กลย ทธ การเข าส ตลาดระด บโลก ม ว ธ การ

ผมพึ่งได้รับความรู้ทางธุรกิจระดับโลกจากสถาบันศศินทร์จากหนึ่งในวิชาที่น่าเรียนที่สุดสำหรับผม นั่นก็คือวิชา Management and Business Strategy (การจัดการและกลยุทธธุรกิจ) ซึ่งเป็นวิชาที่เหมาะกับคนทำธุรกิจและทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด บัญชี เป็นต้น

ความรู้ที่ได้จาก Professor Serge Oréal, Ph.D. ซึ่งท่านเป็นโปรเฟสเซอร์ระดับโลกชาวฝรั่งเศสที่จบจากสถาบันธุรกิจเคลล็อก (Kellogg School of Management) และได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ผมจึงไม่พลาดที่จะหยิบยกความรู้อันทรงคุณค่านี้เพื่อมาถ่ายทอดให้พวกคุณได้ฟังกันครับ

กลยุทธทางธุรกิจก็เปรียบเสมือนกับแผนการเล่นในกีฬาฟุตบอลที่ต้องมีความรัดกุม มีการยึดถือปฎิบัติตามแนวทางปรัชญาที่มาจากวิสัยทัศน์ เป็นเรื่องศาสตร์แห่งธุรกิจชั้นสูงที่สามารถ "ชี้เป็นชี้ตาย" อนาคตของธุรกิจคุณเลยก็ว่าได้ ที่สำคัญคือวิชานี้ไม่ได้มีสอนกันหรือลงมือทำกันง่ายๆ มาตรงนี้เลยครับเพราะเซลล์ร้อยล้านจะเล่าให้ฟัง

1. เป็นผู้นำเรื่องราคา (Cost Leadership)

กลยุทธนี้คล้ายๆ กับห้างโลตัสหรือลาซาด้าที่มีสโลแกนว่า "เราไม่ยอมให้ใครขายถูกกว่า" (ฮา) ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคุณก็เป็นผู้ชนะได้ในสงครามการค้าด้วยการ "ตัดราคา" ให้ถูกกว่าคู่แข่ง แต่คุณก็ยังมีกำไรและเป็นผู้นำในเรื่องนี้ กลยุทธนี้มีปัจจัยที่คุณต้องลองนำไปปรับใช้ ดังนี้

- สินค้า: ต้องทำยังไงก็ได้ให้ถูกกว่าคู่แข่ง

- การตลาด: สื่อสารให้ลูกค้ารับรู้ตลอดเวลาว่าเราขายถูกกว่า ที่นี่ถูกที่สุด เหมือนที่ห้างโลตัสชอบบอก เพื่อคุณค่าที่ลูกค้าได้มากกว่า

- ตัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่จำเป็นออกไป (No-frills): เพื่อทำให้ลูกค้าไม่ต้องจ่ายแพง เช่น ธุรกิจสายการบินโลว์คอสที่ไม่ต้องมีอาหารบนเครื่อง ทำให้ใครๆ ก็บินได้แบบแอร์เอเชีย เป็นต้น

- เป็นสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องคิดมากหรือใช้ประสบการณ์ในการ "ดื่มด่ำ" อะไรให้มากมาย เช่น อาหารจานด่วน เสื้อยืดสำหรับใส่นอน รองเท้าแตะ รถออปชั่นล่าง ฯลฯ

- การทำงานของพนักงาน: พนักงานหนึ่งคนสามารถทำงานได้หลายอย่างเพื่อลดต้นทุนในการจ้างพนักงานมาเยอะๆ ทำให้ต้นทุนสินค้าถูกลง

- มีการลงทุนด้านนวัตกรรม "เพื่อให้ต้นทุนการผลิตถูกลง" เช่น เครื่องจักรกำลังผลิตสูง ซอฟท์แวร์ลดคน หุ่นยนต์ผลิตสินค้า ฯลฯ

- ใช้การตัดราคาเป็นอาวุธในการการรับ/รุก ต่อการต่อสู้ของคู่แข่ง เช่น อยากได้ส่วนแบ่งตลาดมากกว่าก็ดั้มราคาสู้ หรือเปิดตัวสินค้าใหม่แล้วอยากกินรวบตลาดก็เลยเปิดราคาให้ถูกกว่าคู่แข่งแต่แรกเพื่อกันคนเข้ามาแชร์ตลาด

