ตัวอย่าง วัตถุประสงค์โครงการ

โครงการทุกโครงการจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทางในการดำเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความที่แสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ภายในโครงการ         ให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม ซึ่งข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ สามารถวัด                และประเมินผลได้ โครงการแต่ละโครงการสามารถมีวัตถุประสงค์ได้มากกว่า 1 ข้อ ลักษณะของวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับระดับและขนาดของโครงการ เช่น ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์ก็จะมีลักษณะที่กว้าง  เป็นลักษณะวัตถุประสงค์ทั่วไป หากเป็นโครงการขนาดเล็ก สามารถลงปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย  หรือปฏิบัติงานในลักษณะที่แคบเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่าง วัตถุประสงค์ก็จะมีลักษณะเฉพาะ หรือโดยทั่วไป         จะเรียกว่าวัตถุประสงค์เฉพาะถึงอย่างไรก็ตามการเขียนวัตถุประสงค์ในโครงการแต่ละระดับ แต่ละขนาด     จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันวัตถุประสงค์ของโครงการย่อย จะต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการขนาดใหญ่  ในส่วนนี้หากนิสิตได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องการสอนมาแล้ว   คงจะมีความเข้าใจมากขึ้นกล่าวคือถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน เมื่อนิสิตได้รับมอบหมายให้สอน วิชาเกษตรในรายวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นิสิตก็จะต้องมีการเตรียมโครงการสอน   ระยะยาว ซึ่งในโครงการสอนระยะยาว ก็จะมีส่วนของวัตถุประสงค์อยู่ด้วย วัตถุประสงค์ตรงส่วนนี้    จะมีลักษณะที่กว้างหรือทั่วไปมากกว่าเพื่อเป็นเครื่องชี้แนวทางว่าในรายวิชาที่นิสิตรับผิดชอบสอนนั้นต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้อะไรบ้าง จากนั้นในการสอนแต่ละครั้งนิสิตก็จะต้องเตรียมโครงการสอน ประจำวัน  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แผนการสอนประจำวัน (Lesson plan) ซึ่งในแผนการสอนประจำวันก็จะมีวัตถุประสงค์อยู่ในแผนการสอนประจำวันนั้นด้วยแต่ลักษณะของ วัตถุประสงค์จะแตกต่างจากวัตถุประสงค์ของโครงการสอนระยะยาว วัตถุประสงค์ของแผนการสอน ประจำวันจะมุ่งเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม หลังจาก     ที่นิสิตได้ทำการสอนเรียบร้อยแล้ว วัตถุประสงค์ชนิดนี้จึงเรียกว่าวัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์                เชิงพฤติกรรมในทำนองเดียวกัน ลักษณะของวัตถุประสงค์ในการเขียนโครงการก็จะคล้ายคลึงกัน

การเขียนวัตถุประสงค์ควรจะต้องคำนึงถึงลักษณะที่ดี 5 ประการ หรือจะต้องกำหนดขึ้นด้วยความฉลาด (SMART) ซึ่งได้อธิบายความหมายไว้ดังนี้

S = Sensible (เป็นไปได้) หมายถึง วัตถุประสงค์จะต้องมีความเป็นไปได้ ในการดำเนินงานโครงการ

M = Measurable (วัดได้) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องสามารถวัดและประเมินผลได้

A = Attainable (ระบุสิ่งที่ต้องการ) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องระบุสิ่งที่ต้องการดำเนินงาน อย่างชัดเจน        และเฉพาะเจาะจงมากที่สุด

R = Reasonable (เป็นเหตุเป็นผล) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลในการปฏิบัติ

T = Time (เวลา) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีขอบเขตของเวลาที่แน่นอนในการปฏิบัติงาน

                การเขียนวัตถุประสงค์ของโครงการมีลักษณะเป็นวัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติการ ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย ดังนั้นการเขียนวัตถุประสงค์จึงควรใช้คำ ที่แสดงถึงความตั้งใจและเป็นลักษณะเชิงพฤติกรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานโครงการ เช่นคำว่า อธิบาย พรรณนา เลือกสรร ระบุ สร้างเสริม ประเมินผล ลำดับ  แยกแยะ แจกแจง กำหนดรูปแบบ และแก้ปัญหา เป็นต้น

ดังตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ เช่น

- เพื่อให้สามารถอธิบายถึงวิธีการเขียนโครงการได้

- เพื่อให้สามารถเลือกสรรวิธีการอันเหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพนิสิตฝึกสอน

- เพื่อให้สามารถระบุขั้นตอนในการเตรียมโครงการสอนเกษตรได้

- เพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะข้อดีและข้อเสียของการฝึกงานเกษตรภายในฟาร์มนอกจากนี้ยังมีคำที่ควรหลีกเลี่ยง ในการใช้เขียนวัตถุประสงค์ของโครงการ เพราะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง ไม่แสดงแนวทาง         การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ ยากต่อการวัดและประเมินผลการดำเนินงานได้ คำดังกล่าวได้แก่คำว่า เข้าใจ ทราบ คุ้นเคย ซาบซึ้ง รู้ซึ้ง เชื่อ สนใจเคยชิน สำนึก และยอมรับ เป็นต้น ดังตัวอย่างประโยค ต่อไปนี้

- เพื่อให้เข้าใจถึงการดำเนินงานโครงการ

- เพื่อให้สามารถทราบถึงความเป็นมาของปัญหาการปฏิบัติการ

- เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในพระศาสนา 

ในการเขียนคำหน้าประโยคของวัตถุประสงค์โครงการนั้น  ได้แนะนำคำที่ควรใช้และคำที่ควรหลีกเลี่ยง โดยแปลจากคำในภาษาอังกฤษ ดังนี้ 

7 เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้  ทักษะและประสบการณ์ของตนเองในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดพลังความอยากรู้อยากเห็น

8.  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจว่าจะทำอะไร  กับใคร  อย่างไร ทำให้เกิดความมั่นใจ

9.  เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ทำจริง ในกรณีที่ต้องนำแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง  

10. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเท่านั้น

ความแตกต่างในการเรียนรู้ด้วยโครงงานกับการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้าทำรายงาน

ข้อ

โครงงาน

รายงาน

1

นักเรียนได้ทักษะต่าง ๆ มากมาย

ได้ความรู้เชิงวิชาการเป็นส่วนใหญ่ทักษะที่เกิดมีน้อย

2

ผู้เรียนเกิดความสนใจในกิจกรรมที่หลากหลาย

ผู้ที่ไม่สนใจเรียนจะไม่ได้อะไร เพราะเป็นเพียงการคัดลอกหรือถ่ายเอกสาร

3

เน้น กระบวนการ มากกว่าผลงานที่ออกมา

เน้น ผลงาน ที่สวยหรูมากกว่า กระบวนการ

4

บทบาทครูคือเป็นที่ปรึกษาโครงงาน  

ให้กำลังใจและดูแลกระบวนการทำงาน

บทบาทครูเป็นเพียงผู้ตรวจรายงานไม่สนใจว่านักเรียนจะไปหารายงานมาจากไหน

5

ต้องนำเสนอเพื่อแสดงผลการศึกษาของตนเองแบบสร้างสรรค์ น่าสนใจ

อาจมีหรือไม่มีการนำเสนอก็ได้ หากมีการนำเสนอ รูปแบบมักพูดเพียงในชั้นเรียน

6

นักเรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง

ต้องพึ่งพาความรู้จากตำรา ไม่สามารถสร้างความรู้ได้

7

มีการประเมินตามสภาพจริงในกระบวนการทำงานอย่างยุติธรรม

มีการประเมินที่ใช้แต่ความคิดเห็นของครูโดยมักพิจารณารูปแบบภายนอก

8

ครูให้นักเรียนกำหนดประเด็นที่จะศึกษาตามที่นักเรียนสนใจ โดยกำหนดกรอบกว้างๆแล้วให้นักเรียนคิดประเด็นเป้าหมายที่จะศึกษา

ครูมักกำหนดหัวข้อแล้วมอบหมายให้นักเรียน โดยนักเรียนต้องไปศึกษาตามหัวข้อที่กำหนดให้

