Current ratio ม ค าเท าก บ 1.5 หมายความว า

🔸 1. อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio) เพื่อวัดสภาพคล่องของกิจการและวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ▪️ 1.1 อัตราส่วน

เงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) คือ ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ มากกว่าหนี้ระยะสิ้น ทำให้ความคล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน 2 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว มีหน่วยเป็น "เท่า"

▪️ 1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio) เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยทั่วไปอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสม มีหน่วยเป็น "เท่า"

* สินทรัพย์สภาพคล่องสูง = สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้าคงเหลือ-ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า-รายได้ค้างรับ

Current ratio ม ค าเท าก บ 1.5 หมายความว า

🔸 2.ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) วัดความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ▪️ 2.1 อั

ตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการหากำไรขั้นต้นเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิได้ดี ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %

▪️ 2.2 อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน (Operating Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็น ประสิทธิภาพในการหากําไร โดยการเปรียบเทียบกําไรจากการดําเนินงานกับยอดขายสุทธิ ยิ่งสูงยิ่งดี (มีหน่วยเป็น %)

▪️ 2.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ประสิทธิภาพในการบริหารงานของธุรกิจ ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %

▪️ 2.4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการนําเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ ว่าก่อให้เกิดผล กําไรมากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูงแสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %

▪️ 2.5 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของว่าจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูงแสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %

📌 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรทราบ เพราะจะทำให้มีข้อมูลทางการเงินช่วยวิเคราะห์ ผลประกอบการ กำไร เพื่อนำไปวางแผนในการดำเนินธุรกิจต่อไป

ปกติ Current Ratio สอนกันว่าที่ดีต้อง > 1 จริงหรือเพราะมีมากมายที่แม้มากกว่า 1 ก็ล้มละลายมาแล้ว ขาดสภาพคล่องมาแล้ว บางแห่งต่ำกว่ 1 ยังรอดมาได้ก็มี แล้วที่ถูกต้องคืออะไร มาทำความเข้าใจหลักการบางประการที่อาจช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ บทความดีๆจาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] เขียนได้ลึกและแจกแจงได้พิสดารจริงๆ

เริ่มที่การวิเคราะห์สภาพคล่องธุรกิจ-อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) อัตราส่วนกลุ่มนี้จะช่วยบอกสถานะสภาพคล่องหรือกระแสเงินสดของกิจการในการชำระหนี้ระยะสั้นและการดำเนินธุรกิจในรอบๆ หนึ่งว่ามีความคล่องตัวเพียงใด บริษัทที่สามารถมีภาพคล่องหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ามีเงินหมุน (เวียน) ในระดับที่พอเหมาะหรือมากจะมีโอกาสและได้เปรียบในการแข่งขันสูง ถ้าย้อนกลับไปที่วัตถุประสงค์ของธุรกิจคือต้องสามารถทำกำไร สร้างกระแสเงินสดและรักษาการอยู่รอด (Make Profit, Generate Cash Flow and Stay Solvency) เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้น การวิเคราะห์พิจารณาติดตามอัตราส่วนกลุ่มนี้ จะช่วยให้บริษัทอยู่รอดได้อย่างแข็งแกร่งภายใต้ภาวะปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมธุรกิจผันแปรอยู่เสมอ อัตราส่วนกลุ่มนี้มีใช้พิจารณาหลายค่าดังนี้

  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
  • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
  • อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio)
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนปรับแต่งใหม่ (Modified Current Ratio)
  • อัตราส่วนความเพียงของเงินสด (Cash Adequacy Ratio)
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) เป็นอัตราส่วนที่จะกล่าวในเบื้องต้น

Current Ratio = Current Assets/ Current Liability \= สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน

ในตำราทั่วไปมักจะกล่าวกว้างๆ ว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ต่ำกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีหนี้ระยะสั้นสูงกว่าสินทรัพย์แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ทำให้นักวิเคราะห์หลายท่านตีความว่า อัตราส่วนนี้ต้องสูงกว่า 1 จึงจะถือว่าดีต่อธุรกิจ ก็ถือว่าไม่ผิดเสียทีเดียว ถ้าเช่นนั้นมี 2-3 เท่าขึ้นไปยิ่งดีเช่นนั้นหรือ คำตอบคงไม่ใช่แน่นอน หลายบริษัทที่เป็นกิจการที่แข็งแกร่งระดับ Blue chip บางบริษัทในบางช่วงก็ไม่ได้มีอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 หลายบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 กลับต้องประสบปัญหาทางการเงินในเวลาถัดมา ถ้าอย่างนั้นแล้วควรเป็นอย่างไร - Current Ratio มากกว่า 1 ดีจริงเสมอไหม น้อยกว่าได้หรือไม่ แล้วเท่าไรถึงเรียกว่ากำลังดี - อัตราส่วนควรเท่าไรนั้นให้พิจารณาจากการเปรียบเทียบรอบการหมุนของสินทรัพย์หมุนเวียนและรอบการหมุนของหนี้สินหมุนเวียน - หลักตรรกะ (Logic) คือ รอบการหมุนหมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสดเข้า (สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน) หรือเป็นเงินสดออก (สำหรับหนี้สินหมุนเวียน) ถ้ารอบสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วกว่ารอบของหนี้สินหมุนเวียนก็แสดงว่ากิจการสามารถถือสินทรัพย์หมุนเวียนได้ต่ำกว่าหนี้สินหมุนเวียน - ถ้ารอบการหมุนของสินทรัพย์หมุนเวียนสูงกว่ารอบการหมุนของหนี้สินหมุนเวียนเท่ากับ 2 เท่า อัตราส่วน CR สามารถต่ำได้ถึง = 1/2 = 0.5 แต่ควรบวก safety ไว้สัก 2-1.5 เท่า ดังนั้น CR = 0.5*1.5 = 0.75 - การหารอบการหมุน ให้ใช้การถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ turnover ของแต่ละรายการในงบ เช่น เงินสด = 26 ลูกหนี้การค้า = 8 สินค้าคงเหลือ = 6 - การหารอบการหมุน เช่น เงินสด = 26 ลูกหนี้การค้า = 8 สินค้าคงเหลือ = 6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น อาจเท่ากับ 1 หรือ 0 ก็ได้ (ดูความสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสด) ตัวอย่างเช่น หารอบหมุนเวียนเฉลี่ยโดยการคูณรอบหมุนเวียนด้วยน้ำหนัก หรือสัดส่วนที่เป็นอยู่ในสินทรัย์หมุนเวียน เช่น

สินทรัพย์หมุนเวียนประกอบด้วย

  • เงินสด------15
  • ลูกหนี้การค้า--75
  • สินค้าคงเหลือ-----90
  • ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า----20
  • รวมสินทรัพย์หมุนเวียน--200

หารอบหมุนของแต่ละค่าด้วยการถ่วงน้ำหนัก

  • เงินสด---15 x 26/200 = 1.95
  • ลูกหนี้การค้า---75 x 8/200 = 3.0
  • สินค้าคงเหลือ--90 x 6/200 = 2.7
  • ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า-20 x 1/200 = 0.1
  • รวมสินทรัพย์หมุนเวียน---200 = 7.75 รอบ

-ปกติรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จะดูว่าเป็น monetary items เพียงใด และจะให้เท่ากับ 1 รอบต่อปีเท่านั้น เพราะมัดจะมีการเปล่ยนทางบัญชีหรือใชีเพียง 1 ครั้งเท่านั้น เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจ่ายล่วงหน้า แม้จะเกิดทุกเดือน แต่เวลาเคลมคืน (เงินเข้า) ตอนจ่ายภาษีประจำปี ภงด ๕๐ เท่านั้น เป็นต้น

ด้านหนี้สินหมุนเวียนทำแบบดียวกัน

  • เงินเบิกเกินบัญชี----20 x 12/160 = 1.500
  • เจ้าหนี้การค้า----30 x 10/160 = 1.875
  • ตั๋วเงินจ่าย---50 x 6/160 = 1.875
  • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย---60 x 12/160 = 4.500
  • รวมหนี้สินหมุนเวียน---160 = 9.750 รอบ
  • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนตามสูตร (CR) = 200/160 = 1.25

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 9.75/7.75 หรือ 1.26

-ค้างจ่ายค้างจ่ายมักจะจ่ายไม่เกินเดือน เช่นเงินเดือน ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น -รายการประเภท ส/ท น/ส หมุนเวียนอื่นๆ ในแง่การวิเคราะห์งบการเงินมักมีมูลค่าไม่มีนัยสำคัญมาก ส/ท มว ให้ =1 ส่วน น/ส มว ให้ = 12 เพื่อหลักการระมัดระวัง (conservative)