- ต้องยอมรับได้ถ้ากำไรน้อย แต่คาดหวังกับสิ่งที่ได้กลับมาก็คือยอดสั่งซื้อที่มีปริมาณมากแน่นอน

2. เป็นผู้สร้างความแตกต่าง (Differentiation)

กลยุทธนี้คือการแข่งขันในตลาดที่มีคู่แข่ง ซึ่งการตัดราคาอาจไม่ใช่ปรัชญาของคุณ คุณย่อมรู้ดีว่าถ้าคุณเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมอะไรบางอย่างที่มันเจ๋งสำหรับความรู้สึกของลูกค้า คุณมีสิทธิ์ที่จะเป็น "ผู้นำตลาด" ได้เช่นกัน ลองดูง่ายๆ เช่นโทรศัพท์ไอโฟนในยุคเริ่มต้นซึ่งเป็นสุดยอดนวัตกรรมล้ำเลิศมากๆ ขนาดที่ว่าหน้าที่ของมันคือโทรศัพท์ แต่ด้วยความเจ๋งและไม่มีคู่แข่งในยุคนั้นทำได้ ไอโฟนเลยติดลมบนมาจนถึงทุกวันนี้ กลยุทธสำคัญมีดังนี้

- สินค้า: "ต้องสร้างหรือผลิตโดยมีคุณสมบัติที่ไม่มีใครเทียบชั้นได้" เช่นของกินที่ใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุดทุกอย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าไฮเทคที่มีนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เสื้อผ้างานแฮนเมดที่ผลิตด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศ เป็นต้น

- การตลาด: สื่อสารให้ลูกค้ารับรู้ว่าสินค้าและบริการของคุณ "เจ๋งกว่า ดีกว่า เหนือกว่า ประสบการณ์ยอดเยี่ยมกว่า" และจะเป็นผู้นำในเรื่องคุณภาพเป็นหลัก

- เน้นไปที่การเติมสิ่งที่เพิ่มคุณสมบัติ ประโยชน์ ออปชั่น งานบริการ เช่น รถเบนซ์ไฟฟ้าอัดออปชั่นมาเต็ม มือถือไอโฟน 11 Max ที่มีกล้อง 3 เลนส์ ตั๋วที่นั่งเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาสที่มีอาหารระดับเชฟมาทำให้กิน เป็นต้น

- เน้นไปที่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนจะดีมาก

- ราคาต้องแพงกว่าชาวบ้านแหงอยู่แล้ว ขายแพงกว่าตลาดได้ (ค่า Premium) เพื่อโปะต้นทุนที่สูงขึ้น

- ใช้การโฆษณาที่เน้นเรื่องนวัตกรรม ต้องใช้ความพยายามมากเพื่อที่จะขายให้ได้ เพราะลูกค้าต้องรับรู้ก่อนว่าสินค้าขั้นเทพและแพงนั้นคุ้มค่าพอที่พวกเขาจะซื้อได้อย่างไร (ของคุณสมบัติเทพและแพงบางทีก็ไม่ตอบโจทย์เสมอไปนะจ้ะ)

3. โฟกัสไปที่ตลาดลูกค้าเฉพาะเจาะจง (Focus/Niche)

นิช มาร์เก็ต คือตลาดที่ชาวบ้านชาวช่องเขาไม่ค่อยลงมาเล่นกัน คู่แข่งจึงน้อยตาม ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเป็นโอกาสทองสำหรับคุณในการเป็นผู้นำตลาด ตัวอย่างธุรกิจที่เล่นตลาดนิช เช่น ธุรกิจเสื้อผ้าสวยๆ สำหรับคนอ้วน สูทแบบเทเลอร์เมดเฉพาะบุคคล ร้านอาหารออแกนิกสำหรับคนรักสุขภาพเท่านั้น ซอฟท์แวร์การจัดการสำหรับธุรกิจธนาคารเท่านั้น เป็นต้น

