เฉลย ใบ งาน ที่ 5.2 การ ปฏิบัติ ตน เป็น สมาชิก ที่ ดี ของ ครอบครัว และ สังคม

1  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

     ส 2.1   ป.3/1 สรุปประโยชน์และปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น

                 ป.3/2บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย

                 ป.3/3 อธิบายความสำคัญของวันหยุดราชการที่สำคัญ

                 ป.3/4 ยกตัวอย่างบุคคลซึ่งมีผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตน

2  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

      การศึกษาประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว ท้องถิ่น การดำเนินชีวิตของผู้คนในแต่ละวัฒนธรรม ความสำคัญของวันหยุดราชการ ตลอดจนประวัติและผลงานของบุคคลที่ทำประโยชน์ให้กับชุมชนหรือท้องถิ่น และคุณค่าของการทำความดีย่อมเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม

3  สาระการเรียนรู้

      3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง

           1) ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว เช่น การแสดงความเคารพและการเชื่อฟังผู้ใหญ่ การกระทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว

           2) ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น เช่น การเข้าร่วมประเพณีทางศาสนา ประเพณีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต  

           3) ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น

           4) พฤติกรรมของตนเองและเพื่อนๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การทักทาย การทำความเคารพ         การปฏิบัติตามศาสนพิธี การรับประทานอาหาร การใช้ภาษา (ภาษาถิ่นกับภาษาราชการ          และภาษาอื่นๆ ฯลฯ)

           5) สาเหตุที่ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของนักเรียนและผู้อื่นแตกต่างกัน

           6) วันหยุดราชการที่สำคัญ เช่น

               -  วันหยุดเกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์ เช่น วันจักรี วันรัฐธรรมนูญ วันปิยมหาราช

                        วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ  วันเฉลิมพระชนมพรรษา

               -  วันหยุดราชการเกี่ยวกับศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา

               -  วันหยุดราชการเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมไทย เช่น วันสงกรานต์ วันพืชมงคล

           7) บุคคลที่มีผลงานเป็นประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง

           8) ลักษณะผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่น

      3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

          (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)

4  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

     4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

      4.2   ความสามารถในการคิด

          1) ทักษะการสำรวจ                   2) ทักษะการรวบรวมข้อมูล

           3) ทักษะการวิเคราะห์                4) ทักษะการเชื่อมโยง

           5) ทักษะการให้คำจำกัดความ     6) ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้   

           7) ทักษะการนำความรู้ไปใช้

      4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

      1.  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์      2.  มีวินัย                      3.  ใฝ่เรียนรู้   

      4.  มุ่งมั่นในการทำงาน          5.  รักความเป็นไทย      6.  มีจิตสาธารณะ

6  ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

      หนังสือเล่มเล็ก เรื่อง วิถีชีวิตของเรา

7  การวัดและการประเมินผล

      7.1   การประเมินก่อนเรียน

         -  ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วิถีชีวิตของเรา

     7.2   การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

          1)  ตรวจใบงานที่ 5.1 เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

         2)  ตรวจใบงานที่ 5.2 เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

          3)  ตรวจใบงานที่ 5.3 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของฉัน

          4)  ตรวจใบงานที่ 5.4 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของเพื่อนฉัน

          5)  ตรวจใบงานที่ 5.5 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต

          6)  ตรวจใบงานที่ 5.6 เรื่อง สาเหตุของพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

          7)  ตรวจใบงานที่ 5.7 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์

          8)  ตรวจใบงานที่ 5.8 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนา

          9)  ตรวจใบงานที่ 5.9 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

        10)  ตรวจใบงานที่ 5.10 เรื่อง บุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชนของฉัน

