การดำเนินนโยบายการค้าเสรี

แต่ละประเทศควรจะเลือกผลิตแต่เฉพาะสินค้าที่ตนมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นั้นไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศอื่นมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบ ถึงแม้ว่าประเทศหนึ่งจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบอีกประเทศหนึ่งในการผลิตสินค้าทุกชนิดก็ตาม ประเทศทั้งสองก็ย่อมจะทำการค้าต่อกันได้ โดยแต่ละประเทศจะเลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่เมื่อเปรียบกับสินค้าอื่นแล้ว ประเทศตนสามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด แล้วนำมาแลกเปลี่ยนสินค้าที่ผลิตขึ้นกับอีกประเทศหนึ่ง

                นโยบายการค้าเสรีไม่สนับสนุนการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงและขจัดข้อบังคับต่าง ๆ ที่กีดกันการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นประเทศที่ใช้นโยบายการค้าเสรีจะมีลักษณะโดยทั่วไป ดังนี้

                        1) ดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำ กล่าวคือ เลือกผลิตแต่สินค้าที่ประเทศนั้นมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงและมีต้นทุนการผลิตต่ำ

                        2) ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองช่วยเหลืออุตสาหกรรมในประเทศแต่อย่างใด คงเก็บแต่ภาษีศุลกากรเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ

                        3) ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการเก็บภาษีอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่าๆ กัน

                        4) ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ไม่มีการควบคุมการนำเข้าหรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของรัฐเท่านั้น

  1.2 การค้าเสรีในปัจจุบัน

                GATT  (General Agreement on Trade and Tariff) หรือ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องการให้การค้าของโลกดำเนินไปอย่างเสรี บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน คือ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination) ระหว่างประเทศภาคีสมาชิก โดยพิจารณาได้จากบทบัญญัติของ GATT กำหนดหลักการสำคัญไว้ หลักการ ได้แก่ หลักประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation Treatment : MFN) และหลักการประติเยี่ยงคนในชาติเดียวกัน (National Treatment)

                การจัดกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคไม่ว่าจะอยู่ในรูปการเจรจาระดับทวิภาคี (Bilateral Agreement) หรือพหุพาคี (Multilateral Agreement) โดยข้อเท็จจริงของการจัดทำข้อตกลงนับแต่มีการสร้างความเป็นเสรีทางการค้าให้มากขึ้นระหว่างประเทศ หรือประเทศภายในกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้าต่อประเทศนอกกลุ่มข้อตกลงไปได้ หากพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่า WTO อนุญาตให้มีการรวมกลุ่มหรือทำความตกลงทางการค้าระดับภูมิภาคได้ โดยถือว่าเป็นข้อยกเว้น (Exception) ของ WTO ที่ประเทศสมาชิกสามารถเลือกปฏิบัติได้ (Non-MFN) ระหว่างประเทศในกลุ่ม แต่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน GATT ปี 1994 (..2537) มาตรา 24 วรรค 4 ถึงวรรค 9 ซึ่งยินยอมให้ประเทศที่เข้าร่วมในการจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจนี้ไม่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีบางประการของ GATT ได้

                การจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจตามมาตรา 24 มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

                        1. สหภาพศุลกากร (Customs Union)

                        2. เขตการค้าเสรี (Free-trade Area)

                        3. ข้อตกลงชั่วคราวก่อนที่จัดตั้งสหภาพศุลกากรหรือเขตการค้าเสรี (Interim Agreement)

                โดยในการดำเนินการนั้นจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข (Criteria and Conditions) ที่ระบุไว้ในมาตรา 24 ดังนี้

                        1. สหภาพศุลกากร (Customs Union)  วรรค 8 (a) ระบุว่าการจัดตั้งสหภาพศุลกากรนั้นจะต้อง

                                เป็นการขจัดข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restrictions) ระหว่างประเทศสมาชิกของสหภาพลงอย่างมาก (Substantially eliminated)

                                มีการกำหนดข้อจำกัดทางการค้าที่ใช้กับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกสหภาพให้เป็นรูปเดียวกัน (Uniform Restrictions) อัตราภาษี ค่าธรรมเนียม และข้อจำกัดทางการค้าทั้งหมด (The Whole) ที่ประเทศสมาชิกสหภาพใช้กับประเทศที่มิได้สมาชิกสหภาพจะต้องไม่สูงกว่า หรือมีความเข้มงวด (More Restrictive) กว่าอัตราหรือระดับเดิมของแต่ละประเทศสมาชิกที่ใช้อยู่ก่อนจัดตั้งสหภาพ อย่างไรก็ตาม กระบวนการในการกำหนดอัตราภาษีเดียวกันต่อประเทศนอกกลุ่ม (Common External Tariff) อาจทำให้อัตราภาษีที่แต่ละประเทศผูกพันไว้กับแกตต์ หรือ WTO ในสินค้าชนิดเดียวกันเพิ่มขึ้น หรือลดลงบ้างแล้วแต่กรณี วรรค 6-ของมาตรา 24 จึงกำหนดว่าหากจะต้องมีการชดเชยความเสียหายแก่ประเทศนอกกลุ่ม (Compensatory Adjustment) ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา 28 (XXVIII) ของ GATT แต่การกำหนดวิธีการนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า หากประเทศนั้น ๆ มิได้ปฏิบัติตามมาตรา 28 เพื่อชดเชยความเสียหายก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งสหภาพศุลกากรแต่อย่างใด

                        2. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) วรรค 8 b ระบุเงื่อนไขในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไว้น้อยกว่าการจัดตั้งสหภาพศุลกากร คือกำหนดเพียงว่าจะต้องขจัดอัตราภาษี ค่าธรรมเนียม และข้อจำกัดทางการค้าทั้งหลาย ระหว่างประเทศสมาชิกเขตการค้าลงอย่างมาก (Substantially all The Trade) เท่านั้น แต่ละประเทศสามารถกำหนดอัตราภาษี ค่าธรรมเนียม และจำกัดทางการค้าที่ใช้กับประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกเขตการค้าได้โดยอิสระ แต่อัตราหรือระดับของอัตราภาษี ค่าธรรมเนียมและข้อจำกัดทางการค้า จะต้องไม่สูงหรือเข้มงวดกว่าเดิมก่อนที่จะเข้ามาร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรี

                        3. ข้อตกลงชั่วคราวก่อนที่จะจัดตั้งสหภาพศุลกากรหรือเขตการค้าเสรี (Interim Agreement) เป็นข้อตกลงที่ประเทศที่เข้าร่วมมักใช้เพื่อเริ่มดำเนินการในการจัดตั้งสหภาพศุลกากรหรือเขตการค้าเสรีหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นข้อตกลงที่ใช้เพื่อปรับตัว (Transition) ของประเทศสมาชิกก่อนการจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจ มาตรา 24 วรรค 5 (c) ของ GATT ระบุว่าประเทศที่ลงนามในข้อตกลงชั่วคราวนี้ต้องดำเนินการร่วมกันใน

                                กำหนดแผนและตารางเวลา (Plan and Schedule) เพื่อจะต้องสหภาพศุลกากรหรือเขตการค้าเสรี

                                โดยต้องดำเนินการปรับตัวในระยะเวลาพอควรที่กำหนดไว้ (Reasonable Length Of  Time)

    1.3  ความหมายของเขตการค้าเสรี

                เขตการค้าเสรี หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (Goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (Service) และการลงทุนด้วย

                เขตการค้าเสรีที่สำคัญในปัจจุบันคือ NAFTA  และ AFTA และขณะนี้ สหรัฐฯ อยู่ในระหว่างการเจรจาทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA) โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นในปี พ.. 2548 รูปแบบเขตการค้าเสรีแบ่งได้ 2 ชนิดคือ

                        1. สหภาพศุลกากร (Custom Union) หมายถึง การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับที่ลึกและกว้างกว่าเขตการค้าเสรี ( Free Trade  Area : FTA )เพราะมีลักษณะที่เป็นตลาดร่วม (Single Market) ซึ่งไม่มีกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกในสหภาพศุลกากรเก็บภาษีศุลกากรอัตราเดียวกัน  (Common Level) กับทุกประเทศนอกกลุ่ม สหภาพศุลกากรจึงทำให้ประเทศในกลุ่มมีสภาพเป็นเสมือนประเทศเดียวกันหรือตลาดเดียวกัน

สหภาพศุลกากรที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป ( European  Union ) (กำลังจะขยายสมาชิกภาพโดยรับประเทศในยุโรปตะวันออกบางประเทศเข้าร่วมด้วยและ MERCOSUR