- สินค้า: ออกแบบพิเศษสำหรับลูกค้าโดยเฉพาะ

- การตลาด: ทำให้ลูกค้ารับรู้ว่าคุณสร้างสินค้าและบริการเพื่อลูกค้าแบบรายบุคคลโดยเฉพาะ เช่น ชุดแต่งงานสำหรับสาวพลัสไซส์โดยเฉพาะ ซอฟท์แวร์สำหรับโรงงานปลากระป๋องโดยเฉพาะ เป็นต้น ทำให้ไม่ต้องใช้เงินมากไปกับการโฆษณาเพราะเจาะกลุ่มนิช

- ทำให้พิเศษ (Specialization) เฉพาะกลุ่มนิชด้วยปัจจัยที่มากขึ้น เช่น กลุ่มเป้าหมาย ภูมิภาคที่ลูกค้าอยู่ เพศ อายุ การศึกษา ความสนใจ รสนิยม ฯลฯ

- เรื่องนี้จะทำให้คุณได้เปรียบเพราะสามารถควบคุมราคาได้ว่าจะเล่นแพงหรือเล่นถูก เนื่องจากไม่ค่อยมีคู่แข่ง หรือเป็นผู้สร้างความแตกต่าง (Differentiation) จนกลายเป็นผู้นำตลาดและประกาศให้โลกรู้ได้ว่าคุณคือหมายเลขหนึ่งของตลาดนิช ซึ่งมันง่ายกว่าการไปแข่งกับตลาดที่มีคู่แข่งเยอะๆ เป็นต้น

ผมได้อ่านบทความหนึ่งเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เห็นว่าบทความดังกล่าวน่าสนใจ จึงขอนำบทความนี้มาส่งต่อความรู้ให้กับสมาชิกผู้อ่านทุกท่าน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่มโรงพิมพ์ของสมาชิก และสามารถประยุกต์นำไปใช่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปครับ

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง กลวิธีหรือแบบแผนสำคัญที่ถูกวางไว้สำหรับการดำเนินงานใด ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จ และส่งผลให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่ตั้งไว้ ซึ่งกลยุทธ์ไม่ใช่หมายถึงเพียงแค่การจัดวางแผนการทำงานเพื่อสร้างความสำเร็จเพียงเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการต่อสู้แข่งขันกันในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของบริษัทและตลาดคู่แข่ง โดยกลยุทธ์เบื้องต้นที่ผู้ผลิตจะต้องมีคือการดำเนินงานที่มีขั้นตอน การตัดสินใจในเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เหมาะสม รวมทั้งจะต้องสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์และได้ผลงานที่มีคุณภาพสูงสุด

กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) หมายถึง แบบแผนพื้นฐานหรือแนวทางที่ถูกกำหนดขึ้นสำหรับสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและตลาดเป้าหมาย โดยผู้ประกอบการจะต้องจัดสรรทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผลผลิต แบ่งใช้สัดส่วนต่าง ๆ ทางการตลาดให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินงาน รวมทั้งดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ โดยประกอบไปด้วย การตัดสินใจ การกำหนดระดับค่าใช้จ่ายการตลาด การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การกำหนดกลยุทธ์ส่วนผสม และการกำหนดตลาดเป้าหมายทางการตลาดอย่างชัดเจน จนสามารถบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ตั้งไว้ได้

องค์ประกอบของกลยุทธ์ทางการตลาด

1. ขอบเขต กลยุทธ์การทางการตลาดจะต้องมีขอบเขตของการดำเนินงานที่ครอบคลุม รวมทั้งจะต้องมีการกำหนดสัดส่วนสำหรับการปฏิบัติงานที่มีส่วนข้องเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์อย่างชัดเจน 2. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ทางการตลาดจะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมทั้งกำหนดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าหมายกำไรที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุน หรือเป้าหมายการเติบโตของยอดขาย เป็นต้น 3. การจัดสรรทรัพยากร กลยุทธ์ทางการตลาดจะต้องมีการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางการเงิน ทรัพยากรสำหรับการลงทุน รวมทั้งทรัพยากรบุคคล 4. การได้เปรียบทางการแข่งขัน กลยุทธ์ทางการตลาดจะต้องมีการระบุการได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ ให้สามารถวางแผนการดำเนินงานในขั้นต่อๆ ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. พลังเสริมแรง กลยุทธ์ทางการตลาดจะต้องสามารถส่งเสริม และสนับสนุนหน่วยธุรกิจของบริษัท ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งทางด้านการตลาด การจัดสรรทรัพยากร และด้านขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

