ร ว วคร ม เซวา ทำไมในลาซาด าถ ก

ปมดราม่าที่กำลังเกิดขึ้นกับ ลาซาด้า ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในขณะนี้ จนอาจจะนำไปสู่การดำเนินคดีทางกฎหมาย เนื่องจากรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ระบุว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. บริษัท ลาซาด้า ได้ออกแถลงการณ์ขออภัยต่อความผิดพลาดที่เกิดจากการผลิตและเผยแพร่เนื้อหาวิดีโอบนโซเซียลมีเดียเมื่อวันที่ 4 พ.ค. โดยอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง 'นารา เครปกะเทย' แสดงร่วมกับ หนูรัตน์ ธิดาพร ชาวคูเวียง ที่รับบทคนนั่งในชุดไทยร่วมสมัยบนรถเข็น ซึ่งหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการล้อเลียนผู้พิการ และหมิ่นเหม่เข้าข่ายการก้าวล่วงสถาบันฯ

จากความไม่พึงพอใจดังกล่าว ส่งผลให้ต่อมา หน่วยงานด้านความมั่นคง อย่าง กองทัพบกออกคำสั่งห้ามหน่วยทหารทั่วประเทศสั่งสินค้าจากลาซาด้ารวมถึงห้ามรถส่งสินค้าเข้ามาในพื้นที่หน่วยทหาร พร้อมกับความเคลื่อนไหวคัดค้านจากกองทัพอากาศ กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • ลาซาด้า ถูกกดดันหนัก หลังสามเหล่าทัพแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับโฆษณาล้อเลียนผู้พิการ ด้านประยุทธ์ ลั่น "รับไม่ได้"
  • ลาซาด้าขอโทษ นายกฯ สั่ง ตร. สอบการตลาด "ก้าวล่วงสถาบันฯ"
  • ศาลอนุญาตให้จำเลย 112 ไปเรียนต่อเยอรมนีได้
  • ขบวนเสด็จ: ศาลให้ประกันตัวกลุ่ม "ทะลุวัง" คดี ม. 112 ทำโพลขบวนเสด็จ

อย่างไรก็ตาม นายรัศม์ ชาลีจันทร์ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กแสดงความเห็นว่า การออกคำสั่งดังกล่าว อาจจะเข้าข่ายการกีดกัน เลือกปฏิบัติต่อบริษัทเอกชน หรือเท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อแพลตฟอร์มบริษัทเอกชนอื่นที่ทำธุรกิจเช่นเดียวกันหรือไม่?

จากกระแสความสนใจดังกล่าว บีบีซีไทย พามาทำความรู้จัก ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายนี้ ที่กำลังเผชิญกระแสต่อต้านจากฝ่ายรัฐและผู้รักสถาบันฯ ดังนี้

ก่อตั้งที่สิงคโปร์ ได้ทุนเสริมทัพจากจีน

ธุรกิจของ "ลาซาด้า กรุ๊ป" เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2555 ที่ประเทศสิงคโปร์โดยบริษัท ร็อคเก็ต อินเตอร์เน็ต (Rocket Internet) บริษัทนักปั้นสตาร์ตอัปชื่อดังจากเยอรมนี แรกเริ่มประเดิมด้วยธุรกิจเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ "ลาซาด้า" ที่ให้บริการใน 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน หนึ่งในนั้นคือ ประเทศไทย

ร ว วคร ม เซวา ทำไมในลาซาด าถ ก

ที่มาของภาพ, Getty Images

ลาซาด้าถือว่าเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดใช้เวลาเพียง 4 ปี ยอดมูลค่ายอดขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Value) ในตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.5 หมื่นล้านบาท

กระทั่งต้นปี 2559 อาลีบาบา ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจากจีน ซึ่งก่อตั้งโดย มหาเศรษฐีแจ๊ค หม่า ได้เข้าซื้อหุ้นในลาซาด้า ในสัดส่วน 51% มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 83% ด้วยการลงทุนเพิ่มอีก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน มิ.ย. 2563

ด้วยความคึกคักในตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ซึ่งมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก จึงทำให้ ลาซาด้า ตัดสินใจขยายธุรกิจเข้ามาในไทยตั้งแต่ปี 2558

ลาซาด้า กับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0

หนึ่งในวาระสำคัญทางเศรษฐกิจของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังจากเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 และได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2557 ว่ารัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาภาคเศรษฐกิจและสังคม ผ่านการนำ เทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการติดต่อสื่อสาร การผลิต พัฒนา จำหน่ายสินค้าและบริการ และการพัฒนาบริการสาธารณสุขและบริการภาครัฐ ให้เข้าถึงประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้ให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ (ปี 2558-2564) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีแก่ผู้ประกอบการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ เช่น อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการต่างชาติสามารถถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ เป็นต้น ซึ่งลาซาด้าก็ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเช่นกัน