                        2. พันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Closer Economic Partnership: CEP) หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีการพัฒนารูปแบบไปจากที่เคยมีมา โดยมีกรอบความร่วมมือที่กว้างขวางกว่า FTA อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับ CEP หรือขอบเขตของ CEP อาจจะแตกต่างไป โดยทั่วไป CEP (หรือศัพท์อื่นที่มีความหมายคล้ายคลึงกันครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการค้า สินค้า บริการและการลงทุน และแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภทคือ

                                2.1 CEP ที่มีเขตการค้าเสรี  เป็นหัวใจสำคัญ และรวมไปถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การประสานนโยบายการแข่งขัน และการจัดซื้อโดยรัฐ เป็นต้น ดังกรณี CEP ระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และความร่วมมือที่อาเซียนกำลังจะเจรจากับจีน ในกรณีดังกล่าวนี้ CEP จึงเป็นกรอบความร่วมมือทั้งในเชิงลึกและกว้างกว่า FTA โดยปกติ

                                2.2  CEP ที่ไม่มีการทำเขตการค้าเสรี แต่อาจมีการลดภาษีศุลกากร (ไม่ใช่การลดถึงขั้นต่ำสุด หรือเป็น ดังเช่นกรณี FTA) และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าด้วย รวมทั้งมีการร่วมมือกันในด้านอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น CEP ระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น

                อย่างไรก็ตามทั้ง FTA และ Custom Union ต่างก็เป็นกระบวนการในการผนึกความร่วมมือ และ/หรือการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) และเป็นปัจจัยเร่งการเปิดเสรีที่ก้าวไปเร็วกว่าการเปิดเสรีตามข้อผูกพันของWTO รวมทั้งเป็นการเตรียมการเปิดเสรีตามเป้าหมายภายใต้ปฏิญญาโบกอร์ของ APEC ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วเปิดเสรีอย่างเต็มที่ภายในปี ค..2010(..2553) และ ประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาเปิดเสรีภายในปี ค..2020(..2563)

                ในที่นี้ การใช้คำว่า "เขตการค้าเสรีนั้น หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันเป็นพิเศษในลักษณะที่เป็นการกล่าวอย่างกว้าง ๆ คลุมไปทั้ง FTA, Customs Union และ CEP ส่วนการใช้คำว่า FTA หรือCustom UnionหรือCEPนั้น หมายถึง ความร่วมมือในรูปแบบนั้น ๆ เป็นกรณี ๆ ไป

                อย่างไรก็ดี เขตการค้าเสรีนั้น ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากในระดับหนึ่ง และหากต้องการให้ได้ผลจริงจัง ก็จะต้องพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพศุลกากรโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการหลบหนีภาษีในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากประเทศนอกกลุ่มจะพยายามส่งสินค้าเข้าทางประเทศที่ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ที่มีภาษีต่ำไปสู่ประเทศในเขตการค้าที่มีภาษีสูง เช่น สมมติว่าไทยมีเขตการค้าเสรีกับมาเลเซีย แต่ไทยเก็บภาษีศุลกากรการนำเข้าสิ่งทอเพียง 10 % ในขณะที่มาเลเซียเก็บภาษีสินค้าเดียวกันในอัตรา 30 % พ่อค้าจีนก็จะพยายามนำเข้าสิ่งทอทางประเทศไทยเพื่อเสียภาษีเพียง 10 % แล้วนำไปแปรรูปเล็กน้อย เช่น บรรจุห่อใหม่เพื่อแปลงสภาพให้เป็นสินค้าไทยแล้ว นำไปขายในมาเลเซียอันจะทำให้เขาเลี่ยงภาษีได้ 20% กล่าวคือ เขตการค้าเสรีจะต้องใช้ทรัพยากรของภาครัฐเป็นจำนวนมาก เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าที่รัดกุม ซึ่งทางออกที่ดีที่สุด คือ การแปลงภาษีศุลกากรของประเทศในเขตการค้าเสรีให้เท่ากันทั้งหมด หรือแปลงให้เป็นสหภาพศุลกากรโดยเร็วนั่นเอง

    1.4 แนวทางในการจัดทำเขตการค้าเสรี

                การจัดทำเขตการค้าเสรีที่ดีควรมีรูปแบบดังต่อไปนี้

                1.4.1 ทำให้กรอบกว้าง (Comprehensive) เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win) การเจรจาทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีมีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกสาขา ทั้งการเปิดเสรีทางการค้า (สินค้าและบริการและการลงทุน และการขยายความร่วมมือทั้งในสาขาที่ร่วมมือกันตลอดจนประสานแนวนโยบายและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นการทำข้อผูกพันเพิ่มเติมจากข้อผูกพันที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้วในฐานะสมาชิก WTO จึงเป็นข้อผูกพันใน WTO (WTO plus)

                1.4.2 ทำให้สอดคล้องกับกฎ WTO โดยที่ WTO กำหนดเงื่อนไขให้มีการเปิดเสรีโดยคลุมการค้าสินค้า/บริการ ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมทำเขตการค้าเสรีอย่างมากพอ (Substantial) และสร้างความโปร่งใสโดยแจ้งต่อ WTO ก่อนและหลังการทำความตกลงตั้งเขตการค้าเสรี รวมทั้งเปิดให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบความตกลง

                1.4.3 แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตอบแทนกัน (Reciprocity)ในกรณีที่คู่เจรจาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว  ควรเรียกร้องความยืดหยุ่นเพื่อให้มีเวลานานกว่าในการปรับตัวหรือทำข้อผูกพันในระดับที่ต่ำกว่า

                1.4.4 กำหนดกลไกและมาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน การเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะรวมถึงเรื่องกฎเกณฑ์และขั้นตอนในการใช้มาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายใน เช่น การเก็บภาษี การต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) ภาษีตอบโต้การอุดหนุน (CVD) และมาตรการคุ้มกัน (Safeguards) ซึ่งใช้กฎเกณฑ์ของ WTO เป็นพื้นฐาน แต่ปรับปรุงให้ตรงตามความประสงค์ของประเทศที่ร่วมเจรจา หรือบางกรณีอาจมีการตกลงที่จะระงับการใช้มาตรการ AD,CVD ระหว่างกัน 

     1.5 ผลดีและผลเสียของเขตการค้าเสรี

                1.5.1 ผลดี การทำเขตการค้าเสรีจะทำให้เกิดผลดีกับประเทศ ดังนี้

                        1) ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การใช้นโยบายการค้าเสรีจะก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพ และหลักการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Comparative Advantage) การแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) และการประหยัดต่อขนาด(Economy of Scale) ทำให้ผลิตจำนวนมากจะทำให้ต้นทุนถูกลง ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคสินค้าดี มีคุณภาพ ราคาเป็นไปตามกลไกตลาดอย่างแท้จริงจากหลักการต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดประโยชน์ต่อการทำจัดทำเขตการค้าเสรี

                        2) เขตการค้าเสรีจะทำให้มีตลาดที่กว้างขึ้น การส่งออกจะง่ายขึ้น สะดวกมากขึ้น การค้าระหว่างกันจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเป็นคู่สัญญาความตกลงกันแล้ว การเจรจาขจัดอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ นอกเหนือจากภาษีจะมีมากขึ้นและง่ายในการเจรจา นอกจากนั้น มีการกระจายแหล่งวัตถุดิบมากขึ้น ทำให้วัตถุดิบที่ใช้อยู่แล้วนำเข้าในระดับราคาถูกลง และต้นทุนการผลิตต่ำลง

                        3) ผลพลอยได้จากการทำเขตการค้าเสรี คือ กระตุ้นให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และเมื่อมีประเทศใดประเทศหนึ่งจัดทำเขตการค้าเสรีแล้ว จำเป็นที่จะต้องลดภาษีลงมา หมายความว่า อุตสาหกรรมนั้น ๆ  ที่ก่อนหน้านั้นรัฐบาลอาจจะต้องปกป้องและจะต้องพยายามปรับตัวเพื่อที่จะให้สามารถต่อสู้แข่งขันได้กรณีนี้จะเป็นผลดีทางอ้อม คือ ทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ของเขตการค้าเสรีนั้นมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

                        4) การจัดทำเขตการค้าเสรีในลักษณะพหุภาคี อย่างเช่น กลุ่ม AFTA หรือกลุ่ม EU มีผลที่ทำให้กลุ่มนั้น ๆ นอกจากจะมีตลาดการค้าที่กว้างขึ้น สินค้าสามารถตอบสนองความต้องการในกลุ่มเองได้แล้วยังทำให้มีอำนาจในการต่อรองและ อำนาจการเจรจาระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นทวิภาคีและในระดับภูมิภาค เพราะถ้ารอ WTO หรือจะหวังพึ่ง WTO ที่จะมาเป็นกลไกในการเปิดตลาดการค้าเสรี คงจะต้องอีกนาน

