Tell me about yourself ตัวอย่าง

เมื่อเราต้องไปสัมภาษณ์งาน แค่ตอบคำถามเป็นภาษาไทยปกติก็ไม่ค่อยมั่นใจอยู่แล้ว พอต้องมาตอบคําถามสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษก็ทำให้หลายคนยิ่งไม่มั่นใจเข้าไปใหญ่ ซึ่งแนวทางคำถามภาษาอังกฤษก็ไม่ค่อยแตกต่างกันมากกับภาษาไทยแค่เราต้องฟังคำถามและตอบเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ให้แนะนำตัวเอง บอกจุดแข็งและจุดอ่อน ถามถึงปัญหาที่เคยเจอในการทำงานและการแก้ปัญหา สิ่งสำคัญก็คือการเตรียมตัวฝึกตอบคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษล่วงหน้า เพราะยิ่งเราตอบคำถามได้ฉะฉานมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีโอกาสได้งานมากเท่านั้น วันนี้ JobThai ก็เลยนำคำถามสัมภาษณ์งานที่ต้องเจอ และเทคนิคการตอบเป็นภาษาอังกฤษให้ปังมาฝาก

1. “Tell me about yourself.” - “แนะนำตัวเองให้ฟังหน่อย”

คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด บริษัทถามเพื่อเปิดโอกาสให้คุณสร้าง First Impression หรือความประทับใจแรกกับเขา ซึ่งหลายคนชอบติดการแนะนำตัวด้วยการบอกว่าเราเป็นใครมาจากไหน แล้วจบแค่นั้น เช่น Good morning. My name is… I’m from… ซึ่งบอกไปก็ไม่ผิด แต่มันไม่จำเป็น และควรอธิบายสิ่งที่สำคัญมากกว่าเพิ่มเติม เพราะในใบสมัครเขาก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าคุณชื่ออะไร มาจากไหน เรียนจบไหนมา ดังนั้นคำตอบควรจะมีการเล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำงานที่สำคัญเข้าไปด้วย

ถ้าไม่รู้ว่าจะนำเสนอตัวเองยังไง ลองคิดว่าคำถามนี้กำลังถามคุณว่า “ทำไมบริษัทถึงต้องเลือกคุณ” “คุณจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับบริษัทของเรา” อาจช่วยให้เลือกคำตอบได้ง่ายขึ้น โดยลองเลือกเอาความสำเร็จและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมามาเล่าก็ได้

ตัวอย่างการตอบ

“I have been doing social media for the last three years and I specialize in helping companies and entrepreneurs grow their Facebook fan page. My real strength is my ability to understand what your audience wants. What I’m looking for is a company that I could add value to, that I could produce a positive return on investment for.”

จากที่ยกตัวอย่างมา จะแยกออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ตามนี้

เล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา

“I have been doing social media for the last three years and I specialize in helping companies and entrepreneurs grow their Facebook fan page.” ฉันทำงานด้าน Social Media มาแล้ว 3 ปี มีความเชี่ยวชาญในการช่วยทำให้แฟนเพจ Facebook ของบริษัทและผู้ประกอบการเติบโตขึ้น

เล่าถึงข้อดีของคุณ

“My real strength is my ability to understand what your audience wants.” จุดแข็งของฉันคือสามารถเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้

เล่าถึงสิ่งที่กำลังมองหา หรือโอกาสที่คิดว่าคุณจะนำความสามารถไปประยุกต์ใช้ได้

“What I’m looking for is a company that I could add value to, that I could produce a positive return on investment for.” สิ่งที่ฉันกำลังมองหาคือบริษัทที่ฉันสามารถเข้าไปสร้างคุณค่า และทำให้บริษัทได้รับผลแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน

หางานที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

2. “What are your strengths and weaknesses?” - “จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณคืออะไร?”

