อเท็จจริง/ความคิดเห็น เหตุและผล การลำดับความสำคัญ

- ใช้ความรู้เกี่ยวกับบริบททางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์และตีความหมาย

3. การประเมินค่าสื่อ (Evaluate)

การประเมินค่าของสื่อ เป็นผลจากการวิเคราะห์สื่อที่ผ่านมาทำให้สามารถที่จะประเมินคุณภาพ ของเนื้อหาที่มี คุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงใด สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารในด้านใดได้บ้าง คุณค่าที่เกิดขึ้นเป็นคุณค่าที่เกิดขึ้นทางใจ อารมณ์ ความรู้สึก หรือมีคุณค่าทางศีลธรรม จรรยาบรรณ สังคม วัฒนธรรมหรือประเพณี ความสามารถในการประเมินเนื้อหา โดยสร้างความเกี่ยวข้องของเนื้อหากับประสบการณ์ พร้อมเสนอความเห็นในแง่มุมที่หลากหลาย

4. การสร้างสรรค์ (Create)

การเรียนรู้สื่อ รวมถึงการพัฒนาทักษะ การสร้างสื่อในแบบฉบับของตนเองขึ้นมา เมื่อผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถวิเคราะห์วิจารณ์ ประเมินค่าสื่อได้อย่างถ่องแท้แล้ว ทุกคนจะต้องวางแผน เขียนบท ค้นคว้าข้อมูลเนื้อหามาประกอบ

ความสามารถในการสร้างสรรค์ (หรือสื่อสาร) เนื้อหาโดยการเขียนบรรยายความคิด ใช้คำศัพท์ เสียง หรือการสร้างภาพให้มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ซึ่งมีวิธีการสร้างสื่อแบบสร้างสรรค์ ดังนี้

- ใช้ประโยชน์จากขั้นตอนการระดมสมอง วางแผน เรียบเรียง และแก้ไข

- ใช้ภาษาเขียนและภาษาพูดอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดตามหลักของภาษาศาสตร์

- สร้างสรรค์และเลือกภาพอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้

- ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการวางโครงสร้างของเนื้อหา

เทคนิค 3 ขั้นตอนของการรู้เท่าทันสื่อ

ขั้นตอนที่ 1 คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกและลดเวลาในการชมโทรทัศน์ วิดิทัศน์ เล่นเกมส์ ชมภาพยนตร์และ สื่อแบบต่างๆ

ขั้นตอนที่ 2 คือ เรียนรู้ทักษะเฉพาะในการวิเคราะห์สื่อ เรียนรู้ที่จะวิเคราะห์และตั้งคำถามว่าอะไรอยู่ในกรอบ สร้างสรรค์สื่ออย่างไร และ มีสารใดที่ไม่ได้นำเสนอ ทักษะในการวิเคราะห์เป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดด้วยวิธีการตั้งคำถามในห้องเรียน ในกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ พร้อมๆ กับการสร้างสรรค์และผลิตสื่อด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่ 3 คือ การค้นหาประเด็นในระดับลึกขึ้น ใครผลิตสื่อและเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ใครได้กำไร ใครเสีย และใครเป็นผู้ตัดสินใจในการผลิตสื่อ ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ดูว่าคนในสังคมสร้างความหมายจากประสบการณ์ที่ได้รับผ่านสื่ออย่างไร และสื่อสร้างวัฒนธรรมบริโภคนิยมอย่างไร

หลักสำคัญของสื่อมวลชนศึกษา (Media Education) ได้แก่

วิเคราะห์การผลิตสื่อ มีดังนี้คือ

เป้าหมาย คนสร้างสื่อขึ้นเพื่อแจ้งข่าวสาร ให้ความบันเทิง หรือโน้มน้าวใจทางการเมือง ทางธุรกิจ ทางการศึกษา ทางศีลธรรม 

คุณค่า เนื้อหาสื่อสามารถสื่อสารคุณค่าที่หลากหลาย 

การเป็นภาพตัวแทน เนื้อหาสื่อที่ถูกสร้างขึ้น เป็นภาพตัวแทนของโลกแห่งความเป็นจริงและโลกแห่งจินตนาการ 