        11)  ตรวจแบบบันทึกการอ่าน

        12)  ประเมินการนำเสนอผลงาน    

        13)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล    

       14)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

       15)  สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

      7.3   การประเมินหลังเรียน

          -  ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วิถีชีวิตของเรา

     7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

          -  ตรวจหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง วิถีชีวิตของเรา

8  กิจกรรมการเรียนรู้

            นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่องที่

1

ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง

ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน

   1.    ครูให้นักเรียนร้องเพลงบ้านของเรา แล้วช่วยกันวิเคราะห์บทเพลง

   2.    ครูให้นักเรียนดูภาพกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัว แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ และกติกาของครอบครัว

   3.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

ขั้น สอน

   1.    ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว จากหนังสือเรียน แล้วอภิปรายประเด็นสำคัญจากเรื่องที่ศึกษา โดยผลัดกันอภิปรายทีละคนแบบเล่าเรื่องรอบวง

   2.    สมาชิกแต่ละคนทำใบงานที่ 5.1 เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

  3.    สมาชิกแต่ละคนผลัดกันเล่าคำตอบในใบงานที่ 5.1 ของตนเองให้เพื่อนในกลุ่มฟังทีละคนเรียงตามลำดับ แบบเล่าเรื่องรอบวง แล้วให้สมาชิกในกลุ่มหลอมรวมความคิดของทุกคนมาเป็นคำตอบของกลุ่ม

   4.    ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอคำตอบในใบงานที่ 5.1 หน้าชั้นเรียน แล้วให้กลุ่มอื่นที่มีผลงานแตกต่างกันออกมานำเสนอเพิ่มเติม

ขั้น สรุป

      ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความสำคัญและแนวทางการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

เรื่องที่

2

ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคคู่คิดสี่สหาย

ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน

   1.    ครูให้นักเรียนดูภาพประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่น จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงลักษณะสำคัญของประเพณีดังกล่าว

   2.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่นล้วนมีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์

ขั้น สอน

   1.    นักเรียนรวมกลุ่มเดิม แล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น จากหนังสือเรียน

   2.    นักเรียนแต่ละกลุ่มจับคู่กันเป็น 2 คู่ แล้วให้แต่ละคู่ช่วยกันทำใบงานที่ 5.2 เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

   3.    สมาชิกแต่ละคู่ผลัดกันอธิบายคำตอบในใบงานที่ 5.2 ให้สมาชิกอีกคู่หนึ่งภายในกลุ่มฟังแล้วร่วมกัน       หลอมรวมเป็นคำตอบของกลุ่ม

   4.    ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอคำตอบในใบงานที่ 5.2 หน้าชั้นเรียน จากนั้นเก็บรวบรวมใบงาน             ส่งครูตรวจ

ขั้น สรุป

      ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความสำคัญและแนวทางการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

เรื่องที่

3

พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน    ของตนเองและผู้อื่น

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน

ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน

   1.    ครูให้นักเรียนดูภาพกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่แตกต่างกัน จากนั้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นถึง        ความแตกต่างกันของการปฏิบัติตนของบุคคลในภาพ

   2.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของบุคคลมีความแตกต่างกัน  

ขั้น สอน

   1.    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันของตนเองและผู้อื่น จากหนังสือเรียน แล้วให้สมาชิกแต่ละคนทำใบงานที่ 5.3 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของฉัน

   2.    ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสัมภาษณ์สมาชิกในกลุ่ม แล้วบันทึกผลลงในใบงานที่ 5.4 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของเพื่อนฉัน โดยให้นักเรียนเปลี่ยนบทบาทกันในการสัมภาษณ์ แล้วให้สมาชิกในกลุ่มหมุนเวียนกันสรุปใจความที่ได้รับฟังจากการสัมภาษณ์

   3.    สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันของตนเองและผู้อื่น

   4.    ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอคำตอบในใบงานที่ 5.4 หน้าชั้นเรียน แล้วให้กลุ่มที่มีคำตอบแตกต่างกันออกมานำเสนอเพิ่มเติม

   5.    ครูให้นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 5.5 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เป็นการบ้าน

