ค ม อเก ยวก บการปฏ บ ต งานการศพ

วันนี้ (19 พ.ค.2563) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี โดยมีรายละเอียดดังนี้

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง (12) มาตรา 11 วรรคสาม และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ประกอบข้อ 2 แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกําหนดหน่วยงานผู้มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 พ.ศ.2553 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี พ.ศ.2557 ลงวันที่ 22 ก.ย.2557 (2) ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ลงวันที่ 23 ส.ค.2561

ข้อ 4 การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี หมายถึงการช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีรายละ 3,000 บาท

ข้อ 5 การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีนั้น ผู้สูงอายุที่ตายต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) อายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป (2) สัญชาติไทย (3) ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เว้นแต่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียน ให้ผู้อํานวยการเขต หรือนายอําเภอ หรือกํานัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือนายกเมืองพัทยา หรือประธานชุมชน เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง ตามแบบที่อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกําหนดการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีตามประกาศนี้ให้รวมถึงผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานใด ๆ ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดําเนินการในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจัดการศพตามประเพณีโดยมูลนิธิ สมาคมวัด มัสยิด โบสถ์

ข้อ 6 การยื่นคําขอเพื่อขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณีรายนั้นยื่นคําขอในท้องที่ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือภูมิลําเนาในขณะถึงแก่ความตาย ดังต่อไปนี้ (1) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอที่สํานักงานเขต (2) จังหวัดอื่น ให้ยื่นคําขอที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือที่ว่าการอําเภอ หรือสํานักงานเทศบาล หรือที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล หรือศาลาว่าการเมืองพัทย แบบคําขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกําหนด

ข้อ 7 ผู้ยื่นคําขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีตามข้อ 6 ต้องยื่นคําขอภายในกําหนดหกเดือนนับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณบัตรพร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้ (1) ใบมรณบัตรของผู้สูงอายุ (2) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้สูงอายุ หรือหนังสือรับรองตามข้อ 5 (3) (3) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและเลขประจําตัวประชาชนของผู้ยื่นคําขอ กรณีการจัดการศพตามประเพณีโดยมูลนิธิ สมาคม วัด มัสยิด โบสถ์ ให้แนบหนังสือแสดงการจดทะเบียน หรืออนุญาตให้สร้าง จัดตั้ง หรือดําเนินงานมูลนิธิ สมาคมวัด มัสยิด โบสถ์ด้วย (4) สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ยื่นคําขอ เว้นแต่ประสงค์จะขอรับเงินสดให้ดําเนินการตามระเบียบของทางราชการ (5) หนังสือรับรองเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณี ซึ่งออกโดยบุคคล ตามข้อ 5 (3) หรือหัวหน้าหน่วยงานตามข้อ 5 วรรคสอง สําหรับกรณีผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคําขอและผู้รับรองต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน แบบหนังสือรับรองให้เป็นไปตามที่อธิบดี กรมกิจการผู้สูงอายุกําหนด

ข้อ 8 การอนุมัติจ่ายเงินสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี (1) กรุงเทพมหานคร ให้ผู้อํานวยการเขตเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติ (2) จังหวัดอื่น ให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติ

ข้อ 9 ในกรณีผู้ที่มีคุณสมบัติและได้ยื่นคําขอเพื่อรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีถูกต้องตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการสงเคราะห์

ในการจัดการศพตามประเพณี พ.ศ.2557 ลงวันที่ 22 ก.ย.2557 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติและได้ยื่นคําขอดังกล่าวถูกต้องตามประกาศนี้

ข้อ 10 ในกรณีมีปัญหาข้อขัดแย้งในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

งานสวดอภิธรรมหรืองานสวดศพ จัดขึ้นเพื่ออุทิศบุญส่วนกุศล รวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ ด้วยการเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ส่วนใหญ่มักจัดเป็นงานบุญ 7 วันในตอนกลางคืน

ในส่วนนี้เองที่มักมีการส่งพวงหรีดไปร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยอาจเลือกพวงหรีดที่สวยงามสามารถย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุธรรมชาติหรือพวงหรีดผ้าที่มีการจัดเตรียมอย่างสวยงามไม่แพ้พวงหรีดดอกไม้สด รวมถึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ดังตัวอย่าง พวงหรีดผ้า ซึ่งการติดตั้งพวงหรีดไม่ควรติดตั้งเอง ควรส่งให้กับเจ้าภาพหรือผู้ที่ดูแลนำไปติดตั้งค่ะ

เมื่อเข้ามาในศาลาที่ตั้งโลงศพ ควรกราบพระก่อนด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุดธูป 1 ดอกเพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม เช่น

  • หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ให้กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
  • หากผู้ตายเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้กราบเบญจางคประดิษฐ์
  • หากผู้ตายอยู่ในวัยเดียวกัน ให้ยืนคำนับหรือนั่งไหว้
  • หากผู้ตายเป็นผู้น้อยหรืออายุน้อยกว่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าสงบ

หลังจากที่การสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไป ด้วยพิธีทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นเป็นการกรวดน้ำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ จึงจบพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืนค่ะ