เป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้คุณพูดถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง เหตุผลเพราะเขาอยากรู้ว่าคุณถนัดอะไรหรือทำอะไรได้ดีที่สุด รวมถึงจุดด้อยในการทำงานของคุณ หรือทักษะที่คุณยังทำได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ซึ่งคุณไม่ควรพูดถึงเพียงข้อดีเพียงอย่างเดียว ควรพูดถึงข้อเสียด้วย แต่ควรเป็นข้อเสียที่ไม่เกี่ยวกับงานหลักหรือส่งผลต่อการทำงานโดยตรงมากนัก ให้เอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถพัฒนาได้

นอกจากนั้นเทคนิคง่าย ๆ ในการตอบคำถามให้ดูดี ก็คือการใช้ Signposting Language หรือการส่งสัญญาณให้ผู้ฟังรู้ว่าคุณกำลังพูดถึงเรื่องไหนแล้ว เพื่อช่วยให้อีกฝ่ายคิดตามเราได้ง่ายยิ่งขึ้น เข้าใจง่าย และดูไม่วกไปวนมา

ตัวอย่าง Signposting Language

  • Firstly หรือ First of all ขั้นแรก, อย่างแรก เมื่อต้องพูดเกริ่นนำ
  • For example หรือ For instance เมื่อต้องการยกตัวอย่าง
  • On the other hand, On the contrary หรือ However ในอีกด้านหนึ่ง, ในขณะเดียวกัน พูดถึงสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อความแรก
  • Coming back to… เมื่อต้องการพูดย้อนไปถึงสิ่งที่พูดก่อนหน้านี้
  • Finally เมื่อต้องการสรุปใจความของสิ่งที่พูดไปทั้งหมด

ตัวอย่างคำตอบ

Firstly, I'm very good at working with other people. For example, in my last job, I always tried to encourage my colleagues and create a good atmosphere. On the other hand, I suppose I can be a little bit careless sometimes, because I'm not the kind of person who focuses on details. Coming back to strengths, I'm very calm, and I can keep a cool head even in very stressful situations.

อย่างแรกเลย ทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่นของฉันค่อนข้างดีมาก อย่างเช่น งานที่ทำล่าสุด ฉันพยายามให้กำลังใจคอยสนับสนุนเพื่อนร่วมงานและสร้างบรรยากาศที่ดีเสมอ แต่ในขณะเดียวกัน บางครั้ง ฉันก็อาจจะไม่ได้ระมัดระวังในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางจุดไปบ้าง เพราะฉันเป็นคนไม่ค่อยถนัดในการทำงานที่ต้องลงรายละเอียด กลับมาที่จุดแข็งต่อ ฉันเป็นคนใจเย็น สามารถควบคุมสติไดแม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดมาก ๆ

สำหรับการตอบจุดอ่อนอาจจะต้องระวังและประเมินว่าตำแหน่งงานของคุณเป็นยังไง ถ้าเนื้องานเป็นงานที่วางแผนในภาพกว้าง ไม่ได้ต้องเช็กความถูกต้องที่ต้องแม่นยำทุกอย่าง จุดอ่อนที่บอกว่าเป็นคนไม่ค่อยละเอียดกับเรื่องดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหา

3. “Can you tell me about a time when you demonstrated…” / "Tell me about a time you dealt with a challenging situation at work..." - “เล่าถึงการทำงานเมื่อคุณต้องรับมือกับการทำงานที่ท้าทายให้ฟังหน่อย”

คำถามเหล่านี้ถามถึงการแก้ไขปัญหาที่คุณเคยประสบมาก่อนในการทำงาน หรือการรับมือกับงานที่ท้าทายความสามารถ คำตอบมักเป็นการเล่าถึงปัญหา วิธีการทำงาน หรือการแก้ปัญหาที่คุณเคยทำมาแบบยาว ๆ เพื่อให้คนสัมภาษณ์ได้ฟังรายละเอียดอย่างครบถ้วน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเราตื่นเต้น ก็อาจจะทำให้เราอธิบายได้ไม่ดีนัก จนคำตอบของเราฟังดูไม่ชัดเจน ชวนสงสัย หรืออาจฟังไม่รู้เรื่องเลย ดังนั้นคุณควรจะเตรียมตัวสำหรับคำถามนี้ให้ดีก่อนไปสัมภาษณ์ โดยอาจจะใช้วิธีคิดแบบ STAR

  • S - Situation (What was the situation?) เกิดอะไรขึ้นตอนนั้น?
  • T - Task (What did you have to do?) หน้าที่ที่คุณต้องทำตอนนั้นคืออะไร?
  • A - Action (What did you actually do?) คุณลงมือทำมันยังไงบ้าง?
  • R - Result (What the end result was?) ผลลัพธ์ออกมาเป็นยังไง?

