เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์

เปรียบเทียบและอธิบายหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
ด้านความเชื่อ

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์


   พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีหลักการด้านความเชื่อ
ดังปรากฏอยู่ใน กาลามสูตร ซึ่งพระพุทธ-เจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออย่างงมงายไร้เหตุผล 

 พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา ปรมฺปราย  อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆกันมา

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา อิติกิราย   อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์  หรือตำรา

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา ตกฺกเหตุ  อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา นยเหตุ   อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา อาการปริวิตกฺเกน  อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา  อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา ภพฺพรูปตา  อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   มา สมโณ โน ครูติ  อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา


เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์
  สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้      

                              

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์

   วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์จะเชื่อเรื่องใดจะต้องมีการพิสูจน์ความจริงโดยใช้การทดลองและทุกอย่างจะต้องดำเนินไปอย่างมีกฎเกณฑ์และมีเหตุผลเป็นตัวตัดสินใจโดยอาศัยปัญญาในการพิจารณา

ด้านความรู้

   พระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ที่ได้เห็น คือ ความเจ็บ ความแก่ และความตาย ซึ่งล้วนแต่ทุกข์พระองค์ทรงทดลองโดยอาศัยประสบ-การณ์ของพระองค์ จนในที่สุดพระองค์ก็ทรงสามารถค้นพบหลักความจริงอันเป็นหนทาง
ที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์

เฉลย ใบ งานที่ 3 การคิดตามนัยแห่ง พระพุทธ ศาสนา และการคิดแบบวิทยาศาสตร์


  วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ยอมรับความรู้จากประสบการณ์ ซึ่งมีการพิสูจน์โดยผ่านตา หู จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ          


ด้านความแตกต่าง

  พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเน้นการแสวงหาความจริงภายใน คือ ความจริงด้านจิตใจที่มุ่งให้มนุษย์สามารถพัฒนาจิตใจของตนให้หลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
  วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงภายนอกด้านวัตถุเป็นสำคัญ


                             
    
 หมายเหตุ ขอขอบพระคุณภาพจาก google


การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นการศึกษาถึงวิธีการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า วิธีการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ มีดังนี้คือ (พระราชวรมุนี. 2540 : 43-46)
1. ขั้นกำหนดรู้ทุกข์ การกำหนดรู้ทุกข์หรือการกำหนดปัญหาว่าคืออะไร มีขอบเขตของปัญหาแค่ไหน หน้าที่ที่ควรทำในขั้นแรกคือให้เผชิญหน้ากับปัญหา แล้วกำหนดรู้สภาพและขอบเขตของปัญหานั้นให้ได้ ข้อสำคัญคือ อย่าหลบปัญหาหรือคิดว่าปัญหาจะหมดไปเองโดยที่เราไม่ต้องทำอะไร หน้าที่ในขั้นนี้เหมือนกับการที่หมอตรวจอาการของคนไข้เพื่อให้รู้ว่าเป็นโรคอะไร ที่ส่วนไหนของร่างกาย ลุกลามไปมากน้อยเพียงใด ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีตัวอย่างการกำหนดรู้ทุกข์ตามแนวทางของพุทธพจน์ที่ว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 
2. ขั้นสืบสาวสมุทัย ได้แก่เหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา แล้วกำจัดให้หมดไป ขั้นนี้เหมือนกับหมอวินิจฉัยสมุฏฐานของโรคก่อนลงมือรักษา ตัวอย่างสาเหตุของปัญหาที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้คือ ตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา 
3. ขั้นนิโรธ ได้แก่ความดับทุกข์ หรือสภาพที่ไร้ปัญหา ซึ่งทำให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมา ในขั้นนี้ต้องตั้งสมมติฐานว่าสภาพไร้ปัญหานั้นคืออะไร เข้าถึงได้หรือไม่ โดยวิธีใด เหมือกับการที่หมอต้องคาดว่าโรคนี้รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ใช้เวลารักษานานเท่าไร ตัวอย่างเช่น นิพพาน คือการดับทุกข์ทั้งปวงเป็นสิ่งที่เราสามารถบรรลุถึงได้ในชาตินี้ด้วยการเจริญสติพัฒนาปัญญาเพื่อตัดอวิชชา และดับตัณหา
4. ขั้นเจริญมรรค ได้แก่ ทางดับทุกข์ หรือวิธีแก้ปัญหา ซึ่งเรามีหน้าที่ลงมือทำ เหมือนกับที่หมอลงมือรักษาคนไข้ด้วยวิธีการและขั้นตอนที่เหมาะควรแก่การรักษาโรคนั้น ขั้นนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ขั้นย่อยคือ
4.1 มรรคขั้นที่ 1 เป็นการแสวงหาและทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อค้นหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เช่น พระพุทธเจ้าในช่วงที่เป็นคฤหัสถ์เคยใช้ชีวิตแบบบำรุงบำเรอตน หมกหมุ่นในโลกีย์สุข แต่ก็ทรงรู้สึกเบื่อหน่าย จึงออกผนวชแล้วไปบำเพ็ยโยคะบรรลุสมาธิขั้นสูงสุดจากสำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบส แม้ในขั้นนี้พระองค์ยังรู้สึกว่าไม่บรรลุความพ้นทุกข์จึงทดลองฝึกการทรมานตนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การอดอาหาร เป็นต้น 
4.2 มรรคขั้นที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ผลการสังเกตและทดลองที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว เลือกเฉพาะวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ดังกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า กามสุขัลลิกานุโยค (การบำเรอตนด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตนเอง) ที่ได้ทดลองมาแล้ว ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องสุดโต่งเกินไป ทั้งการบำเพ็ญโยคะก็ทำให้ได้เพียงสมาธิ ยังไม่ได้ปัญญาเครื่องดับทุกข์ ดังนั้นวิธีการแห่งปัญญาจะสามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้ 
4.3 มรรคขั้นที่ 3 เป็นการสรุปผลของการสังเกตและทดลอง เพื่อให้ได้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น ดังกรณีที่พระพุทธเจ้าได้ข้อสรุปว่า ทางสายกลางที่ไม่ตึงเกินไปหรือไม่หย่อนเกิน เป็นทางดับทุกข์ ทางนี้เป็นวิถีแห่งปัญแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีขั้นตอนดังนี้ (พระราชวรมุนี. 2540 : 40-43) 
1. การกำหนดปัญหาให้ถูกต้อง ในขั้นนี้นักวิทยาศาสตร์กำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจนว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร ตัวอย่างเช่น การค้นพบดาวเนปจูนเมื่อ พ.ศ. 2386-2389 เริ่มจากการที่นักดาราศาสตร์กำหนดปัญหาว่า ทำไมดาวยูเรนัสซึ่งพวกเขาเข้าใจว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์จึงมีวิถีโคจรไม่เป็นไปสม่ำเสมอตามกฎแรงโน้มถ่วงนักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่ง สรุปว่ากฎแรงโน้มถ่วงคงใช้ไม่ได้กับสิ่งที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก ๆ อย่างดาวยูเรนัส แต่นักดาราศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งสันนิษฐานว่า สาเหตุที่วิถีโคจรของดาวยูเรนัส น่าจะมาจากการที่มีแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ที่ยังค้นไม่พบมากระทำการ นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้จึงเริ่มศึกษาหาตำแหน่งของดาวลึกลับดวงนั้นและค้นพบดาวเนปจูนในเวลาต่อมา