                        5) การจัดทำเขตการค้าเสรี มีนัยทางด้านการเมืองระหว่างประเทศอยู่ด้วย คือการจะเป็นการเข้าไปใกล้ชิดกับอีกประเทศหนึ่ง เท่ากับว่าเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับอีกประเทศหนึ่ง ตัวอย่างเช่น จีนจะทำเขตการค้าเสรีกับอาเซียนมีนัยทางการเมืองคือ จีนจะมีบทบาท มีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการเมืองเพิ่มขึ้นในอาเซียน  และถ้าสหรัฐอเมริกาต้องการจะถ่วงดุลอำนาจจีนก็ต้องเข้ามาทำเขตการค้าเสรีกับประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลทางการเมืองที่แทรกอยู่ในเรื่องของการจัดทำเขตการค้าเสรี ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาด้วย

                1.5.2 ผลเสีย การทำเขตการค้าเสรีจะทำให้เกิดผลเสียกับประเทศ ดังนี้

                        1) จะกระทบต่ออุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เราเรียกว่าอุตสาหกรรมแรกเริ่ม (Infant Industries) คือ อุตสาหกรรมที่ยังต้องการให้รัฐบาลปกป้องอยู่เป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ไม่มีความสามารถในการที่จะไปแข่งขันในเวทีโลกอย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น ถ้าหากมีการจัดทำเขตการค้าเสรี อุตสาหกรรมเหล่านี้จะถูกกระทบจากสินค้าราคาถูกจากประเทศคู่ตกลงเขตการค้าเสรี และอาจต้องล้มหายไปได้

                        2) ประเทศที่เป็นคู่ตกลงจัดทำการค้าเสรีด้วย อาจมีโครงสร้างการส่งออกสินค้าเหมือนกัน จะกลายมาเป็นแข่นกันเอง เกิดการสินค้าประเภทเดียวกันมาตีตลาดสินค้าในประเทศที่ด้อยกว่า เพราะฉะนั้น โครงสร้างการผลิตประเภทเดียวกันจะทำให้แข่งกันไม่เกื้อหนุนกัน

                        3) การจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีหรือแบบภูมิภาค จะเป็นการทำลายระบบการค้าโลกเป็นการทำลาย WTO เป็นการทำลายระบบพหุภาคีนิยม ซึ่งที่จริงแล้วตามหลักของนักเศรษฐศาสตร์ระบบที่ดีที่สุด คือ WTO คือถ้าจะมีเขตการค้าเสรีนั้นก็ควรจะเป็นเขตการเสรีของทั้งโลกรวมกัน ถ้ามีการจัดทำเขตการค้าเสรีแบบ FTA ตามหลักของนักเศรษฐศาสตร์ก็ถือว่าเป็น second best option แต่จริงแล้ว the best option คือ WTO

                        4) การจัดทำเขตการค้าเสรีคู่หนึ่งจะไปกระตุ้นให้ประเทศอื่นต้องแข่งที่จะจัดทำเขตการค้าเสรีเพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้น FTA จะทำให้เกิด FTA มากขึ้น ๆ จะไปสู่ความขัดแย้งทางการค้ามากขึ้น เพราะว่าการจัดทำเขตการค้าเสรี อย่างเช่น ประเทศ กับประเทศ สองประเทศจะได้ประโยชน์ แต่ว่าประเทศนอกกลุ่มประเทศที่ไม่เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีนั้นจะถูกกีดกัน เรียกว่าเป็นการกีดกันทางการค้า

                        5) ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ส่วนใหญ่แล้วประเทศที่ใหญ่จะได้เปรียบประเทศเล็กจะเสียเปรียบ เพราะว่าจะไม่มีอำนาจในการต่อรอง ต้องระมัดระวังในการที่จะไปเจรจากับประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น

                        6) การจัดทำเขตการค้าเสรีอาจจะทำให้ประเทศหนึ่งเข้าสู่สภาวะการพึ่งพาทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งมากเกินไปเรียกว่า Over Dependency นอกจากนั้นยังมีผลในการเบี่ยงเบนทิศทางการค้า (Trade Diversion) ทำให้ประเทศคู่ตกลงเขตการค้าเสรีหันมาค้าขายกันเองมากขึ้น หลังจากมีการเปิดเสรีให้แก่กัน แต่ยังคงมีอุปสรรคการค้ากับประเทศอื่น ๆ จึงอาจจะทำให้ไม่มีการนำเข้าจากประเทศที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าได้ด้วย

 

2. ประเทศไทยกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน/ไทย – จีน ( ASEAN China Free Trade Area/Thailand-China )

    2.เรื่องเดิม

                2.1.1  ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(AEM) ครั้งที่ 32 (ตุลาคม 2543) ณ จังหวัดเชียงใหม่มีมติให้ศึกษาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนกับเอเซียตะวันออก ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-เกาหลี ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2543 นายกรัฐมนตรี Zhu Rong Ji ของจีนได้เสนอในที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน (ASEAN-China Summit) ให้มีการศึกษาผลกระทบจากการที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO และเสนอแนะมาตรการที่จะส่งเสริมความร่วมมือและการรวมกลุ่มของอาเซียนและจีนรวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน เนื่องจากจีนต้องการลดความกังวลของอาเซียนในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน โดยให้นำเสนอผลการศึกษาต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน ครั้งต่อไป(พฤศจิกายน 2544)

                2.1.2 ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมอาเซียน-จีน ด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ASEAN China Joint Committee on Trade and Economic Cooperation) ครั้งที่ 3 (มีนาคม 2544) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีมติให้จัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญของอาเซียนและจีนด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Expert Group on Economic Cooperation: EGEC) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐบาลและนักวิชาการเพื่อดำเนินการตามมติของที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้จัดทำร่างเอกสารการศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้เสนอผลสรุป รวมทั้งข้อเสนอแนะ (Recommendations) ของคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ให้พิจารณาโดยมีประเด็นสำคัญในข้อเสนอแนะ คือให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ภายในระยะเวลา 10 ปี

                2.1.3  ที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน (ASEAN - China Summit) วันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงบันดาร์เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไนฯ เห็นชอบต่อกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ภายใน 10 ปี โดยให้คำนึงถึงระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ควรรวมเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ระหว่างกันในด้านที่มีความพร้อมก่อนการเปิดเสรีการค้า (Early Harvest) ในสินค้าและบริการที่จะหารือร่วมกัน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีนในลำดับสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) เกษตรกรรม  2) เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4) การลงทุน และ 5) การพัฒนาลุ่มน้ำโขง โดยให้มีการหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐ ธุรกิจ และนักวิชาการต่อไป

    2.2 แนวทางการดำเนินการ

                2.2.1 การจัดตั้งกลไกการเจรจา

                        อาเซียนได้จัดตั้งคณะเจรจาอาเซียน (ASEAN Trade Negotiation Group: ASEANTNG) เพื่อเป็นเวทีประชุมหารือระหว่างอาเซียนเพื่อหาท่าทีร่วมกัน ส่วนอาเซียนและจีนได้จัดตั้งคณะเจรจาอาเซียน-จีน (ASEAN -China Trade Negotiating Committee: TNC) เพื่อเป็นเวทีการเจรจาระหว่างสองฝ่าย โดยอาเซียนได้มอบหมายให้ไทยเป็นหัวหน้าคณะเจรจาอาเซียน (ASEAN Chief Negotiator)

                2.2.2 การจัดทำกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนจีน (Framework  Agreement on Comprehensive Economic Co-operation between the Association of South East Asian Nations and the People's Republic of China)

                        อาเซียน-จีน ได้ตกลงให้จัดทำกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าอาเซียน-จีน โดยให้สอดคล้องกับข้อตกลงขององค์การการค้าโลกและจะครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน แบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ 1) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน 2) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ให้มีการลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที ก่อนการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Early Harvest)เป็นเรื่องหนึ่งของกรอบความตกลง (FA) ด้วย

                2.2.3. กรอบระยะเวลา

                        การค้าด้านสินค้า การเจรจาความตกลงในการลดหรือยกเลิกภาษี และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะเริ่มในช่วงต้นปี 2546 และจะเสร็จสิ้นประมาณวันที่ 30 มิถุนายน 2547 โดยจะเริ่มดำเนินการลดภาษีสินค้าในปี 2548 เพื่อที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ภายในปี 2553 สำหรับประเทศบรูไน ดารุสซาลาม จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย และภายในปี 2558 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)

                        การค้าบริการและการลงทุน การเจรจาจะเริ่มในปี 2546 และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด โดยให้มีการพิจารณากำหนดสาขาที่มีความอ่อนไหวของทั้งสองฝ่าย (Sensitive Sectors)และให้มีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างรวมทั้งให้ความยืดหยุ่นกับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ด้วย

