Cacl เต มเพ อสร างความแข งแรงให ฟ ล ม

แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหรรมการเกษตร เป็นสารที่ดูดซับความชื้น และละลายได้ดีในน้ำ เกลือแคลเซียมคลอไรด์ ในรูปที่ปราศจากน้ำละลายได้ในน้ำประมาณ 59 กรัมต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ขณะที่ละลายจะคายความร้อนออกมาด้วย แคลเซียมคลอไรด์ใช้ประโยชน์เป็นสารเติมแต่งอาหารและเป็นสารช่วยให้ผักและผลไม้มีเนื้อสัมผัสแข็ง (firming agent) นิยมใช้กับผลไม้ก่อนนำไปบรรจุกระป๋อง เช่น ลิ้นจี่ ลำไย แอปเปิล มะเขือเทศ และมันฝรั่ง ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ การใช้ปริมาณแคลเซียมคลอไรด์มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณเพกทินที่มีอยู่ในผักและผลไม้ชนิดนั้นๆ นอกจากนี้ยังใช้เติมลงในน้ำนมระหว่างการผลิตเป็นน้ำนมระเหยน้ำที่ความเข้มข้นไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ เพื่อปรับภาวะสมดุลของเกลือ จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำนมตกตะกอนระหว่างการทำให้ปราศจากจุลินทรีย์

ประโยชน์ด้านต่างๆ

ประโยชน์ของแคลเซียมคลอไรด์

  • งานเทคอนกรีตนิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เป็นสารเร่งการแข็งตัว และเพิ่มกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตในช่วงอายุต้นๆ
  • สารละลายแคลเซียมคลอไรด์นิยมใช้รักษา และยืดอายุผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้หลายชนิด โดยการฉีดพ่นสารละลายทั้งก่อน และหลังการเก็บเกี่ยว หรือจุ่มผลผลิตในสารละลายโดยตรง
  • ในอุตสาหกรรมบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์สำหรับดูดซับความชื้นหรือดูดซับน้ำออกจากตัวทำละลาย
  • ในอุตสาหกรรมอาหารผลไม้กระป๋อง นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพื่อเพิ่มความกรอบให้แก่ผลไม้
  • ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพิ่มความนุ่มของผลิตภัณฑ์เนื้อต่างๆ เช่น เนื้อโค เนื้อไก่ เป็นต้น
  • ในอุตสาหกรรมบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์สำหรับสำหรับยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร
  • ในอุตสาหกรรมอาหารบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพื่อเพิ่มรสชาติ และสกัดโปรตีนออกจากเนื้อ เช่น การผลิตไส้กรอก การผลิตเนื้อหมัก

ข้อควรระวังในการใช้

  • ขณะใช้ต้องสวมผ้าปิดจมูก แว่นตากันสารเคมี สวมเสื้อผ้า รองเท้าบูท สวมถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีอื่นๆทุกครั้ง
  • เมื่อละลายน้ำไม่ควรสูดดม เพราะจะได้รับไอระเหยของคลอรีนได้ง่าย
  • ระวังการสัมผัสกับโลหะทุกชนิด เพราะจะเกิดการกัดกร่อน

การจัดเก็บ

  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด
  • เก็บในที่ที่แห้งและเย็นและมีการระบายอากาศในพื้นที่ดี
  • ป้องกันการเสียหายทางกายภาพ แคลเซียมคลอไรด์ที่ชื้นหรือสารละลายที่เข้มข้นสามารถกัดกร่อนเหล็กได้
  • แคลเซียมคลอไรด์จะถูกซับน้ำจากบรรยากาศและเปลี่ยนรูปเป็นสารละลายได้
  • ภาชนะบรรจุของสารนี้ที่เป็นถังเปล่า แต่มีการสารเคมีตกค้าง เช่น ฝุ่น ของแข็งอาจทำให้เกิดอันตรายได้

ข้อมูลสินค้า

ชื่อทั่วไป : Calcium Chloride, แคลเซียม คลอไรด์ ความบริสุทธิ์ 74%

แหล่งผลิตสินค้า : ญี่ปุ่น (Japan)

เหมาะสำหรับ

แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride) ใช้เติมลงในน้ำลวก น้ำแช่ผักและผลไม้ ช่วยเพิ่มความคงตัว ทำให้เนื้อแน่น สมัยโบราณใช้น้ำปูนใส (ใช้ปูนขาวหรือปูนแดงผสมกับน้ำ แล้วปล่อยให้ปูนตกตะกอน) หรือใช้สารส้มแกว่งในน้ำ แต่สารเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความเข้มข้นที่ใช้ไม่แน่นอน ปัจจุบันจึงนิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์แทน ปริมาณที่ใช้คือ 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 15-20 นาที

ข้อมูลทั่วไป

เป็นเม็ดเล็กๆสีขาว ไม่มีกลิ่นใช้เป็นสารรักษาความกรอบของเปลือก และกลิ่นรส สำหรับมะเขือเทศกระป๋อง มันฝรั่ง แอปเปิ้ล และผักดอง

สินค้าของคุณถูกจัดส่งโดยร้านค้าอื่นๆ ซึ่งวันที่จัดส่ง สินค้าเป็นการประเมิณพื้นที่ภายในกรุงเทพและ ปริมณฑล


เกี่ยวกับสินค้า

แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหรรมการเกษตรเป็นสารที่ดูดซับความชื้น และละลายได้ดีในน้ำ เกลือแคลเซียมคลอไรด์ ในรูปที่ปราศจากน้ำละลายได้ในน้ำประมาณ 59 กรัมต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสขณะที่ละลายจะคายความร้อนออกมาด้วย ประโยชน์ของแคลเซียม คลอไรด์ - สารเติมแต่งอาหารและเป็นสารช่วยให้ผักและผลไม้มีเนื้อสัมผัสแข็ง (firming agent) นิยมใช้กับผลไม้ก่อนนำไปบรรจุกระป๋อง เช่น ลิ้นจี่ ลำไย แอปเปิล มะเขือเทศ และมันฝรั่ง ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ การใช้ปริมาณแคลเซียมคลอไรด์มากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณเพกทินที่มีอยู่ในผักและผลไม้ชนิดนั้นๆ - ใช้เติมลงในน้ำนมระหว่างการผลิตเป็นน้ำนมระเหยน้ำที่ความเข้มข้นไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ เพื่อปรับภาวะสมดุลของเกลือ จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำนมตกตะกอนระหว่างการทำให้ปราศจากจุลินทรีย์ - งานเทคอนกรีตนิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เป็นสารเร่งการแข็งตัว และเพิ่มกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตในช่วงอายุต้นๆ - สารละลายแคลเซียมคลอไรด์นิยมใช้รักษา และยืดอายุผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้หลายชนิด โดยการฉีดพ่นสารละลายทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว หรือจุ่มผลผลิตในสารละลายโดยตรง - ในอุตสาหกรรมบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์สำหรับดูดซับความชื้นหรือดูดซับน้ำออกจากตัวทำละลาย - ในอุตสาหกรรมอาหารผลไม้กระป๋อง นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพื่อเพิ่มความกรอบให้แก่ผลไม้ - ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพิ่มความนุ่มของผลิตภัณฑ์เนื้อต่างๆ เช่น เนื้อโค เนื้อไก่ เป็นต้น - ในอุตสาหกรรมบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์สำหรับสำหรับยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร - ในอุตสาหกรรมอาหารบางชนิด นิยมใช้แคลเซียมคลอไรด์เพื่อเพิ่มรสชาติ และสกัดโปรตีนออกจากเนื้อ เช่น การผลิตไส้กรอก