แต่เราสามารถหาอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 9.75/7.75 หรือ 1.26 ถ้ากิจการเผื่อความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เท่าว่าเป็นระดับที่กำลังดี จะได้ที่ระดับ CR = 1/(7.75/9.75)*1.5 = 1.89 หรือถ้าเผื่อความปลอดภัย ไว้เท่ากับ 1.2 จะได้ = 1.51 แสดงว่า ณ ปัจจุบันกิจการมีความเสี่ยงในเรื่องของสภาพคล่อง อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ 1.25 ไม่ได้บอกว่าวันนี้กิจการไม่น่าห่วงในเรื่องสภาพคล่อง แต่ระดับขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับปริ่มน้ำ เพราะอยู่ในระดับต่ำสุดของที่ควรจะเป็น ถ้าหากเพื่อความเสี่ยงหรือความปลอดภัยมากขึ้นราว 20% อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่จะทำให้กิจการมีการหมุนเวียนปลอดภัยคือ 1.51 ระดับที่เป็นอยู่ปัจจุบันที่ 1.25 เท่าดังกล่าวจะถือว่าไม่ยังปลอดภัย

- ถ้าเปลี่ยน หนี้สินหมุนเวียนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและรอบหมุนเวียน เป็น

  • เงินเบิกเกินบัญชี---30 x 12/200 = 1.80
  • เจ้าหนี้การค้า---40 x 12/200 = 2.40
  • ตั๋วเงินจ่าย --60 x 6/200 = 1.80
  • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย---70 x 12/200 = 4.20
  • รวมหนี้สินหมุนเวียน--200 = 10.20 รอบ

เมื่อคำนวณหาอัตราส่วนหมุนเวียนตามสูตร (CR) = 200/200 = 1.00 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 10.2/7.75 = 1.31 แต่ถ้าคำนวณโดยการพิจารณารอบการหมุนเวียนเพื่อหาระดับ CR ที่ต่ำสุดที่กิจการควรดำรงไว้จะเท่ากับ 1.31 ถ้าเพิ่มความปลอดภัย (safety factor) สัก 1.5 เท่า ระดับที่ควรเป็น = 1/(7.75/10.2)*1.5 หรือ 1.97 หรือถ้าเผื่อความปลอดภัยไว้เท่ากับ 1.25 จะได้ = 1.65

-ข้อสังเกต ถ้าหากรอบของสินทรัพย์หมุนเวียนยิ่งสูงมากเท่าใดอัตราส่วนหมุนเวียนก็สามารถมีค่าต่ำได้มากขึ้น แต่ถ้ารอบของสินทรัพย์หมุนเวียนหมุนเวียนต่ำกว่าหนี้สินหมุนเวียนมากเท่าไร ค่าที่เหมาะสมของอัตราส่วนหมุนเวียนก็จะยิ่งสูง -อัตราส่วนหมุนเวียนยังขึ้นกับโครงสร้างของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนด้วยว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบสัดส่วนเท่าไร ดังนั้นหน้าที่ของ CFO หรือ Finance Manager จึงต้องบริหารสัดส่วนและอัตราการหมุนเวียนของรายการในทุนหมุนเวียน -ระดับอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่คำนวณตามสูตร ซึ่งขอเรียกว่าเป็น current ratio (should be) เป็นระดับที่กิจการจะสามารถดำรงความสามารถรักษาสภาพคล่องได้อย่างไม่มีปัญหาการดำเนินงานได้ หากอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำกว่าค่าดังกล่าว บริษัทต้องมีการดำเนินการด้านการจัดหาเงิน (financing activity) เพื่อให้สามารถดำรงกิจกรรมธุรกิจต่อไปเช่น ตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปในธุรกิจโทรคมนาคม ในปีที่บริษัทมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำกว่าอัตราสวนที่ควรจะเป็น พบว่าในปีถัดมามีการเพิ่มทุนตามมา

อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) ควรเป็นเท่าไร

◾️ถ้ามีค่า \> 1 แสดงว่า บริษัทมีสภาพคล่องดี เพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทต้องชำระ

Current Ratio บอกอะไรบ้าง

Current Ratio คือ อัตราส่วนที่บ่งบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของกิจการ ซึ่งเราสามารถคำนวณ Current Ratio ได้ด้วยการนำสินทรัพย์หมุนเวียน มาหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน โดย - สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น เงินสด เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือ เป็นต้น

Current Ratio เยอะดีไหม

ส่วนบริษัทที่มี Current Ratio มากกว่า 1 แปลว่าสภาพคล่องสูง แต่ถ้าสูงกว่า 1 มากๆ ต้องไปดูเพิ่มเติมว่า บริษัทมีการใช้ทรัพย์สินหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่ เช่น ถือเงินสดเกินความจำเป็น ไม่นำไปลงทุน

Acid Test Ratio บอกอะไร

▪️ 1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio) เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยทั่วไปอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสม มีหน่วยเป็น "เท่า"