ขั้น สรุป

      ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันของตนเองและผู้อื่น

เรื่องที่

4

สาเหตุที่ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิต    แตกต่างกัน

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง

ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน

   1.    ครูให้นักเรียนผลัดกันเล่าพฤติกรรมที่แตกต่างกันของตนเองและคนอื่นๆ

   2.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า การที่คนเรามีพฤติกรรมที่แตกต่างกันก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ถ้าทุกคนยอมรับความแตกต่างและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น

ขั้น สอน

   1.    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง สาเหตุที่ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน                  จากหนังสือเรียน

   2.    นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 5.6 เรื่อง สาเหตุของพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

   3.    สมาชิกแต่ละคนผลัดกันเล่าคำตอบในใบงานที่ 5.6 ของตนทีละคน แบบเล่าเรื่องรอบวง จากนั้นร่วมกันสรุปผลงานที่สมบูรณ์ แล้วช่วยกันเพิ่มเติม ปรับปรุง และพัฒนา

   4.    ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอคำตอบในใบงานที่ 5.6 หน้าชั้นเรียน ครูตรวจสอบความถูกต้อง

ขั้น สรุป

      ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาเหตุที่ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน

เรื่องที่

5

วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติ

และพระมหากษัตริย์

วิธีสอนแบบ  สืบเสาะหาความรู้(Inquiry Method : 5E)

ขั้นที่ 1    กระตุ้นความสนใจ (Engage)

   1.    ครูให้นักเรียนดูภาพพิธีกรรมในวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์ แล้วทายว่าเป็นพิธีกรรมในวันใด

   2.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับวันหยุดราชการที่สำคัญของไทยเกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์

ขั้นที่ 2    สำรวจค้นหา (Explore)

      นักเรียนรวมกลุ่มเดิม แล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์ จากหนังสือเรียน

ขั้นที่ 3    อธิบายความรู้ (Explain)

      สมาชิกในแต่ละกลุ่มร่วมกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์แล้วสรุปประเด็นสำคัญ

ขั้นที่ 4    ขยายความเข้าใจ (Expand)

      ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำใบงานที่ 5.7 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์  แล้วปรับปรุงคำตอบในใบงานให้สมบูรณ์

ขั้นที่ 5    ตรวจสอบผล (Evaluate)

   1.    ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอคำตอบในใบงานที่ 5.7 หน้าชั้นเรียน ครูตรวจสอบความถูกต้อง

   2.    นักเรียนร่วมกันสรุปความสำคัญของวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์

   3.    ครูให้นักเรียนหาภาพกิจกรรมในวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนามาในชั่วโมงเรียนต่อไป

เรื่องที่

6

วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนา

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคคู่คิด

ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน

   1.    ครูให้นักเรียนร้องเพลงวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา แล้วแสดงความคิดเห็นถึงข้อคิดสำคัญที่ได้จาก     เนื้อเพลง

   2.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนา

ขั้น สอน

   1.    นักเรียนรวมกลุ่มเดิม แล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนา                ในประเด็นที่กำหนด

   2.    สมาชิกแต่ละคนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนามาอธิบายร่วมกันภายในกลุ่ม แล้วสรุปประเด็นสำคัญ

   3.    สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงานที่ 5.8 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนา เมื่อทำเสร็จแล้วจับคู่กับเพื่อนในกลุ่มผลัดกันอภิปรายคำตอบของตนเองให้เพื่อนฟัง ผลัดกันซักถามข้อสงสัย แล้วสรุปเป็นคำตอบของคู่ตนเอง

   4.    ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอคำตอบในใบงานที่ 5.8 หน้าชั้นเรียน

ขั้น สรุป

   1.    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปข้อมูลและความสำคัญของวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนา

   2.    นักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสดาของศาสนาอื่น

เรื่องที่

7

วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับประเพณี

และวัฒนธรรม

วิธีสอนแบบ  สืบเสาะหาความรู้(Inquiry Method : 5E)

ขั้นที่ 1    กระตุ้นความสนใจ (Engage)