2. การตั้งสมมติฐาน นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นฐานในการตั้งสมมติฐานเพื่อใช้อธิบายถึงสาเหตุของปัญหาและเสนอคำตอบหรือทางออกสำหรับปัญหานั้น ตัวอย่างเช่น ในเรื่องการคันพบดาวเนปจูนนั้น นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งตั้งสมมติฐานว่า สาเหตุที่วิถีโคจรของดาวยูเรนัสไม่เป็นไปสม่ำเสมอน่าจะเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงที่มาจากดาวเคราะห์ที่ยังค้นไม่พบ พวกเขาตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งซึ่งมีวิถีโคจรห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวยูเรนัส และในระหว่าง พ.ศ. 2386-2389 นักดาราศาสตร์สองคน คือ จอห์น อาดัม และเลอเวอริเอร์ ต่างก็ใช้คณิตศาสตร์คำนวณหาตำแหน่งของดาวเนปจูน และทำนายตำแหน่งของดาวดวงนี้ไว้ใกล้เคียงกัน การทำนายของนักดาราศาสตร์ทั้งสองเป็นเพียงการคาดคะเนความจริงซึ่งอยู่ในขั้นตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับคำตอบของปัญหา

3. การสังเกตและการทดลอง เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการศึกษาหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ การสังเกตเป็นการรวบรวมข้อมูลมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ เช่น นักดาราศาสตร์เชื่อว่า โจฮัน แกลล์ ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องท้องฟ้าจนค้นพบดาวเนปจูนเมื่อ พ.ศ. 2389 นอกจากนั้น การทดลองหลายต่อหลายครั้งช่วยให้ค้นพบหลักการทางวิทยาศาสตร์และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการค้นพบนั้น เช่น ในราว พ.ศ. 2150 นายแพทย์วิลเลียม ฮาวีย์ ใช้วิธีการทดลองจนค้นพบการไหลเวียนของโลหิตไปทั่วร่างกาย เขาสังเกตจังหวะชีพจรและการเต้นของหัวใจ ผ่าศพและซากสัตว์เพื่อตรวจสอบหลายครั้ง จนกระทั่งได้ข้อสรุปว่า หัวใจสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายทางหลอดเลือดแดง และโลหิตไหลกลับไปยังหัวใจทางหลอดเลือดดำ

4. การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและทดลองมีจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ต้องพิจารณาแยกแยะข้อมูลเหล่านั้นพร้อมจัดระเบียบข้อมูลเข้าเป็นหมวดหมู่และหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ เช่น นักเคมีชื่อ ดมิตริ เมนเดลิฟ (D. Mendelief)พบว่า ธาตุบางธาตุมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกัน จึงได้จัดหมวดหมู่ให้กับธาตุเหล่านั้นโดยคิดตารางธาตุ (periodic table) ซึ่งแบ่งธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน ในตารางนี้ปรากฏว่ามีช่องว่างเกิดขึ้นเป็นระยะ ช่องว่างนี้แสดงว่าต้องเป็นที่สำหรับธาตุที่ยังค้นไม่พบ นักเคมียุคต่อมาได้ค้นพบธาตุใหม่จำนวนมาก แล้วนำมาเติมใส่ช่องว่างในตารางธาตุของเมนเดลิฟ

5. การสรุปผล ในการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้านักวิทยาศาสตร์อาจใช้ภาษาธรรมดาเขียนกฎหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ออกมา บางครั้งนักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องสรุปผลด้วยคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอสไตน์ พบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและมวลสารจึงเขียนสรุปผลการค้นพบทฤษฎีสัมพันธ์เป็นสมการว่า E=MC2 หมายความว่า พลังงาน (E = Energy) เท่ากับมวลสาร (M = Mass) คูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง

เปรียบเทียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับวิธีการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ

ญาที่เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สรุปก็คือมรรคมีองค์ 8 นั่นเองแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์