ร ว วคร ม เซวา ทำไมในลาซาด าถ ก

ที่มาของภาพ, สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

เมื่อเดือน เม.ย. 2561 นายแจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหาร อาลีบาบา กรุ๊ป บริษัทแม่ของลาซาด้า ได้เดินทางมายังไทยเพื่อลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการพัฒนาด้านการลงทุนและเศรษฐกิจดิจิทัล ในขณะนั้น รมว.อุตสาหกรรมของไทย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า อาลีบาบา จะลงทุนกว่า 11,000 ล้านบาท ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระยะแรก รวมถึงลงนามความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวและบุคลากรในไทยอีกด้วย

  • 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แจ็ค หม่า และอาลีบาบา
  • เมื่อ "อาลีบาบา" ปักหมุดลงทุนไทย ใครได้ ใครเสีย

ขณะเดียวกัน ลาซาด้าก็ทยอยลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยล่าสุด ได้เปิดคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่อีอีซีแล้ว

ปี 2564 มีรายได้ทะลุ 1.4 หมื่นล้านบาท

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซยังคงเป็นน่านน้ำที่เติบโต ทว่า การแข่งขันก็ดุเดือดไม่น้อย บทวิเคราะห์ของ KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร ที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว คาดการณ์ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยจะขยายตัว 20% ต่อปีใน 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากระดับ 3 แสนล้านบาท เป็น 7.5 แสนล้านบาทในปี 2025 หรือคิดเป็น 16% ของตลาดค้าปลีกรวม

ร ว วคร ม เซวา ทำไมในลาซาด าถ ก

ที่มาของภาพ, OPA Images/LightRocket via Getty Images

ปัจจัยที่เป็นตัวผลักดันคือ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ข้อจำกัดของการเดินทางจากมาตรการล็อกดาวน์ และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อในที่ชุมชนก็เป็นผลทำให้มีการซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์เพิ่มขึ้น

ลาซาด้าก็ได้รับอานิสงส์เช่นเดียวกัน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2564 ลาซาด้า สามารถทำรายได้สูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 226.88 ล้านบาท

ขณะที่ ก่อนหน้านี้ ในปี 2563 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายนี้ทำรายได้ราว 1 หมื่นบาท แต่ผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 3.98 พันล้านบาท ส่วนในปี 2562 มีรายได้ 9.41 พันล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 3.7 พันล้านบาท

ลาซาด้า อยู่ลำดับที่เท่าไหร่ของตลาดอีคอมเมิร์ซไทย

หากวัดในแง่ความนิยมแล้ว ผู้เล่นในตลาดแพลตฟอร์มอีคอมเมิรซ์อีกรายจากสิงคโปร์อย่าง "ช้อปปี้" ถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ ลาซาด้า

ร ว วคร ม เซวา ทำไมในลาซาด าถ ก

จากข้อมูลของเว็บไซต์ ipricethailand.com ได้จัดอันดับผู้เล่นในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทย ข้อมูล ณ ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 จัดให้ ช้อปปี้ อยู่ในลำดับที่ 1 โดยวัดจากยอดการเข้าชมเว็บไซต์ในแต่ละเดือน สูงถึง 60,723,300 ครั้ง รองลงมาคือ ลาซาด้า มียอดผู้ชมเว็บไซต์ต่อเดือนอยู่ที่ 39,313,300 ครั้ง

ส่วนลำดับที่ 3 คือ เซ็นทรัล ออนไลน์ มียอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ต่อเดือน 2,686,700 ครั้ง ลำดับที่ 4 คือ แอดไวซ์ มียอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ต่อเดือน 2,300,000 ครั้ง และอันดับที่ 5 คือ โฮมโปร มียอดผู้เข้าชมเดือนละ 2,086,700 ครั้ง

สถานทูตจีนออกความเห็น

เมื่อ 13:35 น. ของ 13 พ.ค. เพจเฟซบุ๊กของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โพสต์ว่า โฆษกสถานทูตจีนประจำประเทศไทยตอบคำถามถึงความรู้สึกเกี่ยวกับคลิปโฆษณาของแพลตอีคอมเมิร์ซ Lazada ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในประเทศไทย ว่า "สถานทูตจีนประจำประเทศไทยรับทราบเหตุการณ์ดังกล่าว คิดเหมือนกันว่าคลิปโฆษณาที่เกี่ยวข้องมีเนื้อหาที่ยอมรับไม่ได้"

Nike ใน Lazada Mall ของแท้ไหม

ร้านนี้แท้แน่นอนครับ

Lazada Mall มีของปลอมไหม

ช้อปปิ้งกับ LazMall ดียังไง? 1. ของแท้ 100%

Lazada กับ LazMall ต่างกันยังไง

LazMallLazMall คืออะไร อัปเดตล่าสุด 15/07/2021. สินค้า LazMall คือสินค้าที่ดำเนินการโดยลาซาด้า เจ้าของแบรนด์ หรือผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ต่างๆ ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่มาจาก LazMall เป็นสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์และได้รับการรับรอง เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ LazMall ได้ ที่นี่

สินค้า LazPick คืออะไร

LazPick (ลาซพิก) คือโปรแกรมสุดปัง! 💥 ที่จะช่วยคุณในการเลือกซื้อสินค้าจาก "ร้านค้าแนะนำ" มั่นใจได้ทั้งในด้าน คุณภาพของสินค้า และ บริการ เพียงกดรับคูปองและทำตามเงื่อนไข