   1.    ครูให้นักเรียนร้องเพลงรำวงวันสงกรานต์ จากนั้นช่วยกันแสดงความคิดเห็นถึงความสำคัญของวันสงกรานต์ แล้วให้เล่าประสบการณ์ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมในวันสงกรานต์

   2.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

ขั้นที่ 2    สำรวจค้นหา (Explore)

      นักเรียนรวมกลุ่มเดิม แล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับประเพณี          และวัฒนธรรม จากหนังสือเรียน

ขั้นที่ 3    อธิบายความรู้ (Explain)

      สมาชิกแต่ละคนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับวันหยุดราชการที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม      มาผลัดกันอธิบายแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม ตามประเด็นที่ได้ศึกษา และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

ขั้นที่ 4    ขยายความเข้าใจ (Expand)

      สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงานที่ 5.9 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

ขั้นที่ 5    ตรวจสอบผล (Evaluate)

      ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอคำตอบในใบงานที่ 5.9 หน้าชั้นเรียน ครูตรวจสอบความถูกต้อง

เรื่องที่

8

บุคคลตัวอย่างของท้องถิ่น (1)

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ

ขั้นที่ 1    สังเกต ตระหนัก

   1.    ครูให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างบุคคลตัวอย่างของท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก แล้วอภิปรายร่วมกันในประเด็น ที่กำหนด

   2.    ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า บุคคลตัวอย่างของท้องถิ่นแต่ละท่านล้วนเป็นผู้นำที่ทำประโยชน์ ต่อชุมชนและส่วนรวม

ขั้นที่ 2    วางแผนปฏิบัติ

      นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนเพื่อศึกษาความรู้เรื่อง บุคคลตัวอย่างของท้องถิ่น จากหนังสือเรียน          ตามประเด็นที่ครูกำหนดให้ ดังนี้

      1) นายธีรวุธ ศรีตุลารักษ์ (แปะอ๊าน)

      2) นายงด สลักเพชร (ก๋งหมอ)

      3) นายวิเชียร มงคล

ขั้นที่ 3    ลงมือปฏิบัติ

      สมาชิกแต่ละกลุ่มลงมือปฏิบัติในการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งความรู้ต่างๆ ตามที่ได้ร่วมกัน วางแผนไว้

ขั้นที่ 4    พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ

      สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายสาระสำคัญของประวัติบุคคลที่ได้ศึกษาในขั้นที่ 3 ในประเด็นที่กำหนด แล้วนำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน

ขั้นที่ 5    สรุป

      นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันเขียนสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติบุคคลตัวอย่างของท้องถิ่น                 เสร็จแล้วนำส่งครูตรวจ

เรื่องที่

9

บุคคลตัวอย่างของท้องถิ่น (2)

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการกลุ่ม

ขั้นที่ 1    มีผู้นำและมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

   1.    ครูให้นักเรียนรวมกลุ่มเดิม แล้วให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่ม รองหัวหน้ากลุ่ม และเลขานุการกลุ่ม          พร้อมกับกำหนดกติการ่วมกันในกลุ่ม

   2.    ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกแต่ละคนไปสืบค้นข้อมูลประวัติบุคคลของท้องถิ่นที่นักเรียนอยู่ ตามหัวข้อที่กำหนด

ขั้นที่ 2    วางแผน

      สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการทำงาน กำหนดจุดประสงค์ และขั้นตอนการทำงานในการสืบค้นข้อมูลประวัติบุคคลของท้องถิ่นที่นักเรียนอยู่ ตามหัวข้อที่กำหนด

ขั้นที่ 3    ปฏิบัติตามแผน

      สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ตามที่แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ แล้วนำผลงานประวัติบุคคลตัวอย่างของท้องถิ่นมาเล่าสู่กันฟัง แล้วช่วยกันตอบคำถามตามหัวข้อในใบงานที่ 5.10 เรื่อง บุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชน

ขั้นที่ 4    ประเมินผลการปฏิบัติงาน

      สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องในการตอบคำถามตามหัวข้อในใบงานที่ 5.10