กลยุทธ์การตลาด 8P

กลยุทธ์การตลาด 8P คือ กลยุทธ์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สำหรับการดำเนินงานทางการตลาดจากนักธุรกิจทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นกระบวนการทำงานที่สามารถเห็นผลลัพธ์ความก้าวหน้าได้อย่างชัดเจน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาและต่อยอดเป็นกลยุทธ์อื่น ๆ ได้ในอนาคต ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรเรียนรู้และศึกษาให้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของกลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อการประกอบธุรกิจที่มีคุณภาพและยั่งยืน

1. Product กลยุทธ์ทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เป็นกลยุทธ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องทำการพิจารณาออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ให้สามารถสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ทั้งการตั้งเป้าหมายคุณสมบัติสินค้า การเลือกใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต รวมทั้งการนำสินค้าไปเปรียบเทียบจุดเด่นและจุดด้อยกับกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งทางการตลาด เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป

2. Price กลยุทธ์ทางด้านราคา โดยการกำหนดราคาของสินค้านอกจากผู้ประกอบการ จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต้นของทุนการผลิตแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพการแข่งขันของสินค้าชนิดนั้นๆ ในตลาด ซึ่งสำหรับสินค้าที่มีคู่แข่งทางการตลาดมากผู้ประกอบการสามารถใช้วิธีการกำหนดราคาสินค้าให้น้อยกว่าเพื่อแย่งชิงฐานลูกค้า หรืออาจจะทำการกำหนดราคาให้สูงกว่าเพื่อจัดวางตำแหน่งสินค้าให้อยู่เหนือกว่าตลาดคู่แข่งได้เช่นเดียวกัน

3. Place กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการควรพิจารณาวางแผนให้ดี เนื่องจากช่องทางกระจายสินค้าที่เลือกใช้ สามารถส่งผลต่อกำไรโดยรวมที่ผู้ประกอบการจะได้รับ โดยช่องทางการจัดจำหน่ายทางการตลาดในปัจจุบันมีอยู่สองรูปแบบ ได้แก่ การขายผ่านพ่อค้าคนกลางและการขายสู่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งช่องทางการขายสู่ผู้บริโภคโดยตรงจะสามารถสร้างผลกำไรได้สูง ตรงข้ามกับการขายผ่านพ่อค้าคนกลางที่จะสามารถสร้างยอดการขายได้สูงกว่า

4. Promotion โปรโมชั่นหรือการส่งเสริมการตลาด เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการได้อย่างดี โดยกลยุทธ์ดังกล่าวที่ถูกนำมาใช้จะต้องมีความสอดคล้อง รวมทั้งสามารถส่งเสริมกลยุทธ์อื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การลดราคาสินค้า การแถมสินค้า หรือการแจกสินค้า เป็นต้น ซึ่งหากโปรโมชั่นที่ผู้ประกอบการเลือกใช้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ ก็จะส่งผลให้สามารถเพิ่มยอดขายได้มากยิ่งขึ้น

5. Packaging บรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนเป็นหน้าตาของสินค้า ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับบรรจุภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างความสวยงามโดดเด่น รวมทั้งความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้มากกว่าสินค้าในตลาดคู่แข่ง จนสามารถสร้างยอดขายและกำไรที่เพิ่มขึ้นได้

6. Personal พนักงานขาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ไม่สามารถทำการลอกเลียนแบบได้ง่าย โดยหากผู้ประกอบการมีพนักงานขายที่มีความรู้ มากประสบการณ์ รวมทั้งมีความสามารถในการจูงใจผู้บริโภค จะสามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่ธุรกิจได้อีกทางหนึ่งโดยการใช้ประโยชน์จากความสามารถของบุคคล

7. Public Relation กลยุทธ์การใช้ข่าวสารในการชักจูงผู้บริโภค ถือว่าเป็นวิธีการทางการตลาดที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ที่สื่อต่างๆได้เข้ามามีอิทธิพลในสังคมมากขึ้น โดยกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มทัศนคติเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค รวมทั้งสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าได้เช่นกัน