ตัวอย่าง

ผู้สัมภาษณ์: Can you tell me about a time when you demonstrated excellent customer service?“เล่าถึงเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคุณให้บริการลูกค้าได้ดีเยี่ยมให้ฟังหน่อย”

ผู้ถูกสัมภาษณ์: There was one time when a customer’s order hadn’t arrived, and we didn’t know what had happened to it. The customer was very unhappy, and I had to try to solve the problem for him. I arranged for a replacement to be sent, thinking we could find out what happened to the previous order later. In the end, the customer was happy that I could solve his problem quickly and simply.

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ามีการตอบคำถามแบบ STAR คือ

S - Situation: What was the situation?

- There was one time when a customer’s order hadn’t arrived. ไม่ได้รับออร์เดอร์ของลูกค้า

- We didn’t know what had happened to it. ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับออเดอร์นั้น

- The customer was very unhappy. ลูกค้าไม่พอใจอย่างมาก

T - Task: What did you have to do?

- I had to try to solve the problem for him. ต้องพยายามแก้ไขปัญหา

A - Action: What did you actually do?

- I arranged for a replacement to be sent. จัดหาของส่งไปให้ลูกค้า

R - Result: What was the end result?

- The customer was happy. ลูกค้าพอใจ

การตอบคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษนั้นไม่จำเป็นต้องยืดยาว แต่ต้องตอบให้กระชับ ตรงจุด และเรียบเรียงการพูดให้ดี ใครที่กำลังจะไปสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ ก็อย่าลืมเอาเทคนิคที่เราบอกไปฝึกซ้อม จะได้ตอบแบบคล่องแคล่วมั่นใจ เพราะแน่นอนว่าคนจะเก่งได้ต้องผ่านการฝึกฝนมาแล้วทั้งนั้น ขอให้ทุกคนที่กำลังไปสัมภาษณ์งานประสบความสำเร็จ ผ่านการสัมภาษณ์และได้งานดี ๆ แบบที่ตัวเองหวังไว้

Introduce yourself ควรพูดอะไรบ้าง

ควรแนะนำ:.

I am __(name), or you can call me __(nickname). I work as/am __(job title)__in ___(someone's team/department). I specialise in __(specialty)__and have been working here for xx years..

ชื่อจริง / ชื่อเล่น + ตำแหน่ง + งานที่เชี่ยวชาญ + อยู่ทีมใคร + ทำมานานแค่ไหนแล้ว.

Where do you see yourself in 5 years ตอบยังไง

Where do you see yourself in five years? แนวทางการตอบ: ตอบคำถามข้อนี้โดยมองผ่านมุมมองของบริษัท ลองคิดดูว่าคุณสามารถทำอะไรให้บริษัทได้บ้างในตำแหน่งที่กำลังสัมภาษณ์อยู่ 8. ลักษณะการทำงานของคุณเป็นแบบไหน: Describe your work style. ชอบทำงานคนเดียวหรือเป็นทีม: Do you prefer to work alone or on a team?

What are your strengths and weaknesses ตอบยังไง

ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามว่า “What are your strengths and weaknesses?” คือให้ตอบทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนพร้อมกันในคำถามเดียวกันเลย เราไม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นตอบด้วย Strengths (จุดแข็ง) เสมอไปก็ได้ เราอาจจะเริ่มต้นด้วย Weakness (จุดอ่อน) ก่อน แล้วมาจบอย่างสวยงามด้วย Strength (จุดแข็ง) ก็ได้เช่นเดียวกันค่ะ

Why should we choose you ตอบยังไง

คำแนะนำ : คุณอาจเจอคำถาม “Why should we hire you?” ทำไมเราต้องจ้างคุณ หรือ “What makes you the best fit for this position?” อะไรทำให้คุณคิดว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งนี้ คำตอบที่ควรตอบคือการ “ขายตัวเอง” ให้กับผู้สัมภาษณ์ “จงจำไว้ว่าบริษัทจ้างคน เพื่อมาแก้ปัญหา และคุณคือคนที่จะเข้ามาแก้ปัญหานั้น”