กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา

โรงเรียนอนุบาลพนมทวน(วัดรางหวาย) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนระดับปฐมวัยได้สัมผัสกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมระหว่างในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 โดยได้รับเกียรติจาก นายวิรัช กุ้ยอ่อน ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรมครั้งนี้บรรยากาศในการดำเนินกิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการด้วยดี

ความเป็นมาของโครงการ
    โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปีพ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย industrial shots.

วัตถุประสงค์
• ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัย ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
• ให้เด็กได้ฝึกการสังเกต รู้จักคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
• วางรากฐานระยะยาวในการสร้างนักวิทยาศาสตร์วิศวกรและทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
• สร้างผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ที่ช่วยผลักดันให้โรงเรียนตื่นตัวและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตลอดเวลา
• พัฒนาคุณภาพครูด้านเทคนิคการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
ปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่อง จำนวนประมาณ 200 แห่ง จาก
ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) 8 เครือข่าย ดำเนินการตามแนวทาง “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศเยอรมนี”
ปีที่ 2 โครงการฯ เริ่มขยายผลไปยังพื้นที่อื่น โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อถ่ายทอดกระบวนการดำเนินโครงการให้แก่โรงเรียนที่สนใจ

ด้านคุณภาพ
1. เด็กในระดับอนุบาลรู้จักวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองอย่างง่ายและมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์
2. เด็กในระดับอนุบาลได้รับการถ่ายทอดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
3. เด็กในระดับอนุบาลได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่างๆ ดังนี้
- ทักษะด้านการเรียนรู้ : สามารถเรียนรู้วิธีคิด วิธีตั้งคำถามและการค้นหาคำตอบได้
- ทักษะด้านการสื่อสารทางภาษา : สามารถสื่อสารความคิดต่างๆ ออกมาเป็นถ้อยคำที่ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้
- ทักษะด้านสังคม : สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีและสามารถสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ได้
- ทักษะด้านร่างกาย : ได้ฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อขณะทำการทดลองต่างๆ

กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา


��ٺ�ҹ�͡�ͷ��� ���䫵�ͧ��ٵ������ ��˹�� �����ѧ��§ ���繪�ͧ�ҧ㹡��������� �š����¹ �����ٹ������� ������������ ���ѹ���µ���˵ء�ó���س��� ��黯Ժѵԧҹ㹷ء��鹷��ͧ������� ���ͤ�����ԭ�͡���㹻ѭ�� �����ԭ����˹����ԪҪվ

��纹���͡��Դ����� 5 ���Ҥ� 2548

Email : [email protected]
Tel : 081-3431047

กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา

สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ โดย นายประสิทธิ์ พิเศษ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนระดับประถมศึกษา      ให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑

เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕  นายประสิทธิ์ พิเศษ รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบูรณาการกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา เข้ากับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) พัฒนาครูระดับประถมศึกษาให้สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติการ (Hands-on) ตามปรัชญาการเรียนรู้ของโครงการซึ่งได้แก่การเรียนรู้ร่วมกัน (CO-Construction) และการรู้คิด (Meta-Cognition) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา วิทยากรผู้ให้ความรู้ นางจุติมาพร เชียงกา ศึกษานิเทศก์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network : LN) นางระเบียบ เกตุชาติ ครูโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” วิทยากรท้องถิ่น (Local Trainer : LT) และทีมวิทยากรผู้ช่วยจากโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑

กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประถมศึกษา

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กในระดับชั้นประถมศึกษา ได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร ส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ของเด็กประถมศึกษา ได้ฝึกการสังเกต รู้จัดคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยการ การเรียนรู้และจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ภายใต้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทดลองนำร่องขยายโครงการสู่ระดับประถมศึกษากับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๘๓ เขตพื้นที่การศึกษา ในปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔  ใช้รูปแบบการบริหารโครงการเช่นเดียวกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับปฐมวัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย สามารถส่งเสริมกระบวนการคิดให้กับนักเรียน พัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนในโครงการทั้งสิ้น จำนวน ๒๐ โรงเรียน โดยมีโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” ซึ่งเป็นโรงเรียนแกนนำของโครงการ