8. Power กลยุทธ์ทางการตลาดเกี่ยวข้องกับอำนาจ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้สำหรับการต่อรอง ควบคุม รวมทั้งแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการค้ากับคู่แข่งทางการตลาด ซึ่งอำนาจต่อรองที่ผู้ประกอบการมีจะสามารถสร้างข้อเสนอที่ดีที่สุดให้แก่ธุรกิจได้

กลยุทธ์การตลาด 8P ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือทางการตลาดพื้นฐานในการทำธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการทุกประเภท โดยธุรกิจต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นมามากมายนั้น มีทั้งธุรกิจที่ล้มเหลว และธุรกิจที่สามารถดำเนินไปได้จนประสบความสำเร็จ ซึ่งมีเหตุผลเนื่องมาจากบริษัทที่ล้มเหลวทางธุรกิจไม่สามารถสร้างกลยุทธ์การตลาด 8P ขึ้นมาได้อย่างครบองค์ประกอบ ดังนั้นกลยุทธ์การตลาด 8P จึงควรถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่ผู้ประกอบการ

STP Model เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งส่วนตลาด

STP Model เป็นเครื่องมือทางการตลาดชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งส่วนตลาด การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้ก็จะถูกนำมาใช้เพื่อประกอบการวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Segmentation การแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็นกลุ่มๆ ที่เป็นกลุ่มขนาดย่อยลงมา โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดขึ้นในการแบ่ง โดยเกณฑ์ที่จะใช้ในการแบ่งส่วนตลาด ก็จะต้องเป็นเกณฑ์ที่มีความสร้างสรรค์และสามารถแบ่งกลุ่มได้อย่างเหมาะสมด้วย เช่น

  • เกณฑ์ประชากรศาสตร์ เป็นการแบ่งกลุ่มตามอายุ เพศ การศึกษา รายได้ สถานภาพและอาชีพ เป็นต้น
  • เกณฑ์ภูมิศาสตร์ เป็นการแบ่งกลุ่มตามทำเลที่อยู่ ภูมิภาค จังหวัดหรือภูมิประเทศ เป็นต้น
  • เกณฑ์จิตลักษณะ เป็นการแบ่งกลุ่มตามวิถีชีวิตหรือบุคลิกและลักษณะนิสัยโดยทั่วไป
  • เกณฑ์พฤติกรรม เป็นการแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรม เช่นพฤติกรรมการซื้อ พฤติกรรมการใช้ เป็นต้น

(นอกจากนี้ก็อาจจะมีการใช้เกณฑ์อื่นๆ ในการแบ่งได้เหมือนกัน)

Targeting การเลือกตลาดเป้าหมาย

การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการทำการตลาดโดยตรง ซึ่งอาจเลือกเพียงกลุ่มเดียว เพื่อมุ่งเน้นไปยังกลุ่มดังกล่าวโดยเฉพาะ หรืออาจเลือกหลายกลุ่มหรือเลือกทั้งหมดก็ได้

Positioning การวางตำแหน่ง

การวางตำแหน่งของตนเองเพื่อให้สินค้าและบริการเป็นที่จดจำ และโดนใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งจะต้องมีความแตกต่างจากคู่แข่ง และสามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า โดยส่วนใหญ่จะนิยมวางตำแหน่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

  • Product Positioning เป็นการวางตำแหน่งสินค้าและบริการ ให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ว่ามีความแตกต่างจากที่อื่น
  • Brand Positioning เป็นการวางตำแหน่งสินค้าและบริการ ให้กลุ่มเป้าหมายเห็นว่ามีความแตกต่างและโดดเด่น เป็นที่น่าสนใจมากกว่าผลิตภัณฑ์ของที่อื่น

จะเห็นได้ว่า STP Model เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ทราบถึงรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น สามารถนำรายละเอียดเหล่านี้มาใช้เพื่อวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ก็สามารถที่จะเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นพร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในส่วนของต้นทุนได้โดยที่ยังคงคุณภาพของสินค้าได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้สามารถวางทิศทางในการวางแผนจัดการด้านต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด