ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การทำบัญชีครัวเรือน เริ่มจากการหาสมุดมาสักเล่มหนึ่งอาจเป็นสมุดที่เด็ก ๆ ใช้แล้วเหลือหน้ากระดาษว่าง ๆ ก็นำมาทำเป็นบัญชีครัวเรือนได้ ปากกาหรือดินสอสำหรับเขียนลงในสมุดบัญชีครัวเรือน สำหรับชาวบ้านหรือคนที่อ่าน-เขียนหนังสือไม่ค่อยคล่องก็อาจใช้ให้ลูก ๆ ช่วยเขียนให้ การทำบัญชีครัวเรือนในแต่ละวันใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 5-10 นาทีก็เสร็จแล้ว เวลาที่เสียไปแค่ 5-10 นาทีต่อวันแต่ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำบัญชีครัวเรือนนั้นมีค่ามากมายมหาศาลนักในการช่วยวางแผนการเงินของครอบครัวและสามารถประยุกต์ไปจนถึงการนำไปใช้แก้ไขปัญหาหนี้สินได้ ขอให้ยอมสละเวลาในแต่ละวันเพื่อความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ดีขึ้น
บัญชีครัวเรือนสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบแต่อย่างน้อยต้องมีการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายปกติเป็นตาราง 5 ช่อง ประกอบด้วย ช่องแรกวันเดือนปีเพื่อบันทึกวันที่เกิดรายการนั้น ช่องที่สองรายการ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ ช่องที่สามรายรับ เพื่อบันทึกจำนวนเงินที่ได้รับช่องที่สี่รายจ่าย เพื่อบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายออกไป และช่องสุดท้ายยอดคงเหลือ เป็นช่องสรุปยอดเงินคงเหลือในแต่ละวัน

การจัดทำบัญชีครัวเรือน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) แยกประเภทของรายได้ และค่าใช้จ่าย แต่ละประเภทออกมา อาจใช้สมุดบัญชีที่มีขายตามร้านทั่วไป หรือหาสมุดมาตีเส้น แบ่งออกเป็นแถวในแนวตั้งและแนวนอน เพื่อจดรายการ
2) กำหนดรหัสประเภทของรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เพื่อใช้สรุปประเภทของค่าใช้จ่าย
3) เริ่มจากยอดเงินสดยกมา หรือ เงินทุนตั้งต้น แล้ว บวก ด้วยรายได้ หัก ด้วยค่าใช้จ่าย และแสดงยอดคงเหลือไว้
4) นำรายการที่เป็นบัญชีประเภทเดียวกัน รวมยอดเข้าด้วยกัน แล้ว แยกไปสรุปไว้ต่างหาก โดยสรุปยอดตามแต่ต้องการ เช่น เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน เป็นต้น

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

หลักการบันทึกทางบัญชี
หลักการบันทึกบัญชีครัวเรือนคืออาจจะเริ่มจากการมองรวมภาพใหญ่ก่อนว่า ในเดือนหนึ่งๆ หรือปีหนึ่งๆ มีรายการอะไร ดังนี้
– รายการค่าใช้จ่ายใหญ่ๆ อะไรบ้าง ที่ค่อนข้างคงที่ เช่น หรือเงินค่าเรียนหนังสือบุตร หรือเงินค่าวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เช่น ค่าปุ๋ย ค่าพันธุ์พืช และมีรายการย่อยๆ ที่เกิดประจำวันอะไรบ้าง เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน เงินทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น
– หนี้สินก็เป็นค่าใช้จ่ายรายการใหญ่ที่เป็นภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต ได้แก่ ค่าดอกเบี้ยเงินที่ไปกู้และต้องใช้คืนรายเดือนหลายปี จากการกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน จากกองทุน หรือธนาคารต่างๆ หรือ การซื้อของด้วยเงินเชื่อ การด้วยเครดิต หรือด้วยเงินผ่อนชำระหรือการเช่าซื้อ การจำนำ จำนอง ขายฝาก เป็นต้น
– เงินคงเหลือ คือ เงินหรือทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับหักรายจ่ายแล้ว ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย จะเกิดเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า “กำไร” แต่หากหลังจากนำรายรับหักรายจ่ายแล้ว พบว่า รายจ่ายมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือติดลบ หรือทางบัญชีเรียกว่า “ขาดทุน”นั่นเอง

การวิเคราะห์บัญชีครัวเรือน
ให้นำบัญชีครัวเรือนที่ผ่านมาในระยะเวลา 1 เดือน มาพิจารณาดูว่า รายรับ-รายจ่าย มีความสมดุลกันหรือไม่ รับมากกว่าจ่ายหรือจ่ายมากกว่ารับ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน รายจ่ายมักจะมากกว่ารายรับ จึงต้องให้ความสำคัญในการพิจารณารายจ่ายให้ดีว่า พอจะมีรายการไหนที่พอจะลดหรือตัดออกได้(รายการที่ฟุ่มเฟือย) ก็ให้หาทางปรับลดหรือตัดรายการรายจ่ายเหล่านี้ออกไป

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ตัวอย่างรายรับครัวเรือน
1. ขายผลิตจากการทำนา ทำไร่ ฯ
2. ขายสัตว์เลี้ยง เช่น หมู วัว เป็ด ไก่ ฯ
3. ขายผลิตภัณฑ์จากงานหัตถกรรม
4. การค้าขายสินค้าซื้อมา/ขายอาหาร
5. การขายพืช/สัตว์ หาจากแหล่งธรรมชาติ
6. ค้าจ้างจาการทำงานหรือให้บริการ
7. เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชั่น
8. เงินสงเคราะห์และสวัสดิการต่างๆ
9. รายได้จากการขาย/ให้เช่า ที่ดิน บ้าน ฯ
10. รายรับจากดอกเบี้ยเงินกู้/ดอกเบี้ยธนาคารฯ
11. รายได้จากการเสี่ยงโชค
12. เงินที่ได้รับจากการกู้ยืม
13. เงินที่ลูก หลาน ญาติพี่น้อง ส่งมาให้
14. เงินที่ผู้อื่นช่วยงานต่างๆ
15. เงิน/ลาภลอยที่มีคนมานำให้เป็นกรณีพิเศษ

ตัวอย่างรายจ่ายครัวเรือน
หมวดที่ 1 : ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ
1.1. ค่าจ้างแรงงาน
1.2. ค่าเช่า/ซื้อวัสดุอุปกรณ์ หรือลงทุนเครื่องมือ ฯ
1.3. ค่าโดยสาร รถ เรือ รถไฟ ฯ ค่าแสตมป์ ไปรษณีย์ ฯ
1.4. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงพาหนะ เดินทาง/ประกอบอาชีพ
1.5. ค่าปุ๋ยชีวภาพ หรืออินทรีย์ ฯ
1.6. ค่าปุ๋ยเคมี/ฮอร์โมน ฯ
1.7. ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช
1.9. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อยานพาหนะ
1.8 ค่าเมล็ดพันธุ์
1.10. ซื้อสินค้ามาจำหน่าย
หมวดที่ 2 : ค่าอาหาร
2.1. ข้าวสารทุกชนิด
2.2. เนื้อสัตว์บก สัตว์น้ำ แมลง และสัตว์อื่นๆ ที่ใช้เป็นอาหาร
2.3. ผักสด และผลไม้สดต่างๆ รวมทั้งพริก หัวหอม กระเทียมฯ
2.4. ไข่สด เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา ฯ
2.5. เครื่องเทศ เช่น พริกไทย กานพลู ขมิ้น ฯ
2.6. อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป ฯ
2.7. อาหารสำเร็จที่ซื้อจากร้าน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน ฯ
2.8. น้ำดื่มสะอาด เช่นน้ำแร่ น้ำโพลาลิส ฯ
2.9. น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มเกลือแร่ ฯ
2.10. นมทุกชนิด โอวัลติน ไมโล โกโก้ น้ำผลไม้
2.11. ขนมขบเคี้ยว ขนมกรุบกรอบ ลูกอม
2.12. ค่าขนมที่ให้เด็กไปโรงเรียนรายวัน /รายเดือน
2.14. เหล้า เบียร์ ยาดอง ไวน์ กระแช่ สาโท
2.15. ค่าเชื้อเพลิงในการหุงต้ม เช่น แก๊ส ถ่าน ฟืน ฯลฯ
หมวดที่ 3 : ยา – สุขภาพอนามัย
3.1. ยาแก้ปวด
3.2. ยารักษาโรคอื่นๆ
3.3 ยาหรืออุปกรณ์คุมกำเนิด
3.4. ค่ารักษาพยาบาลทั้งที่สถานีอนามัย โรงพยาบาล และคลินิก
3.5. ยาสูบ บุหรี่ หมาก ยานัตถุ์ ฯลฯ
3.6. จ่ายเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันภัย
หมวดที่ 4 : เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ
4.1. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องนอน
4.2. ค่าใช้จ่ายในการเสริมสวย เช่น ตัดผม ดัดผม ย้อมผม เครื่องสำอาง ฯ
หมวดที่ 5 : ที่อยู่อาศัย
5.1. เงินสด เงินดาวน์ หรือเงินผ่อน เพื่อซื้อ/เช่าที่ดิน ฯ
5.2. ซ่อมแซม ต่อเติมหรือปลูกบ้าน หรือปรับปรุงบริเวณบ้าน/ที่ดิน
5.3. เงินสด เงินดาวน์ และเงินผ่อน เพื่อซื้อ/ซ่อมเครื่องใช้ในบ้าน ฯ
5.4. ของใช้ประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ของเด็กเล่น ฯ
5.5. ค่าไฟฟ้า
5.6. ค่าน้ำประปา
5.7. ค่าโทรศัพท์ทั้งครัวเรือน รายเดือน/ค่าบัตรเติมโทรศัพท์
5.8. ค่าหนังสือพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร
5.9. ค่าภาษีต่างๆ เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดิน ป้าย ร้านค้า ฯ
รวมค่าใช้จ่ายหมวดที่ 5
หมวดที่ 6 : ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน งานสังคม และเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
6.1. ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ออกเงินกู้
6.2. จ่ายดอกเบี้ย และเพื่อใช้หนี้เงินกู้ เงินยืม เงินแชร์
6.3. เงินทำบุญ หรือบริจาค
6.4. เงินช่วยงานหรือเงินใส่ซอง เช่น งานแต่งงาน งานศพ งานบวช ฯ
6.5. ค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่งงาน/งานศพ บวชนาค ขึ้นบ้านใหม่ ฯ
6.6. จ่ายพักผ่อนหย่อนใจ เช่น ค่าแผ่นซีดี ค่าตั๋วดูหนัง ดนตรี ฯ
6.7. ซื้อสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข นก ปลา ฯ หรือไม้ดอกไม้ประดับ
6.8. เงินเดือนหรือเงินที่ส่งไปช่วยเหลือญาติในครอบครัวที่อยู่ที่อื่น
6.9. เงินเสียไปโดยไม่เต็มใจ เช่น ทำเงินหาย ถูกลักขโมย ถูกปรับ ฯ
6.10. เงินที่จ่ายเพื่อการเสี่ยงโชค เช่น ซื้อหวย ล็อตเตอรี่ สลากกินแบ่งฯ
6.11. เงินเสี่ยงดวงในรูปแบบต่างๆ
หมวดที่ 7 : ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
7.1. ค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่ากิจกรรมพิเศษ
7.2. ค่าอุปกรณ์การเรียน เช่น เครื่องเขียน สมุด หนังสือเรียน กระเป๋า ฯ
7.3. ค่าชุดนักเรียน ชุดพละ ชุดลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ฯ

ตัวอย่างบุคคลที่ทำบัญชีครัวเรือน

เป็นคำบอกเล่าในบทเรียงความตามโครงการ “สุดยอดนักบัญชีอาสาพาครอบครัวสดใส” ของ
ด.ญ.เวธกา ไวมือ นักเรียนชั้น ป.6 ที่ จ.ลำปาง ซึ่ง ด.ญ.เวธการะบุอีกว่า… เพราะไม่เคยรู้ว่าลงทุนซื้อของเข้าร้านไปเท่าไหร่ ขายสินค้าได้เท่าไหร่ พ่อแม่ใช้จ่ายเงินในการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง-ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปเท่าไหร่ ในที่สุดครอบครัวก็ประสบปัญหาสาหัส “ไม่มีเงินซื้อของเข้าร้าน บ้านถูกยึด ครอบครัวของฉันต้องมาอาศัยกับตายาย” …ด.ญ.เวธกาบอก แต่…วันนี้ฐานะครอบครัวของน้องคนนี้สามารถฟื้นตัวได้แล้ว โดยมี “บัญชีครัวเรือน” เป็นเครื่องเตือนสติ “จากบัญชีที่แม่ให้ฉันทำ มีค่าใช้จ่ายของพ่อนั่นก็คือค่าเหล้าที่พ่อชอบซื้อมาเลี้ยงคนงานตอนเย็น แล้วพ่อก็นั่งกินกับคนงานด้วย แล้วก็มีค่าบุหรี่ที่พ่อสูบเดือนหนึ่งประมาณพันกว่าบาท ฉันทำบัญชีเห็นแล้วเสียดาย เพราะมันเป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย” …นี่เป็นส่วนหนึ่งจากเรียงความของ ด.ญ. เปมิกา ทั่งทอง นักเรียนชั้น ป.5 ที่ จ.ตราด ซึ่งเมื่อประกอบกับเป็นห่วงสุขภาพของพ่อ ก็รบเร้าให้พ่อเลิกเหล้าเลิกบุหรี่“จนถึงทุกวันนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอีกเดือนละพันกว่าบาท ฉันก็ยังทำบัญชีให้แม่เหมือนเดิม รวมทั้งบัญชีของตัวเองด้วย”
ด.ญ.ครียาภัทร ทองนาค นักเรียนชั้น ม.2 ที่ จ.ยโสธร ก็เขียนเรียงความตามโครงการ “สุดยอดนักบัญชีอาสาพาครอบครัวสดใส” เอาไว้ตอนหนึ่งว่า… “เมื่อก่อนคุณพ่อเคยดื่มเหล้าสูบบุหรี่ คุณแม่ชอบเล่นหวยและซื้อเครื่องสำอางมากมาย แต่พอคุณพ่อเลิกดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ส่วนคุณแม่ก็เลิกเล่นหวยและซื้อเครื่องสำอางน้อยลง เมื่อคำนวณรายจ่ายในแต่ละเดือนประหยัดเงินไปได้ถึงเดือนละ 3,000-4,000 บาท” …นี่ก็ผลจากการทำบัญชีครัวเรือนจนครอบครัวนี้เห็นชัดถึงยอดรายจ่ายไม่จำเป็นที่สูง และสามารถตัดออกไปได้“ทำให้เราทราบรายได้และรายจ่ายที่แน่นอน รวมทั้งทราบค่าใช้จ่าย ที่ฟุ่มเฟือย เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่าเสริมสวย ค่าของเล่น ค่าตั๋วดูภาพยนตร์ อันไหนที่ไม่จำเป็นเราก็สามารถตัดออกได้ ทำให้ครอบครัวของผมมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น เงินส่วนนี้ก็เป็นเงินออมของครอบครัว ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่ายได้ในเวลาที่จำเป็น”
ด.ช.ประพัฒน์พงษ์ ตั้งเจริญ นักเรียนชั้น ป.3 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งก็เป็นอีกบทพิสูจน์เรื่อง “จดแล้วไม่จน” ที่ต่อยอดเป็น “มีเงินออม” ด้วย “บัญชีครัวเรือน” หรือบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำครอบครัว ที่จริงก็มิใช่เรื่องใหม่ หลายครอบครัวที่มีฐานะดีในวันนี้ได้ก็เพราะมีการทำบัญชีลักษณะนี้

บทสรุป
การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ  บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างวินัยทางการเงิน สร้างความสามัคคีภายในครอบครัว   รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม  มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงิน และ การวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้

การทำบัญชีครัวเรือน
โดยใช้ระบบบัญชี
ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

กดดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่

การทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย

ตามรูปแบบของ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรา  เรืองสินภิญโญ
สาขาบัญชี  คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีในชีวิตประจำวัน

   ตัวอย่างสรุปบัญชีครัวเรือน  (รายรับ – รายจ่าย)

เดือน รายรับ

(บาท)

รายจ่าย

(บาท)

หมายเหตุ
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
…………………………….
รวมทั้งสิ้น

คำอธิบายการจดบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือน  (รายรับ – รายจ่าย)  ประจำครอบครัว
1.    ช่อง วัน/เดือน/ปี  ใช้บันทึกวันที่  เดือน  และปี  พ.ศ. ที่มีรายการรับเงินและรายการจ่ายเงินเกิดขึ้น
2.    ช่องรายการ  ใช้บันทึกรายละเอียดของรายการรับเงิน  เช่น  รับเงินค่าขายผลิตผล  รับเงินจากค่าจ้าง  รับเงินกู้  รับเงินที่ลูกส่งให้  เป็นต้น  หรือใช้บันทึกรายละเอียดของรายจ่าย  เช่น  ชำระหนี้เงินกู้  จ่ายเงินค่าอาหาร  จ่ายเงินให้ลูกไปโรงเรียน  เป็นต้น
3.    ช่อง  “รายรับ”  ใช้บันทึก  “จำนวนเงิน”  ที่ได้รับเข้ามาให้ตรงกับรายละเอียดในช่องรายการ
4.    ช่อง “รายจ่าย”  ใช้บันทึก  “จำนวนเงิน” ที่จ่ายออกไปเป็นเงินสดและเงินเชื่อทุกรายการ  ให้ตรงกับรายละเอียดในช่องรายการ
5.    การสรุปบัญชีครัวเรือน  (รายรับ – รายจ่าย)  ใช้บันทึกยอดเงินรวมของจำนวนเงินที่ได้รับและจำนวนเงินที่จ่ายของแต่ละเดือน

ตัวอย่าง  วิธีบันทึกบัญชีครัวเรือน (รายรับ – รายจ่าย)

 

วัน/เดือน/ปี

 

รายการ

รายรับ

(บาท)

รายจ่าย

(บาท)

 

หมายเหตุ

1 ม.ค. 2563 ลูกส่งเงินมาให้ 3,000
1 ม.ค. 2563 ช่วยทำบุญงานขึ้นบ้านใหม่ของเพื่อนบ้าน 100
3 ม.ค. 2563 รับเงินค่าขายข้าวเปลือก  จำนวน  400 ถัง  (4 เกวียน) 24,000 ราคาข้าวเปลือกถังละ 60 บาท
3 ม.ค. 2563 ชำระหนี้ ธกส. 10,000
14 ม.ค. 2563 จ่ายค่าปุ๋ย  จำนวน 2 กระสอบ 1,000 ราคากระสอบละ 500  บาท
27 ม.ค. 2563 จ่ายค่ากับข้าว  จำนวน 14 วัน  (2 สัปดาห์) 800 เฉลี่ยรายจ่ายสัปดาห์ละ 400  บาท
30 ม.ค. 2563 จ่ายค่าของเบ็ดเตล็ด 1,500 ประกอบด้วยค่า  ผงซักฟอก  ยาสีฟัน

ขนมลูก  ไฟฟ้า

เสื้อผ้า  น้ำมันพืช

น้ำมันรถยนต์

รวม   27,000 15,400  
สรุป มีรายรับจำนวน  27,000 บาท
มีรายจ่าย  จำนวน  15,400 บาท
มีรายรับมากกว่ารายจ่ายเป็นจำนวนเงิน 11,600  บาท

ตัวอย่างแบบฟอร์มบัญชีครัวเรือน (บัญชีรายรับและรายจ่าย)

วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือน
1. ช่อง “วันที่” ใช้บันทึก วันที่ เดือน และปี พ.ศ. ที่เกิดรายการรับเงินหรือจ่ายเงินจริง แต่หากจำวันที่เกิดรายการไม่ได้ ให้ใช้วันที่ทำการบันทึกบัญชีแทน
2. ช่อง “รายการ” ใช้บันทึกคำอธิบายหรือรายละเอียดของการรับเงินหรือจ่ายเงิน การรับเงิน เช่น รับเงินเดือน รับรายได้พิเศษ การจ่ายเงิน เช่น ค่าอาหาร ค่าพาหนะเดินทาง จ่ายค่าเล่าเรียน เป็นต้น
3. ช่อง “รับ” ใช้บันทึก “จานวนเงิน” ที่ได้รับเข้ามาทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นรายรับจากอาชีพหลักหรือรายได้อื่น ๆ
4. ช่อง “จ่าย” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายออกไปทุกรายการ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปในเรื่องใดก็ตาม
5. ช่อง “คงเหลือ” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” คงเหลือ หลังจากได้รับเข้ามาหรือจ่ายออกไป ควรคำนวณทุกครั้งที่มีการบันทึกบัญชีการรับเข้าหรือจ่ายออก เพื่อจะได้ทราบว่าปัจจุบันมีจานวนเงินคงเหลืออยู่เท่าใด โดยตั้งต้นด้วยจำนวนเงินคงเหลือล่าสุด นำรายการรับมาบวกเข้า และนำรายการจ่ายมาหักออก จะได้ยอดคงเหลือปัจจุบัน เพื่อสามารถวางแผนการใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ช่อง “หมายเหตุ” ใช้บันทึกรายละเอียดที่ต้องการบันทึกเพิ่มเติมจากช่องรายการ
7. บรรทัด “ยอดคงเหลือยกมา” ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ในช่องคงเหลือ โดยนำตัวเลขมาจากจำนวนเงินในช่อง “คงเหลือ” จากบรรทัด “รวม” (บรรทัดสุดท้าย) ของหน้าบัญชีก่อนหน้านี้ แต่หากเป็นการเริ่มต้นบันทึกบัญชีเป็นครั้งแรกในหน้านี้ ให้ใส่จำนวนเงินคงเหลือตามตัวเลขที่มีเงินคงเหลืออยู่เป็นตัวเลขตั้งต้น
8. บรรทัด รวม รับ, จ่าย และยอดคงเหลือยกไป ใช้บันทึก “จำนวนเงินรวม” ตามแนวตั้งในช่องรับและจ่าย ส่วนช่องคงเหลือ เป็นจำนวนเงินคงเหลือที่เป็นปัจจุบัน โดยนำตัวเลขนี้มาจากช่องคงเหลือล่าสุดของหน้าบัญชีนี้ ซึ่งจานวนเงินนี้จะนำไปใส่ในบรรทัดยอดคงเหลือยกมาในช่องคงเหลือของหน้าบัญชีถัดไป แต่หากต้องการทราบยอดรวมของรายรับและรายจ่ายในหน้าบัญชีถัดไปด้วย ก็ให้ยกยอดรวมในช่องรับและจ่ายไปใส่ในหน้าบัญชีถัดไปพร้อมกัน จำนวนเงินยอดคงเหลือยกไปในหน้าบัญชีนี้จะต้องเท่ากับจานวนเงินยอดคงเหลือยกมาในหน้าบัญชีถัดไป

ตัวอย่าง     บัญชี รายรับ-รายจ่าย ประจำเดือน………..

วันที่ รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ
บาท บาท บาท
31/1/2563 ยอดยกมา 8,000
1/2/2563 ได้รับเงินเดือน 22,000 30,000
รับเงินจากพี่ศรราม 4,000 34,000
ค่าอาหาร 600
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 80
ค่าน้ำมันรถ 60 33,260
2/2/2563 ค่าอาหาร 80
จ่ายค่าน้ำ 170
จ่ายค่าไฟฟ้า 600
ซื้อของใช้ในบ้าน 400
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100 31,910
3/2/2563 ค่าอาหาร 150
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100
ค่าน้ำมันรถ 50
ซื้อปุ๋ยใส่ต้นไม้ 50 31,560
4/2/2563 ค่าอาหาร 100
จ่ายค่าขนมลูก 30 31,430
5/2/2563 ค่าอาหาร 100
จ่ายค่าขนมลูก 30
จ่ายค่าน้ำมันรถ 60 31,240
6/2/2563 ซื้อของใช้ในบ้าน 250
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100
ค่าอาหาร 120 30,770
7/2/2563 ค่าอาหาร 100
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100 30,570
8/2/2563 จ่ายค่าเรียนพิเศษ 2,000
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100
ค่าอาหาร 100 28,370
9/2/2563 ซื้อหนังสือเรียน 885
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100
จ่ายค่าน้ำมันรถ 50 27,335
10/2/2563 ค่าอาหาร 110
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100 27,125
11/2/2563 ค่าอาหาร 40
ซ่อมมอเตอร์ไซด์ 1,700
จ่ายค่าขนมลูก 30 25,355
12/2/2563 จ่ายค่าน้ำมันรถ 50
จ่ายค่าขนมลูก 30 25,275
13/2/2563 ค่าอาหาร 170
จ่ายค่าขนมลูก 30 25,075
14/2/2563 จ่ายค่าน้ำมันรถ 60
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100 24,915
15/2/2563 ค่าอาหาร 110
จ่ายเงินลูกไปโรงเรียน 100
จ่ายค่าแก๊ส 265 24,440

ตัวอย่าง  การบันทึกบัญชีครัวเรือน

รายการรับ-จ่าย ที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 25×1 มีดังนี้
(จานวนเงินคงเหลือ ณ วันต้นเดือนเท่ากับ 300 บาท)
25×1
มิถุนายน         1     รับเงินเดือนจากผู้ปกครอง 2,000 บาท
รับค่าทำงานพิเศษ 1,000 บาท
         5         จ่ายค่าอาหาร 5 วัน 220 บาท
จ่ายเดินทาง 200 บาท
        10         ซื้อของใช้เบ็ดเตล็ด 180 บาท
ซื้อรองเท้า 300 บาท
จ่ายค่าอาหาร 5 วัน 240 บาท
        20         ซื้อเสื้อนักศึกษา 200 บาท
ทำบุญที่วัด 50 บาท
จ่ายค่าอาหาร 10 วัน 450 บาท
ซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ 50 บาท
        30         จ่ายค่าหอพัก 500 บาท
            จ่ายค่าอาหาร 10 วัน 400 บาท
รับค่าทำงานพิเศษ 150 บาท
จ่ายค่าหนังสือเรียน 300 บาท
การบันทึกรายการข้างต้นในสมุดบัญชีครัวเรือน เป็นดังนี้

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีครัวเรือน (บัญชีรายรับและรายจ่าย)

ข้อมูลเพิ่มเติม
ในการบันทึกบัญชีครัวเรือนมีข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลข้างต้น ดังนี้
1. การบันทึกบัญชี อาจบันทึกทุกวัน หรือหลายวันบันทึกหนึ่งครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก แต่ให้เก็บรวบรวมหลักฐานการรับหรือจ่ายเงินไว้ (ถ้ามี) เช่นใบเสร็จรับเงินจากการใช้จ่ายต่าง ๆ
2. กรณีที่ต้องการทราบรายละเอียดของรายจ่ายให้ชัดเจนว่าจ่ายไปในเรื่องใดบ้าง ให้แบ่งช่องรายจ่ายออกเป็นช่องย่อยๆ ลงไปอีกตามที่ต้องการ เช่น ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าพาหนะเดินทาง ค่าการศึกษา ชาระหนี้สิน และรายจ่ายอื่นๆ เมื่อบันทึกบัญชี ให้นำจำนวนเงินบันทึกลงในช่องนั้นๆ ตามประเภท

การทำบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ประวัติความเป็นมาของบัญชีครัวเรือน
การบัญชีเป็นภาษาทางธุรกิจ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษานี้เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของเหตุการณ์ทาง  เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตามปกติในทุกๆ วัน โดยศัพท์ทางบัญชีจะเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้นเมื่อใช้ในการบัญชี  ดังเช่นเราจะได้ยินคำศัพท์  เช่น  สินทรัพย์ หนี้สิน  ส่วนของเจ้าของ  รายได้  ค่าใช้จ่าย  และกำไรขาดทุน  เป็นต้น  การบัญชีจึงเป็นกิจกรรมของการให้บริการซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับรายการทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ

วิวัฒนาการบัญชี
การบันทึกข้อมูลทางการบัญชีได้ทำกันมานานแล้ว  ไม่น้อยกว่า 5 พันปี โดย จากหลักฐาน ที่ปรากฏการจดบันทึกข้อมูลและการจดบันทึกข้อมูลบนแผ่นดินเหนียว มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจ คือ
1.    สมัยอียิปต์  มีการบันทึกข้อมูลทางบัญชี  เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ  ในท้องพระคลัง
2.    สมัยบาปิโลน มีการบันทึกเกี่ยวกับเงินและทองคำที่ได้รับ  โดยมีการระบุวันที่รับ  ชื่อผู้รับ  และชื่อผู้ให้
3.    สมัยกรีก  มีการพัฒนาปรับปรุงในเรื่องของข้อมูลในการรับและจ่ายประจำงวดตลอดจนการคำนวณหายอดคงเหลือ
4.    ต้นงวดปลายงวด  เพื่อต้องการทราบจำนวนทรัพย์สินมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการคำนวณผลกำไร
5.    สมัยโรมัน  มีการบันทึกทางการบัญชีเกขึ้น  ในลักษณะของการบันทึก 2 ด้าน  เหมือนกับหลักบัญชีคู่เพราะมีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นว่ารับมากจากใคร  และ จ่ายให้ใครเป็นจำนวนเท่าไหร่ พัฒนาการทางด้านบัญชี  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่  การบัญชีแพร่หลายในยุโรปสมัยกลาง ของประวัติศาสตร์ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และ ความจำเป็นของระบบขุนนาง หรือ ศักดินา ในขณะนั้น  ในสมัยต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจเป็นระบบคฤหาสน์  การบัญชีจำเป็นต้องขยายตัว ให้เยงพอกับความต้องการ และ ความจำเป็นของระบบนั้นด้วย  ระบบบัญชีคู่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศอิตาลี ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็เป็นผลเนื่องมาจากขยายตัวทางด้านการหัตถกรรมและพานิชยกรรม  ความต้องการให้มีการบันทึกการจัดหมวดหมู่รายการตลอดจนการเสนอผลสรุปของการค้าที่ขยายตัวขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบัญชีให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่เป็นมาแต่ก่อน

การบัญชีในประเทศไทย
เริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในช่วงปี  พ.ศ. 2193 – 2231 ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนี้ประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศยุโรปคือ อังกฤษ  ฝรั่งเศส  และโปรตุเกสเป็นต้น  บัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นบัญชีแรก  คือบัญชีเงินสด  และได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มจัดทำบัญชีเงินพระคลังเป็นหมวดหมู่  และวิชาการบัญชีก็ได้เริ่มมีการศึกษากัน  เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นกัน  กล่าวคือในปี  พ.ศ. 2482  พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดกล้า  ให้บรรจุเรื่องการบัญชีเป็นสาขาหนึ่งใน 8 อย่างของชั้นประโยค 2 ซึ่งเป็นชั้นเรียนสูงสุดของการเรียนสมัยนั้น  แต่เป็นเพียงการทำบัญชีเกี่ยวกับ การเงินเท่านั้น  ยังไม่ใช่หลักการบัญชีคู่ที่แท้จริง  ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับสมัยราชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดคัดเลือกบุตรข้าราชการ ส่งไปเรียนด้านพาณิชย์และบัญชีที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุการณ์ข้างตันนี้ ทำให้การบัญชีของไทย สมัยนั้นเป็นแบบอังกฤษ  นอกจากนั้นยังโปรดให้ตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้น 2 แห่ง  คือ  โรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา  และโรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้า  โดยมีการสอนบัญชีคู่เป็นครั้งแรกในโรงเรียนดังกล่าวและมีบัญชีเพียง 3 เล่น  คือ  สมุดบัญชีเงินสด  สมุดรายวัน  และสมุดแยกประเภท  ในปี พ.ศ. 2481  ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์ และ การบัญชีขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ออกกฎหมายพระราชบัญญัติบัญชีขึ้น  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการคือ
1.    เพื่อให้การจัดทำบัญชีของธุรกิจต่างๆ  มีแนวทางแบบเดียวกัน.
2.    เพื่อคุ้มครองประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้เกี่ยวข้อง
3.    เพื่ออำนวยความสะดวกและเกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บ

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

บัญชีครัวเรือน ( Home Accounting )กับเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรา เรืองสินภิญญา

“บัญชีครัวเรือน” เป็นการประยุกต์ทางการบัญชีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้จัดทาบัญชีครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น ทาให้เกิดการประหยัดและการออม และในที่สุดจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน จากรายงานการวิจัยหลายฉบับได้สนับสนุนถึงประโยชน์ของการจัดทาบัญชีครัวเรือน แต่พบว่าบุคคลส่วนใหญ่ยังคงไม่มีการจัดทา เอกสารนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการจัดทาบัญชีครัวเรือน อันจะเป็นผลให้มีการจัดทาบัญชีครัวเรือนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจาก “บัญชีครัวเรือน” เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงขอกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก่อน
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ไว้ดังนี้
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550, หน้า 45) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดาริไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (self-sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตัวเองให้ดีเสียก่อน คือให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วเพียงอย่างเดียว
ประเวศ วะสี (2550, หน้า 5) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พอเพียงในอย่างน้อย 7 ประการด้วยกัน คือ 1) พอเพียงสาหรับทุกคน ทุกครอบครัว ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทอดทิ้งกัน 2) จิตใจพอเพียง ทาให้รักและเอื้ออาทรคนอื่นได้ คนที่ไม่พอจะรักคนอื่นไม่เป็น และทาลายมาก 3) สิ่งแวดล้อมพอเพียง การอนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม ทาให้ยังชีพและทามาหากินได้ เช่น การทาเกษตรผสมผสาน ซึ่งได้ทั้งอาหารได้ทั้งสิ่งแวดล้อม และได้ทั้งเงิน 4) ชุมชนเข้มแข็งพอเพียง การรวมตัวกันเป็นชุมชนเข้มแข็งจะทาให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ปัญหาสังคม ปัญหาความยากจน หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม 5) ปัญญาพอเพียง มีการเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติ และปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง 6) อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง วัฒนธรรมหมายถึง วิถีชีวิตของกลุ่มชนที่สัมพันธ์อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ดังนั้น เศรษฐกิจจึงควรสัมพันธ์และเติบโตขึ้นจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม จึงจะมั่นคง และ 7) มีความมั่นคงพอเพียง ไม่ใช่วูบวาบ เดี๋ยวจนเดี๋ยวรวยแบบกะทันหัน เดี๋ยวตกงานไม่มีกินไม่มีใช้ ถ้าเป็นแบบนั้นประสาทมนุษย์คงทนไม่ไหวต่อความผันผวนที่เร็วเกิน จึงสุขภาพจิตเสีย เครียด เพี้ยน รุนแรง ฆ่าตัวตาย ติดยา เศรษฐกิจพอเพียงที่มั่นคงจึงทาให้สุขภาพจิตดี
สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถทาให้เกิดความพอเพียงหรือพอประมาณกับตนเอง อยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ไม่เดือดร้อน เป็นการยึดทางสายกลาง เมื่อทาอะไรก็ตามให้พอเหมาะพอควร มีเหตุมีผล และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง โดยอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง
รงค์ ประพันธ์พงศ์ (2550, หน้า 34) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นทางสายกลาง หรือแบบมัชฌิมาปฏิปทาตามหลักพุทธศาสนา คำนิยามเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะที่เป็นห่วงสอดร้อยประสานกันเพื่อนาไปสู่การปฏิบัติได้แก่
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
นอกจากคุณลักษณะ 3 ห่วงดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การกำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ประการ เพื่อการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน นั่นคือเงื่อนไขต่อไปนี้
ก. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
ข. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ความหมายของบัญชีครัวเรือน
บัญชีครัวเรือน (home accounting) เป็นการนาการบัญชีมาประยุกต์เพื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นบัญชีที่ใช้สาหรับบันทึกรายได้และรายจ่าย รายได้และรายจ่ายที่บันทึกอาจเป็นรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล หรือรายได้และรายจ่ายที่เป็นต้นทุนในการผลิตของธุรกิจขนาดย่อม เพื่อที่จะทาให้ผู้ประกอบกิจการทราบถึงผลกาไรหรือขาดทุนจากการประกอบธุรกิจนั้น โดยในเอกสารนี้จะกล่าวถึงการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายที่เป็นของส่วนบุคคลหรือครอบครัว ทั้งนี้ข้อมูลรายได้และรายจ่ายที่ได้จากการบันทึกจะถูกวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ความเกี่ยวข้องระหว่างบัญชีครัวเรือนและเศรษฐกิจพอเพียง
เนื่องจากผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนจะสามารถทราบถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว จึงสามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ เกิดความพอประมาณในการใช้จ่าย สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดการประหยัดและการออม และหากมีการใช้จ่ายเท่าที่มีก็จะไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน จึงสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน เป็นผลให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากเกิดการตกงานหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ไม่สามารถหารายได้มาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้การบันทึกบัญชีครัวเรือน จึงสามารถทำให้ผู้บันทึกเกิดคุณสมบัติ 3 ข้อ คือ
1. ความพอประมาณในการใช้จ่าย
2. มีเหตุมีผลในการตัดสินใจใช้จ่าย ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง
3. ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งเป็นไปตามคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการในองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงโดยอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไข คือ
ก. ความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน การวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายที่ได้บันทึกไว้
ข. คุณธรรม คือการดำเนินชีวิตด้วยความขยันอดทน และใช้สติปัญญาในการดาเนินชีวิต ผู้บันทึกบัญชีครัวเรือนสามารถทาให้เกิดความพอเพียงหรือพอประมาณกับตนเอง อยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ไม่เดือดร้อน เป็นการยึดทางสายกลาง โดยเมื่อทำอะไรก็ตามให้พอเหมาะพอควรและมีเหตุมีผล ประโยชน์ที่ได้รับจากการบันทึกบัญชีครัวเรือนดังกล่าวข้างต้น ให้ผลสอดคล้องกับความหมาย คุณสมบัติและเงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง จึงถือได้ว่าบัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ถูกนามาใช้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

บัญชีครัวเรือนกับชีวิตประจำวัน
การดำเนินชีวิตประจาวันย่อมมีรายรับและรายจ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น รายรับได้มาจากการทำมาหาเลี้ยงชีพ ทั้งจากอาชีพหลักและอาชีพรอง ส่วนรายจ่ายก็ได้แก่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้แก่ ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีจานวนเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด และไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง บัญชีครัวเรือนเป็นบัญชีที่สาหรับบันทึกรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจาวันของเราว่าในแต่ละวันเรามีรายได้เข้ามา แล้วจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปเท่าไร ปัจจุบันยอดเงินคงเหลือมีเท่าไร ทำให้เกิดการวางแผนการใช้จ่ายต่อไปอย่างรอบคอบ ใช้จ่ายอย่างพอเพียงเท่าที่มีอย่างระมัดระวัง

วัตถุประสงค์ของการบันทึกบัญชีครัวเรือน ก็เพื่อให้ผู้บันทึก
1. สามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ ไม่ใช้จ่ายเกินกว่าเงินคงเหลือ เนื่องจากทุกครั้งที่บันทึกบัญชีจะทราบถึงยอดเงินคงเหลือของตน
2. ทราบถึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว ทั้งรายละเอียดและภาพรวม
3. เมื่อผู้บันทึกทาการวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตนที่ได้บันทึกไว้แล้ว จะสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น ทาให้เกิดการประหยัดและการออม และหากมีการใช้จ่ายเท่าที่มีก็จะไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน จึงสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน

ประโยชน์ของจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน
ผลการวิจัยที่ได้สนับสนุนถึงประโยชน์ของจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน ดังนี้
การวิจัยของวาริพิณ มงคลสมัย (2551, บทคัดย่อ) เรื่อง “การจัดการความรู้ทางการบัญชีเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการผลิต ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้
อ.เมือง จ.สาพูน” พบว่า ผลการบันทึกบัญชีทำให้ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเป็นกาลังใจในการหารายได้เข้าสู่ครอบครัวมากขึ้น
การวิจัยของวาริพิณ มงคลสมัย (2552, บทคัดย่อ) เรื่อง “การจัดการความรู้ทางบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” พบว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ชุมชนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีเงินออมมากขึ้น
การวิจัยของชนิตา โชติเสถียรกุล (2551, บทคัดย่อ) เรื่อง “การศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนของผู้ปกครองนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่” พบว่า การจัดทำบัญชีครัวเรือนมีประโยชน์สูงสุดในด้านที่ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และมีเงินออมเพิ่มขึ้น
และจากการวิจัยของศุภโชติก์ แก้วทอง และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล (2552, บทคัดย่อ) เรื่อง “การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในเขตตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา” พบว่า หลังการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายลดลง มีหนี้สินลดลง และมีเงินออมเพิ่มขึ้น ผู้จดบันทึกสามารถนาข้อมูลที่จดบันทึกมาบริหารจัดการในการควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายของตนได้

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

สรุปได้ว่า เมื่อผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนทำการบันทึกบัญชี จะทราบยอดคงเหลือของเงินที่เป็นปัจจุบัน และสามารถวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตน เป็นผลให้
1. สามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ยังคงเหลืออยู่ได้อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้ไม่ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้
2. สามารถควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายของตนได้ ตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง
3. หาหนทางในการเพิ่มรายได้
4. มีเงินออมเพิ่มขึ้น และ
5. ทำให้หนี้สินลดลง
การทำบัญชีครัวเรือนจะทำให้เราทราบว่าในแต่ละเดือน ครอบครัวมีรายรับ-รายจ่ายอะไรบ้าง คนเราส่วนมากมักจะหลงลืม(ไม่สนใจที่จะจดจำ) เวลาใช้จ่ายเงินออกไปหรือรับเงินเข้ามา  พอเวลาผ่านไป 2-3 วันก็ลืมแล้ว ดังนั้น บัญชีครัวเรือนจะช่วยเตือนความจำให้เรารู้ถึงการใช้จ่ายเงิน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้
1.    เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง
2.    ง่ายต่อการตรวจสอบ
3.    เป็นการควบคุมรักษาทรัพย์สินของกิจการ
4.    ป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินกิจการ
5.    สามารถปรับปรุงแก้ไขทัน
6.    ทำให้ทราบฐานะของกิจการ
7.    เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบผลกำไร-ขาดทุนได้ทุกเวลา

บัญชีครัวเรือน วิธีง่าย ๆในการวางแผนการเงินและแก้ไขปัญหาหนี้สิน
จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้คนไทยหลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวันจบสิ้น อย่างไรก็ตามคนไทยยังมีทางออก ซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปัจจุบัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการพึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว   ชุมชน รวมถึงประเทศ  ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีต ปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัวในประเทศได้ หากประชาชนทุกคนจดบันทึกจะมีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ครอบครัวเรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้ และประเทศเรียนรู้การเรียนรู้เป็นที่มาของปัญญา  ปัญญาเป็นที่มาของความเจริญทั้งกาย สังคม ใจ และจิตวิญญาณของมนุษย์จะเห็นว่า การทำบัญชี หรือการจดบันทึกนี้สำคัญยิ่งใหญ่มาก บุคคลสำคัญในประเทศหลายท่านเป็นตัวอย่างที่ดีของการจดบันทึก เช่น ท่านพุทธทาส   ในหลวง และสมเด็จพระเทพ  ล้วนเป็นนักบันทึกทั้งสิ้น  การบันทึก คือ การเขียน เมื่อมีการเขียนย่อมมีการคิด เมื่อมีการคิดย่อมก่อปัญญา แก้ไขปัญหาได้โดยใช้เหตุผลวิเคราะห์พิจารณา ได้ถูกต้อง นั่นคือ ทางเจริญของมนุษย์

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การทำบัญชีครัวเรือนในด้านเศรษฐกิจ หรือ การบันทึกรายรับรายจ่ายที่ทางราชการพยายามส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำกัน นั่น เป็นเรื่องการบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันประจำเดือนว่า   มีรายรับจากแหล่งใดบ้าง จำนวนเท่าใด มีรายจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และ ปี เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า ตนเองและครอบครัวทีรายรับเท่าใด รายจ่ายเท่าใด คงเหลือเท่าใด หรือ เงินไม่พอใช้เท่าใด  คือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ และสำรวจว่ารายการใดจ่ายน้อยจ่ายมาก จำเป็นน้อยจำเป็นมาก จำเป็นน้อย อาจลดลง จ่ายเฉพาะที่จำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้ลด ละ เลิก เช่น  ซื้อบุหรี่  ซื้อเหล้า เล่นการพนัน เป็นต้น เมื่อนำรายรับ รายจ่าย มาบวกลบกันแล้วขาดดุลเกินดุลไปเท่าใด  เมื่อเห็นตัวเลข จะทำให้เราคิดได้ว่าสิ่งไม่จำเป็นนั้นมีมากหรือน้อยสามารถลดได้หรือไม่  เลิกได้ไหม ถ้าไม่ลดไม่เลิกจะเกิดอะไร กับตัวเอง ครอบครัว   ชุมชน และประเทศ  หากเราวางแผนการรับการจ่ายเงินของตนเองได้ เท่ากับว่า รู้จักความเป็นคนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนมีเหตุมีผล เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนรักตนเอง รักครอบครัว รักชุมชน และรักประเทศชาติมากขึ้นจึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องรายรับรายจ่าย ก็คือวิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง  เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม พอดี สอดคล้องถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่มีทั้งความเป็นเอกภาพและดุลยภาพอยู่เสมอ

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้
1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน
รายรับ หรือ รายได้  คือ  เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพ หรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น รายได้จากค่าจ้างแรงงาน เงินเดือน ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร หรือจากเงินให้กู้ยืมรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
รายจ่าย หรือ ค่าใช้จ่าย  คือ  คือ เงิน หรือสินทรัพย์ที่วัดมูลค่าได้ ที่จ่ายออกไปเพื่อให้ได้สิ่งตอบแทนกลับมา สิ่งตอบแทนอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน ค่าหนังสือตำรา เป็นต้น หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนคือสินค้าหรือบริการก็ได้ เช่นเงินบริจาคเพื่อการกุศล เงินทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น
หนี้สิน  คือ  ภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืนในอนาคต การชดใช้อาจจ่ายเป็นเงินหรือของมีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองมีอยู่  หนี้สินเป็นเงินหรือสิ่งของที่มีค่าที่ครอบครัวหรือตนเองได้รับมาจากบุคคลหรือแหล่งเงินภายนอก เช่น การกู้ยืมเงินจากเพื่อนบ้าน  การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆการซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ การซื้อสินทรัพย์เป็นเงินผ่อนชำระหรือการเช่าซื้อเป็นต้น
เงินคงเหลือ  คือ  เงิน หรือ ทรัพย์สินที่วัดมูลค่าได้ หลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏรายรับมากกว่ารายจ่ายจะทำให้มีเงินคงเหลือ หรือในหลักทางบัญชีเรียกว่า กำไร แต่หากหลังจากนำรายรับลบด้วยรายจ่ายแล้วปรากฏว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับจะทำให้เงินคงเหลือติดลบหรือทางบัญชีเรียกว่าขาดทุนนั่นเอง

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมดจึงนับว่ามีประโยชน์มาก

ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ
1. ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก และส่งผลให้ไม่อยากบันทึก   ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึงไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาให้พ่อแม่สำหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ได้รับมานั้นมิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำให้มิได้เก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะได้รับเงินมาแต่รายการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทำให้ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด
2. การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวกหรือการลบจำนวนเงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึกรายการบัญชี หรือบันทึกรายการซ้ำๆ กันหลายรายการ ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้
1.  การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการพนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2.  การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย    ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น
3.  การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า  การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

4.  การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด  รู้จักอดออม การใช้ทรัพยากรต่างๆ   ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงิน กระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคารแสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย

จดบันทึกสำคัญกับการวางแผนเพื่ออนาคตอย่างไร
การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้พียงพอโดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น  และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้น  และดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น  ตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไข

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงิน หรือ ปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้
1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่าย
เกี่ยวกับการพนัน  สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง  เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด  อดออม  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น  การปลูกผัก  ผลไม้ไว้รับประทานเอง  เพื่อช่วยลดค่าอาหาร  และค่าเดินทางไปตลาด  อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์  เป็นต้น
3. การเพิ่มรายรับ  หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ  เช่น  การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บ
เสื้อผ้า การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผักหรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น
4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด  รู้จักอดออม
การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ตัวอย่างระเบียบสหกรณ์

ตัวอย่าง  ระเบียบโรงเรียนบ้านบัวเทียม
ว่าด้วยข้อบังคับการจัดกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าของโรงเรียน พ.ศ.  25…..

——————————————–
ด้วยโรงเรียนบ้านบัวเทียม  ได้มีโครงการสหกรณ์ร้านค้า เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจและมีโอกาสได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสหกรณ์ เป็นการเตรียมตัวเป็นสมาชิกสหกรณ์ที่ดีต่อไป
ฉะนั้น อาศัยความในมาตรา  14  แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.  2511 ลงวันที่  7  มิถุนายน 2511 โรงเรียนบ้านบัวเทียม  จึงวางระเบียบข้อบังคับสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนไว้ดังนี้
ข้อ 1  ชื่อ  สถานที่ รูปแบบ
ชื่อ  “สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนบ้านบัวเทียม”
สถานที่ตั้ง   โรงเรียนบ้านบัวเทียม  ตำบลกลาง  อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี   34280.
รูปแบบ     เป็นสหกรณ์ร้านค้า  จำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด  เครื่องเขียนแบบเรียน
ข้อ  2   วัตถุประสงค์
1.    ส่งเสริมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและเป็นแหล่งเรียนรู้
2.    ส่งเสริมการประหยัด การรู้จักออม และใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น
3.    จัดหาทุนพัฒนาโรงเรียนและเพื่อขยายผลการจัดกิจกรรมสหกรณ์ไปสู่ชุมชน
ข้อ  3  สมาชิกกิจกรรมสหกรณ์ ประกอบด้วย
1.    นักเรียน
2.    ครูทุกคนและนักการภารโรง
ข้อ  4  การสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์
สมัครเป็นสมาชิก   ฟรี  ทุกต้นภาคเรียนของแต่ละปีการศึกษา
ข้อ  5  การสิ้นสุดสมาชิกภาพ
1.    ตาย
2.    ลาออก
3.    ย้ายออกหรือจบการศึกษาของโรงเรียน
ข้อ  6  หุ้นและการถือหุ้น
มูลค่า หุ้นละ  5  บาท สมาชิกต้องถือหุ้นอย่างน้อย คนละ  1  หุ้น  แต่ไม่เกิน  50  หุ้น โดยสมาชิกต้องชำระค่าหุ้นเมื่อแรกสมัครครั้งเดียวหรือผ่อนชำระไม่เกิน  5  วัน

ข้อ  7   การโอนและการคืนหุ้น
1. การโอนหุ้นที่ถือครองต้องแจ้งคณะกรรมการดำเนินการก่อนทุกครั้ง
2. การคืนหุ้น  สมาชิกสามารถขอรับคืนได้ในวันสิ้นภาคเรียนที่ 2  ของทุกปี(30 มีนาคม)และถ้าเกินกำหนดภายใน  15  วันถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ  8   การจัดสรรเงินผลกำไร       ในวันสิ้นปีทางบัญชี ถือเอาวันที่  30  มีนาคมของทุกปี โดยให้คณะกรรมการดำเนินการจัดทำบัญชีงบดุลรายการ  ดังนี้
1.    จ่ายเป็นเงินปันผลไม่เกินร้อยละ  20
2.    จ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืน ไม่เกินร้อยละ  10
3.    จ่ายโบนัสกรรมการ  ร้อยละ  20  และจ่ายค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการ  ร้อยละ  5
4.    จ่ายเป็นเงินบำรุงสถานศึกษา ร้อยละ  20
5.    ที่เหลือเป็นหุ้นสหกรณ์
ข้อ  9  การประชุมใหญ่
ให้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี   ภาคเรียนละ   1  ครั้ง
ข้อ 10  คณะกรรมการดำเนินการ
1. ได้จากการคัดเลือกนักเรียนที่เป็นสมาชิก มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และที่ประชุมใหญ่มีมติเห็นชอบ  จำนวน  15  คน ให้คณะกรรมการฯ  ดำรงในตำแหน่งเป็นระยะเวลา   1  ปีการศึกษา
2. ให้คณะกรรมการเลือกประธาน  รองประธาน  เหรัญญิก เลขานุการและกรรมการฝ่ายต่าง ๆ  กันเอง  และให้มีครูผู้ดูแลโครงการ  เป็นกรรมการผู้จัดการและนายทะเบียน
ข้อ 11  หน้าที่คณะกรรมการดำเนินการ
1.    จัดประชุมใหญ่ จัดประชาสัมพันธ์งาน/กิจกรรมต่างๆ
2.    พิจารณาคุณสมบัติผู้ถือหุ้น ผู้สมัครเข้าใหม่
3.    จัดทำบัญชีรายรับ-จ่ายและตรวจสอบความถูกต้องทุกวัน
4.    จัดสรรเงินกำไร ปันผล เฉลี่ยคืน
5.    ตรวจ  ดูแลความสะอาดเรียบร้อย ภายในสหกรณ์
6.    ขายสินค้าตามตารางที่กำหนด  และรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นในแต่ละเวรฯ
ข้อ 12  คณะกรรมที่ปรึกษา   ประกอบด้วย
1. ผู้บริหารโรงเรียน      เป็นประธาน
2.  คณะครู  จำนวน   3   คน  เป็นกรรมการ
4.    ครูเป็นกรรมการผู้จัดการ  เป็นเลขานุการ
5.

ข้อ  13  เรื่องอื่น ๆ
เรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้  ให้ถือมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี

ประกาศ  ณ  วันที่  16  พฤษภาคม   25…….

(ลงชื่อ)
(…………………………………)
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านบัวเทียม


ตัวอย่าง
ข้อบังคับร้านสหกรณ์
โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
พ.ศ.25…..

ข้อบังคับร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
พ.ศ. 25…

ระเบียบ สหกรณ์ร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา ดังนี้
ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา พ.ศ.25…”
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1  กรกฎาคม  25…..   เป็นต้นไป

ข้อบังคับ
ร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
พ.ศ. 25…….

…………………………………………………………………………………………………….

หมวด  1
ชื่อ ประเภทและที่ตั้งสำนักงาน

ข้อ    1    ชื่อ ประเภทและที่ตั้งสำนักงาน
ชื่อ        ร้านสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
ประเภท        สหกรณ์ร้านค้า
ที่ตั้งสำนักงาน     เลขที่ 124  หมู่ที่ 1  ถนน –     ตำบลคึมใหญ่
อำเภอเมือง    จังหวัดอำนาจเจริญ    37000

หมวด  2
วัตถุประสงค์และอำนาจกระทำการ

ข้อ    2    วัตถุประสงค์  สหกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก   โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักสหกรณ์  รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1)    ทำหรือจัดหาสิ่งของที่สมาชิก และหน่วยงานภายในโรงเรียนคึมใหญ่วิทยาต้องการมาจำหน่ายและอำนวยบริการแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไปตามที่เห็นสมควร
(2)    จัดหาทุนเพื่อกิจการของสหกรณ์
(3)     ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(4)    ส่งเส  ริมการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก
(5)    ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก
(6)    ร่วมมือกับสหกรณ์อื่น ชุมนุมสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของสหกรณ์
ข้อ    3    อำนาจกระทำการ    เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสหกรณ์  ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการดังต่อไปนี้
(1)     ช่วยจำหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก ครูหรือนักเรียน
(2)    ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกของสหกรณ์
(3)    ซื้อ-จำหน่ายสินค้าของสมาชิกและหรือสหกรณ์อื่น
(4)    ให้สวัสดิการและการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกของสหกรณ์โรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(5)    ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก
(6)    ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ  หน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
(7)    กระทำการต่างๆ ตามที่อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตาม     วัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้น  รวมถึง  ซื้อ  ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิครอบครอง  กู้ยืม  เช่าหรือให้เช่า       เช่าซื้อหรือให้เช่าซื้อ   โอนหรือรับโอน   สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อ  ขายหรือจำหน่าย  จำนองหรือรับจำนอง  จำนำหรือรับจำนำ   ด้วยวิธีอื่นใด   ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก

หมวด 3
ทุน
ข้อ    4    ที่มาของทุน     สหกรณ์อาจหาทุนเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(1)    ออกหุ้น
(2)    โรงเรียนสนับสนุนงบประมาณจัดตั้ง
(3)    รับบริจาค และทุนอื่น ๆ
(4)    รับเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้
หุ้น
ข้อ    5    การออกหุ้น   สหกรณ์ออกหุ้นในระยะก่อตั้งนักเรียนคนละ 1 หุ้นและครูและบุคลากรทางการศึกษา คนละ 10 หุ้น ได้โดยมีมูลค่าหุ้นละสิบบาทและหรือเพิ่มหุ้นภายหลัง
ข้อ    6    การถือหุ้น     สมาชิกแต่ละคนต้องถือหุ้นในสหกรณ์เมื่อแรกเข้าตามที่ระบุไว้ในใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก
ถ้าสมาชิกประสงค์จะถือหุ้นเพิ่มขึ้นอีกเมื่อใดก็ย่อมทำได้  โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ  แต่จำนวนหุ้นทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด
สมาชิกจะโอนหุ้นในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิก(สภาพความเป็นนักเรียน)อยู่ไม่ได้  นอกจากที่กล่าวในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกจะสิ้นสุด  สหกรณ์ไม่ต้องส่งเงินค่าหุ้นของสมาชิกเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกนั้น
ข้อ    7    การชำระค่าหุ้น  การชำระค่าหุ้นให้ชำระคราวเดียวครบมูลค่าหุ้นที่ขอถือหรือเมื่อให้ถือหุ้นเพิ่ม
ข้อ    8    การแจ้งยอดจำนวนหุ้น     สหกรณ์จะแจ้งยอดจำนวนหุ้นที่สมาชิกชำระเต็มมูลค่าแล้วให้สมาชิกแต่ละคนทราบทุกสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์

หมวด 4
การดำเนินงาน
ข้อ    9    การดำเนินงาน    การดำเนินงานของสหกรณ์ต้องบริการสมาชิกโดยไม่หวังผลกำไรในการรวมกันผลิต  รวมกันซื้อ  รวมกันขาย  รวมกันแก้ปัญหาร่วมกัน  เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ช่วยเหลือตนเองให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเป็นหลัก
ให้คณะกรรมการ  ดำเนินงานต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักการสหกรณ์ซึ่งต้องกำหนดไว้เป็นระเบียบเป็นเรื่อง ๆ ไป

การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย
ข้อ    10    การจัดหาสินค้า  ให้ผู้จัดการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายโดยให้ได้ราคาย่อมเยา  ให้มีประเภท  ชนิด และคุณภาพ  ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของสมาชิกและกิจการของโรงเรียน
ข้อ    11    การกำหนดราคาสินค้า     ให้ผู้จัดการเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าในการจำหน่าย    และอยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมการดำเนินการ  โดยคำนึงถึงราคาตลาดและความเหมาะสม  กับให้จดแจ้งราคาสินค้าแต่ละอย่างไว้ให้ชัดเจน
ข้อ    12    การขายสินค้า   สหกรณ์จะขายสินค้าให้แก่สมาชิกด้วยเงินสด  ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษอาจมีการขายเชื่อได้  ตามระเบียบของสหกรณ์
ข้อ    13    การช่วยจำหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก      สหกรณ์อาจช่วยจำหน่ายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก  หรือให้มีบริการอื่นใดได้ตามระเบียบของสหกรณ์
ข้อ    14    การรวบรวมจำนวนเงินชื้อสินค้าหรือบริการของสมาชิก    ในการขายสินค้าหรือบริการให้แก่สมาชิก  สหกรณ์จะรวบรวมจำนวนเงินซื้อสินค้าหรือบริการของสมาชิกแต่ละคนไว้ในระบบการขายด้วยคอมพิวเตอร์ หรืออาจให้สมาชิกแต่ละคนรวบรวมไว้ก็ได้  เพื่อประโยชน์ในการคำนวณการจ่ายเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนซื้อสินค้าหรือบริการเมื่อสิ้นปี
สหกรณ์จะไม่คิดเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนซื้อหรือบริการให้แก่สมาชิก  ในกรณีที่เป็นสินค้าหรือบริการซึ่งสหกรณ์จัดหามาจำหน่ายหรือบริการแก่สมาชิกในราคาควบคุมของทางราชการ  หรือสินค้าหรือบริการซึ่งสหกรณ์จัดหามาจำหน่ายหรือบริการในราคาพิเศษเพื่อเป็นการบริการแก่สมาชิก  หรือในกรณีที่สมาชิกซื้อสินค้าหรือบริการจากสหกรณ์เพื่อนำไปจำหน่ายหรือบริการอีกต่อหนึ่ง  แต่สหกรณ์อาจคิดราคาโดยลดหย่อนหรือให้ส่วนลดตามสมควร

การเงินและการบัญชีของสหกรณ์
ข้อ    15    การเงินของสหกรณ์   การรับ-จ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์   ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการ  ทั้งนี้  เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์
ข้อ    16    การบัญชีของสหกรณ์   สหกรณ์จัดให้มีการทำบัญชีตามแบบและรายการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด  และเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้
ให้บันทึกรายการในบัญชีเกี่ยวกับกระแสเงินสดของสหกรณ์ในวันที่ทำการจำซื้อ-จำหน่ายสินค้าให้เป็นปัจจุบัน  ให้บันทึกรายการในสมุดบัญชีสรุปยอดรายจ่าย-ซื้อในรอบสัปดาห์ และการลงบัญชีต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์โดยครบถ้วน
ให้สหกรณ์จัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบปีบัญชีของสหกรณ์  ซึ่งต้องมีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สินและทุนของสหกรณ์ ทั้งบัญชีกำไรขาดทุนตามแบบของสหกรณ์กำหนด
วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ให้สิ้นสุด  ณ  วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
ข้อ    17    การเสนองบดุลต่อที่ประชุมใหญ่   ให้คณะกรรมการดำเนินการเสนอรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ด้วยในคราวที่เสนองบดุล  และให้ส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบดุลภายในสามสิบวันต่อที่ประชุมใหญ่
ให้สหกรณ์รายงานการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสมาชิก หรือทะเบียนหุ้นต่อที่ประชุมประจำเดือน หรือสมาชิกอาจขอตรวจดูเอกสารดังกล่าวได้  ณ  สำนักงานของสหกรณ์ในระหว่างเวลาทำงานแต่จะดูบัญชีหรือทะเบียนเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น  หรือเงินฝากของสมาชิกรายอื่นไม่ได้  นอกจากจะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของสมาชิกนั้น  และได้รับอนุญาตจากผู้จัดการก่อน

การตรวจสอบบัญชีและการกำกับดูแลสหกรณ์
ข้อ    18    การตรวจสอบบัญชี     บัญชีของสหกรณ์นั้นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามระเบียบสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนคึมใหญ่วิทยากำหนด    โดยคณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบบัญชีที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการโรงเรียน
ข้อ    19    การกำกับดูแลสหกรณ์  โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ หรือมอบหมายรองผู้อำนวยการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมกำกับตรวจสอบให้สหกรณ์คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์  คณะกรรมการ ผู้จัดการ  เจ้าหน้าที่   ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องตามความในวรรคแรกอำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือและให้คำชี้แจงแก่ผู้ปฏิบัติการตรวจสอบตามความเป็นจริง

กำไรสุทธิประจำปี
ข้อ    20    การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี    เมื่อสิ้นปีทางบัญชีและได้ปิดบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปแล้ว  ปรากฏว่าสหกรณ์มีกำไรสุทธิ  ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของกำไรสุทธิ และเป็นการคำนวณต้นทุนสำรองของคณะกรรมการดำเนินการในปีนั้นๆกำหนด
กำไรสุทธิประจำปีที่เหลือจากการจัดสรรตามความในวรรคก่อนนั้น  ที่ประชุมใหญ่อาจจะจัดสรรได้ดังต่อไปนี้
(1)    เป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนที่ดำเนินการธุรกิจการซื้อ-จำหน่ายที่สมาชิกทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปี  การจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้จ่ายไม่เกินอัตราร้อยละของกำไรสุทธิต่อยอดขายในปีนั้น
(2)    เป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้วให้แก่สมาชิก  ในอัตราเงินปันผลตามที่คณะกรรมการดำเนินการได้คำนวณต้นทุน กำไรทางธุรกิจจากจำนวนเงินปันผลทั้งสิ้นที่จ่ายสำหรับปีนั้น
ในการคำนวณเงินปันผลตามหุ้น  ให้ถือว่าหุ้นที่สมาชิกได้ชำระต่อสหกรณ์ภายในวันที่ห้าของเดือนมีระยะเวลาสำหรับคำนวณเงินปันผลตั้งแต่เดือนนั้น  ส่วนหุ้นที่สมาชิกชำระต่อสหกรณ์หลังวันที่ห้าของเดือน  สหกรณ์จะคิดเงินปันผลให้ตั้งแต่เดือนถัดไป
(3)    เป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ไม่เกินร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิ
(4)    เป็นทุนสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนร้อยละสิบ
(5)    เป็นทุนเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิตามระเบียบของสหกรณ์
(6)    เป็นทุนสาธารณประโยชน์ตามคณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกินร้อยสิบของกำไรสุทธิ
(8)    กำไรสุทธิส่วนที่เหลือ  (ถ้ามี)  ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองทั้งสิ้น

หมวด 5
สมาชิก

ข้อ    21    สมาชิก     สมาชิกสหกรณ์นี้คือ
(1) นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(2) เป็นผู้ที่มีชื่อและลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์  และได้ชำระ  ค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว
(2)    ผู้ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับที่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว
ข้อ    22    คุณสมบัติของสมาชิก      สมาชิกต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1)    เป็นนักเรียนโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(2)    เป็นครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(3)    เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการสังกัดโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(4)    ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน           ไม่สมประกอบ
(5)    เป็นผู้มีความประพฤติและนิสัยดีงาม
ข้อ    23    การเข้าเป็นสมาชิก   ผู้สมัครเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ ต้องยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้โดยต้องมีสมาชิกคนหนึ่งรับรอง  เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเป็นที่พอใจว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 30 ทั้งเห็นเป็นการสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกได้  ก็ให้แจ้งผู้สมัครนั้นลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิกกับชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า  และชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือให้ครบถ้วน  แล้วเสนอเรื่องการรับสมาชิกเข้าใหม่ให้ที่ประชุมใหญ่คราวถัดไปทราบ
ถ้าคณะกรรมการดำเนินการไม่ยอมรับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วยเหตุใด ๆ เมื่อผู้สมัครร้องขอ  ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการนำเรื่องเสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด  มติแห่งที่ประชุมใหญ่ให้รับเข้าเป็นสมาชิกในกรณีดังว่านี้ให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมาประชุม
ข้อ    24    ค่าธรรมเนียมแรกเข้า       ผู้เข้าเป็นสมาชิกจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์  คนละห้าบาท  ค่าธรรมเนียมแรกเข้านี้ให้ถือเป็นรายได้ของสหกรณ์จะเรียกคืนไม่ได้
ข้อ    25    สิทธิหน้าที่ในฐานะสมาชิก   ผู้เข้าเป็นสมาชิกต้องลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิกกับชำระ
ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วน  เมื่อได้ปฏิบัติดังนี้แล้วจึงจะถือว่าได้สิทธิในฐานะสมาชิก
(ก)    สิทธิของสมาชิกมีดังนี้
(1)    เข้าประชุมเพื่อเสนอความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนน
(2)    เข้าชื่อเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ
(3)    เสนอหรือได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินการหรือผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์
(4)    สิทธิใดๆ  ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับข้ออื่นของสหกรณ์
(ข)    หน้าที่ของสมาชิก  มีดังนี้
(1)    ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
(2)    เข้าประชุมทุกครั้งที่สหกรณ์นัดหมาย
(3)    ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์การที่เข็มแข็ง
(4)    สอดส่องดูแลกิจการของสหกรณ์
(5)    ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง
ข้อ    26    การเปลี่ยนแปลงชื่อ  สัญชาติ  และที่อยู่     สมาชิกคนใดมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ  สัญชาติและที่อยู่(ย้ายโรงเรียน)   ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
การขาดจากสมาชิกภาพ
ข้อ    27    การขาดจากสมาชิกภาพ     สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุใด ๆ  ดังต่อไปนี้
(1)    ตาย
(2)    ลาออก
(3)    เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4)    ย้ายโรงเรียน หรือจบหลักสูตรทางการศึกษาของโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(6)    ถูกให้ออกจากสหกรณ์
(7)    โอนหุ้นที่ตนถือไปหมดแล้ว
ข้อ    28    การลาออกจากสหกรณ์    สมาชิกที่ประสงค์จะลาออกจากสหกรณ์ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อคณะกรรมการดำเนินการ  และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้ลาออกได้แล้วจึงให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ได้  คณะกรรมการดำเนินการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการ  หรือรองประธานกรรมการ  หรือกรรมการดำเนินการสอบสวนพิจารณา  หากเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับก็ให้ถือว่าออกจาก สหกรณ์ตามความในวรรคก่อนได้  แล้วให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบด้วย
ข้อ    29    การให้ออกจากสหกรณ์      สมาชิกอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1)    ไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า
(2)    ต้องกระทำความผิดที่ร้ายแรงไม่เหมาะสมสภาพนักเรียน
(3)    จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์หรือประพฤติการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เห็นว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต  แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือทำให้เสื่อมเสียต่อสหกรณ์หรือขบวนการสหกรณ์ไม่ว่าโดยประการใด ๆ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาปรากฏว่าสมาชิกมีเหตุใดๆ ดังกล่าวข้างต้นนี้และได้ลงมติให้สมาชิกออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ทั้งหมดในขณะนั้นแล้วก็เป็นอันถือว่าสมาชิกนั้นถูกให้ออกจากสหกรณ์  สมาชิกที่ถูกให้ออกจาก สหกรณ์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่  โดยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบมติการให้ออก  คำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นที่สุด
ข้อ    30    การถอนชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิก  ในกรณีที่สมาชิกออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ให้คณะกรรมการดำเนินการถอนชื่อสมาชิกออกจากระบบและทะเบียนสมาชิก
ข้อ    31    การจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพ  ในกรณีที่สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 36 (1), (2), (3) นั้น  สหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์ให้ก่อนค่าหุ้นของสมาชิกซึ่งออกเพราะเหตุอื่น  พร้อมด้วยเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ โดยเฉพาะค่าหุ้นนั้นผู้มีสิทธิได้รับจะเรียกให้สหกรณ์จ่ายคืนทันทีโดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้น  หรือจะเรียกให้จ่ายคืนหลังจากวันสิ้นปีทางบัญชีที่ออกโดยได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นด้วยในเมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีนั้นแล้วก็ได้  สุดแต่จะเลือก  ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้นสหกรณ์จะจ่ายคืนให้ตามระเบียบของ สหกรณ์

หมวด 7
การประชุมใหญ่

ข้อ    32    การประชุมใหญ่สามัญ    ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นัดสมาชิกมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกของโรงเรียนเมื่อมีการประชุมใหญ่ของโรงเรียน
การประชุมใหญ่สามัญครั้งต่อไป  ให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมปีละหนึ่งครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนดและสมควรแต่ต้องก่อนวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์
ข้อ    33    การประชุมใหญ่วิสามัญ คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้  แต่ถ้านายทะเบียนสหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  หรือในกรณีที่สหกรณ์ขาดทุนเกินกึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้วต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิชักช้าแต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สหกรณ์ทราบ

หมวด 8
คณะกรรมการดำเนินการ

ข้อ    34    คณะกรรมการดำเนินการ    ให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์    ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน  และกรรมการดำเนินการครูจำนวนห้าคนและนักเรียนจำนวนห้าคน  ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกที่เป็นนักเรียนและครูบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
ให้กรรมการดำเนินการเลือกตั้งในระหว่างกันเองขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน เลขานุการคนหนึ่ง และ/หรือเหรัญญิกคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ และปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน  ณ  สำนักงานที่ทำการสหกรณ์

ข้อ    35    อำนาจหน้าที่ของกรรมการดำเนินการแต่ละตำแหน่ง
(ก)    ประธานกรรมการ   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่   และที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ   และควบคุมการประชุมดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(2)    ควบคุมดูแลการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและอยู่ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
(3)    ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ในนามสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
(4)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
(ข)    รองประธานกรรมการ   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานกรรมการว่างลง
(2)    ปฏิบัติการตามที่ประธานกรรมการมอบหมายให้
(3)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
(ค)    เลขานุการ   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    จัดทำรายงานการประชุมใหญ่ และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการทุกครั้ง
(2)    ดูแลรักษาเอกสาร และรายงานการประชุมของสหกรณ์ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
(3)    แจ้งนัดประชุมไปยังบรรดาสมาชิก  หรือกรรมการดำเนินการ   แล้วแต่กรณี
(4)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
(ง)    เหรัญญิก   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1)    ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของสหกรณ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
(2)    ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมาย ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์
ข้อ    36    กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง   คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง  ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง  ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับสลากหรือลาอก (ถ้ามีเศษให้ปัดขึ้น) และให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  ในปีต่อไปให้กรรมการดำเนินการที่อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระหรืออยู่นานที่สุดออกจากตำแหน่งสลับกันไปทุก ๆ ปี
เมื่อครบกำหนดแล้ว  หากยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่  ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการชุดเดิมรักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่    แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันครบวาระ
กรรมการดำเนินการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งซ้ำอีกได้  แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
ในกรณีที่กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ  ให้กรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่อยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับกรรมการดำเนินการชุดแรก  และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ    37    การพ้นจากตำแหน่ง    กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1)    ถึงคราวออกตามวาระ
(2)    ลาออก   โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ  หรือลาออกต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์
(3)    ขาดจากสมาชิกภาพ
(4)    เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์นี้
(5)    ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนทั้งคณะหรือรายตัว
กรณีที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนให้กรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ  ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการใหม่ทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการชุดแรก
ข้อ    38    อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ     คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์  ให้เป็นไปตามกฎหมาย  ข้อบังคับ ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์   กับทั้งในทางอันจะทำให้เกิดความจำเริญแก่สหกรณ์   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1)    พิจารณาในเรื่องการรับสมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์ ตลอดจนดูแลให้สมาชิกปฏิบัติการต่าง ๆ  ตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติและคำสั่งของสหกรณ์
(2)    พิจารณาในเรื่องการจัดซื้อ-จำหน่ายสินค้าหรือลงทุนเงินของสหกรณ์
(4)    เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่
(5)    เสนอแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
(6)    พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งหรือจ้าง  และกำหนดค่าตอบแทนของผู้จำหน่ายสินค้า  ตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้จำหน่ายสินค้าให้ถูกต้อง
(8)    กำหนดระเบียบต่าง ๆ ของสหกรณ์
(9)    จัดให้มี และดูแลให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาทะเบียน สมุดบัญชี เอกสารต่าง ๆ  และบรรดาอุปกรณ์ดำเนินงานของสหกรณ์
ข้อ    39    ความรับผิดของคณะกรรมการดำเนินการ    ในกรณีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ  หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก  อันเป็นเหตุให้สหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน  การบัญชี  หรือกิจการ  หรือฐานะการเงินตามรายงานการสอบบัญชีหรือรายงานการตรวจสอบ  เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย  คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์

คณะกรรมการอื่น
ข้อ    40    คณะกรรมการอำนวยการ    โดยผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นประธานกรรมการ  รองผู้อำนวยการ เป็นกรรมการอำนวยการ  และให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการอื่นเป็นกรรมการร่วมอีกตามสมควร
ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ
ข้อ    41    อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ  ให้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทนคณะกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย  และตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1)    ควบคุมในเรื่องการรับเงิน  การจ่ายเงิน  การสะสมเงิน  การฝากหรือการเก็บรักษาเงิน   ให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์
(2)    ควบคุมการจัดทำบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
(3)    ควบคุมดูแล เก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ  ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดี  และปลอดภัย  และพร้อมที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที

หมวด  9
ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์

ข้อ    42    การแต่งตั้งผู้จัดการ    คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสมเพื่อแต่งตั้งหรือจ้างเป็นผู้จัดการของสหกรณ์  โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม
ในการแต่งตั้งหรือจ้างผู้จัดการ  ต้องให้ผู้จัดการรับทราบ และรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้
ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือก  การแต่งตั้งหรือจ้าง  การกำหนดอัตราเงินเดือน  การให้สวัสดิการ  และการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการ
ข้อ    43    การดำรงตำแหน่งผู้จัดการ     แต่งตั้งจากให้อยู่ตามวาระคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่ได้รับการแต่งตั้งสหกรณ์อาจจ้างผู้จัดการโดยกำหนดระยะเวลาหรือไม่กำหนดระยะเวลาก็ได้
ข้อ    44    อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ   ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทั่วไปและรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์ รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
(1)    ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง ตลอดจนเป็นธุระจัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับเงินค่าหุ้นตามข้อบังคับของสหกรณ์
(2)    จัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าและการบริการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สหกรณ์
(3)    พิจารณาจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์รวมถึงกำหนดหน้าที่และวิธีปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย
(4)    เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับ หรือจัดให้มีใบสำคัญโดยครบถ้วน  รับผิดชอบในการรับจ่ายเงินของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง  รวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน  และดำเนินการค้า  การบริหารด้วยความเที่ยงตรงสุจริต  และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
(5)    รับผิดชอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(6)    ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ
(7)    รับผิดชอบจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุน  และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา   เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
(8)    จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา
(9)    จัดทำแผนปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่   ให้สอดคล้องกับแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เข้าร่วมประชุมและชี้แจงในการประชุมใหญ่  ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ  เว้นแต่กรณีซึ่งที่ประชุมนั้น ๆ  มิให้เข้าร่วมประชุม
(10)    ปฏิบัติการเกี่ยวกับงานสารบรรณของสหกรณ์
(11)    รักษาดวงตราของสหกรณ์ และรับผิดชอบตรวจตราดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ   ตลอดจนสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย
(12)    เสนอรายงานกิจการประจำเดือนของสหกรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(13)    เสนอรายการหรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการ    ตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด
(14) ค้ำประกันเงินกู้ที่สหกรณ์กู้ยืมจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยรับผิดชอบการค้ำประกันในฐานะส่วนตัว
(15)    ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการอื่น ๆ ของสหกรณ์มอบหมาย   หรือตามที่ควรกระทำเพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี
ข้อ    65 การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ ผู้จัดการต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด  ต่อไปนี้
(1)    ตาย
(2)    ลาออกโดยแสดงความจำนงทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ
(3)    ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของสหกรณ์ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามสหกรณ์กำหนด
(4)    อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์   หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้าง
(5)    ถูกเลิกจ้าง
(6)    ถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออกหรือมีพฤติกรรมอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าได้กระทำการ  หรือละเว้นการกระทำการใด ๆ อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน  หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์
ข้อ    45    การลาออกของผู้จัดการ    ให้ผู้จัดการยื่นหนังสือถึงสหกรณ์ก่อนวันที่จะออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน  และให้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พิจารณาการลาออกนั้น   การยับยั้งการลาออกของผู้จัดการสหกรณ์กระทำได้ไม่เกินหกสิบวัน
ข้อ    46    การมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการ    ถ้าสหกรณ์ยังมิได้มีการจัดจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ  หรือสหกรณ์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ในตำแหน่งอื่นด้วยได้  ให้คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการคนใดคนหนึ่งตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินห้าปี
ข้อ    46    การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ    ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งแทน  หรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว   ให้รองผู้จัดการหรือ    ผู้ช่วยผู้จัดการ   หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายเป็นผู้รักษาการแทน
ข้อ    47    การเปลี่ยนผู้จัดการ    ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน  สินค้าคงเหลือ  กับบรรดาทรัพย์สินและหนี้สิน  ตลอดจนจัดทำงบดุลของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน

(ลงชื่อ)                                        อำนวยการโรงเรียนคึมใหญ่วิทยา
(  ………………………………. )

ตัวอย่าง
โครงสร้าง
สหกรณ์โรงเรียน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ผู้จัดการ  มีหน้าที่ดูแลและควบคุมการดำเนินการของกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งจดบันทึกการประชุม
ฝ่ายบัญชี  มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจากฝ่ายเหรัญญิกและฝ่ายการตลาดพร้อมทั้งสรุปยอดบัญชี
ให้เป็นปัจจุบันทุกเดือน
ฝ่ายทะเบียน  มีหน้าที่รับลงทะเบียนลูกค้า ออกแบบใบจองหุ้นและลงทะเบียนผู้ถือหุ้น
บันทึกสถิติการใช้บริการของสมาชิกผู้ถือหุ้นแต่ละราย
พร้อมทั้งสรุปยอดเงินปันผลให้แก่สมาชิกสหกรณ์เมื่อสิ้นปี
ฝ่ายการเงิน  มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน รับเงินสดจากฝ่ายขายแล้วนำไปฝากธนาคารพร้อมทั้งสรุปยอดเงินสด
ในแต่ละวันให้ผู้จัดการทราบและส่งฝ่ายบัญชีเพื่อลงบัญชีรวมทั้งเบิกจ่ายเงินให้ฝ่ายการตลาด
และสรุปยอดเงินร่วมกับฝ่ายบัญชีในทุกสิ้นเดือน
ฝ่ายจัดซื้อและการตลาด มีหน้าที่หาตลาด สำรวจตลาด จัดซื้อสินค้าตามแหล่งต่างๆ
รวมทั้งคิดราคาสินค้าเพื่อให้ฝ่ายคลังสินค้าติดราคา ดูแลการตรวจรับสินค้าจากร้านค้าต่างๆ
ฝ่ายคลังสินค้า   มีหน้าที่จัดเก็บและลงทะเบียนสินค้าในคลังสินค้า  ติดราคาสินค้าทุกชิ้นที่ฝ่ายจัดซื้อ
คิดราคาไว้และนำจ่ายสินค้าให้ฝ่ายขายออกจำหน่ายในแต่ละวัน
ฝ่ายตรวจสอบสินค้า   มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพสินค้าในสหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต
รวมทั้งออกแบบสอบถามให้สมาชิกผู้ถือหุ้น นักเรียน ผู้ปกครองเกี่ยวกับความต้องการของตลาดทุกๆไตรมาส
ฝ่ายจำหน่ายสินค้า   มีหน้าที่ขายสินค้า ดูแลให้ความสะดวกและให้คำปรึกษาแนะนำ แก่นักเรียนที่เป็นฝ่ายขาย
ดูแลการเปิด-ปิดสหกรณ์ ตรวจนับเงินสดพร้อมลงบัญชีและ นำส่งฝ่ายเหรัญญิกให้แล้วเสร็จวันต่อวัน
รวมทั้งจัดเก็บห้องสหกรณ์ให้เรียบร้อยวันต่อวัน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์  มีหน้าที่จัดป้ายนิเทศประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมสหกรณ์ให้ผู้ปกครอง
นักเรียนเข้าใจหลักการสหกรณ์ร้านค้า ผลิตเอกสารเผยแพร่คู่มือต่างๆ รวมทั้งใบสมัครสมาชิกสหกรณ์

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ผู้จัดการ ดูแลควบคุมการดำเนินงานของกิจกรรมสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิตให้เป็น
ไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพเพื่อนำผลผลิตส่งสหกรณ์ร้านค้า
ฝ่ายบัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายของสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต
พร้อมทั้งสรุปยอดบัญชีทุกเดือน
ฝ่ายเหรัญญิก  มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต
ฝ่ายสนับสนุนสหกรณ์ส่งเสริมผลผลิต   มีหน้าที่ควบคุมสนับสนุนให้นักเรียนและครู
แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ผลิตสินค้าส่งสหกรณ์ร้านค้า

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ผู้จัดการ   ดูแลควบคุมการดำเนินงาน ของกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
ฝ่ายบัญชี มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของสหกรณ์ออมทรัพย์จากฝ่ายเหรัญญิก
พร้อมทั้งสรุปยอดบัญชีทุกเดือน
ฝ่ายทะเบียน มีหน้าที่รับลงทะเบียนลูกค้า ที่มาเปิดบัญชีและทำบันทึกสถิติการใช้บริการของสมาชิกแต่ละคน
พร้อมทั้งสรุปเงินปันผลให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นปี
ฝ่ายเหรัญญิก  มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์
และสรุปยอดเงินให้เป็นปัจจุบันและทุกเดือนร่วมกับฝ่ายบัญชี
ฝ่ายปฏิคม  มีหน้าที่อำนวยความสะดวก กับผู้ใช้บริการ รักษาความปลอดภัย
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์อย่าง  เป็นมิตร

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ตัวอย่างการคำนวณราคาขาย,ต้นทุน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การทำธุรกิจทุกประเภท ผู้ทำธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจ SME ต่างก็ต้องการที่จะมีกำไรทั้งนั้น
ซึ่งกำไร จะได้มาจาก    กำไร = รายได้ – ต้นทุน
ดังนั้นนอกจากเราจะคำนึงถึงการเพิ่มรายได้ เพิ่มกำไรแล้ว  อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ทำธุรกิจส่วนตัว ควรให้ความสำคัญก็คือ ต้นทุน ในการดำเนินธุรกิจ
ต้นทุนในการทำธุรกิจ หลักๆ แล้วแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 ต้นทุนคงที่ ( Fixed cost) ต้นทุนคงที่คือต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่าย ไม่ว่าจะขายได้มาก หรือขายได้น้อย เช่น ร้านขายก๋วยเตี๋ยว  คุณจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าเช่าที่ร้าน  เงินเดือนลูกจ้าง  เป็นต้น
2 ต้นทุนผันแปร ( Vaiable cost) ต้นทุนผันแปร คือต้นทุนที่จะแปรผันไปตามยอดขาย เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว จะมีค่าใช้จ่ายพวกวัตถุดิบในการทำก๋วยเตี๋ยว เส้นบะหมี่ เนื้อหมู เป็นต้นทุนผันแปร เพราะยิ่งคุณขายดีเท่าไหร่ คุณก็ต้องจ่ายต้นทุนผันแปรมากขึ้นเช่นกัน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

 ขอยกตัวอย่างการคำนวณต้นทุนของร้านก๋วยเตี๋ยว
1. ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยว ต้องเสียค่าเช่าร้าน  เสียค่าเช่าที่เดือนละ 10,000 บาท
เสียค่าจ้างเด็กในร้านก๋วยเตี๋ยว เพื่อช่วยบริการในร้าน  ช่วยล้างจาน เดือนละ 9,000 บาท
ดังนั้นร้านก๋วยเตี๋ยวจะมีต้นทุนคงที่ 19,000 บาท
2. ส่วนต้นทุนผันแปร สมมุติว่าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวไปจ่ายตลาด ซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยว  ลูกชิ้น  ผักต่างๆ   รวมแล้ว 1,200 บาท  จะผลิตก๋วยเตี๋ยวได้ 100 ชาม  ดังนั้น 1,200 หาร 100   = 12  บาท   ดังนั้นต้นทุนผันแปร เท่ากับ 12 บาท ต่อชาม
ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยวขายก๋วยเตี๋ยวได้  100 ชามต่อวัน ขายได้ชามละ 30 บาท เดือนหนึ่งจะขายได้ประมาณ 3000 ชาม ขายได้เงิน 90,000 บาท
ซึ่งจากสูตร กำไร = รายได้ – ต้นทุน( เกิดจาก ต้นทุนคงที่ + ต้นทุนผันแปร)
คำนวณคร่าวๆ จะได้ดังนี้    = 90,000 – (19,000 + (12*3,000))
= 90,000 – (19,000 + 36,000)
ดังนั้น  ร้านก๋วยเตี๋ยว จะมีกำไรประมาณ  35,000 ต่อเดือน(ยังไม่รวมเงินเดือนของผู้ประกอบการเอง)
ผู้ที่ต้องการจะเปิดร้าน หรือเปลี่ยนสถานที่เปิดร้าน ควรที่จะใช้สูตรนี้ในการคำนวณ รายได้ กำไร  ต้นทุนต่างๆ  เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาว่าทำแล้วธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจ SME ของคุณจะได้กำไรประมาณเท่าไหร่ต่อเดือน

ในกรณีที่คุณอยากจะย้ายทำเลค้าขายของคุณไปยังสถานที่ใหม่ คุณก็สามารถใช้สูตรนี้ช่วยพิจารณาว่าจะย้ายทำเลดีหรือไม่ เช่น มีตึกแถวว่าง ทำเลดีมากๆ ใกล้ตลาดที่มีคนพลุกพล่าน  เจ้าของตึกคิดค่าเช่า เดือนละ 20,000 บาท  ซึ่งแพงกว่าทีปัจจุบันร้านก๋วยเตี๋ยวมีค่าเช่าที่ 10,000 บาท ถ้าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวคาดคะเนว่าถ้าย้ายร้านไปที่ใกล้ตลาด จะขายได้ประมาณวันละ 150 ชาม หนึ่งเดือนจะขายได้ประมาณ 4500 ชาม ราคาขายชามละ 30 บาท รายได้ต่อเดือนประมาณ 135,000 บาท
ดังนั้นลองคำนวณกำไร ในกรณีถ้าย้ายร้านไปที่ตึกว่างใกล้ตลาด
สูตร กำไร = รายได้ – ค่าใช้จ่าย(ต้นทุนคงที่ +ต้นทุนผันแปร)
คำนวณคร่าวๆ จะได้ดังนี้    = 135,000 – ((20,000+9,000) + (12*4,500))
= 135,000 – (29,000 + 54,000)
= 135,000 – 83,000
= 52,000
ดังนั้น  ถึงแม้ว่าทำเลใหม่ค่าเช่าตึกแถว จะแพงกว่าค่าเช่าเดิมเท่าตัว (จาก 10,000 เป็น 20,000) แต่เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยว ก็ควรที่จะย้ายร้านไปที่ตั้งใหม่ครับ เพราะว่าจะมีกำไรที่มากกว่า (กำไรถ้าเช่าที่เดิม 35,000 แต่ถ้าเช่าที่ใหม่ จะกำไร 52,000 บาท  )
และถ้าจะเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวต้องการหาว่าจะต้องขายก๋วยเตี๋ยวอย่างน้อยได้เดือนละ กี่ชาม ถึงจะถึงจุดคุ้มทุน ให้ใช้สูตรคำนวณจุดคุ้มทุนตามนี้

จุดคุ้มทุน =   ต้นทุนคงที่รวม / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

จากตัวอย่างร้านก๋วยเตี๋ยวนี้ก็คือ   จุดคุ้มทุน =  19,000 / ( 30 – 12 )
ดังนั้นจุดคุ้มทุนของร้านก๋วยเตี๋ยวก็คือ 1,055 ชาม นั่นเอง
ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยวขายก๋วยเตี๋ยว หนึ่งเดือน ได้น้อยกว่า 1,055 ชาม ก็คือร้านก๋วยเตี๋ยวจะขาดทุน แต่ถ้าขายได้ตั้งแต่ 1,055 ชาม เป็นต้นไปก็จะเริ่มได้กำไร
นอกจากนี้   ถ้าคุณมีพื้นที่เป็นของตัวเอง เช่น คุณมีตึกแถว และคุณใช้ตึกแถวนั้นทำธุรกิจส่วนตัว  ถึงคุณจะไม่ต้องเสียค่าเช่า  แต่ถ้าเป็นไปได้อยากให้คุณเวลาคำนวณกำไร ให้ใส่ค่าเช่าร้านของคุณไปเป็นต้นทุนด้วย (อาจจะเทียบกับค่าเช่าบริเวณใกล้เคียง)    ที่ให้ใส่ค่าเช่าร้านเป็นค่าใช้จ่ายไปด้วยเพราะว่าถึงคุณจะไม่ทำธุรกิจที่ตึกแถวของคุณเอง  คุณก็อาจจะปล่อยตึกแถวของคุณให้คนอื่นเช่าก็ได้ครับ  ดังนั้น  เพื่อการคำนวณกำไรอย่างละเอียดจึงควรใส่ค่าเช่าร้านเป็นต้นทุนด้วย (ถึงแม้ว่าคุณไม่ต้องจ่ายค่าเช่าก็ตาม)

การตั้งราคา

สินค้าและบริการ (Goods & Services)

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

เป็นสิ่งที่สนองความต้องการของมนุษย์ตามปกติสิ่งที่มนุษย์ใช้สนองความต้องการนั้นนอกจากจะเป็น “สินค้า (Goods) ” เช่นเสื้อผ้า  ปากกา หนังสือ เป็นต้น แล้วยังหมายรวมถึง “ บริการ (Services) ”  เช่น  บริการตรวจรักษาของแพทย์  บริการด้านเพลงของนักดนตรี  เป็นต้น  ดังนั้นเราจึงใช้คำว่า “สินค้าและบริการ”  ควบคู่กัน  และบางครั้งเรียกสั้นๆ  ว่า  “สินค้า”  ซึ่งก็หมายรวมถึงบริการด้วยสินค้าและบริการ  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท  คือ
1.    สินค้าและบริการที่ได้เปล่า  หรือ  ทรัพย์เสรี (Free goods and services) ได้แก่  สินค้าและ
บริการที่ใช้บำบัดความต้องการของมนุษย์  เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมากมายเกินความต้องการของมนุษย์  เช่น น้ำในแม่น้ำลำคลอง อากาศที่เราใช้หายใจ  แสงแดด  เป็นต้น
2.    สินค้าและบริการทางเศรษฐกิจ  หรือ  เศรษฐทรัพย์  (Economic goods and Services)
ได้แก่สินค้าและบริการที่ใช้บำบัดความต้องการของมนุษย์แต่มีอยู่จำกัดเมื่อมนุษย์ต้องการใช้ต้องซื้อหามา หรือมีค่าตอบแทนจึงจะได้มา
ลักษณะของเศรษฐทรัพย์ มีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้
1. เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และบำบัดความต้องการของมนุษย์ได้ สินค้าและบริการที่มนุษย์สามารถนำมาบำบัดความต้องการได้นี้  ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “อรรถประโยชน์ หรือ  ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (Utility)”
2. เข้าครอบครองเป็นเจ้าของได้
3. เป็นสิ่งที่สามารถจะนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
ประเภทของเศรษฐทรัพย์  แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.    สินค้าสำหรับผู้บริโภค (Consumer’s Goods) เป็นสินค้าและบริการที่สามารถนำมา
บำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้โดยตรง  แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สินค้าถาวร (Du-rable Goods) เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน เช่น บ้าน รถยนต์ ตู้เย็น เป็นต้น สินค้าเน่าเสียง่าย (Perishable Goods) เป็นสินค้าที่มีอายุการใช้งานสั้นมาก  หรือเน่าเสียง่าย  เช่น  อาหาร  เสื้อผ้า เป็นต้น
2.    สินค้าสำหรับผู้ผลิต (Producer s  Goods) เป็นสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตนำไปผลิต
เศรษฐทรัพย์เพื่อบำบัดความต้องการของผู้บริโภค ในทางเศรษฐศาสตร์  เราเรียกสินค้าสำหรับผู้ผลิตนี้ว่า “ปัจจัยการผลิต (Factors of Production)”  ซึ่งแบ่งได้เป็น  ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

กลไกราคา

กลไกราคา  หมายถึง  ตัวกำหนดการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจที่มีปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคา คือ อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์
อุปสงค์  คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้ซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน  ความต้องการซื้อจะแตกต่างจากความต้องการทั่วไป  แต่จะต้องรวมอำนาจซื้อคือ เต็มใจและมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายสินค้านั้นด้วย  อย่างไรก็ตามปริมาณความต้องการซื้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยกำหนดอุปสงค์ตัวอื่นๆ  เปลี่ยนแปลงด้วย  เช่น  รายได้ของผู้ซื้อ  รสนิยมราคาสินค้าชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้  เช่น  เนื้อหมูกับเนื้อไก่  เป็นต้นหากนำปริมาณความต้องการซื้อ ณ  ระดับราคาต่างๆ  กันมาจับคู่แสดงในรูปต่างๆ  จะได้เส้นอุปสงค์  เช่น  ส้มราคากิโลกรัมละ 25 บาท  นาย ก จะซื้อ 3 กิโลกรัม  ถ้าราคาเพิ่มขึ้นเป็น 30 บาท จะซื้อลดลงเหลือ 2 กิโลกรัม  เป็นต้น  แต่ถ้าหากราคาสูงขึ้นจนถึง  40 บาท ก็จะไม่มีผู้ซื้อเลย  ซึ่งเป็นไปตาม กฎของอุปสงค์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์
การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ราคาสินค้าและบริการ (ตามกฎของอุปสงค์)
2. รายได้ของผู้บริโภค
3. รสนิยมของผู้บริโภค
4. สมัยนิยม
5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด
6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้
7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค
8. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค
9. พฤติกรรมของผู้บริโภค  เช่น  ฤดูการ  การศึกษา
10. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ

อุปทาน
อุปทาน  คือ  ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขายในระยะเวลาใด  เวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน โดยผู้ขายเต็มใจจะขาย กล่าวคือ  ถ้าราคาต่ำปริมาณที่เสนอขายก็จะลดต่ำลงด้วย  และในทางตรงข้าม  หากระดับราคาสูงขึ้นก็จะมีปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นไปตาม กฎของอุปทาน ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลง  เช่น  การเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีในการผลิต ราคาของปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ  การเปลี่ยนแปลงฤดูการ  การคาดคะเนราคาสินค้าและบริการของผู้ขาย
การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายหลายชนิด  อันได้แก่
1.    ราคาสินค้า  เป็นค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อที่มีต่อสินค้านั้นๆ  ดังนั้น  เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
2.    รายได้ของผู้บริโภค  เป็นงบประมาณหรือกำลังซื้อของผู้บริโภค
3.    จำนวนประชากร  ถึงแม้ว่าราคาสินค้าและรายได้ของผู้บริโภคแต่ละรายอาจไม่เปลี่ยนแปลงแต่ในกรณีที่ประชากรหรือจำนวนผู้ซื้อมีจำนวนที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
4.    ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความต้องการบริโภคเนื้อไก่  ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับราคาเนื้อไก่  แต่ในขณะเดียวกันก็อาจขึ้นอยู่กับราคาเนื้อสุกรด้วย
5.    รสนิยมของผู้บริโภครสนิยมของผู้บริโภคมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทาน
การที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่
1. ราคาสินค้า  สินค้าที่ผู้ผลิตขายได้เป็นรายได้ผลตอบแทนที่ผู้ผลิต
2. ต้นทุนการผลิต ถ้าหากปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น  ผลกำไรสุทธิของผู้ผลิตย่อมน้อยลง
3. ราคาสินค้าชนิดอื่น ในกรณีที่ผู้ผลิตสามารถเลือกสินค้าหรือธุรกิจได้ดีพอสมควร
4. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้
5. สภาวะของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
6. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการของผู้ผลิต (การเกิดกำไร)
7. จำนวนผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่ง  (ราคาสินค้าและบริการชนิดเดียวกันที่มีการแข่งขันกัน)
8. ฤดูกาล
9. ปัจจัยอื่น  เช่น นโยบายรัฐบาล

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

กลไกราคาในตลาด


ราคา
ราคาสินค้า 
 คือ  มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการทำการผลิตได้และนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค  เช่น  นาย  ก  ผลิตปากกาออกขายให้แก่นักเรียนในราคาด้ามละ 5 บาท  เป็นต้น  ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ซึ่งมีการผลิตการบริโภค  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องขอภาคเอกชน  โดยผ่านกลไกของราคา  นั้น  ราคาสินค้าและบริการ  จะทำหน้าที่  3  ประการ  คือ
กำหนดมูลค่าของสินค้า  ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ใช้เงินเป็นสื่อกลาง  ราคาจะทำหน้าที่กำหนดมูลค่าเพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าในมูลค่าที่คุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เขาจะต้องเสียไปราคาสินค้าบางแห่งก็กำหนดไว้แน่นอนตายตัว  แต่บางแห่งก็ตั้งไว้เผื่อต่อ  เพื่อให้ผู้ซื้อต่อรองราคาได้  กำหนดปริมาณสินค้า  ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันนั้นถ้าสินค้ามีราคาถูก  ผู้ซื้อจะซื้อปริมาณมากขึ้นส่วนผู้ขายจะเสนอขายในปริมาณน้อยลงแต่ถ้าสินค้ามีราคาแพงผู้ซื้อจะซื้อปริมาณน้อยลง  ส่วนผู้ขายจะขายในปริมาณมากขึ้น  ราคาจึงเป็นตัวกำหนดปริมาณสินค้าที่จะซื้อขายกัน
กำหนดปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการ   ในระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเอกชนนั้น  จะมีปัญหาว่าผู้ผลิตควรจะผลิตในปริมาณสักเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการของผู้บริโภค  เพื่อให้เขาได้กำไรสูงสุดตามที่ต้องการ  โดยสังเกตความต้องการซื้อ  (อุปสงค์)  และความต้องการขาย (อุปทาน) ของสินค้าที่เราทำการผลิตในระดับราคาต่างๆ กันเพื่อหาดุลยภาพ  ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะทำการซื้อขายกันในปริมาณและราคาที่ตรงกัน  ปริมาณที่มีการซื้อขาย ณ จุดดุลยภาพ เรียกว่า  ปริมาณดุลยภาพ   และผู้ซื้อมีความต้องการซื้อ  ส่วนราคาที่ดุลยภาพ  เรียกว่า  ราคาดุลยภาพ  อันเป็นราคาที่ผู้ผลิตควรพิจารณาในการตั้งราคาขาย

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา
วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา  นิยมกันอยู่ทั่วไป  3 วิธี คือ
1.    วิธีการตั้งราคาโดยยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์  วิธีปฏิบัติมี 2 แบบคือ
–    ตั้งราคาโดยยึดต้นทุนบวกกำไร  ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนทั้งหมด + กำไรที่ต้องการ
จำนวนการผลิต  วิธีนี้จะใช้ได้ต้องแน่ใจว่าจำนวนผลิตต้องเท่ากับจำนวนจำหน่าย  ผู้ขายจึงจะมีกำไรตามที่ต้องการสำหรับพ่อค้าคนกลาง  อาจจะบวกกำไรกับต้นทุนได้หลายลักษณะ  เช่น
(กำไร)  ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาขาย
(กำไร)  ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาทุน
–    วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน  จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) เป็นจุดที่แสดงว่าปริมาณ ณ
จุดของการผลิต  หรือการจำหน่าย  รายได้รวมจะเท่ากับต้นทุนรวมพอดี  สูตรจุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ทั้งหมด
2.    วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์นั้น  สามารถจำแนกได้เป็นลักษณะ
ย่อยๆ ดังนี้
–    การตั้งราคาในตลาดผูกขาด
–    การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
–    การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันน้อยรายระดับราคาที่เหมาะสมของสินค้าในตลาด
ทั้ง 3 ประเภทอาศัยแนวความคิดเดียวกัน คือ ผู้ผลิตต้องพยายามผลิต  และขายในปริมาณที่ทำให้เกิดกำไรสูงสุด  โดยสรุปได้ว่า  ระดับราคาที่เหมาะสม  อยู่ที่ปริมาณการผลิตที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มเท่ากับรายได้ส่วนเพิ่ม  แต่ราคาจะต่างกัน  ตามลักษณะเส้นอุปสงค์ของตลาดแต่ละประเภท
–    การตั้งราคาในตลาดที่มีความแตกต่างกันในดานความต้องการซึ่งระดับราคา  จะ
แตกต่างตามกรณี  เช่น  ลูกค้ามีมากกว่า 1 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีความต้องการสินค้าแตกต่างกัน  กลุ่มใดมีความต้องการและความจำเป็นมาก  ราคาจะสูงกว่ากลุ่มอื่น  ลูกค้าแต่ละกลุ่มอยู่ห่างไกลกัน
–    ช่วงเวลาที่ขายสินค้าแตกต่างกัน  ระดับราคาสินค้าที่จำหน่ายในแต่ละช่วง  เวลาจะไม่
เท่ากัน  เช่น  รถรับ-ส่งสองแถว  เป็นต้น
3.    วิธีการตั้งราคาโดยยึดการแข่งขั้นเป็นเกณฑ์
การตั้งราคาโดยมุ่งพิจารณาที่การแข่งขัน  เป็นวิธีการที่นักการตลาดเห็นความสำคัญของ
คู่แข่งขันมากกว่าความสำคัญของความต้องการของตลาดและต้นทุน  ลักษณะ  ราคา  เช่น  นี้อาจเกิดขึ้นในช่วยเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน  ระดับราคา  ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกับคู่แข่งขัน  อาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าก็ได้  ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนถึงการตั้งราคาในลักษณะนี้ได้แก่
–    กำหนดราคาตามคู่แข่งขัน
–    การกำหนดราคาโดยยื่นซองประมูล

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

สหกรณ์นักเรียน

พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ให้โรงเรียนดำเนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน  มีจุดมุ่งหมาย คือ
1.    เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์  คุณธรรมในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม  โดยกระบวนการสหกรณ์
2.    ฝึกฝนนักเรียน  ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำงานสหกรณ์  เช่น  การทำงานร่วมกัน  การประชุม  การทำบัญชี  การค้าขาย  เป็นต้น
นอกจากนี้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนยังเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงกับการพัฒนาใน
ด้านอื่นๆ  ทำให้เกิดการบูรณาการกิจกรมต่างๆ  สมบูรณ์ขึ้น

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

สหกรณ์นักเรียนจึงเป็นกิจกรรมของนักเรียน  จัดตั้งขึ้นและดำเนินการโดยนักเรียน  และมีนักเรียนเป็นสมาชิก  ในการจัดสหกรณ์นักเรียน  จะมีครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือ  ให้คำแนะนำเด็กนักเรียนในการดำเนินงาน  ตามขั้นตอนตังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รับสมัครเป็นสมาชิก  ด้วยความสมัครใจ  และเปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกคนการสมัครสมาชิกสหกรณ์นักเรียน  จะเก็บค่าหุ้น
ขั้นตอนที่ 2  ประชุมใหญ่สามัญประจำปี  เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนมาดำเนินกิจการสหกรณ์  คณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนมีวาระในการทำงาน 1 ปีการศึกษา  หรือบางแห่งอาจทำได้บ่อยขึ้นเป็น 1 ภาคการศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน เดือนละครั้งเพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน  การซื้อ-ขาย การตลาด ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการ  มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนให้นักเรียนทดลองปฏิบัติ 3 กิจกรรม ได้แก่  กิจกรรมร้านค้า  กิจกรรมออมทรัพย์และกิจกรรมส่งเสริมการผลิต
ขั้นตอนที่ 5 การทำบัญชีประจำวัน  มีทั้งบัญชีรับ – จ่าย  บัญชีสินค้า บัญชีสมาชิก ฯลฯ  สรุปบัญชี  ผลกำไร/ขาดทุน  และนำข้อมูลมาวางแผนต่อไป
ขั้นตอนที่ 6 สรุปผลการดำเนินงานตามวาระของคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน  จัดสรรผลกำไร  เป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก  บางส่วนสะสมไว้เป็นเงินทุนของสหกรณ์และเป็นเงินบริจาคสำหรับทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ตลอดขั้นตอนของการดำเนินงาน  เด็กนักเรียนจะได้รับการปลูกฝังและพัฒนาทักษะและลักษณะนิสัยของการพึ่งตนเอง  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม  การทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและแบบแผน  การจดบันทึก  การจัดทำบัญชี  หลักประชาธิปไตย
สหกรณ์นักเรียนตามพระราชดำริ  จะช่วยเชื่อมโยงโครงการต่างๆในโรงเรียน เช่น
–    การเกษตร  สหกรณ์นักเรียนรับซื้อผลผลิตจากฟาร์มของโรงเรียน  หรือแม้แต่ของที่ผลิตได้ในท้องที่  มาวางจำหน่ายให้แก่โรงครัว  ผู้ปกครอง  และชุมชน
–    การประกอบอาหารกลางวัน  โรงครัวของโรงเรียนซื้อวัตถุดิบจากฟาร์มโรงเรียนที่มีคุณภาพ  ปลอดภัย  และราคาถูกกว่าท้องตลาดจากสหกรณ์  นอกจากนี้สหกรณ์ยังช่วยหาซื้อเครื่องปรุง  ของแห้งมาจำหน่ายด้วย
–    การฝึกอาชีพ  เช่นการแปรรูปอาหารหรือหัตถกรรม  อาจต้องใช้เงินลงทุน  สหกรณ์จึงเป็นแหล่งเงินทุนให้กลุ่มกู้ยืม  หรือหากต้องซื้อวัตถุดิบบางอย่าง  สหกรณ์สามารถซื้อในราคาขายส่งมา  แล้วมาขายให้สมาชิก  และเมื่อมีผลงานที่ผลิตได้  ก็นำมาขายผ่านสหกรณ์  เพราะเป็นศูนย์รวม  ทำให้เกิดประโยชน์ต่อทุกคน
–    การพัฒนาทักษะของนักเรียนในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารบริโภค  โดยผ่านร้านสหกรณ์  เช่นการเลือกซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมาย อย. การดูวันที่ผลิต  วันหมดอายุ

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การทำบัญชีสหกรณ์นักเรียน
การทำบัญชีสหกรณ์มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของสหกรณ์นักเรียน  เพราะจะทำให้ทราบความเคลื่อนไหวในการดำเนินงานและทราบ รายรับ – รายจ่ายของสหกรณ์ ทำให้ตรวจสอบดูแลได้ง่ายและเป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยทางการเงินซึ่งนักเรียนจะสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

การทำบัญชี
การทำบัญชีคือการจดบันทึกรายการทางการเงินจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งรายการรับเงินและรายการจ่ายเงินในการดำเนินงานของสหกรณ์นักเรียน นักเรียนผู้เป็นสมาชิกมาร่วมกันถือหุ้น มาร่วมกันออมทรัพย์โดยการฝากเงินไว้กับสหกรณ์ บางคนฝาก วันละ 1 บาทบางคนฝากเงินวันละ 2-3 บาท เมื่อฝากเงินกันหลายคน และเงินฝากแต่ละคนไม่เท่ากันก็เป็นการยากที่พนักงานผู้รับฝากจะจำเงินฝากของแต่ละคนได้ จึงต้องมีการจดบันทึกเป็นหลักฐาน เมื่อหลักฐานต่างๆมีมากก็ทำให้สับสนจึงต้องนำหลักฐานมาเรียงและจดบันทึกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ ค้นหาและรวมยอดเงิน ซึ่งวิธีการจดบันทึกดังกล่าวนี้เราเรียกว่า ” การบัญชี ”

การทำบัญชีสหกรณ์นักเรียน คือ การจดบันทึกรายการทางการเงินจากเอกสารหลักฐานต่างๆที่สหกรณ์นักเรียนได้ดำเนินการ โดยจัดหมวดหมู่ แยกประเภทรายการและสรุปผลออกมาในรูปรายงานทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์นักเรียน

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี การจัดทำบัญชีมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่ากำไร หรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่กำหนด
3. เพื่อให้เห็นถึงฐานะทางการเงินว่ามีทรัพย์สิน หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการ
4. เพื่อป้องกันการทุจริตและกันการสูญหายของสินทรัพย์
5. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินในการตัดสินใจด้านต่างๆของผู้บริหาร โดยผู้บริหารจะใช้ในการวางแผน ควบคุม วัดผลดำเนินงานและตัดสินใจด้านต่างๆ บุคคลภายนอกก็ใช้ในการ ตัดสินใจในการลงทุน การพิจารณาให้สินเชื่อ

ความสำคัญของการทำบัญชี การทำบัญชีมีความสำคัญดังนี้

1. เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินกิจการ เพื่อแสดงให้ทราบว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่ามีข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องอะไรบ้าง มีผลดีผลเสียอย่างไร ซึ่งบัญชีจะเป็นส่วนหนึ่งในการอ้างอิง
2. เป็นหลักฐานการตรวจสอบตัวเงินสดกับยอดบัญชีว่าถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร
3. เป็นหลักฐานในการบริหารงาน การควบคุม และการทำงบประมาณ เพื่อให้ผลงานนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานว่า มีกำไรหรือขาดทุน
5. ช่วยทำให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการในขณะนั้นว่า มีทรัพย์สิน หนี้สิน และมีเงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด
6. เป็นหลักฐานให้แก่ทางราชการในการคำนวณภาษีได้ถูกต้อง ตามความเป็นจริงเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจในด้านต่างๆ

เอกสารประกอบการลงบัญชี
เอกสารประกอบการลงบัญชีหมายถึงเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงตามลักษณะของรายการรับเงินหรือจ่ายเงินที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงว่าได้เกิดรายการรับเงินขึ้นจริงในเอกสารนั้น เอกสารมีดังนี้
1. ใบเสร็จรับเงินจากบริษัท ห้างร้านที่สหกรณ์ไปซื้อสินค้า
2. ใบเสร็จรับเงินของสหกรณ์ใช้บันทึกรายการรับเงินของสหกรณ์ทั้งจากสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก
3. ใบเบิกเงินใช้บันทึกรายการจ่ายเงินของสหกรณ์ในกรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้
4. ใบนำส่งฝากออมทรัพย์ใช้บันทึกเป็นหลักฐานการนำส่งเงินฝากออมทรัพย์ของนักเรียน
5. ใบถอนเงินออมทรัพย์ใช้บันทึกเป็นหลักฐานเมื่อสมาชิกถอนเงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์
6. ใช้ขายสินค้าประจำวัน ใช้บันทึกรายการขายสินค้า จำนวนสินค้า จำนวนเงิน หมายเลขสมาชิกผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวันและสรุปยอดขายในแต่ละวัน

ทะเบียนต่างๆ  ของสหกรณ์ ใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดของแต่ละรายการที่เกิดขึ้น  โดยใช้เอกสารประกอบการลงบัญชีเป็นหลักฐานในการบันทึก ดังนี้
1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น  จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์  จำนวนหุ้นที่ชำระทั้งหมด  บันทึกรายการเพิ่มหุ้น  ถอนหุ้น  หรือ  โอนหุ้น  ของสมาชิกแต่ละราย
2.ทะเบียนคุมสินค้า  ใช้บันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายแต่ละอย่างทั้งนี้เพื่อควบคุมรายการรับสินค้าเข้าร้าน  การตัดจ่ายสินค้าเมื่อขาย  และคุมยอดคงเหลือของสินค้าให้ถูกต้องเป็นการป้องกันการขาดหายของสินค้าแต่ละรายการ
3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก  ใช้บันทึกยอดซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์นักเรียนเป็นรายวัน  ของแต่ละบุคคล  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรวมยอดซื้อสินค้าของสมาชิกตอนสิ้นปี
4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์  ใช้บันทึกรายการเงินฝาก  ถอนเงินและยอดคงเหลือเงินฝาก
5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่ายของฝ่ายส่งเสริมการเกษตรหรือฝ่ายการศึกษาและสวัสดิการใช้บันทึก

บันทึกรายการในทะเบียนต่างๆ  เป็นการบันทึกรายละเอียดของแต่ละรายการที่เกิดขึ้นโดยใช้เอกสารประกอบการการลงบัญชีเป็นหลักฐานการบันทึก  สรุปได้ดังนี้

หลักฐานประกอบการบันทึกทะเบียน

ทะเบียน ผู้บันทึก หลักฐานประกอบ
1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น

2.ทะเบียนคุมสินค้า

3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก

4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์

5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่าย

1.ผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

2.พนักงานขาย

3.พนักงานขาย

4.พนักงานออมทรัพย์

5.พนักงานเกษตรหรือ

พนักงานการศึกษา

และสวัสดิการ

1.หลักฐานประกอบการบันทึกใบเสร็จ รับเงินค่าหุ้นหรือใบถอนเงินค่าหุ้น

2.ใช้สมุดซื้อสินค้า  บันทึกยอดรับสินค้า ราคาทุน และราคาขายใช้ใบ

สินค้าประจำวันบันทึกยอดขายสินค้า

3.ใบขายสินค้าประจำวัน

4.ใบนำส่งเงินฝากออมทรัพย์  หรือใบถอนเงินออมทรัพย์

5.ใบเสร็จรับเงินของฝ่ายหรือใบเบิกเงินของฝ่าย(แยกทำเป็นฝ่ายๆ)

นอกจากการลงบัญชี  และการบันทึกเอกสารทางการเงินเป็นประจำทุกวันแล้ว  ต้องมีการสรุปการบัญชีเป็นประจำทุกเดือนเรียนว่า  งบเดือน  เช่น  งบรายวัน  รายจ่ายประจำเดือนและงบทดลองประจำเดือน  เป็นต้น  และการสิ้นสุดของการจัดทำบัญชีนั้น  โดยทั่วไปกำหนดรอบบัญชีไว้ 1 ปี  ดังนั้น  การบัญชีสหกรณ์นักเรียนจึงกำหนดรอบปีบัญชีไว้ 1 ปี  โดยเริ่มตั้งแต่วันเปิดเรียนภาคต้นและไปปิดบัญชีในวันปิดภาคเรียนสุดท้าย

รายการรับเงินและรายการจ่ายเงินของสหกรณ์นักเรียน
            รายการรับเงินและรายการจ่ายเงินของสหกรณ์นักเรียนประกอบไปด้วย
                      1. การรับสมาชิกและการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์
                      2. กิจกรรมร้านค้า
                      3. กิจกรรมออมทรัพย์
                     4. กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร
                     5. กิจกรรมการศึกษาและสวัสดิการ

การดำเนินงานสหกรณ์นักเรียน
1.    การรับสมาชิก  และการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์
        รายการรับเงิน  – รับเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้า  – รับเงินค่าหุ้น  – รับเงินบริจาค
        รายการจ่ายเงิน  – จ่ายคืนค่าหุ้น  – จ่ายค่าเครื่องเขียน  – จ่ายค่าวัสดุ

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
1 ม.ค. 50 รับสมาชิกใหม่ 10 คน  ธรรมเนียมแรกเข้า

คนละ  10  บาท

100   รายได้
5 ม.ค. 50 รับเงินค่าหุ้นจาก ด.ช.หิมะ  ใจร้อน หุ้นละ

10 บาท  จำนวน  20  หุ้น

200   ทุน
7 ม.ค. 50 สหกรณ์ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง

เป็นเงิน 5,000.- บาท

5,000   รายได้
10 ม.ค. 50 จ่ายคืนเงินค่าหุ้นให้กับ ด.ญ.กุ๊กไก่  ใจดี

เป็นเงิน 2,000.- บาท

  2,000 ทุน
12 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าสมุดและปากกา เป็นเงิน 100 บาท   100 ค่าใช้จ่าย
13 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน เป็นเงิน 500 บาท   500 ค่าใช้จ่าย


ตัวอย่างทะเบียนสมาชิก

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
1 ม.ค. 50 รับสมาชิกใหม่ 10 คน  ธรรมเนียมแรกเข้า

คนละ  10  บาท

100   รายได้
5 ม.ค. 50 รับเงินค่าหุ้นจาก ด.ช.หิมะ  ใจร้อน หุ้นละ

10 บาท  จำนวน  20  หุ้น

200   ทุน
7 ม.ค. 50 สหกรณ์ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง

เป็นเงิน 5,000.- บาท

5,000   รายได้
10 ม.ค. 50 จ่ายคืนเงินค่าหุ้นให้กับ ด.ญ.กุ๊กไก่  ใจดี

เป็นเงิน 2,000.- บาท

  2,000 ทุน
12 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าสมุดและปากกา เป็นเงิน 100 บาท   100 ค่าใช้จ่าย
13 ม.ค. 50 จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน เป็นเงิน 500 บาท   500 ค่าใช้จ่าย

คำอธิบาย
    บันทึกรายชื่อสมาชิกเรียงตามลำดับที่สมัคร  โดยกำหนดเลขที่สมาชิกเรียงกัน  เมื่อมีสมาชิกออกให้บันทึกเลยที่สมาชิกต่อไปโดยไม่ต้องนำเลขที่ของสมาชิกที่ลาออกมาใช้
   

ตัวอย่าง
ใบสมัคร

เพื่อเป็นสมาชิกกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน………………………….
วัน……………เดือน…………………….พ.ศ………….
ข้าพเจ้า (ด.ช./ด.ญ.)………………………………………………….เป็นนักเรียนชั้น   ………/………ของโรงเรียน……………………………………………ขอสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ประเภท
    (     )     กิจกรรมร้านค้า
(     )     กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร/ อาชีพ
(     )     กิจกรรมออมทรัพย์
                           (     )     กิจกรรมการศึกษาและสวัสดิการ
จำนวน…………..หุ้น  ๆ ละ  …………บาท  รวมเป็นเงิน…………………บาท(……………………………………………)
                    ลงชื่อ………………………………………………..ผู้สมัคร
                            (………………………………………………..)       
                ได้รับเงินค่าสมัคแล้ว                    ลงทะเบียนสมาชิกแล้ว
      ………………………………………….              ………………………………………………
   (………………………………………….)            (………………………………………………)

……………………………………..นักเรียนเก็บส่วนท้ายนี้ไว้เป็นหลักฐาน………………………………………….

วัน……………เดือน…………………….พ.ศ………….
ข้าพเจ้า (ด.ช./ด.ญ.)………………………………………………….เป็นนักเรียนชั้น ป. ………/………ของโรงเรียน……………………………………………ขอสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ประเภท
    (     )     กิจกรรมร้านค้า
(     )     กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร/ อาชีพ
(     )     กิจกรรมออมทรัพย์
                           (     )     กิจกรรมการศึกษาและสวัสดิการ
จำนวน…………..หุ้น  ๆ ละ  …………บาท  รวมเป็นเงิน…………………บาท(……………………………………………)
                    ลงชื่อ………………………………………………..ผู้สมัคร
                            (………………………………………………..)


ตัวอย่างบัตรสมาชิก

ชื่อ………………………………………………………………………..                        (รูป)

วันที่เป็นสมาชิก……………………………………………………..

เลขทะเบียนสมาชิก…………………………………………………    …………………………………ลายมือชื่อ
……………………………………..ผู้ออกบัตร

ที่ เลขที่

สมาชิก

วัน-เดือน-ปี ชื่อ-สกุล จำนวนหุ้น หมายเหตุ
เพิ่ม ถอน คงเหลือ
1. 0001 14 ก.ค. 49 เด็กหญิงกุ๊กไก่  ใจดี 2,000   2,000  
2. 0002 5 ส.ค. 49 เด็กชายขนม  หวานมาก 100   2,100  
3. 0003 20ก.ย. 49 เด็กชายหิมะ  ใจร้อน 200   2,300  
4. 0004 13 ต.ค. 49 เด็กหญิงบอบบาง  อรชร 50   2,350  
5. 0005 16 ธ.ค. 49 เด็กชายตุ๊ต๊ะ  อ้วนท้วน 20   2,370  
6. 0001 31 ธ.ค. 49 เด็กหญิงกุ๊กไก่  ใจดี   2,000 370 ลาออก

คำอธิบาย  บันทึกเรียงตามลำดับวันที่

ตัวอย่างทะเบียนหุ้นรายคน
ชื่อ………………………………………………………….เลขที่สมาชิก…………………….

วัน-เดือน-ปี จำนวน หมายเหตุ
เพิ่ม ถอน คงเหลือ
20 ก.ย. 49 200   200  

คำอธิบาย  สมาชิกจะถอนหุ้นคืนได้ต่อเมื่อออกจากสหกรณ์


2.กิจกรรมร้านค้า

       รายการรับเงิน – รับเงินขายสินค้า  – รับเงินขายวัสดุเหลือใช้
       รายการจ่ายเงิน  – ซื้อสินค้ามาจำหน่าย  – ค่าใช้จ่ายในการซื้อ

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
14 ม.ค. 50 ขายสมุด 5 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน

50  บาท

50   รายได้
15 ม.ค. 50 ขายเก้าอี้เก่า เป็นเงิน 70 บาท 70   รายได้
16 ม.ค. 50 ซื้อขนมมาขายเพิ่ม 10 ห่อๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 250 บาท   250 ค่าใช้จ่าย
17 ม.ค. 50 จ่ายค่าน้ำมันรถในการไปซื้อขนม  เป็นเงิน  200  บาท   200 ค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างทะเบียนคุมสินค้า
ชนิดสินค้า                   สมุด

ลำดับที่ วันเดือนปี รับ จ่าย คงเหลือ
จำนวน หน่วย จำนวน หน่วย จำนวน หน่วย
1

2

3

4

5

10 ม.ค. 49

11 ม.ค. 49

13 ม.ค. 49

15 ม.ค. 49

15 ม.ค. 49

500

200

เล่ม

เล่ม

 

70

50

100

 

เล่ม

เล่ม

เล่ม

500

430

380

580

480

เล่ม

เล่ม

เล่ม

เล่ม

เล่ม

3.กิจกรรมออมทรัพย์
รายการรับเงิน        – รับเงินฝากออมทรัพย์
รายการจ่ายเงิน        – ถอนเงินฝาก
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
18 ม.ค. 50 รับฝากเงินจากสมาชิก เป็นเงิน 1,000  บาท 1,000   ทุน
19 ม.ค. 50 สมาชิกถอนเงินฝาก  เป็นเงิน 100 บาท   100 ทุน
20 ม.ค. 50 รับเงินฝากจากสมาชิกเพิ่มเป็นเงิน  500  บาท 500   ทุน
21 ม.ค. 50 ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร  เป็นเงิน 270  บาท 270   รายได้

ตัวอย่างทะเบียนคุมเงินออมทรัพย์รายคน
ชื่อผู้ฝากเงินออมทรัพย์          เด็กชายขนม  หวานมาก

วัน-เดือน-ปี ฝาก

(บาท)

ถอน

(บาท)

คงเหลือ

(บาท)

1 ม.ค. 50

10  ม.ค. 50

15 ม.ค. 50

100

500

 

100

200

700

600

4.กิจกรรมส่งเสริมการเกษตร
รายการรับเงิน        – รับเงินขายผลผลิตการเกษตร
รายการจ่ายเงิน        – ค่าใช้จ่ายในการผลิต
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
22 ม.ค. 50 รับเงินค่าขายกล้วย 100 กิโลกรัมๆ ละ 8 บาท  เป็นเงิน 800 บาท 800   รายได้
23 ม.ค. 50 จ่ายค่าแรงงานคนตัดกล้วย  เป็นเงิน 200 บาท   200 ค่าใช้จ่าย
24 ม.ค. 50 จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิก  เป็นเงิน 2,000  บาท   2,000 ลูกหนี้
25 ม.ค. 50 รับดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิกเป็นเงิน  100  บาท 100   รายได้
26 ม.ค. 50 รับชำระหนี้เงินกู้จากสมาชิก 2,000  บาท  พร้อมดอกเบี้ย  100  บาท 2,100   ลูกหนี้

ตัวอย่างทะเบียนคุมเจ้าหนี้รายคน
ชื่อเจ้าหนี้……………………………………………………………………

วัน-เดือน-ปี จำนวนเงินกู้

(บาท)

วันครบ

กำหนดชำระ

จำนวนเงินชำระ

(บาท)

จำนวนเงิน

คงเหลือ

1 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

7 ก.พ. 50

2,000 1,000  

500

500

2,000

1,500

1,000

ตัวอย่างทะเบียนคุมผลผลิต

วัน-เดือน-ปี รายการ

ผลผลิต

จำนวนที่รับ

(หน่วย)

จำนวนที่ขาย

(หน่วย)

จำนวนเงิน จำนวน

คงเหลือ

ราคา เป็นเงิน
11 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

12 ม.ค. 50

กล้วย

กล้วย

มะนาว

กล้วย

50

6,000

70

30

20

6,000

70

8

9

1

7

240

180

6,000

490

20

วัน-เดือน-ปี รายการ รายรับ

(เดบิต)

รายจ่าย

(เครดิต)

หมายเหตุ
26 ม.ค. 50 รับเงินบริจาคจากโรงเรียนสำหรับการไปศึกษาดูงาน  เป็นเงิน  2,000  บาท 2,000   รายได้
27 ม.ค. 50 รับเงินอุดหนุนจากสหกรณ์จังหวัดเป็นเงิน  1,000  บาท 1,000   รายได้
28 ม.ค. 50 จ่ายค่าอุปกรณ์ในการจัดมุมสหกรณ์  เป็นเงิน  500  บาท   500 ค่าใช้จ่าย
29 ม.ค. 50 จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการวันสหกรณ์  เป็นเงิน 700 บาท   700 ค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างการปิดบัญชีรายรับ – รายจ่าย

วัน-เดือน-ปี รายการ จำนวนเงิน จ่าย จำนวนเงิน
1 ม.ค. 50 รับค่าธรรมเนียมสมาชิกใหม่ 100    
5 ม.ค. 50 รับเงินค่าหุ้นจากสมาชิก 200    
7 ม.ค. 50 ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง 5,000    
12 ม.ค. 50     จ่ายค่าสมุดและปากกา 100
13 ม.ค. 50     จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน 500
16 ม.ค. 50     ซื้อขนมมาขายเพิ่ม 250
17 ม.ค. 50     จ่ายค่าน้ำมันสำหรับไปซื้อขนม 200
วัน-เดือน-ปี รายการ จำนวนเงิน จ่าย จำนวนเงิน
18 ม.ค. 50 รับฝากเงินจากสมาชิก 1,000    
  19 ม.ค. 50     สมาชิกถอนเงินฝาก 100
20 ม.ค. 50 รับเงินฝากจากสมาชิกเพิ่ม 500    
22 ม.ค. 50 รับเงินค่าขายกล้วย 800    
23 ม.ค. 50     จ่ายค่าแรงงานคนตัดกล้วย 200
24 ม.ค. 50     จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิก 2,000
25 ม.ค. 50 รับดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิก 100    
26 ม.ค. 50 รับชำระหนี้เงินกู้จากสมาชิก 2,100    
27 ม.ค. 50 รับเงินอุดหนุนจากสหกรณ์ 1,000    
28 ม.ค. 50     จ่ายค่าอุปกรณ์ในการจัดมุมสหกรณ์ 500
29 ม.ค. 50     จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการวันสหกรณ์ 700
  รวมรับ 10,800 รวมจ่าย 4,550

ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน
ประจำเดือนมกราคม  25….

รายการ จำนวนเงิน
รายได้

รับค่าธรรมเนียมสมาชิกใหม่

รับเงินค่าหุ้นจากสมาชิก

ได้รับเงินบริจาคจากบริษัทแห่งหนึ่ง

รับฝากเงินจากสมาชิก

รับฝากเงินจากสมาชิกเพิ่ม

รับเงินค่าขายกล้วย

รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิก

รับชำระหนี้เงินกู้จากสมาชิก

รับเงินอุดหนุนจากสหกรณ์

รวมรายได้

 

100

200

5,000

1,000

500

800

100

2,100

1,000

10,800

ค่าใช้จ่าย

จ่ายเงินค่าสมุดและปากกา

จ่ายเงินค่าโต๊ะสำนักงาน

ซื้อขนมมาขายเพิ่ม

จ่ายค่าน้ำมันสำหรับไปซื้อขนม

สมาชิกถอนเงินฝาก

จ่ายค่าแรงงานคนตัดกล้วย

จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิก

จ่ายค่าอุปกรณ์ในการจัดมุมสหกรณ์

จ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการวันสหกรณ์

รวมค่าใช้จ่าย

กำไร    (10,800 – 4,550)

 

100

500

250

200

100

200

2,000

500

700

4,550

6,250

งบดุล
ณ วันที่ 31 มกราคม 25 ….
.

สินทรัพย์
เงินสด และเงินฝากธนาคาร    (คงเหลือ ณ วันนั้น)            ……………………
ลูกหนี้                (กรณีสหกรณ์ให้กู้)            ……………………
วัสดุสำนักงาน            (ตามมูลค่าคงเหลือ)            ……………………
สินทรัพย์อื่นๆ            (สินค้าคงเหลือ,อาคาร)            ……………………
รวมสินทรัพย์                                    ……………………
หนี้สินและทุน
หนี้สิน                                    .
เจ้าหนี้                                    ……………………
เงินรับฝาก                                ……………………
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย                                ……………………
ทุน
หุ้น                                    ……………………
กำไร/ขาดทุน                                ……………………
รวมหนี้สินและทุน                            ……………………

สหกรณ์นักเรียน

พระราชดำรัสพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียน
เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักเรียนในการรวมกันซื้อ รวมกันขาย
หลักการทำบัญชีออมทรัพย์

“…เรื่องสหกรณ์โรงเรียน (เริ่ม พ.ศ. ๒๕๓๔) ก็เป็นงานหนึ่งที่ข้าพเจ้าพยายามจัดให้มีขึ้นทุกแห่ง เมื่อเริ่มโครงการข้าพเจ้ากำชับไว้ว่าผลผลิตที่เกิดจากงานเกษตรห้ามขายเด็ด ขาด ต้องให้นักเรียน
รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของโครงการ ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณเกินกว่าที่จะบริโภคได้หมด ก็ให้ทำการถนอมอาหารเก็บไว้ หรือแจกให้นักเรียนไปรับประทานที่บ้าน ต่อมาเมื่อโครงการประสบความสำเร็จพอสมควรแล้ว ก็ยอมให้ขายได้ส่วนหนึ่งเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้โครงการบางส่วนเลี้ยง ตัวเองได้ ทั้งนี้ต้องไม่ให้มีผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ เมื่อมีการซื้อขาย ก็ต้องเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าระบบที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่เป็น ที่ตั้งโรงเรียน ตชด. มากที่สุดก็คือ ระบบสหกรณ์ เพราะแต่ละคนมีเงินน้อย เมื่อร่วมกันจึงพอลงทุนธุรกิจใดๆ ได้ ในหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษา ก็มีบทที่ว่าด้วยการสหกรณ์อยู่แล้ว จึงสนับสนุนให้มีการปฏิบัติจริงในโรงเรียน กรมส่งเสริมสหกรณ์ (สหกรณ์จังหวัด สหกรณ์อำเภอ)
ได้มาช่วยจัดกิจกรรมสหกรณ์ โดยให้สหกรณ์ (จริงๆ) ที่อยู่ใกล้เคียง ช่วยเป็นพี่เลี้ยงดูแลแนะนำให้กรรมการสหกรณ์เด็กนักเรียนไปดูงานถ้าเป็นไป ได้…”

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

“…ส่วนใหญ่จัดเป็นสหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ออมทรัพย์ มีร้านค้าขายของใช้จำเป็น ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าจะซื้อของมาใช้ในโรงเรียน ก็ให้ซื้อผ่านสหกรณ์ ก็จะได้เป็นราคาขายส่ง ในการที่จะขายสินค้าต่างๆแม้แต่ขายของจากแปลงเกษตรเข้าโรงครัวก็ให้ผ่าน สหกรณ์ การที่จะร่วมมือกันหาตลาดผลิตภัณฑ์ก็ต้องให้กรรมการสหกรณ์รับทราบ การฝึกหัดเด็กนักเรียนในเรื่องสหกรณ์ ทำให้เด็กได้ฝึกหัดทักษะหลายอย่าง คือ หัดมาประชุมกัน ใช้เหตุผลโต้เถียงกัน อันเป็นการฝึกหัดการอยู่ในสังคมประชาธิปไตยเมื่อประชุมก็ให้มีการจดบันทึก การประชุม เป็นการฝึกหัดเขียนหนังสือ ฝึกหัดขาย เมื่อขายก็ต้องรู้จักการทำบัญชี ซึ่งก็เป็นอีกวิชาหนึ่ง…บางครั้งกิจการร้านค้าสหกรณ์เจริญรุ่งเรืองมาก เด็กนักเรียนและครูพากันไปขายของ ทำให้ละเลยเรื่องการเรียนการสอน ก็ต้องเตือนกัน…”
(จากหนังสือ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน)

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

“…การออมทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะช่วยให้มีการวางแผนชีวิต ไม่ให้ใช้จ่ายเกินกว่า
ที่ตนเองมี เพื่อให้มีพอใช้เมื่อจำเป็น เช่น เวลาเจ็บไข้ เป็นต้น…”
(จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร)

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ด้านต่างๆ ดังข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการพัฒนาที่ได้ทรงเน้นให้เกิดประโยชน์สูง สุดแก่เด็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้มีอาหารที่เพียงพอในขณะกำลังศึกษา การฝึกปฏิบัติจริง เพื่อจะได้เป็นวิชาติดตัวไปประกอบเป็นอาชีพได้ การส่งเสริมการรวมกลุ่มในการช่วยกันคิด ช่วยกันทำการฝึกทักษะในการจัดทำบัญชี รวมไปถึงการส่งเสริมการออม จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชนในอนาคตต่อไป
ข้อมูลจาก หนังสือ สืบสานพระราชปณิธาน สามทศวรรษจรัสหล้า การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

จากพระราชดำรัสสู่การปฏิบัติ   

การดำเนินงานพัฒนาอาหาร  โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร  ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารีจะมีหน่วยงานหลักคือสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารีที่รับผิดชอบในการนำพระราชดำรัสมาสู่การปฏิบัติ  โดยผ่านทางแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร  ตามพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ซึ่งจัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่พ.ศ. 2535 เป็นแผนระยะ 5 ปี (ฉบับที่ 1-3) และ 10 ปี (ฉบับที่ 4)  แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร  ตามพระราชดำรินี้จึงเป็นกรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเด็กนักเรียนให้แก่โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริทุกโรง

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร  ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550-2559 มีเป้าหมายสูงสุด  คือ  เด็กและเยาวชน  มีโภชนาการดีสุขภาพแข็งแรง  ใฝ่เรียนรู้  ซื่อสัตย์  ประหยัด  และอดทน  มีความรู้และทักษะทางวิชาการและการอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต  รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ  ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย  และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้
ในการพัฒนาอาหาร  โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตามพระราชดำรินั้น จึงมีเป้าหมายที่ให้เด็กนักเรียนทุกคนมีภาระโภชนาการดี  สุขภาพแข็งแรง  ไปพร้อมๆ  กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี  และคุณภาพชีวิตที่ดี  เป็นการพัฒนาที่มีเด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  โดยเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะและตุณลักษณะที่เหมาะสมที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ในที่สุด  มีโรงเรียนเป็นฐานที่สำคัญของการปฏิบัติงานและครูเป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา  พร้อมกับอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
บทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริที่ได้ดำเนินการพัฒนาอาหาร  โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี  มีองค์ประกอบของการพัฒนา ดังนี้
1.    การเกษตรในโรงเรียน
2.    สหกรณ์นักเรียน
3.    การจัดบริการอาหารของโรงเรียน
4.    การติดตามภาวะโภชนาการ
5.    การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
6.    การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
7.    การจัดบริการสุขภาพ
8.    การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ  และสุขภาพอนามัย
สมเด็จพระเทพ ฯ   ทรงใช้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเป็นจุดเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมพัฒนาอื่น ๆ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

กรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาอาหาร  โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ความเชื่อมโยงของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  กับการพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

แนวทางการบริหารจัดการ
การพัฒนาอาหาร  โภชนาการ  และสุขภาพอนามัยในโรงเรียน

การดำเนินงานพัฒนาอาหาร  โภชนาการ  และสุขภาพอนามัยในโรงเรียนอย่างครบวงจร  สม่ำเสมอต่อเนื่องและยั่งยืน  เพื่อให้ผลของการพัฒนาเกิดขึ้นกับตัวเด็กนักเรียนทุกคนดังพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารีนั้น  จำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม  สอดคล้องกับความต้องการ  บริบทของชุมชน  และวัฒนธรรมประเพณี  ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการการดำเนินงานพัฒนาอาหาร  โภชนาการ  และสุขภาพในโรงเรียนเป็นบทเรียนจากโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ

การเกษตรในโรงเรียน
การเกษตรในโรงเรียน  เป็นกิจกรรมสำคัญอันดับแรกที่โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริทุกโรงเรียนดำเนินการจุดมุ่งหมายของการเกษตรในโรงเรียน  คือ
1. ผลิตวัตถุดิบอาหารสำหรับใช้ในการจัดอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทุกคนทุกวัยเรียน
2. พัฒนาเด็กนักเรียนทุกคนให้มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน  เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในอนาคต
การเกษตรในโรงเรียน  จะครอบคลุมกิจกรรมทุกขั้นตอนตลอดระบบการผลิตอาหาร  ได้แก่  ปัจจัยการผลิต  กระบวนการผลิต  การเก็บเกี่ยวผลผลิต  การแปรรูป  การจำหน่ายและการกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค

 ระบบการผลิตอาหารในโรงเรียน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง  บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการทำการเกษตรในโรงเรียน  ได้แก่ 1)  นักเรียน  2)  ครู  3)  ชุมชน
(1)  เด็กนักเรียน  เป็นบุคลากรหลักในการทำการเกษตรของโรงเรียน  โดยทั่วไปโรงเรียนจะจัดการโดยแบ่งเด็กนักเรียน  (ส่วนมากจะเป็นระดับชั้นประถม 4-6)  เป็นกลุ่มการผลิตประเภทต่างๆ  เช่น  กลุ่มพืชผักไม้ผล  กลุ่มเห็ด  กลุ่มไก่ไข่  กลุ่มไก่เนื้อ  กลุ่มปลาดุก ฯลฯ
การแบ่งกลุ่มเด็กนักเรียนมีวิธีดำเนินการได้ 2 วิธี  คือ  1) ความสมัครใจของเด็กแต่ละคน  ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความชอบและความสนใจ  วิธีการนี้พบว่าเด็กนักเรียนต้องทำ  วิธีการนี้ครูจำเป็นต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดีควบคู่ไปกับการทำกิจกรรม  ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดกลุ่มเด็กนักเรียน  คือ  ผู้ปกครอง  ซึ่งมีทัศนคติว่างานเกษตรเป็นงานหนัก  โดยเฉพาะการปลูกพืชผัก  ต้องขุดดิน  ทำให้ไม่อยากให้บุตรหลานของตนทำงานนี้
บทบาทหน้าที่ของเด็กนักเรียนในแต่ละกลุ่มมีดังนี้
–  รับผิดชอบดูแลการผลิต  ตลอดระบบการผลิต  ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตจนถึงการจำหน่าย
–  จดบันทึกการทำงานของตนเองในแต่ละวัน
–  จดบันทึกผลผลิตที่ได้
–  จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
นอกจากรับผิดชอบหลักในแต่ละกลุ่มแล้ว  ในบางโรงเรียนจะมอบหมายให้เด็กนักเรียนชั้นประถม 4-6 ทุกคนเป็นเจ้าของแปลงผัก 1-2 แปลง  และเด็กนักเรียนชั้นประถม 1-3 ซึ่งยังเล็กอยู่เป็นผู้ช่วยในการรดน้ำผัก
ผลตอบแทนที่เด็กนักเรียนได้รับ  มักเป็นผลผลิตที่ตนเองผลิต  เช่น  กลุ่มไก่ไข่  ทุกวันศุกร์จะมีการแบ่งไข่ให้เด็กนักเรียนคนละ  3 ฟอง/สัปดาห์  กลุ่มผักให้เจ้าของแปลงคนละ 2 ครั้ง/รุ่น  (คนละ 1 หม้อ)  กลุ่มเลี้ยงปลาดุก  ได้รับเงินปันผล
(2)  ครู  เป็นบุคคลที่เป็นผู้ผลักดัน  อำนวยการ  จัดหาปัจจัย  จัดสภาพแวดล้อม  ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานเพื่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน
–  ครูใหญ่  เป็นผู้แต่งตั้งหรือมอบหมายครูรับผิดชอบงานเกษตร  โดยมีวิธีการคัดเลือกครูเกษตร  ดังนี้  1)  เลือกครูที่มีพื้นฐานทางการเกษตร  เช่นมีคุณวุฒิทางเกษตรหรือมาจากครอบครัวเกษตรกรรม  2)  เลือกจากครูที่มีความสนใจ
–  ครูผู้รับผิดชอบงานเกษตร  หรือเรียกชื่อว่า  ครูเกษตรอาจมี 2-3 คน เพื่อแบ่งงานกัน  เช่น  ครูกลุ่มพืชผัก-ไม้ผล-เห็ด  ครูกลุ่มปลา  ครูกลุ่มปศุสัตว์  ครูเกษตรมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
+  จัดทำแผนการผลิต และดำเนินการให้ได้ตามแผน
+ ประสานกับครูที่รับผิดชอบอาหารกลางวัน  เพื่อนำผลผลิตไปประกอบอาหาร
+  ลงมือปฏิบัติร่วมกับเด็กนักเรียน  ไปพร้อมๆ  กับถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กนักเรียน
+  ตรวจบันทึกการทำงานของเด็กนักเรียน
+  ควบคุมกองทุนการผลิตของกลุ่มการผลิตที่ตนรับผิดชอบ
–  ครูอื่นๆ  ในโรงเรียน  นอกจากครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบหลักแล้ว  ในบางโรงเรียนอาจให้ครูทั้งโรงเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเกษตรของโรงเรียนโดยจัดเวรลงปฏิบัติงาน  เช่น  ดูนักเรียนลงแปลงรดน้ำผักให้อาหารสัตว์  ทำความสะอาดแปลง  เป็นต้น
(3)  ชุมชน  มีบทบาทในการออกแรงพัฒนาบุกเบิกพื้นที่การเกษตรของโรงเรียน  ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก  เกินกว่าที่นักเรียนจะดำเนินการได้ด้วยตนเอง  เป็นการแบ่งเบาภาระของโรงเรียน  หลังจากนั้นนักเรียนสามารถมาทำกิจการรมได้สะดวกขึ้น  เช่น  การถางหญ้าตัดกิ่งไม้  การยกแปลง  การก่อสร้างซ่อมแซมรั้วโรงเรียน  การก่อสร้างคอกสัตว์  โรงเพาะเห็ด  เป็นต้น  โดยทั่วๆ  ไปชุมชนจะมาช่วยพัฒนาโรงเรียนเดือนละ 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการร้องขอจากโรงเรียน  นอกจากนี้ชุมชนยังสามารถบริจาคมูลสัตว์มาเป็นวัสดุในการปรับปรุงบำรุงดินของโรงเรียนด้วย  บริจาคพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์  ในบางแห่งที่พื้นที่โรงเรียนน้อยไม่สามารถทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้  ชุมชนยังให้โรงเรียนยืมที่สำหรับการปลูกพืชอายุสั้น  หรือบริจาคผลผลิตทางการเกษตรของตนเองให้กับโรงเรียน  แล้วแบ่งปันผลผลิตกัน

การจัดการผลผลิตทางการเกษตร  เมื่อกลุ่มผลิตทางการเกษตรมีผลผลิตแล้ว  ก็จะนำมาขายผ่านร้านค้าสหกรณ์  หากผลผลิตอาหารสดมีเหลือก็ทำการแปรรูปถนอมอาหารต่อไป
การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรผ่านร้านสหกรณ์  เป็นพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารีที่ให้โรงเรียนมีการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน  ซึ่งจะมีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ขึ้นภายในโรงเรียน  และใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรของโรงเรียน  ในการจำหน่ายผลผลิต  กลุ่มผลิตจะเป็นผู้กำหนดราคาขายให้แก่ร้านค้าสหกรณ์  ร้านค้าสหกรณ์จะขายผลผลิตนี้ให้แก่โรงครัวของโรงเรียน  โดยครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวันจะใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนอาหารกลางวันของรัฐบาล  ซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ  ปลอดภัย  และราคาถูกกว่าท้องตลาดจากสหกรณ์   ไม่ต้องเดินทางไปซื้อในที่ไกล ๆ สหกรณ์ทำบัญชี  ออกใบเสร็จรับเงินให้  หากผลผลิตมีเหลือร้านค้าก็สามารถขายให้แก่ผู้ปกครองนักเรียน  ชุมชน หรือแม้แต่ครูได้  เงินรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรจะกลับคืนสู่กลุ่มผลิตทางการเกษตรของโรงเรียน  ทำให้การเกษตรในโรงเรียนมีความยั่งยืนได้  นอกจากนี้หากกลุ่มผลิตต้องการปัจจัยการผลิต  ก็สามารถสั่งผ่านสหกรณ์เพื่อให้ช่วยหาซื้อให้กลุ่มด้วย

การจัดการผลผลิตของกลุ่มผลิตทางการเกษตรโดยจำหน่ายผ่านร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การแปรรูปและถนอมอาหาร  ปัจจุบันหลายโรงเรียนสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรบ่งอย่างได้ในปริมาณมาก  เช่น  ปลาดุกไขไก่  ผักกาด  อีกทั้งบ่างพื้นที่ยังสามารถหาของพื้นบ้านหรือของป่าได้จำนวนหนึ่ง  ทำให้นำมาใช้แปรรูปเพื่อเก็บไว้สำหรับบริโภคในวันอื่นๆ  หรือบางส่วนก็นำไปจำหน่ายผ่านร้านสหกรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น  การทำปลาตากแห้ง  ปลาแดดเดียว  ปลาร้า  ไข่เค็ม  ผักกาดดอง  หน่อไม้ดอง

สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2.  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3.  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
–  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
–  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
–  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4.  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
–  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
–  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5.  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ ากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุบและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

สหกรณ์  หมายถึง  คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเองและช่วยเหลือกัน  ซึ่งได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง  แนวพระราชดำริแห่งพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับยึดหลักความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีภูมิคุ้มกันตัวเองต่อผลกระทบใดๆ

เมื่อเปรียบเทียบสหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  พบว่ามีประเด็นวิเคราะห์  ดังนี้
1.  เป้าหมาย
สหกรณ์มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป้าหมายของสหกรณ์คือการมีเศรษฐกิจดีและสังคมดี  หรือความเป็นอยู่ดี  มีสันติสุข  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามข้อความชื่อปรัชญามีเป้าหมายทางเศรษฐกิจ  แต่เมื่อศึกษาลึกลงในรายละเอียดของปรัชญาพบว่ามุ่งให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ภายใต้ทุกสถานการณ์อันหมายถึงสุกสภาพแวดล้อมจึงหมายรวมถึงสังคมด้วยเป้าหมายของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายเดียวกัน

เป้าหมายสหกรณ์ = เป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.  ความสำคัญ
สหกรณ์ให้ความสำคัญกับคนมากกว่าสิ่งอื่นใด  ตามคำแปลสหกรณ์ที่ สห คือ การรวมกัน  กรณ์  คือ  การกระทำ  สหกรณ์คือการกระทำร่วมกัน โดยเน้นการรวมกันของคนเพื่อทำงานแก้ปัญหาหรือพัฒนาตามที่ต้องการ  นอกจากนั้นดูได้จากการกำหนดกติกาในสหกรณ์ให้  คน 1  คนออกเสียงได้ 1 เสียง ใน  1 เรื่อง ไม่ได้ยึดจำนวนทรัพย์สินที่มี กับกำหนดให้สมาชิก 1 คน ถือหุ้นกับสหกรณ์ได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้อำนาจเงินควบคุมบังคับสหกรณ์  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาเพื่อการพัฒนาการดำเนินชีวิตของคนให้อยู่ได้ในทุกสถานการณ์  เป็นการดำเนินชีวิตสายกลาง  มีภูมิต้านทานในตัวเองให้อยู่ได้อย่างมั่นคง  ยั่งยืน  ซึ่งแสดงถึงการมุ่งสู่การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ดังนั้นการให้ความสำคัญของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จึงให้ความสำคัญกับคน  คุณค่าความเป็นคน  หรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สหกรณ์ให้ความสำคัญกับคน=ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญกับคน

  3.  วิธีการบรรลุเป้าหมาย
สหกรณ์ระบุว่า  การช่วยตนเองและการร่วมมือช่วยเหลือกันเป็นการทำให้บรรลุประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม  มีการขยายความการช่วยตนเองว่าหมายถึงการเป็นคนขยันประหยัด  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดอบายมุข  การช่วยเหลือกันคือการร่วมแรงกาย  แรงใจ  กำลังความคิด  กำลังทรัพย์  การช่วยเหลือกันนี้ต้องมีคุณธรรม 4 ประการ  เป็นที่ตั้งคือ  ความซื่อสัตย์  ความเสียสละ  ความสามัคคี  การมีระเบียบวินัย
การบรรลุเป้าหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาตามแนวพระราชดำริระบุเงื่อนไขการปฏิบัติคือ  การมีความรอบรู้  ความรอบคอบระมัดระวัง  มีคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตทั้งนี้  ตามพระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม  2541 ความตอนหนึ่งว่า  “…เศรษฐกิจพอเพียงนี้ที่จะมาบอกว่าให้พอเพียงเฉพาะตัวเอง 100 เปอร์เซ็นต์  เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้  จะต้องมีการแลกเปลี่ยน  ต้องมีการช่วยกัน  ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว  แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือสามารถที่จะดำเนินงานได้…”
ดังนั้น  วิธีการบรรลุเป้าหมายของสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีแนวคิดที่สอดคล้องกัน  คือ  ประกอบด้วย  ความเป็นรายบุคคล  ความเป็นชุมชนเป็นองค์กร  และความเป็นชาติประเทศ

ตารางที่ 3  เปรียบเทียบการสหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายการ สหกรณ์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.เป้าหมาย

2.ความสำคัญ

3.วิธีการ

4.หลักคุณธรรม

5.องค์ประกอบ

ทางเศรษฐกิจและสังคม

คุณค่าความเป็นคน

แต่ละคนช่วยตนเอง

แต่ละคนร่วมมือช่วยเหลือกัน

คณะบุคคลเพื่อแต่ละบุคคล

ซื่อสัตย์  เสียสละ  สามัคคี

มีระเบียบวินัย

รายบุคคล  คณะบุคคล  องค์กร

ทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

การยืนด้วยละแข้งตัวเอง

ต้องช่วยกัน

สอดคล้องกับสถานการณ์

ซื่อสัตย์  สุจริต  มีสติ  อดทน

เพียรพยายาม

ปัจเจกชน  ชุมชน  ชาติประเทศ

จากตาราง  พบว่า  แนวคิดระบบสหกรณ์กับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกัน  โดยนำคนเป็นฐานจากนั้นกำหนดให้คนพึ่งพาตนเองได้เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคง  แล้วจึงเกื้อกูลกันเป็นชุมชนเข็มแข็ง  จากคนดีเป็นสังคมดี  ต่อจากนั้นจึงเป็นในระดับชาติ  เพื่อให้ประเทศพัฒนาอย่างมั่นคงในทุกสถานการณ์

    กระบวนการระบบสหกรณ์

    กระบวนการในระบบสหกรณ์คือ  กระบวนการพัฒนาตนเองรายบุคคลสู่กระบวนการความร่วมมือช่วยเหลือกันสู่กระบวนการความเป็นอยู่ที่ดี  มีสันติสุข  ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ตามแผนภาพ

กระบวนการระบบสหกรณ์

กระบวนการระบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  กระบวนการสร้างตนเองให้ยืนบนลำแข้งตัวเอง  สู่กระบวนการชุมชนเข้มแข็ง  สู่ความมีเสถียรภาพของประเทศ  ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ตามแผนภาพ

กระบวนการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หากนำกระบวนการระบบทั้งสองมาผสมผสานกันจะได้ระบบใหม่ที่เรียกว่า  การจัดการสหกรณ์  ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ตามแผนภาพ

ระบบการจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การจัดการสหกรณ์ด้วยการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถทำได้อย่างลงตัว  เพราะจากการศึกษาขั้นต้นพบว่าเป็นระบบที่มีความสอดคล้องกัน  จึงอยู่ที่ภาคปฏิบัติการในการระบุรายละเอียดแต่ละกระบวนการขั้นตอนของการดำเนินงานว่าจะจัดการอย่างไร  ให้เป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งต่อไปนี้ขอนำเสนอภาคปฏิบัติการตามขั้นตอน คือ
1.  การรวมกันของคณะบุคคล
การจัดตั้งสหกรณ์เกิดขึ้นจากการประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต  หรือความต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่จึงรวมกันเป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการเดียวกันจัดตั้งขึ้นเป็นสหกรณ์ในการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และการรับสมัครบุคคลเข้าเป็นสมาชิกใหม่  การปฏิบัติงานในขั้นตอนนี้เป็นการรวมกลุ่มคนโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คือ
ขั้นตอนแรก  การคัดคน  การจัดการสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นตอนการคัดคน  ต้องคัดคนที่มีคุณค่าความเป็นคน  หรือมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  คือต้องเป็นบุคคลที่ใช้สานกลางในการดำเนินชีวิต  มีความพอดี  พอประมาณ  สร้างภูมิต้านทานในตัวเองให้อยู่รอดได้  ซึ่งดูได้จากพฤติกรรมภายนอก  คือ 1. เป็นคนขยัน  ประหยัด  2. เป็นคนซื่อสัตย์  เสียสละ

  ลักษณะคนในสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ลักษณะคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ใช่ ไม่ใช่
คนขยัน

คนประหยัด

รายรับมากว่ารายจ่าย

มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

มีคุณค่าความเป็นคน

ซื่อสัตย์

เสียสละ

ปฏิบัติตามระเบียบ

พึ่งพาตนเองได้

พอเพียง  พอดี  พอประมาณ

คุ้มกันตัวเองได้

มั่นคง

เพื่อส่วนรวม

ชาติคือการเดินไปสู่เป้าหมาย

คนเกียจคร้าน

คนฟุ่มเฟือย  สุรุ่ยสุร่าย

รายจ่ายมากกว่ารายได้

ไม่มีศักดิ์ศรี

หาคุณค่าได้ไม่

คดโกง

เห็นแก่ตัว

ฝ่าฝืนระเบียบ

พึ่งพาผู้อื่น

ขาด-เกิน

เอาตัวไม่รอด

อ่อนแอ

เพื่อส่วนตัว

ชีวิตไม่มีเป้าหมาย

การรวมทุน
    เมื่อได้คนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วนับว่าได้คนดี  มีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตร่วมกันภายใต้ระบบงานสหกรณ์  ต่อจากการรวมคนดีคือ  การรวมทุนเพื่อเตรียมดำเนินงานที่มาแหล่งเงินทุนขอระบบงานสหกรณ์นั้นมาจาก  เงินค่าหุ้นที่สมาชิดทุกคนถือกับสหกรณ์  เงินรับฝากจากสมาชิก  เงินรับบริจาคจากบุคคลผู้มอบให้สหกรณ์ตามวัตถุประสงค์  เงินกู้ที่สหกรณ์ไปขอกู้มาจากแหล่งเงินทุน  เงินจัดสรรจากกำไรสุทธิของสหกรณ์  การรวบรวมเงินทุนของสหกรณ์หากดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ควรมีวิธีการจัดการ  คือ  เงินทุนภายในมากกว่าหรือเท่ากับเงินทุนภายนอก  การสร้างเงินทุนภายในเกิดขึ้นได้จากค่าหุ้นเงินฝาก  หากยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดสายกลาง  พอประมาณ  ก็เห็นว่าสหกรณ์ควรจัดการเรื่องการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่เท่ากันกับสถาบันการเงินทั่วไปเงินจากการจัดสรรกำไรสุทธิ  ควรจัดสรรเป็นเงินสำรองให้มากกว่าร้อยละ 10 ส่วนจะมากเท่าใดขึ้นอยู่สภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอกหากสามารถทำได้ดังกล่าวสหกรณ์จะมีความมั่นคงมาก  ทั้งนี้ต้องยึดความพอดี  ความพอประมาณ  ไม่เร่งรัดการสะสมจนมากเกินไป  ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเนิ่นนานเกินไป  ต้องเป็นสายกลางยึดเหตุยึดผลตามพละกำลัง
    เปรียบเทียบการจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการสร้างเงินทุนภายในให้มากกว่าหรือเท่ากับเงินทุนภายนอกตามตาราง

 เปรียบเทียบการจัดการเงินทุนสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รายการเงินทุนสหกรณ์ ทุนภายใน ทุนภายนอก
ค่าหุ้น

เงินรับฝาก

จัดสรรกำไรสุทธิเป็นเงินสำรอง

รับเงินบริจาค

เงินกู้จากองค์กรภายนอก

ระดับความมั่นคง

ไม่มั่นคง

มั่นคงน้อย

มั่นคงปานกลาง

มั่นคงมาก

มั่นคงมากที่สุด

/

/

/

ต่ำกว่าร้อยละ 50

ร้อยละ  50

ร้อยละ 50-60

ร้อยละ  60-80

สูงกว่าร้อยละ  80

 

/

/

สูงกว่าร้อยละ  50

ร้อยละ  50

ร้อยละ  40-50

ร้อยละ  20-40

ต่ำกว่าร้อยละ  20

การจัดการโครงสร้างสหกรณ์
    โครงสร้างสหกรณ์กำหนดให้มีบุคลากร  คือ  สมาชิก  คณะกรรมการดำเนินการ  ผู้ตรวจสอบกิจการ  ที่ปรึกษา  เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ  และบุคลากรราชการองค์กรต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง  การจัดการโครงสร้างสหกรณ์ได้ระบุบทบาทหน้าที่ ที่มาของคณะบุคคลแต่ละกลุ่มไว้  เมื่อนำมาจัดการด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จะได้โครงสร้างตามแผนงาน

โครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การนำเสนอโครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้  สามารถแก้ไขสภาพปัญหาเดิมอันเป็นปัญหาหลักของสหกรณ์ได้  คือปัญหาความไม่ร่วมมือ  ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่  ปัญหาคนขาดคุณภาพ  ปัญหาการดำเนินงานขาดประสิทธิภาพและปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร  โดยสรุปได้ในตาราง

การแก้ไขสภาพปัญหาเดิมด้วยการจัดการโครงสร้างสหกรณ์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สภาพปัญหาเดิม การแก้ปัญหาด้วยการจัดโครงสร้างสหกรณ์

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

-ความไม่ร่วมมือ

-ไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่

-คนขาดคุณภาพ

-คัดคนที่มีลักษณะยืนได้ด้วยลำแข้งตนเอง

เป็นสมาชิก

-คัดคนที่มีคุณธรรมเสียสละ  ซื่อสัตย์

เป็นคณะกรรมการดำเนินการ

-คัดคนขยัน  ซื่อสัตย์  มีความรอบรู้

เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ

-พัฒนาคนในสหกรณ์สู่ปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง

-การดำเนินงานประสิทธิภาพ

-ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

-กำหนดนโยบายจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง  คือ มุ่งสร้างความเป็นอยู่

พอดี  สร้างสังคมดี

-ตรวยสอบให้สหกรณ์ดำเนินงานตาม

นโยบาย

-ธุรกิจ  กิจการ  มีเป้าหมาย  สังคมดี

เศรษฐกิจดี  มีการร่วมมือกัน

การจัดการธุรกิจสหกรณ์
    การจัดการธุรกิจสหกรณ์บนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ต้องยึดตามความหมายของปรัชญาที่ให้มีความพอประมาณ  ความมีเหตุมีผล  และการมมีภูมคุ้มกันตัวเอง  ด้วยเงื่อนไขการมีความรู้ความรอบคอบ
    จึงหมายถึงการทำให้สหกรณ์มีธุรกิจที่เหมาะสม  ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมั่นคง  โดยสามารถนำปรัชญาลงสู่การจัดการธุรกิจสหกรณ์ในแต่ละขั้นตอน  คือ
 ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจข้อมูลสมาชิก ที่ยึดมั่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต 
ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจความต้องการร่วมธุรกิจ เป็นข้อมูลที่พอประมาณ  มีภูมิคุ้มกัน  ดำเนินงานอย่างมีเหตุมีผล
ขั้นตอนที่ 3 ทำความเข้าใจการร่วมธุรกิจ ขั้นตอนนี้ใช้หลักปรัชญาบนเงื่อนไข  ความรอบรู้  ความระมัดระวังในการตัดสินใจ
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินธุรกิจ  สหกรณ์ตัดสินใจดำเนินธุรกิจบริการสมาชิกตามความเหมาะสม  พอประมาณ  มีเหตุมีผล  ให้สมาชิกมีความมั่นคง  เข้มแข็ง  ใครควรได้รับบริการธุรกิจใดปริมาณเท่าใด  ระยะเวลาใด  ในอัตราใด  ที่จะทำให้ชีวิตของสมาชิกยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเองได้การให้บริการธุรกิจนอกจากต้องความเสมอภาคเป็นธรรมแล้วการให้บริการต้องเต็มไปด้วยจิตบริการความขยัน  ความซื่อสัตย์  ที่สำคัญต้องเสริมให้บุคคลที่ไม่ยึดมั่นในปรัชญาพัฒนา  ดังแผนภาพ                 
ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลธุรกิจ  สามารนำมาใช้เพื่อวัดผลใน 2 เป้าหมาย  คือ  ดูผลที่สมาชิกกับดูผลที่ตัวองค์กรคือสหกรณ์

จัดการธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สหกรณ์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา  เศรษฐกิจ  พอเพียง  ดำเนินชีวิต  อย่างเลี้ยง  ตนเองได้
    ไม่ยืมจมูก  คนอื่น  หายใจลำแข้งใคร  ยืนได้  ด้วยตนเอง
          ทางสายกลาง  พอดี  พอประมาณ           มีเหตุผล  ภูมิคุ้มกัน  ไม่ข่มเหง
           ย่อมมั่นคง  ยั่งยืน  ไม่ฝืนเกรง               เป็นดั่งเพลง  ดนตรีร้อย  สอดคล้องกัน
    สมาชิก  สหกรณ์  ยึดปรัชญา            พัฒนา  ตัวเอง  ให้ขยัน
    ประหยัดออม  พัฒนาชีวิต  ไม่เสพติดสารพัน    พึ่งตนเอง  หลังจากนั้น  ช่วยกันไป
           จัดการ  กิจการ  เพื่อความเป็นอยู่        มีความรู้  นำสู่  ปฏิบัติได้
           เศรษฐกิจดี  สังคมดี  ทั้งเมืองไทย      สหกรณ์ก้าวไกล  ด้วยน้ำพระทัย  ราชา

การบัญชีสหกรณ์

    การบัญชีสหกรณ์   คือ  การจดบันทึกรายการทางการเงินจากเอกสารหลักฐานต่างๆ  ที่สหกรณ์ได้ดำเนินการ  โดยจัดหมวดหมู่  แยกประเภทรายการและสรุปผลออกมาในรูปรายงานทางการเงิน  เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์

วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชี
    เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆ  ตามลำดับการเกิดของรายการอย่างเป็นระเบียบ – เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่ากำไร  หรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่กำหนด  – เพื่อให้เห็นถึงฐานะทางการเงิน  ณ วันใดวันหนึ่งว่ามี  สินทรัพย์  หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของกิจการเท่าไร  – เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและกันการสูญหายของสินทรัพย์  – เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินในการตัดสินใจด้านต่างๆ  – ผู้บริหาร  :  วางแผน  ควบคุม  วัดผลดำเนินงาน  และตัดสินใจด้านต่างๆ  – บุคคลภายนอก : ตัดสินใจในการลงทุน  การพิจารณาการให้สินเชื่อ

ความสำคัญของการบัญชี  สามารถสรุปได้ดังนี้
    การวางแผนและการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจสำหรับผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ  – บทบาทในการบริหารจัดการ  เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน  – ข้อมูลที่ดีต้อง ถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันเวลา  ซึ่งสะท้อนให้เห็นความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจ
เอกสารประกอบการลงบัญชี  หมายถึง  เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงตามลักษณะของรายการรับเงินหรือจ่ายเงินที่เกิดขึ้น  เพื่อแสดงว่าได้เกิดรายการรับเงินหรือจ่ายเงินขึ้นจริงตามปรากฏในเอกสารนั้น
        เอกสารประกอบการลงบัญชีของสหกรณ์นักเรียนมีดังนี้
        1.ใบเสร็จรับเงินจากบริษัท  ห้างร้านที่สหกรณ์ไปซื้อสินค้า
        2.ใบเสร็จรับเงินของสหกรณ์  ใช้บันทึกรายการรับเงินของสหกรณ์  ทั้งจากสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก
        3.ใบเบิกเงิน  ใช้บันทึกรายการจ่ายเงินของสหกรณ์ในกรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้
        4.ใบนำส่งฝากออมทรัพย์ใช้บันทึกเป็นหลักฐานการนำเงินส่งเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิก
        5.ใบถอนเงินฝากออมทรัพย์  ใช้บันทึกเป็นหลักฐานเมื่อสมาชิกถอนเงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์
        6.ใช้ขายสินค้าประจำวัน ใช้บันทึกรายการขายสินค้า  จำนวนสินค้า  จำนวนเงิน  และหมายเลขสมาชิกผู้ซื้อสินค้าในแต่ละวัน  และสรุปยอดขายในแต่ละวัน

การลงบัญชีในสมุดบัญชี  เป็นการนำเอาหลักฐานจากเอกสารประกอบการลงบัญชีมา  บันทึกลงในสมุดบัญชีเป็นประจำวันที่มีรายการเกิดขึ้นได้แก่
1.การลงบัญชีในสมุดเงินสดประจำวัน  เป็นหน้าที่ของพนักงานบัญชี  ในการบันทึกรายการรับเงินทุกรายการของแต่ละวันลงในด้านรายการรับโดยใช้  ใบเสร็จ รับเงิน  ใบขายสินค้าประจำวัน  ใบนำส่งเงินฝากออมทรัพย์เป็นหลักฐานการลงบัญชีและบันทึกรายการจ่ายเงินทุกรายการของแต่ละวันลงใน  ด้านรายการจ่ายเงิน  โดยใบเบิกเงินใบเงินฝากออมทรัพย์  และใบเสร็จรับเงินของร้านค้า  (กรณีซื้อสินค้าและร้านค้ามีใบเสร็จให้)  เป็นหลักฐานการลงบัญชีตลอดจนสรุปเงินสดคงเหลือประจำวัน
2.การลงบัญชีในสมุดซื้อสินค้า  เป็นหน้าที่ของพนักงาน  ในการบันทึกรายการซื้อสินค้าเป็นเงินสด  โดยใช้ใบเสร็จรับเงินของร้านค้าเป็นหลักฐานการลงบัญชี  ในกรณีซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อใช้ใบส่งของของร้านค้าเป็นหลักฐานในการลงบัญชี  ทั้งนี้ให้ผู้จัดการเป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าแต่ละรายรายการ

ทะเบียนต่างๆ  ของสหกรณ์ ใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดของแต่ละรายการที่เกิดขึ้น  โดยใช้เอกสารประกอบการลงบัญชีเป็นหลักฐานในการบันทึก ดังนี้
    1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น  จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์  จำนวนหุ้นที่ชำระทั้งหมด  บันทึกรายการเพิ่มหุ้น  ถอนหุ้น  หรือ  โอนหุ้น  ของสมาชิกแต่ละราย
    2.ทะเบียนคุมสินค้า  ใช้บันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายแต่ละอย่างทั้งนี้เพื่อควบคุมรายการรับสินค้าเข้าร้าน  การตัดจ่ายสินค้าเมื่อขาย  และคุมยอดคงเหลือของสินค้าให้ถูกต้องเป็นการป้องกันการขาดหายของสินค้าแต่ละรายการ
    3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก  ใช้บันทึกยอดซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์เป็นรายวันของแต่ละบุคคล  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรวมยอดซื้อสินค้าของสมาชิกตอนสิ้นปี
    4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์  ใช้บันทึกรายการเงินฝาก  ถอนเงินและยอดคงเหลือเงินฝาก
    5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่ายของฝ่ายส่งเสริมการเกษตรหรือฝ่ายการศึกษาและสวัสดิการใช้บันทึก

ทะเบียน ผู้บันทึก หลักฐานประกอบ
1.ทะเบียนสมาชิกและการถือหุ้น

2.ทะเบียนคุมสินค้า

3.ทะเบียนบันทึกยอดซื้อของสมาชิก

4.ทะเบียนเจ้าหนี้เงินฝากออมทรัพย์

5.ทะเบียนคุมรายรับรายจ่าย

1.ผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

2.พนักงานขาย

3.พนักงานขาย

4.พนักงานออมทรัพย์

5.พนักงานเกษตรหรือ

พนักงานการศึกษา

และสวัสดิการ

1.หลักฐานประกอบการบันทึกใบเสร็จ รับเงินค่าหุ้นหรือใบถอนเงินค่าหุ้น

2.ใช้สมุดซื้อสินค้า  บันทึกยอดรับสินค้า ราคาทุน และราคาขายใช้ใบ

สินค้าประจำวันบันทึกยอดขายสินค้า

3.ใบขายสินค้าประจำวัน

4.ใบนำส่งเงินฝากออมทรัพย์  หรือใบถอนเงินออมทรัพย์

5.ใบเสร็จรับเงินของฝ่ายหรือใบเบิกเงินของฝ่าย(แยกทำเป็นฝ่ายๆ)

นอกจากการลงบัญชี  และการบันทึกเอกสารทางการเงินเป็นประจำทุกวันแล้ว  ต้องมีการสรุปการทำบัญชีเป็นประจำทุกเดือนเรียนว่า  งบเดือน  และการสิ้นสุดของการจัดทำบัญชีนั้น  โดยทั่วไปกำหนดรอบบัญชีไว้ 1 ปี 

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

 การประชุมมีประโยชน์  ดังนี้
1 .ช่วยให้เกิดการทำงานทางความคิดร่วมกัน 2. ช่วยให้เกิดความรอบคอบใน
การตัดสินใจ  3. ช่วยให้การกระจายข่าวสาร  4. ช่วยในการประสานงาน  ประสานความคิดและสร้างความเข้าใจ  5. ช่วยให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในการทำงาน  6. ช่วยให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในการทำงาน 7.  ช่วยให้เกิดแนวทางใหม่  วิธีการหรือกระบวนการใหม่ๆ  จากการ  เสนอความเห็นในการประชุม

 เมื่อใดควรเรียกประชุม
– เมื่อไม่สามารถวิเคราะห์สาเหตุ  สภาพและขอบเขตของปัญหาหรือไม่สามารถ
แก้ปัญหาโดยลำพัง  – เมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจโดยกลุ่ม  – เมื่อต้องการการสนับสนุน  หรือ  ต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย  – เมื่อต้องการหารือเพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน – เมื่อต้องการชี้แจงและให้ข้อแนะนำการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  – เมื่อต้องการการประนีประนอมข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง  – เมื่อต้องการให้เห็นความสำคัญของผู้ที่ได้รับเชิญมาเข้าประชุม  – เมื่อต้องการชี้แจงนโยบายหรือให้เหตุผลในการตัดสินใจ  – เมื่อต้องการทบทวนสิ่งที่มีมติไปแล้ว  – เมื่อต้องการจัดการฝึกอบรมหรือจัดกิจกรรมใดๆ

การตัดสินใจเลือกผู้เข้าประชุม
–    เป็นผู้ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ที่ประชุมในด้านความคิดเห็นที่สำคัญตามวัตถุประสงค์
ของการประชุม  – เป็นผู้มีข้อมูลและรอบรู้ในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประชุม  – เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับเรื่องประชุม  –  เป็นผู้อยู่ในฐานะต้องให้การรับรองมติหรือผลของการประชุม  – เป็นผู้ที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องที่ประชุม  – เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจหรืออนุมัติให้มีการดำเนินการได้ตามมติของที่ประชุม  – เป็นผู้ที่จำเป็นต้องรู้สาระที่นำเสนอในที่ประชุม

จำนวนผู้เข้าประชุมที่เหมาะสม
– การประชุมเพื่อการตัดสินใจควรมีจำนวนประมาณ  5  คน  – การประชุมเพื่อ
การแก้ปัญหา  ควรมีจำนวนประมาณ  7 คน  –  การประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจ  ควรมีจำนวนประมาณ  7  คน  – การประชุมเพื่อการบริการ  ควรมีจำนวนประมาณ  10–15 คน  – การประชุมเพื่อฝึกอบรม  ควรมีจำนวนประมาณ 20-25 คน  – การประชุมชี้แจง  ควรมีจำนวนประมาณไม่เกิน  30  คน  – การประชุมเพื่อแจ้งข่าวสารต่างๆ  มีจำนวนเท่าใดก็ได้ตามจำนวนของผู้ที่จำเป็นต้องรู้

  รายงานการประชุม
รายงานการประชุม  คือ  ข้อความบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม  ผู้เข้าร่วมประชุมโดยระบุมติของที่ประชุม  เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง  เพื่อยืนยันการปฏิบัติงาน  เพื่อแสดงกิจการที่ดำเนินการมาแล้ว  และเพื่อแจ้งผลการประชุมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทราบและปฏิบัติต่อไป

 รูปแบบของรายงานการประชุม

รายงานการประชุม…………………………………..
ครั้งที่…………………………….
เมื่อวันที่…………………………………..
ณ……………………………………………
————————
ผู้มาประชุม                    ………………………………………………………………

ผู้ไม่มาประชุม (ถ้ามี)        ………………………………………………………………
ผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี)        ………………………………………………………………
เริ่มประชุมเวลา        ……………………………….น.                    (ข้อความ)…………………………………………………………………………………………….
เลิกประชุมเวลา        ………………………………น.

…………………………………………………….
ผู้จดรายงานการประชุม

ส่วนประกอบของรายงานการประชุม
1. รายงานการประชุมของใคร  ให้ลงชื่อคณะที่ประชุมหรือชื่อการประชุมนั้น
2. ครั้งที่  ให้ลงครั้งที่ประชุมว่า  เป็นการประชุมครั้งที่เท่าใกของปีนั้นเรียงลำดับไปตามปีปฏิทินและทับ (/) ด้วยปีพุทธศักราช  เมื่อขึ้นปีใหม่ให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่
3. วัน เดือน ปี ให้ลงวันเดือนปีที่ประชุม  อาจขึ้นต้นด้วยคำว่า  เมื่อ
4. สถานที่ประชุม  ให้ระบุสถานที่ที่ใช้ดำเนินการประชุม
5. ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมและได้มาประชุม  หากมีผู้มาประชุมแทน ให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทนพร้อมทั้งระบุว่าแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
6. ผู้ไม่มาประชุม  ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งไม่ได้มาประชุมพร้อมทั้งระบุเหตุผล (ถ้ามี)  ทั้งนี้  การระบุเหตุผลนิยมใช้ว่า  ลาป่วย  ลากิจหรือติดราชการ
7. เข้าร่วมประชุม  ให้ลงชื่อและตำแหน่งของผู้ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมแต่  ได้เข้าร่วมประชุม
8. เริ่มประชุมเวลา  ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุมตามเวลาจริง  ไม่ใช่เวลานัดประชุมเพราะการประชุมอาจล่าช้ากว่ากำหนด
9. ข้อความ  การจดรายงานการประชุมมี  3  วิธี  คือ
9.1  จดละเอียดทุกคำพูดพร้อมทั้งมติ
9.2  จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญพร้อมทั้งมติ
9.3  จดเฉพาะเหตุผลและมติของที่ประชุม

ระเบียบงานสารบรรณ สำนักนายกรัฐมนตรีแบ่งระเบียบวาระการประชุมเป็น 5 วาระดังนี้
1)  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
2)  การรับรองรายงานการประชุม
3) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
4) เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
5) เรื่องอื่นๆ  (ถ้ามี)
10.  เลิกประชุมเวลา  ให้ลงเวลาเลิกประชุมตามเวลาจริง
11.  ผู้จดรายงานการประชุม  ให้ลงชื่อผู้จดรายงานการประชุม

การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์  หมายถึง  การติดต่อประชาสัมพันธ์อย่างมีแบบแผน  ต่อเนื่องกับกลุ่มคน  หรือประชาชน  ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี  และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถาบันนั้นๆ  เป็นงานที่ต้องอาศัยระยะเวลากระทำอย่างสม่ำเสมอ  เพราะเป็นการติดต่อสื่อสารสองทาง  คือ  ส่งสารไปยังกลุ่มประชาชนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน  อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความร่วมมือร่วมใจ  สนับสนุนให้ประเทศชาติพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

การประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ต้องการความละเอียดรอบคอบ  และไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ควรยึดหลักสำคัญ  3  ประการ  คือ
1.    การบอกกล่าวหรือชี้แจง  เผยแพร่ให้ทราบ  คือ  เป็นการบอกให้ประชาชนทราบถึง
นโยบาย  วัตถุประสงค์การดำเนินการ  ผลงานและกิจกรรม  ความเคลื่อนไหวขององค์การหรือหน่วยงาน
2.    การป้องกันและการแก้ไขความเข้าใจผิด  การป้องกัน  คือ  การประชาสัมพันธ์เพื่อ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน  ในเรื่องวัตถุประสงค์การดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงาน
3.    สำรวจประชามติ  คือ  การสำรวจความรู้สึกนึกคิดของประชาชน  เพื่อให้ทราบถึง
ประชามติ  และนำประชามติมาเป็นแนวทางให้องค์การหรือหน่วยงานดำเนินการ  ประชามติคือ  หัวใจของการดำเนินงานประชาสัมพันธ์  และจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้

    ความสำคัญของสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์
1.  เพื่อการถ่ายทอดหรือบอกข่าวสารให้ประชาชนทราบ
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
3. เพื่อสร้างความนิยมและภาพพจน์ที่ดีขององค์การ

สรุป  หลักการประชาสัมพันธ์

   หลักการประชาสัมพันธ์


ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

ประโยชน์ของการสหกรณ์
นับตั้งแต่ได้มีการริเริ่มนำเอาวิธีการสหกรณ์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนที่ที่สภาพปัญหาและความต้องการอย่างเดียวกันได้เป็นผลสำเร็จในปลายศตวรรษที่ 18 แล้ว  วิธีการสหกรณ์ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและแพร่ขยายไปทั่วโลกจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า  วิธีการสหกรณ์เป็นเครื่องมือที่จะแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และขบวนการสหกรณ์ที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองได้  จะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อสมาชิกทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม  แม้ว่าบทบาทนี้แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ  แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าบทบาทที่สำคัญของสหกรณ์ที่มีต่อกระบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไป  มีดังนี้

    บทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
1.สหกรณ์สามารถรักษาเสถียรภาพและตรึงราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจใน
ขณะเดียวกัน  ก็ช่วย  คุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร  โดยยกระดับราคาสินค้าผลิตผลการเกษตร
ให้สูงขึ้นด้วยวิธีการดำเนินธุรกิจแบบรวมกันขาย  และสามารถให้บริการสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพและประกอบอาชีพโดยวิธีการรวมกันซื้อ
2.แก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้โดยสามารถกรายผลประโยชน์  ไปสู่ประชาชนเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนเป็นเจ้าของและควบคุมธุรกิจการค้าอุตสาหกรรมและบริการของตนเอง  ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  จึงตกเป็นของประชาชน  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหาได้  จากการดำเนินธุรกิจของเอกชน  จึงอาจกล่าวได้ว่าสหกรณ์เป็นโอกาสทางธุรกิจที่เป็นไปได้สำหรับประชาชนสามัญทั่วไป

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

     บทบาทในการพัฒนาสังคม
1. ให้โอกาสในการศึกษาแก่ประชาชน ทั้งในด้านวิชาการต่างๆ นอกระบบโรงเรียนตามหลักการของสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมไปจนถึงให้โอกาสในการเรียนรู้ถึงการร่วมกัน ดำเนินธุรกิจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
2.  สร้างผู้นำในระดับท้องถิ่น  ฝึกหัดให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม  เข้าใจในวิธีการของระบบประชาธิปไตย  รู้จักใช้สิทธิ  รู้หน้าที่  เป็นแหล่งพัฒนาคนให้เข้าใจในประชาธิปไตย  ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับท้องถิ่น  และการปกครองตนเองตามแนวทางของรัฐบาล  (เช่น  การมีบทบาทใน อบต.)
3.  เสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ด้วยหลักการบริหารที่สมาชิกทุกคนมีสิทธิเสมอกัน

ใบงานที่ 9.3 เรื่องการทําบัญชีครัวเรือน

จากบทบาททั้ง  2 ด้านดังกล่าว จึงปรากฏให้เห็นกันโดยทั่วไปว่า ในประเทศที่พัฒนามาแล้วสหกรณ์ถือเป็นองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่เข้ามามีบทบาทอย่างเข้มแข็งในกระบวนการตัดสินที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ในบางครั้งอาจจะมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ ในประเทศอังกฤษ ขบวนการสหกรณ์ได้เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองจนถึงขั้นมีการจัดตั้งพรรคการเมืองของสหกรณ์
ดังนั้น  เราจึงอาจสรุปได้ว่า  ประโยชน์ของสหกรณ์ที่มีต่อสังคมและประเทศชาติตามบทบาทที่โดดเด่นทั้ง  2 ประการข้างต้น มีดังต่อไปนี้
1. ให้บริการแก่สมาชิก ให้สามารถรวมกันซื้อสินค้าที่ต้องการมาบริการในหมู่สมาชิกในราคาที่เป็นธรรม ทำให้สินค้าที่นำมาบริการตรงความต้องการ และเกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดต้นทุนสินค้า
2.  ให้บริการแก่สมาชิกในการรวบรวมผลิตผลของสมาชิก เพื่อจำหน่ายได้ในราคาที่เป็นธรรมและเกิดการประหยัดเนื่องจากการรวมกันขาย เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาชนะ ค่าตาชั่ง ฯลฯ
3.  เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสมาชิกในการประกอบอาชีพ สำหรับสมาชิกที่ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ และส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการประหยัดและอดออมเพื่ออนาคต
4.  เสริมสร้างความเสมอภาค โดยสมาชิกมีสิทธิเท่าเทียมกันในการออกเสียงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ หนึ่งคนต่อหนึ่งเสียง ตามหลักประชาธิปไตย
5.  ให้ความรู้แก่สมาชิกในด้านการผลิต การจำหน่าย การจัดการ ตลอดจนข่าวสารต่างๆ และวิทยาการใหม่
6.  เสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนให้สมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และช่วยเหลือชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ตลอดจนเสริมสร้างสาธารณประโยชน์
ประโยชน์สหกรณ์ที่มีต่อประเทศไทย  ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2540 ในขณะที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ  สถาบันการเงินองค์กรของรัฐประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมีการเลิกจ้าง  การปิดกิจการประเทศต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศในสถานการณ์นั้น  ปรากฏว่า  สถาบันสหกรณ์เป็นหลักที่มั่นคงให้กับชาติโดยไม่ได้รับผลกระทบใด  ยังคงมีสภาพคล่อง  มีเงินทุนสะสมมีการให้บริการสมาชิกตามปกติ  ภายใต้เงินทุนหมุนเวียนหลายแสนล้านบาท  จึงทำให้ประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้  สหกรณ์เป็นแหล่งรองรับเงินฝากที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศ  จากสถานการณ์ดังกล่าวแสดงถึงประโยชน์ของสหกรณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศ
ระบบการสหกรณ์  เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม  ทีมีประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดประมาณ 9 ล้านคน  มีทุนดำเนินงานประมาณ  7  แสนล้านบาท  เป็นระบบที่สามารถสร้างการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพของประชาชนทั่วประเทศ  เอื้ออาทรสาธารณูปโภคต่อชุมชนรวมกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้การจัดการกันเองประชาชน  ประโยชน์สหกรณ์จึงเป็นการสร้างประชาชนรายคนให้มีความเข้มแข็ง  สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสร้างประเทศให้เข้มแข็ง