     2.3 การดำเนินการ

                คณะเจรจาอาเซียน-จีน Asean-China Trade Negotiating Committee (TNC) ได้มีการเจรจากันแล้ว 6 ครั้งในปี 2545 โดยในครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 14-16 ตุลาคม 2545 ณ ประเทศสิงคโปร์ สรุปผลการเจรจา คือ คณะเจรจาอาเซียน-จีน ได้จัดทำร่าง Framework Agreement on Comprehensive Economic Co-operation between the Association of South East Asian Nations and the people's Republic of China (FA) เพื่อเสนอให้ผู้นำอาเซียนและจีนลงนามในการประชุม ASEAN - China Summit ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ประเทศกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

                        1) หลักการความตกลง FA เป็นกรอบความตกลงที่จะมีผลผูกพันประเทศอาเซียนและจีนในการเจรจาและจัดตั้งเขตการค้าเสรีต่อไป โดยครอบคลุมการค้าเสรีด้านสินค้า การค้าบริการและการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจสาขาต่าง ๆ

                        - การเปิดเสรีด้านสินค้า

                                ขอบเขตสินค้า

                                      การลดภาษีต้องให้ครอบคลุมการค้าส่วนใหญ่ (Substantially all Trade in Goods) โดยแบ่งรายการสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ Normal Track และ Sensitive Track ทั้งนี้รายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้นตามหลักการ WTO ไม่ต้องนำมาลดภาษี วิธีการลดภาษีในสินค้า 2 กลุ่มมีดังนี้

                                      1. Normal Track รายการสินค้าภายใต้  Normal Track จะมีอัตราภาษีสุดท้าย 2 อัตรา คือ 0% และไม่เกิน 5 % และจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อจำกัดรายการสินค้าที่มีอัตราภาษีสูงกว่า 0% ต่อไป

                                      2. Sensitive Track สินค้าภายใต้กลุ่มนี้ไม่มีการกำหนดวิธีการลดภาษี เพียงแต่กำหนดอัตราภาษีสุดท้าย แต่ควรมีจำนวนรายการไม่มากนัก

                        - ด้านการค้าบริการ

                                      ตกลงกันให้มีการเปิดเสรีให้ก้าวหน้ามากขึ้น(Progressively Liberalization) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 5 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยการบริการ (GATS) โดยยกเลิกหรือลดมาตรการที่เป็นการเลือกปฏิบัติทั้งหมดระหว่างกัน และห้ามใช้มาตรการที่เป็นการเลือกปฏิบัติใหม่ หรือมาตรการเลือกปฏิบัติที่มากขึ้นกว่าเดิม

                        ด้านการลงทุน

                                      ตกลงกันที่จะมีการส่งเสริมการลงทุน การสร้าง Investment Regime ที่แข่งขันเปิดกว้าง และมีความโปร่งใส ได้มีการเพิ่มเติมเรื่องการปกป้องการลงทุน (Protection of Investment) ไว้ด้วย

                                      - การลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest)

                                           วิธีการลดภาษี เป็นการลดภาษี MFN applied rates โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ

                                        จีนและอาเซียนเดิม 6 ประเทศ                                             อาเซียนใหม่ 4 ประเทศ

                            กลุ่ม 1 สินค้าที่มีอัตราภาษีสูงกว่า 15%                                    สินค้าที่มีอัตราภาษีสูงกว่า 30%

                            กลุ่ม 2 สินค้าที่มีอัตราภาษี5 - 15%                                           สินค้าที่มีอัตราภาษี 15 - 30%

                            กลุ่ม 3 สินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า 5%                                      สินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า 15%

สำหรับสินค้าที่มีโควตาภาษี (ตามข้อผูกพัน WTO) การลดภาษี Early Harvest เจาะจงเฉพาะภาษีในโควตาเท่านั้น โดยการนำเข้ายังมีโควตาควบคุมปริมาณการนำเข้าอยู่และภาษีนอกโควตายังคงเดิม

                        2) สูตรลดภาษี สำหรับจีนและอาเซียน 6 ประเทศ

                                                            ปี 2546                   ปี 2547                   ปี 2548

                                กลุ่ม 1                   10 %                        5 %                         0 %

                                กลุ่ม 2                     5 %                         0 %                         0 %

                                กลุ่ม 3                     0 %                         0 %                         0 %

                        3) สูตรลดภาษี เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่าจะได้รับความยืดหยุ่นมากกว่าประเทศสมาชิกเดิมของอาเซียน 6 ประเทศ(ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน) และจีน ทั้งในแง่ระยะเวลาและอัตราเริ่มลดภาษี แต่ทั้ง 4 ประเทศจะต้องลดภาษี Early Harvest ลงเป็น 0 % ในปี 2553 โดยขอบเขตสินค้า มี 2 ส่วน

                                3.1) สินค้าเกษตรทุกรายการใน Chapter 01 - 08 ได้แก่ Live Animals, Meat & Edible Meat Offal, Fish Dairy Products, Other Animal Products, Live Trees, Edible Vegetables, and Edible Fruit & Nuts

                                3.2) สินค้า Specific Products ซึ่งมีผลเฉพาะกับประเทศที่ตกลงกันสองฝ่ายเท่านั้นเช่น ไทยกับจีน ตกลงที่จะนำสินค้าเร่งลดภาษีอีก 2 รายการ คือถ่านหินแอนทราไซด์ และถ่านหินโค้ก เซมิโค้ก อินโดนีเซียนกับจีน มีน้ำมันมะพร้าว สบู่ และน้ำตาล เป็นต้น

    2.4 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation)

                ให้รวมโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะใน 5 สาขา ที่ผู้นำให้ความ

สำคัญ ได้แก่ เกษตรกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลงทุน และการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ มีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว 11 โครงการ2.5 สถานะล่าสุด

                2.4.1 เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

                        1) เมื่อวันที 4 พฤศจิกายน 2545 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา อาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ตามที่คณะเจรจาอาเซียน-จีน เสนอ โดยกรอบความตกลงฯ ดังกล่าวจะเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างอาเซียนและจีนในการดำเนินการเจรจาต่อไป

                        2) สำหรับ Early Harvest ระหว่างจีนกับไทย ได้เจรจาจบแล้ว โดยรวมสินค้าเกษตรทุกรายการภายใต้พิกัดศุลกากร 01 - 08 และได้ตกลงเพิ่มสินค้าเฉพาะ (Specific Products) จำนวน รายการได้แก่ ถ่านหินแอนทราไซด์ และถ่านหินโค้ก เซมิโค้ก เข้าร่วมเป็นสินค้ากลุ่มแรกที่จะลดภาษี ตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้แล้ว

                        สำหรับประเทศอาเซียนอื่นที่เจรจา Early Harvest กับจีนจบแล้ว ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไนฯ พม่า มาเลเซีย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ส่วนประเทศที่ยังเจรจาไม่จบได้แก่ พิลิปปินส์

                        3) ภายใต้ Early Harvest นอกจากการลดภาษีแล้ว อาเซียนและจีนยังตกลงที่จะเร่งรัด ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ  เช่น การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างคุนหมิงกับสิงคโปร์ ถนนเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับคุนหมิง และความตกลงให้มีการยอมรับร่วมกันในสาขาที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย เช่น สินค้าเกษตร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการจัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT)เป็นต้น

                        4) คณะเจรจาอาเซียน-จีน (Asean-China Trade Negotiating Committee:TNC) ได้มีการเจรจาครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2546 ณ กรุงกุ้ยหลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อกรอบการลดภาษีสินค้า Normal Track และ Sensitive Track ตามที่ระบุใน Framework Agreement และมีแนวคามคิดว่า ภาษีภายใต้ Normal Track ไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 20 ในปี 2548 และลดเหลือร้อยละ 0 - 5 ในปี 2553 ทั้งนี้สินค้าที่มีภาษี สูงกว่าร้อยละ 0 - 5 ต้องมีจำนวนไม่มากและจะต้องลดลงเหลือ ภายในระยะเวลาที่จะตกลงกันสำหรับภาษีภายใต้ Sensitive Track ที่ประชุมเห็นว่าควรจำกัดไม่ให้มีจำนวนมาก โดยจะได้มีการหารือเพื่อกำหนดกรอบการลดภาษีต่อไป ที่ประชุมยังเห็นชอบให้จัดตั้งWorking Groups ในด้าน Rules of Origin, Services, Investment โดยให้ทั้งสามกลุ่มจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุม TNC ต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมตกลงจะมีการประชุม TNC  อีก ครั้งในปีนี้ (เมษายนพฤษภาคมมิถุนายน,กรกฎาคมสิงหาคม และพฤศจิกายนซึ่งคาดว่าอาเซียนและจีนจะสามารถเสนอตารางข้อลดหย่อนภาษีต่อการประชุม AEM-MOFTEC ในเดือนกันยายน ศกนี้

