แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ


เทคโนโลยีคือ ?

1. ความหมายของเทคโนโลยี

   คือ วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม


2. ระบบทางเทคโนโลยี

    ระบบเทคโนโลยี (Technological System) คือระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยระบบเทคโนโลยี มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังภาพ

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ




จากแผนภาพดังกล่าว สามารถอธิบายได้ดังนี้    
1. ตัวป้อน (Input) คือ ปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือ ความต้องการของมนุษย์   
2. กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process) คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือการตอบสนองความต้องการ โดยอาศัยทรัพยากรทางเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลผลิตหรือผลลัพธ์    
3. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output หรือ Outcome) คือ สิ่งทีไ่ด้มา หรือเกิดขึ้นจากกระบวนการเทคโนโลยี หรือผลที่ได้จากกระบวนการแก้ปัญหานั่นเอง โดยผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่ได้จากระบวนการเทคโนโลยี(กระบวนการแก้ปัญหา)นี้อาจ เป็น ชิ้นงาน (Product) หรืออาจเป็นวิธีการ (Methodology)    
4. ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resource) คือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลลัพธ์นั่นเอง ซึ่งทรัพยากรทางเทคโนโลยี แบ่งได้ 7 ด้าน ได้แก่ คน ข้อมูลและสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ พลังงาน ทุนหรือทรัพย์สิน และเวลา    
5. ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Constraints) คือ สิ่งที่เป็นข้อจำกัด ข้อพิจารณา หรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาได้ผลงานแตกต่างกันไป เช่น มีทุนน้อย มีเวลาจำกัด ไม่มีความรู้หรือความชำนาญ ขาดทักษะและความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

3. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

   เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ
ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไ
ปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็ม

ที่ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้

   

   1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน   

   2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ

   3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ

   4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก

   5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ

   6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

   7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ

4. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

  • เทคโนโลยีเป็นวิชาที่ไม่อยู่ตามลำพังเพียงวิชาเดียว
  • ร่วมกับวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์เศรษฐศาสตร์
  • เทคโนโลยีต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องใช้ที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์
  • วิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเครื่องมือที่สร้างจากเทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง

2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์ การเรียนรู้การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษา ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของวิทยาศาสตร์

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ
   3.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์  เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์เข้าใจประวัติความเป็นมาของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งช่วยกำหนดอนาคตและความเป็นอยู่ของมนุษย์

4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการศึกษา ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก

5.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรกรรมในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน

6. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการผลิต การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลิตได้ปริมาณมากขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

7. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ มีการใช้เทคโนโลยีมาปรับปรุงเส้นทางขนส่งเพื่อหาเส้นทางขนส่งที่ต้นทุนต่ำสุดทำให้การจัดส่งไม่ผิดพลาดเสียหายและทันเวลา เทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น เทคโนโลยี GIS

5.เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

เทคโนโลยีท้องถิ่น

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ
     เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้  ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีที่นำเข้า

   แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย  ดังนี้
   1)  เทคโนโลยีการเกษตร  ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช  การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก  เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย มาช่วยทุ่นแรงในการ ทำไร่นา
   2)  เทคโนโลยีชีวภาพ มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด 
   3)  เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม มีการนำเข้าเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม เคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบ จากต่างประเทศ  
  4)  เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม เป็นต้น
  5)  เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน และอนาคต   ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต  เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยี ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศแทบทั้งสิ้น
  6)  เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ   เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ
 7)  เทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค) ได้แก่  อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์  หุ่นยนต์  เป็นต้น
 8)  เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ นับเป็นกำลังสำคัญ ในการผลักดันความก้าวหน้า ด้านอุตสาหกรรม เป็นอย่างมา

6. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ    

เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ

                                                                                   เทคโนโลยีกับบทบาทการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ


2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการศึกษา


      2.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI 

      2.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference)   

      2.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก 

      2.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 

      2.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้

ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ

                                                                       เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข

   เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน

4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย 

4.3สามารถให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้าหรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้

4.4เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ

4.5เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบายและติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น 

4.6ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียนการสอนทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะดาวเทียมจะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุขเป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ

                                                                การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการแพทย์โดยการสามารถให้คำปรึกษาทางไกล 



ผังมโนทัศน์ของเทคโนโลยี

แผนภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับศาสตร์อื่น ๆ




อ้างอิง

https://sites.google.com/site/photchanan1818/thekhnoloyi-sarsnthes-kab-kar-phathna-prathes

https://sites.google.com/a/srp.ac.th/srp30942/2-khwam-sakhay-laea-bthbath-khxng-thekhnoloyi-1

https://sites.google.com/site/mrwissarutjanda/page0

https://sites.google.com/site/withyasastrkabthekhnoloyi2121/rabb-khxng-thekhnoloyi