รหัสและตัวอักษร สื่อแต่ละประเภทมีรหัสของตนเองและตัวอักษรที่มีผลต่อเนื้อหาสื่อที่ถ่ายทอดและทำให้คนเข้าใจ 

การผลิต คนที่เข้าใจสื่อสามารถสร้างเนื้อหาสื่อได้ตามวัตถุประสงค์

1. การวิเคราะห์สื่อ

การวิเคราะห์สื่อคือการตั้งคำถามกับสื่อ เพื่อที่จะวัดความสามารถในการอ่านสื่อให้ออก เราอ่านได้มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับเราสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้มากหรือน้อยเท่านั้นเอง ประเด็นสำคัญที่เป็นกรอบในการรู้เท่าทันสื่อคือ แนวคำถามดังนี้

1) สื่อเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ใครเป็นผู้สร้างเนื้อหาสาระของสื่อขึ้นมา

- ใครเป็นผู้สร้างข้อความในสื่อมีกี่คนที่สร้างข้อความเหล่านี้ขึ้นมาแต่ละคนมีหน้าที่อะไรบ้าง

- เนื้อหาในสื่อเป็นเนื้อหาประเภทใด

- การนำเสนอเนื้อหาของสิ่งเดียวกันในแต่ละรูปแบบมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

2) การสร้างสื่อเพื่อการสื่อสารในครั้งนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง

- เขาใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างในการสร้างสรรค์สื่อขึ้นมา

- เขาใช้เทคนิคอะไรบ้างในการดึงดูดความสนใจ

- ฉันสังเกตเห็นอะไรบ้างเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้ในสื่อ

o สีและรูปลักษณ์

o เสียงและความเงียบ

- อุปกรณ์ประกอบ การจัดฉาก เสื้อผ้า

o ความเคลื่อนไหว

o สัญลักษณ์ ฯลฯ

- เขาวางกล้องอยู่ที่ไหนใช้มุมกล้องแบบใด การเคลื่อนไหวของกล้องอย่างไร

- เสียงที่ใช้และเสียงประกอบเป็นเสียงอะไร เพลงอะไร คำพูดอะไร มีการเล่าเรื่องแบบใด เขาใช้ความเงียบหรือไม่อย่างไร

- วิธีการเล่าเรื่องเป็นอย่างไร

- มีการใช้สัญลักษณ์อะไรบ้าง มีการเปรียบเทียบอะไรบ้าง

- เขาใช้อะไรในการสร้างอารมณ์ให้กับผู้ชม หรือใช้เครื่องมืออะไรในการโน้มน้าวใจ

- อะไรที่ทำให้เหตุการณ์หรือวัตถุที่นำเสนอดูเหมือนจริง

3) คนอื่นๆตีความเนื้อหาสาระของสื่อแตกต่างจากเราอย่างไร

- ฉันตีความเนื้อหาสาระ ของสื่อในครั้งนี้ได้ว่าอย่างไรบ้าง

- อาจมีการตีความที่แตกต่างกันออกไป และเกิดจากอะไรบ้าง

- การตีความหรือการที่คนอื่นมีมุมมองอื่นๆที่แตกต่างกัน เป็นเพราะเหตุใดและมาจากปัจจัยใด

4) สื่อได้นำเสนอวิถีชีวิต ค่านิยม และมุมมองอะไรบ้าง

- เกิดคำถามอะไรขึ้นในใจฉันบ้างขณะที่เปิดรับสื่อ

- ค่านิยม ประเด็นหรือแนวความคิดทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง หรือเศรษฐกิจที่สื่อนำเสนอออกมา

- อะไรที่เป็นบริบททางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการนำเสนอของสื่อ

- ผู้แสดงถูกสร้างบุคลิกลักษณะต่างๆ ขึ้นมาอย่างไร

- กลุ่มเป้าหมายของสื่อคือคนกลุ่มใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร

- พฤติกรรม หรือผลสืบเนื่อง ที่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดรับสื่อคืออะไร

- ใครหรืออะไรที่สื่อไม่ได้นำเสนอในครั้งนี้ให้ครบถ้วน

5) ทำไมข้อความนี้จึงถูกสื่อสารออกมา

- ใครที่ได้รับหรือได้ประโยชน์จากการนำเสนอของสื่อ

o ปัจเจกชน

o สาธารณชน/กลุ่มบุคคล

o องค์กร/ สถาบัน

- ใครที่ควบคุมการสร้างสรรค์สื่อและการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อ