                2.4.2 เขตการค้าเสรีไทย-จีน

                        1) ความเป็นมา  ในโอกาสที่เข้าร่วม Boao Forum For Asia ณ ประเทศจีน เมื่อเดือนเมษายน 2545 ผู้นำไทยและจีนได้ตกลงที่จะให้มีการเจรจาจัดตั้ง FTA ไทย-จีน และให้เริ่มจากสาขาที่มีความพร้อมก่อน ซึ่งไทยได้เสนอการเปิดเสรีกลุ่มผลไม้

                        2) กรอบการเจรจา  การเจรจา (FTA) ไทย-จีน ดำเนินไปควบคู่กับ FTA อาเซียน-จีน จึงต้องเจรจาให้สอดคล้องกัน รวมทั้งให้มี Early Harvest (EH) ด้วย ซึ่งไทยได้เสนอสาขาผักและผลไม้

                        3) สถานการณ์ล่าสุด   ฝ่ายไทยได้ยื่นร่างข้อตกลงให้ฝ่ายจีนพิจารณา และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือเร่งรัดฝ่ายจีนไปด้วยแล้ว แต่ฝ่ายจีนยังไม่สามารถลงนามในข้อตกลงที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2546 ได้ เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถดำเนินการได้

                2.4.3 การดำเนินการต่อไป 

                        ในปี 2546 ถึงกลางปี 2547 TNG และ TNC จะมีการประชุมหารือในรายละเอียด เพื่อเจรจากับจีน ในการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ ขั้นตอนการลดภาษี การลดมาตรการที่มิใช่ภาษี กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น เพื่อเตรียมพร้อมต่อการดำเนินการลดภาษีในปี 2548 รวมทั้งการพิจารณาการเปิดเสรีการค้าบริการและการการลงทุน เพื่อให้เป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ โดยจะมีการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) ขึ้นดูแลรับผิดชอบในแต่ละประเด็น ดังกล่าวด้วย

 

3. การค้าระหว่างประเทศของจีนกับไทย

    3.1 มูลค่าการค้ารวม

                มูลค่าการค้ารวมของประเทศจีนกับไทย ในปี 2545  มีมูลค่ารวม  8,557.54  ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2544  เป็นมูลค่า 1,341.22  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ  18.59  แบ่งเป็นการส่งออก  2,959.01  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  การนำเข้า  5,598.53  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ประเทศจีนขาดดุลการค้าไทย  ปี 2545  เป็นมูลค่าทั้งสิ้น  2,639.52  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  เพิ่มขึ้นจากปี  2544  ร้อยละ  19.48

การค้าระหว่างประเทศของประเทศจีนปี2545

จีน-ไทย

 

มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ

%เพิ่ม/ลด

มูลค่าการค้ารวม

8,557.54

18.59

ส่งออก

2,959.01

18.19

นำเข้า

5,598.53

18.79

ดุลการค้า

-2,639.52

19.48

 

ที่มา: World Trade Atlas –CHINA-January-December,2002


                จีนเป็นคู่ค้าอันดับที่  3  เป็นตลาดส่งออกอันดับที่  5  และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่  3 ของไทย

    3.2 การนำเข้า

                3.2.1 การนำเข้าจากประเทศไทย

                        1) ในปี 2545  ประเทศจีน  นำเข้าจากประเทศไทยมีมูลค่า  5,598.53  ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี  2544  เป็นมูลค่า  885.76  ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.79

                        2) การนำเข้าของประเทศจีนจากประเทศไทย  ปี  2545

 

มูลค่า :ล้าน-เหรียญสหรัฐฯ

สัดส่วน %

%เพิ่ม/ลด

แหล่งนำเข้า/สัดส่วน(ร้อยละ)

มูลค่าการนำเข้าจากไทย

5,598.53

100.00

18.79

 

1.เครื่องใช้ไฟฟ้า

1,247.87

22.29

38.06

ญี่ปุ่น22.23%,ไต้หวัน15.91%,เกาหลีใต้12.16%,สหรัฐฯ7.71%มาเลเซีย6.23%,(11)ไทย1.70%

2.เครื่องจักร

1,107.31

19.78

14.67

ญี่ปุ่น22.27%,ไต้หวัน12.24%,เยอรมันนี12.13%,สหรัฐฯ10.56%เกาหลีใต้5.92%,(10)ไทย2.12%

3.พลาสติกและผลิตภัณฑ์

774.62

13.84

16.56

ไต้หวัน23.52%,ญี่ปุ่น17.11%,เกาหลีใต้16.52%,สหรัฐฯ 7.20%สิงคโปร์5.41%,(6)ไทย4.46%

4.ยางพาราและผลิตภัณฑ์

490.73

8.77

21.09

(1)ไทย19.89%ญี่ปุ่น18.14%,ไต้หวัน12.54%,เกาหลีใต้7.79%มาเลเซีย6.73%,สหรัฐฯ6.21%

5.แร่และเชื้อเพลิง

348.40

6.22

4.28

ซาอุดิอาระเบีย12.74%,อิหร่าน10.76%,โอมาน 7.47%,เกาหลีใต้6.88%,รัสเซีย6.64%(16)ไทย1.80%

อื่น ๆ

1,629.60

29.10

13.22

 

 

การดำเนินนโยบายการค้าเสรี

 

                        3) สภาวะการนำเข้ากลุ่มสินค้าสำคัญ 5 กลุ่มของจีนจากประเทศไทยปี 2545 ได้แก่

สินค้า

อันดับที่

การนำเข้าจากไทย

มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สัดส่วน%

%เพิ่ม/ลด

นำเข้าจากแหล่งอื่นๆ/อัตราการขยายตัว
เพิ่ม/ลด

มูลค่าการนำเข้ารวม

 

5,598.53

00.00

18.79

 

1.กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

 

1,247.87

22.29

38.06

 

-แผงวงจรไฟฟ้า

10

532.64

9.51

33.31

ไต้หวัน94.56%,ญี่ปุ่น46.47%,มาเลเซีย91.78%,เกาหลีใต้49.75%,ฮ่องกง68.28%,ฟิลิปปินส์115.26%

-ไดโอดทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ

9

140.40

2.51

123.75

ญี่ปุ่น47.67%,ไต้หวัน44.87%,สหรัฐฯ166.01%,มาเลเซีย113.70%,เกาหลีใต้26.80%

-มอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้กำลังไม่เกิน37.5วัตต์

4

105.80

1.89

60.94

ญี่ปุ่น-2.29%,ฮ่องกง8.90%,ไต้หวัน11.43%,เยอรมนี20.24%,ฟิลิปปินส์8.91%,เกาหลีใต้1.65%

อื่น ๆ

 

469.03

8.38

24.80

 

2.กลุ่มสินค้าเครื่องจักร

 

1,107.31

19.78

14.67

 

-ส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับเครื่องใช้ในสำนักงานและเครื่องคอมฯ

5

658.72

11.77

-1.36

ไต้หวัน90.78%,ญี่ปุ่น42.51%,มาเลเซีย14.37%,สหรัฐฯ-19.37%

-เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน

8

300.42

5.37

94.61

สหรัฐฯ-5.21%,สิงคโปร์31.83%,เกาหลีใต้109.04%,ไต้หวัน73.83%,ญี่ปุ่น24.34%,ฟิลิปปินส์118.53%

-ตลับลูกปืนอิเล็กทรอนิคส์

3

52.67

0.94

30.21

ญี่ปุ่น15.73%,เยอรมนี32.84%,ไต้หวัน34.39%,สหรัฐฯ56.70%,สิงคโปร์6.04%,สวีเดน75.58%

อื่น ๆ

 

95.50

1.71

-7.34

 

3.กลุ่มเกษตรกรและอุตสาหกรรมการเกษตร

 

793.18

14.17

-2.36

 

3.1ยางพาราและผลิตภัณฑ์

 

490.73

8.77

21.09

 

-ยางธรรมชาติ

1

432.17

7.72

18.60

มาเลเซีย52.42%,เวียดนาม49.79%,อินโดนีเซีย-49.50%,กัมพูชา31.19%,ฟิลิปปินส์2.31%

-ยางสังเคราะห์

11

17.44

0.31

36.57

ไต้หวัน9.71%,ญี่ปุ่น18.12%,เกาหลีใต้1.41%,รัสเซีย55.26%,สหรัฐฯ10.58%

มูลค่าการนำเข้ารวม

 

5,598.53

00.00

18.79

 

-ด้ายและด้ายชนิดคอร์ดทำด้วยยางวัลแคไนซ์

2

14.89

0.27

14.19

มาเลเซีย39.25%,เกาหลีใต้63.85%,อินโดนีเซีย-63.24%,ไต้หวัน-4.40%,ญี่ปุ่น-2.79%,ฮ่องกง-40.37%

อื่น ๆ

 

26.23

0.47

74.17

 

3.2ผักผลไม้สด/แช่เย็น

 

114.17

2.04

-9.06

 

-มันสำปะหลังสด/แห้ง

1

113.49

2.03

-9.23

เวียดนาม40.58%,อินโดนีเซีย-26.94%,ญี่ปุ่น-51.03%,พม่า65.73%,อินเดีย112.63%

อื่น ๆ

 

0.68

0.01

33.33

 

3.3ธัญพืช

 

78.99

1.41

-21.25

 

-ข้าวเจ้า

1

78.95

1.41

-19.89

ไต้หวัน1,644.19%,ลาว-51.86%,ฮ่องกง-86.85%,ญี่ปุ่น123.37%,สหรัฐ-99.63%

อื่น ๆ

 

0.04

0.00

-97.73

 

3.4ผลไม้สด/แห้ง

 

70.52

1.26

-3.07

 

-ลำไย

1

28.18

0.50

14.60

เวียดนาม51.87%,สหรัฐฯ-14.15%

-ทุเรียน

1

26.24

0.47

n/a

………………….

-ฝรั่ง มะม่วง มังคุด

1

8.88

0.16

-1.99

ฟิลิปปินส์167.38%,เวียดนาม255.11%,ไต้หวัน55.59%,พม่า78.31%

อื่น ๆ

 

7.22

0.13

-81.53

 

3.5น้ำตาล

 

38.77

0.69

-64.26

 

-น้ำตาลดิบและน้ำตาลที่ได้จากอ้อย

3

34.73

0.62

-65.33

คิวบา5.29%,ออสเตรเลีย29.72%,เกาหลีใต้7.18%,แอฟริกาใต้-32.05%,สหราชอาณาจักร-59.99%

-กากน้ำตาล

1

2.57

0.05

-66.88

เวียดนาม–55.58%,ออสเตรเลีย -77.03%,ญี่ปุ่น-77.70%,มาเลเซีย-91.37%,เยอรมนี78.04%,สหรัฐฯ-84.15%

อื่น ๆ

 

1.47

0.03

162.50

 

4.กลุ่มสินค้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์

 

774.62

13.84

16.56

 

-เม็ดพลาสติกชนิด

Polymers of styrene in primary forms

4

223.97

4.00

-1.28

ไต้หวัน12.13%,เกาหลีใต้14.90%,ญี่ปุ่น21.86%,ฮ่องกง9.68%,มาเลเซีย9.81%,สิงคโปร์2.17%

-เม็ดพลาสติกชนิด

Polypropylene & Polyester in primary forms

6

133.65

2.39

75.67

ไต้หวัน20.55%,ญี่ปุ่น34.55%,เกาหลีใต้57.57%,สหรัฐฯ22.42%

-เม็ดพลาสติกชนิด

Ethylene in; primary forms

9

126.71

2.26

14.11

เกาหลีใต้-15.80%,สิงคโปร์42.70%,ซาอุดิอาระเบีย-9.58%,ไต้หวัน0.57%,ญี่ปุ่น11.24%

อื่น ๆ

 

290.29

5.19

15.84

 

5.กลุ่มสินค้าแร่และเชื้อเพลิง

 

348.40

6.22

4.28

 

-น้ำมันดิบ

19

150.95

2.70

210.85

ซาอุดิอาระเบีย27.78%,อิหร่าน-8.40%,โอมาน-9.75%,ซูดาน22.37%,แองโกลา50.64%

-ก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว

5

99.01

1.77

-44.65

ซาอุดิอาระเบีย32.29%,สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์25.98%,มาเลเซีย38.81%,คูเวต117.20%

-น้ำมันสำเร็จรูป

12

58.21

1.04

11.41

เกาหลีใต้-39.01%,สิงคโปร์33.58%,รัสเซีย40.66%,ญี่ปุ่น38.49%,มาเลเซีย43.59%,ไต้หวัน20.85%

อื่น ๆ

 

40.23

0.72

-26.07

 

อื่น ๆ

 

1,327.15

23.70

28.58

 

 

หมายเหตุ N/A =ไม่มีสถิติการนำเข้าจากไทย ปี2544 (มค.-ธค.)

ที่มา: World Trade Atlas-China -import from THAILAND -January-December -, 2002

 

                3.2.2 สภาวะแหล่งนำเข้า 10 อันดับแรกของจีน

                       -  แหล่งนำเข้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น  ได้แก่  ญี่ปุ่นไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์

                       -  แหล่งนำเข้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่มีส่วนแบ่งตลาดลดลงได้แก่  สหรัฐอเมริกา เยอรมนี  ฮ่องกง รัสเซีย ออสเตรเลีย และไทย

 

แหล่งนำเข้า

มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ส่วนแบ่งตลาด%

2544(มค.-ธค.)

2545(มค.-ธค.)

2544(มค.-ธค.)

2545(มค.-ธค.)

โลก

243,567.05

295,302.91

100.00

100.00

1.ญี่ปุ่น

42,810.26

53,489.04

17.58

18.11

2.ไต้หวัน

27,344.25

38,082.48

11.23

12.90

3.เกาหลีใต้

23,395.72

28,580.98

9.61

9.68

4.สหรัฐอเมริกา

26,203.59

27,227.90

10.76

9.22

5.เยอรมนี

13,694.81

16,433.80

5.62

5.57

6.ฮ่องกง

9,423.53

10,787.90

3.87

3.65

7.มาเลเซีย

6,205.50

9,295.47

2.55

3.15

8.รัสเซีย

7,958.94

8,405.45

3.27

2.85

9.สิงคโปร์

5,143.25

7,054.38

2.11

2.39

10.ออสเตรเลีย

5,430.00

5,851.79

2.23

1.98

11.ไทย

4,712.77

5,598.53

1.94

1.90

อื่น ๆ

71,244.43

84,495.19

29.23

28.60

 

    3.3 การส่งออก

                3.3.1 การส่งออกไปประเทศไทย

                        1) ในปี 2545 ประเทศจีนส่งออกไปประเทศไทยมีมูลค่า 2,959.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 เป็นมูลค่า 455.46 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.19

                        2) สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ประเทศจีน ส่งออกไปประเทศไทย ปี 2545

 

มูลค่า :ล้าน-เหรียญสหรัฐฯ

สัดส่วน %

%เพิ่ม/ลด

ส่งออกสำคัญ/สัดส่วน(ร้อยละ)

มูลค่าการส่งออกไปไทย

2,959.01

100.00

18.19

 

1.เครื่องใช้ไฟฟ้า

828.17

27.99

42.78

ฮ่องกง21.96%,สหรัฐฯ21.77%,ญี่ปุ่น13.07%,เยอรมนี4.93%,เกาหลีใต้4.80%, (12)ไทย1.27%

2.เครื่องจักร

737.01

24.91

16.76

สหรัฐฯ23.71%,ฮ่องกง22.23%,ญี่ปุ่น11.09%,เนเธอร์แลนด์6.03%,เยอรมนี3.50%, (11)ไทย1.45%

3.เคมีภัณฑ์อนินทรีย์

110.85

3.75

13.21

ญี่ปุ่น18.54%,สหรัฐฯ15.55%,เกาหลีใต้8.91%,อินโดนีเซีย4.41%, (5)ไทย3.66%,ไต้หวัน3.63%

4.เคมีภัณฑ์อินทรีย์

93.58

3.16

8.34

สหรัฐฯ14.91%,อินเดีย9.76%,ญี่ปุ่น7.88%,เยอรมนี7.05%,เกาหลีใต้6.83%, (15)ไทย1.68%

5.เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

80.83

2.73

22.14

เกาหลีใต้19.16%,ญี่ปุ่น14.23%,สหรัฐฯ10.53%,ฮ่องกง10.01%,ไต้หวัน7.85%, (5)ไทย3.50%

อื่น ๆ

1,108.57

37.46

6.41

 

 

ที่มา: World Trade Atlas-China-export to THAILAND-January-December, 2002

 

การดำเนินนโยบายการค้าเสรี

 

                3.3.2 สภาวะตลาดส่งออก 10 อันดับแรก ของจีน

                        1)  ตลาดที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน และมาเลเซีย

                        2) ตลาดที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่มีส่วนแบ่งตลาดลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และไทย

ตลาดส่งออก

มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ส่วนแบ่งตลาด%

2544

2545

2544

2545

โลก

266,661.11

325,642.07

100.00

100.00

1.สหรัฐอเมริกา

54,318.91

69,959.40

20.37

21.48

2.ฮ่องกง

46,502.52

58,483.26

17.44

17.96

3.ญี่ปุ่น

45,078.18

48,483.03

16.91

14.89

4.เกาหลีใต้

12,544.37

15,507.99

4.70

4.76

5.เยอรมนี

9,759.36

11,381.97

3.66

3.50

6.เนเธอร์แลนด์

7,293.55

9,070.18

2.74

2.79

7.สหราชอาณาจักร

6,783.63

8,058.57

2.54

2.48

8.สิงคโปร์

5,794.98

6,968.80

2.17

2.14

9.ไต้หวัน

5,005.79

6,589.65

1.88

2.02

10.มาเลเซีย

3,223.36

4,975.42

1.21

1.53

18.ไทย

2,503.55

2,959.01

0.94

0.91

อื่น ๆ

67,852.91

83,204.79

25.44

25.54

 

ที่มา: World Trade Atlas - CHINA Imports from THAILAND January - December,2002

 

    3.4 ข้อสังเกต

                1) สินค้านำเข้าสำคัญของประเทศจีน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร แร่และเชื้อเพลิง พลาสติกและผลิตภัณฑ์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์ การถ่ายรูปและภาพยนตร์

                2) สินค้าส่งออกสำคัญ ของประเทศจีน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องนุ่งห่ม-ผ้าทอ เครื่องนุ่งห่ม-ผ้าถัก ของเล่น เครื่องกีฬาและส่วนประกอบ

                3) ปัจจุบันจีนนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 11 สัดส่วนร้อยละ 1.90 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 18 ของจีน สัดส่วนร้อยละ 0.91

                4) จากสถิติการส่งออกของไทย ในปี 2545 จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 5 ของไทย มีมูลค่าการส่งออก 3,544.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.17 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่และเชื้อเพลิง ยางพาราและผลิตภัณฑ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์

                5) สินค้าส่งออกไปยังจีน ที่สามารถครองตลาดจีนได้มากเป็นอันดับ1 ได้แก่ยางธรรมชาติ มันสำปะหลังสด/แห้ง ข้าวเจ้า ลำไย ทุเรียน ฝรั่ง มะม่วงและมังคุด และกากน้ำตาล รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่ ด้ายและด้ายชนิดคอร์ดทำด้วยยางวัลแคไนซ์

                        5.1) สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปจีน ได้แก่

                                - แผงวงจรไฟฟ้า ในปี 2545 จีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 532.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.31 และสินค้านี้มีจีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยในปี 2543 จีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 319.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2544 มีมูลค่า 399.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

                                - เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน จีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 300.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 94.61 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจาก สหรัฐอเมริกา ลดลง

                                - ไดโอดทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ในปี 2545 จีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 140.40ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 123.75

                                - มอเตอร์ไฟฟ้า (ที่มีกำลังขับไม่เกิน 37.5 วัตต์จีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 105.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.94 และสินค้านี้ไทยสามารถครองตลาดเป็นอันดับ 4 ในปี 2545 (จากอันดับที่ 6 ในปี 2544) อีกทั้งจีนยังนำเข้าจากไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยในปี 2543 จีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 38.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯและ ในปี 2544 มีมูลค่า 65.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจาก ญี่ปุ่นลดลง

                                - ลำไย จีนนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 28.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.60 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ลดลง

                        5.2) กลุ่มสินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มสินค้าเครื่องจักร กลุ่มสินค้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์ กลุ่มสินค้าแร่และเชื้อเพลิง

                        5.3) สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนลดลง ได้แก่ กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

 

4.ผลกระทบและปัญหา/อุปสรรค

    4.1 ผลกระทบ

                การจัดทำเขตการค้าเสรีในเบื้องต้น อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อมาตรการการนำเข้าสินค้าของไทยในกลุ่ม Early Harvest ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าสินค้า 01 - 08 ดังนี้

                1. สัตว์มีชีวิต (พิกัดฯ 01)

                        สินค้าในกลุ่มนี้ไทยมีการค้าขายที่เกินดุล 148 ล้านบาท ถ้ามีการลดภาษีเหลือ 0% จะมี การนำเข้าโคและกระบือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้เลี้ยงโคภายในประเทศ และในปัจจุบันไทยยังมีปัญหาในเรื่องตะพาบน้ำกับจีนอยู่

                        มาตรการนำเข้าของไทยปัจจุบันใช้การกักกันที่ด่านโดยมีข้อกำหนดเรื่องโรค ในขณะที่จีนห้ามนำเข้า ซึ่งไทยควรพิจารณาเรื่อง Health Certificate และการปลอดโรคด้วย

                2. เนื้อสัตว์ใช้บริโภค (พิกัดฯ 02)

                        เนื้อสัตว์บริโภคปัจจุบันได้มีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า มีการค้าขายที่เกินดุลประมาณ 233 ล้านบาท เมื่อลดภาษีเหลือ 0% อาจมีแนวโน้มการนำเข้าสูงขึ้น แต่ในทางกลับกันไทยอาจสามารถส่งออกเนื้อไก่แช่แข็งเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ไทยควรที่จะกำหนดมาตรการให้มีหนังสือรับรองและตรวจโรงงานที่จะอนุญาตนำเข้าด้วย

                3. สินค้าประมง (พิกัดฯ 03)

                        สินค้ากลุ่มนี้มีการค้าที่เกินดุล 500 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกได้มากขึ้นคือ กุ้งแช่แข็ง ปลาสด ปลาหมึกสด และสินค้าที่มีแนวโน้มการนำเข้าจากจีนมากขึ้น คือ ปลาแซลมอน ไทยควรกำหนดมาตรการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างเฉพาะโดยเฉพาะกุ้งซึ่งควรมีมาตรการในการตรวจสอบสินค้าที่ชัดเจนเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องสารตกค้าง และสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ประกอบกับต้องมีใบรับรอง

                4. ผลิตภัณฑ์นม (พิกัดฯ 04)

                        สินค้าในหมวดนี้มีการค้าที่เกินดุล 12.37 ล้านบาท เมื่อมีการลดอัตราภาษีเหลือ 0% อาจมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากสัตว์ที่บริโภคได้ และนมผงไม่เติมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศ ดังนั้นควรมีมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้าดังกล่าวที่อาจด้อยคุณภาพเข้ามาในประเทศไทย โดยจะต้องมีการสุ่มตรวจประกอบกับการพิจารณาจากใบรับรอง

                5ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ (พิกัดฯ 05)

                        สินค้าในกลุ่มนี้ไทยส่งออกน้อย ซึ่งไทยขาดดุลการค้ากับจีน 246 ล้านบาท ยกเว้นสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปลาหรือ ครัสตาเซียน กระเพาะปลา ที่อาจนำเข้ามากขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศได้ในอนาคต ดังนั้นควรพิจารณาถึงความเสี่ยงทางด้านสุขอนามัยของผู้บริโภค และกำหนดมาตรการการนำเข้าที่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องใบรับรอง สำหรับการนำเข้าหนังสัตว์ โค กระบือ ไม่มีผลกระทบต่อการผลิต เนื่องจากปัจจุบัน วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกยังไม่เพียงพอความต้องการของโรงงานฟอกหนัง

                6ต้นไม้และพืชอื่น ๆ มีชีวิต (พิกัดฯ 06)

                        สินค้ากลุ่มนี้มีการค้าเกินดุล 15.44 ล้านบาท เมื่อมีการลดภาษีเหลือ 0% อาจมีการนำเข้าดอกไม้สด ใบไม้ กิ่งแห้งย้อมสี ดอกไม้แห้งย้อมสีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดภายในประเทศมีแนวโน้มต้องการดอกไม้สดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาดอกไม้ที่ผลิตในประเทศมีราคาตกต่ำและมีผลกระทบกับผู้ผลิตภายในประเทศ ไทยมีมาตรการนำเข้าโดยควรพิจารณาเรื่องความเสี่ยงทางด้านการเป็นพาหะนำโรคและแมลงศัตรูพืชเป็นหลัก และทำการสุ่มตัวอย่าง

                7. พืชผักใช้บริโภค (พิกัดฯ 07)

                        สินค้าพิกัดนี้ไทยมีการค้าเกินดุล 1,432 ล้านบาท สำหรับ สินค้าไทยที่อาจได้รับผลกระทบต่อภาษีนอกโควตาคือ มันฝรั่ง กระเทียม หอมหัวใหญ่ และพืชประเภทข้าว ถั่ว และผักแช่แข็ง หัวผักกาดสด หรือแช่เย็นและผักผสม เห็ดแห้งและบรอดบีนแห้ง มีแนวโน้มนำเข้ามากขึ้นในอนาคต ซึ่งควรมีมาตรการในการตรวจโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งสารตกค้าง ซึ่งจะต้องมีใบรับรองศัตรูพืชประกอบการนำเข้าและการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า มาตรการนำเข้าจากจีนในส่วนของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีปัญหาในทางปฏิบัติ คือ อาจทำให้เกิดแมลงเมื่อถึงประเทศจีนแล้ว 

