เฉลย ใบงานที่ 5.1 ภูมิภาค เอเชีย ตะวันออก

ใบงานที่ 5.1

ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์

เฉลย ใบงานที่ 5.1 ภูมิภาค เอเชีย ตะวันออก

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1.  ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง

          ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 11 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์-เลสเต

     2.  ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ในบริเวณใด มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใดบ้าง

           ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 10 องศาใต้ที่ติมอร์-เลสเต กับละติจูด 28 องศาเหนือที่ ภาคเหนือของพม่า และลองจิจูด 92 องศาตะวันออกที่ภาคตะวันตกของพม่า กับลองจิจูด 141 องศาตะวันออก บริเวณชายแดนอิเรียนจายา (อินโดนีเซีย) กับปาปัวนิวกินี 

มีทำเลที่ตั้งและอาณาเขต คือ ทิศเหนือ ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศตะวันตก ติดต่อกับอินเดีย        บังกลาเทศ และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแปซิฟิกและประเทศปาปัวนิวกินี และทิศใต้จดทะเลติมอร์ และทะเลอะราฟูรา                                                                                                  

     3.  ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

           แบ่งออกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

             1) เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในกัมพูชาและลาว ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในไทย เป็นต้น

             2) บริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล คาบสมุทร เกาะ และหมู่เกาะ เช่น ชายฝั่งทะเลตอนใต้ และตะวันตกของพม่า      

ประเทศที่เป็นเกาะ คือ สิงคโปร์ และหมู่เกาะ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

3) เขตที่ราบสูง เช่น ที่ราบสูงทางตะวันออกของพม่า เป็นต้น 

4) เขตเทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เทือกเขาที่มีขนาดไม่สูงใหญ่มากนักและเป็นบริเวณที่เปลือกโลกสงบตัว จึงไม่เกิดแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด เช่น เขตเทือกเขาในรัฐฉานของพม่า และเขตเทือกเขาที่มี ขนาดสูงใหญ่และเปลือกโลกยังเคลื่อนไหวอยู่ จึงเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด เช่น เทือกเขาในเกาะสุมาตรา เกาะชวาในอินโดนีเซีย และเทือกเขาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นต้น 

    4.  ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบใด

            เป็นแบบร้อนชื้นและอยู่ในเขตมรสุม นอกจากนี้ยังมีลมพายุไต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้และลมพายุไซโคลน  จากอ่าวเบงกอลพัดผ่านเข้ามา ทำให้เกิดลมแรงและฝนตกหนักในบางประเทศ เช่น ไทย ลาว เวียดนาม เป็นต้น 

     5.  ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ส่งผลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไรบ้าง

           ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน จึงเป็นจุดแวะพักของเรือสินค้า พ่อค้าต่างชาติ  บางส่วนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่อกัน ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของชุมชนในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีชุมชนหลายแห่งที่เติบโตจนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เช่น มะละกา ปัตตาเวียนครศรีธรรมราช เป็นต้น