- อะไรที่กำลังถูกบอกเล่าโดยสื่อหรือ สื่อกำลังขายอะไร

- การตัดสินใจทางเศรษฐกิจใดบ้างที่อาจมีอิทธิพลต่อการสร้างหรือการถ่ายทอด

การวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ

นักวิชาการด้านรู้เท่าทันสื่อเสนอคำถามหลัก 5 ข้อในการพิจารณาเนื้อหาสื่อ ได้แก่

1.ใครสร้างสารนี้ และทำไมถึงส่งสาร ใครเป็นเจ้าของและได้กำไรจากการส่งสาร

2.ใช้เทคนิคอะไรเพื่อดึงดูดความสนใจ

3.มีรูปแบบการดำเนินชีวิต คุณค่าและความคิดเห็นอะไรบ้างที่นำเสนอในสาร

4.อะไรที่สารไม่ได้นำเสนอ และเพราะเหตุใด

5.คนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันจะตีความสารนี้แตกต่างกันอย่างไร

หลักพื้นฐาน 5 ประการสำหรับการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ ได้แก่

1.ข้อความของสื่อเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างขึ้น

2.สารเป็นตัวแทนของความจริงที่แฝงด้วยคุณค่าและข้อคิดเห็น

3.สื่อแต่ละประเภทใข้กฎระเบียบที่เป็นเอกภาพในการสร้างสรรค์ข้อความ

4.แต่ละคนตีความเนื้อหาสื่อและสร้างความหมายของตนเองตามประสบการณ์ของตน

5.สื่อมวลชนเน้นผลกำไรตามบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจ

2.การตีความผู้รับสารและอิทธิพลที่มีต่อผู้รับสาร มีดังนี้

การตีความ - ผู้รับสารใช้ความรู้ ประสบการณ์และคุณค่าของตนเองในการตีความ และตอบสนองต่อสาร

อิทธิพลของสื่อต่อผู้รับสาร -เนื้อหาสารมีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชน พฤติกรรมและคุณค่า

อิทธิพลของผู้รับสารต่อสื่อ -ประชาชนสามารถมีอิทธิพลต่อสถาบันสื่อและข้อความที่สื่อมวลชนผลิตขึ้นและส่งสารมาให้

3.สื่อมวลชนและสังคม มีดังนี้

การควบคุม

-คนที่ควบคุมสถาบันสำคัญๆของสังคมสามารถมีอิทธิพลต่อการประกอบสร้างเนื้อหาสื่อ และ การถ่ายทอดสาร รวมทั้งการกำหนดคุณค่าด้วย

ขอบเขต

-เทคโนโลยีสื่อได้รับอิทธิพลจากการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และมิติต้านต่างๆ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อสามารถสรุปได้เป็น 4 ทักษะคือ

- การเข้าถึง (access) การเข้าถึงมีทั้งความสามารถในการเข้าถึงที่จะใช้สื่ออย่างเหมาะสม การเข้าถึงสื่อจะมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการใช้วัตถุดิบที่เพียงพอและกฎระเบียบเกี่ยวกับสถาบันและสังคมที่ใช้สื่อ

- การวิเคราะห์(analysis) เป็นความสามารถในการอ่านและเข้าใจสื่อ

- การประเมินผล (evaluation) เนื้อหาของสื่อ ความสามารถในการเข้าใจและตระหนักถึงสภาพของสื่อในฐานะเป็นเครื่องมือ

- การผลิตสื่อเชิงสร้างสรรค์ (Creative production) ทักษะของแต่ละคนที่ผลิตสื่อและใช้สื่ออย่างเหมาะสม รวมถึงทักษะเชิงสร้างสรรค์ ทักษะเชิงเทคนิค ทักษะเชิงภาษาศาสตร์ และ ทักษะด้านสังคม ทักษะเหล่านี้จะทำให้เกิด จิตสำนึก (consciousness) การคิดเชิงวิเคราะห์ และ ความสามารถในการแก้ปัญหา (problem-solving abilities)