                8. ผลไม้ (พิกัดฯ 08)

                        สินค้าในกลุ่มนี้ไทยมีการค้าเกินดุล 683 ล้านบาท ขณะนี้ลำไยแห้งอยู่ระหว่างการผ่อนผันให้มีการนำเข้าได้ชั่วคราว เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสารตกค้างซัลเฟอร์ไดออกไซด์  ที่ใช้ในการรมลำไยจนกว่าทั้งสองฝ่ายหาข้อยุติในเรื่องนี้ได้ สำหรับผลไม้ที่นำเข้าจากจีนมาก ได้แก่ แอปเปิ้ล และสาลี่เป็นผลไม้เมืองหนาว ซึ่งอาจมีการนำเข้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและจำหน่ายผลไม้ของไทยชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลไม้เมืองร้อน แต่ผลไม้ไทยที่จะส่งไปจำหน่ายได้มีหลายประเภท ได้แก่ ทุเรียน มังคุด มะม่วง และอาจมีอุปสรรคทางการค้า ซึ่งจีนแต่ละมณมณฑลจะมีระเบียบการดูแลที่แตกต่างกันไป สำหรับไทยควรมีมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับมาตรการนำเข้าในเรื่องตรวจสอบโรคและแมลงที่อาจติดมากับสินค้า รวมทั้งสารตกค้าง ซึ่งควรมีการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า โดยเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค

    4.2 ปัญหา/อุปสรรค

                1) ไทยมีความเสียเปรียบในเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคล (Income Tax) ซึ่งจัดเก็บในอัตรา 30 % นอกจากนี้ก็ยังมีภาษีอื่น ๆ อีก ในขณะที่ประเทศอื่นเก็บเพียง 24%

                2) ในขณะนี้สินค้าที่ประเทศจีนส่งออกไปขายทั่วโลกส่วนใหญ่จะมีราคาถูกกว่าราคาสินค้าที่ขายในประเทศนั้นมากกว่า 10% เนื่องจากสินค้าจากประเทศจีนสามารถตั้งราคา โดยไม่ต้องมีราคาต้นทุน เนื่องจากการลงทุนมาจากรัฐบาล

                3) มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barrier) ของจีนเข้มงวดมาก เช่น การตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานด้านสุขอนามัยโรคพืชและแมลง การลดภาษีภายใต้ FTA จึงไม่มีผลต่อการขยายการค้าต่อไทยเท่าที่ควร

                4) ประเทศจีนกำหนดให้ใช้กฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดจากแนวทางใดแนวทางหนึ่งดังนี้

                        - Substantial Transformation โดยกำหนดการได้แหล่งกำเนิดสินค้า จากการผลิตในระดับที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพิกัดในระดับ 4 Digit

                        -  การผลิตสินค้านั้น ๆ จะต้องมีมูลค่าเพิ่มเกินร้อยละ 30 ซึ่งหากสินค้าใดไม่สามารถผลิตได้ตามที่กำหนดจะต้องชำระอัตราภาษีที่สูงกว่า ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้มีการควบคุมในลักษณะดังกล่าว ในทางกลับกันประเทศไทยมีอัตราภาษีที่จัดเก็บเป็นการทั่วไปกว่ากรอบ WTO เป็นส่วนใหญ่ และบางกรณีก็มีอัตราต่ำกว่าอัตราตามกรอบ AFTA

 

5. บทสรุป

                การจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) นับว่ามีบทบาทสำคัญในทางการค้าระหว่างประเทศของไทยในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพันธมิตรทางการค้า ลดการกีดกันทางการค้า(และรวมถึงการลงทุนทั้งในรูปแบบของภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกันลง ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เกิดการค้าบริการที่ตนมีความได้เปรียบ และพยายามจะลดหรือเลิกผลิตสินค้าและบริการที่ไม่สามารถแข่งขันได้หรือมีความได้เปรียบน้อย ในขณะนี้แม้ผลของการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ แต่กระทบก็เริ่มเห็นกันบ้างแล้ว เช่น การที่มีสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเริ่มเข้ามาตีตลาดไทยมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน ซึ่งได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องประดับเทียม และรองเท้า  เป็นต้น

                ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในด้านเศรษฐกิจนั้น เรียกได้ว่าเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งขันในส่วนของคู่ค้านั้นจะเห็นว่าไทยมีการส่งออกและนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การส่งออกของไทยมีการขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ นอกจากนี้จีนยังเป็นแหล่งลงทุนของนักลงทุนชาวไทย และเป็นแหล่งการผลิตที่สำคัญสำหรับสินค้าหลายอย่าง ตั้งแต่สิ่งทอจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในอีกด้านหนึ่งนั้น จีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย ซึ่งสามารถมองได้ ด้าน ด้านแรกคือ การแข่งขันในตลาดโลก เนื่องจากจีนมีค่าแรงต่ำและมีแรงดึงดูดให้นักลงทุนจากบริษัทสำคัญเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลกมุ่งเข้าไปลงทุน ดังนั้นต้นทุนการผลิตสินค้าในจีนจึงได้เปรียบสินค้าจากไทย (โดยเฉพาะในสินค้าที่เน้นราคาถูก และผลิตเป็นจำนวนมากด้านที่สอง คือ การแย่งชิงตลาดกันเอง เช่นกรณีที่จีนส่งสินค้าราคาถูกมาขายในไทย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผลกระทบในด้านการเป็นคู่แข่งขันระหว่างไทยกับจีนนี้ ถ้ามองในแง่ลบ คือ การเสียตลาดการค้าระหว่างประเทศ หรือบางรายต้องเลิกกิจการไปเพราะไม่สามารถแข่งขันได้ แต่ในแง่บวกคือ ทำให้ผู้ประกอบการ(และรัฐบาลไทยต้องเร่งปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น

                การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีนนั้น จะเห็นได้ว่าในขณะนี้ไทยได้จัดทำข้อตกลงเป็น ข้อตกลง คือ เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และเขตการค้าเสรีไทย-จีน ซึ่งจีนให้ความสำคัญของการทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน มากกว่า โดยได้ร่วมลงนามจัดทำกรอบความแตกต่างว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ซึ่งกรอบการเจรจาจะลดภาษีในพิกัดอัตราอากรขาเข้า 01-08 เกี่ยวกับการลดภาษี สินค้ากลุ่มแรกภายใต้ Early Harvest ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ใช้บริโภคสินค้าประมง ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ ต้นไม้และพืชอื่น ๆ มีชีวิต พืชผักใช้บริโภค และผลไม้ โดยจะลดภาษีภายในวันที่ มกราคม 2547 ลงถึง 0 % ภายใน พ..2549 แต่ในทางกลับกัน ไทยให้ความสำคัญกับเขตการค้าเสรีไทย-จีน มากกว่า โดยพยายามที่จะให้จีนลดภาษีในข้อตกลงไทย-จีน ในสินค้าผลไม้ภายในเดือนมิถุนายน 2546 นี้ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากทางการจีนขอเลื่อนออกไปภายในปี 2546 นี้

                ในการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน/ไทยจีนนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยชุดปัจจุบันจะมีนโยบายให้ราชการและเอกชนดำเนินการตาม โดยที่ทั้งสองภาคนั้นยังไม่มีความพร้อมก็ตาม แต่จะเห็นได้ว่าการทำเขตการค้าเสรีในแง่สินค้าเกษตรจะมีความเกื้อกูลกันอย่างมาก เพราะว่าจีนมีการนำเข้าสินค้าจากนำเข้าจากจีนส่วนใหญ่เป็นพวกผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล ข้าวโพด ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจีนมีอัตราภาษีนำเข้าสูงกว่าไทย และมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) มากกว่าไทย เพราะฉะนั้นไทยค่อนข้างจะได้เปรียบในการทำเขตการค้าเสรีสินค้าเกษตร แต่ยังมีอุปสรรคที่ต้องแก้ไข ส่วนในด้านสินค้าอุตสาหกรรมไทยอาจจะได้ประโยชน์น้อย เนื่องจากรัฐบาลจีนให้การอุดหนุนการผลิตแก่ผู้ประกอบการโดยเน้นการผลิตขนาดใหญ่ (Mass Product) จีนมีการผลิตไป ทิ้งไปได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากหากสินค้าใดไม่ได้มาตรฐานในการส่งออก ก็มีตลาดภายในรองรับได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นการผลิตขนาดใหญ่ดังกล่าวยังเป็นผลให้สินค้าราคาถูกแล้ว การผลิตครั้งเดียวสามารถผลิตได้ปริมาณมากตามความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย สำหรับประเทศไทย สินค้าอุตสาหกรรมบางอย่างต้องการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูก จีนจะเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกของไทยต่อไปอีกด้วย