9

การทำงานมีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อน

การทำงานไม่ต้องอาศัยขั้นตอนหรือวางแผนงานมากนัก

10

นักเรียนตั้งคำถามย่อยจากประเด็นที่ตนคิด แล้วตั้งสมมุติฐาน ค้นหาคำตอบด้วยตัวนักเรียนเอง

นักเรียนกำหนดหัวข้อย่อยในเรื่องที่จะศึกษาจากตำราในห้องสมุดที่มีเนื้อหาหรือหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย

11

มีการเขียนโครงงาน เหตุผล เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และปฏิทินในการทำงาน

ไม่มีการชี้แจงเหตุผล เป้าหมาย วัตถุประสงค์ในการศึกษา ไม่มีการบันทึกการทำงาน

12

มีกิจกรรมที่หลากหลายแทรกอยู่ในกิจกรรมโครงงานแต่ละขั้นตอน

รายงาน คือ การเข้าห้องสมุด ถ่ายเอกสารรวมเป็นรายงาน ไม่มีกิจกรรมหลากหลาย

13

กระบวนการให้ได้มาซึ่งความรู้มีความหลากหลาย และเป็นการศึกษาใน”เชิงลึก”

กระบวนการให้ได้มาซึ่งความรู้ไม่หลากหลาย และเป็นการศึกษาอย่างผิวเผิน

14

ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในการให้ได้มาซึ่งความรู้ โดยอาจออกภาคสนาม ลงพื้นที่เพื่อให้ได้สัมผัสเรื่องราวและข้อมูลที่แท้จริงและทันสมัย

ใช้แหล่งการเรียนรู้แต่เป็นตัวอักษร ข้อมูลจากการสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต อาจไม่มีการกรองจากผู้ทำว่าเป็นจริงหรือไม่ ความลึกซึ้งมีน้อย

15

เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของชีวิตและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้และสร้างวัฒนธรรมนักคิดให้กับนักเรียน

ไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง เพราะไม่ตระหนักในคุณค่าของการทำรายงาน การนำองค์ความรู้ไปใช้จึงยาก และมีข้อด้อยคือสร้างวัฒนธรรมการจำ

อะไรคือวัตถุประสงค์ของโครงการ

การเขียนวัตถุประสงค์ของโครงการมีลักษณะเป็นวัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติการที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายดังนั้นการเขียนวัตถุประสงค์จึงควรใช้คำ ที่แสดงถึงความตั้งใจและเป็นลักษณะเชิงพฤติกรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานโครงการ เช่นคำว่า อธิบาย พรรณนา เลือกสรร ระบุ สร้างเสริม ประเมินผล ...

ความสําคัญของโครงการมีอะไรบ้าง

ความสำคัญของโครงการมีอย่างไรบ้าง ช่วยให้ขั้นตอนวางแผนและขั้นตอนดำเนินงาน เป็นไปตามระบบ มีความเรียบร้อย ช่วยให้ขั้นตอนต่างๆ มีความสอดคล้องกับนโยบายหรือความประสงค์ของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ ทำให้ขั้นตอนดำเนินงานมีทิศทางอันชัดเจน รวมทั้งมีประสิทธิภาพออกมายอดเยี่ยม

วัตถุประสงค์ในการทำโครงงานมีอะไรบ้าง

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ 2. เพื่อรู้จักการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน ทำให้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาหลายวิธี 3. เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกัน 4. เพื่อฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง ได้รับประสบการณ์ตรง

วัตถุประสงค์กับเป้าหมายเหมือนกันไหม

which those goals are met. เป้าหมาย สามารถมองได้ว่าเป็นสิ่งที่องค์กรคาด หวังจะให้เป็น ในรูปแบบกว้างๆ และในลักษณะทั่วๆ ไป ในขณะที่วัตถุประสงค์นั้น สามารถมองได้ว่า เป็นวิธีการที่นำองค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (จาก เป้าหมายเป็นผลลัพธ์เชิงปริมาณ (Quantitative) Website)