ขั้นที่ 5    ปรับปรุงและพัฒนา

   1.    สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น จากนั้นส่งตัวแทนนำเสนอผลงาน             หน้าชั้นเรียน ครูตรวจสอบความถูกต้อง

   2.    ครูให้นักเรียนนำตัวอย่างที่ดีของบุคคลที่นักเรียนไปสืบค้นข้อมูลไปประยุกต์ปฏิบัติอย่างเหมาะสม และรายงานผลต่อครูเป็นระยะ           

   Ÿ ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง วิถีชีวิตของเรา โดยให้ครอบคลุมประเด็นตามที่กำหนด

          นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

9  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

      9.1   สื่อการเรียนรู้

         1) หนังสือเรียน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.3

          2) แบบวัดและบันทึกผลการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.3

          3) บทเรียนคอมพิวเตอร์ Smart L.O. LMS Lite สังคมศึกษาฯ ป.3 บริษัท เพลย์เอเบิล จำกัด

          4) หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

             (1) เจริญ ตันมหาพราน. 2541. ประเพณีท้องถิ่น.กรุงเทพมหานคร :2020 เวิร์ค มีเดีย.

             (2) ดนัย ไชยโยธา. 2538. ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น.กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

             (3) พิทูร มลิวัลย์. 2522. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา.

             (4) โสภา ชูพิกุลชัย. 2531. การศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับจริยธรรม ค่านิยมประเพณีและวัฒนธรรมของครอบครัวไทยที่มีผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตร : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.

             (5) อารีย์ อัศวปราการกุล. 2529. วันสงกรานต์. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.

             (6) อุดม เชยกีวงศ์. 2547. ปฏิทินประเพณี 12 เดือน. กรุงเทพมหานคร : ภูมิปัญญา.

             (7) อัคร ศุภเศรษฐ์. 2547. หลักการดำเนินชีวิตร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.

             (8) เอนก นาวิกมูล. 2547. ประเพณีวิถีไทย. กรุงเทพมหานคร : แสงดาว.

          5) เพลง

          6) บัตรภาพ

          7) ใบงานที่ 5.1 เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

          8) ใบงานที่ 5.2 เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

          9) ใบงานที่ 5.3 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของฉัน

        10) ใบงานที่ 5.4 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของเพื่อนฉัน

        11) ใบงานที่ 5.5 เรื่อง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต

        12) ใบงานที่ 5.6 เรื่อง สาเหตุของพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

        13) ใบงานที่ 5.7 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์

        14) ใบงานที่ 5.8 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับศาสนา

        15) ใบงานที่ 5.9 เรื่อง วันหยุดราชการที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

        16) ใบงานที่ 5.10 เรื่อง บุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชนของฉัน

      9.2   แหล่งการเรียนรู้

          1) บุคคลตัวอย่างของท้องถิ่น

           2) ห้องสมุด

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง วิถีชีวิตของเรา

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1.     การปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น

บันทึกการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น          ได้ 4 พฤติกรรมขึ้นไป

บันทึกการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น             ได้ 3 พฤติกรรม

บันทึกการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น                ได้ 1-2 พฤติกรรม

2.     การสรุปประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น

สรุปประโยชน์ของการปฏิบัติ   ตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น         ได้ 3 ข้อขึ้นไป

สรุปประโยชน์ของการปฏิบัติ ตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น             ได้ 2 ข้อ

สรุปประโยชน์ของการปฏิบัติ ตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น           ได้ 1 ข้อ

3.     การบอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย

บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ถูกต้อง 3 ข้อขึ้นไป

บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ถูกต้อง 2 ข้อ

บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ถูกต้อง 1 ข้อ

4.     การอธิบายความสำคัญของวันหยุดราชการ        ที่สำคัญ

อธิบายความสำคัญของวันหยุด ราชการที่สำคัญได้ถูกต้อง เหมาะสม 5 วันขึ้นไป

อธิบายความสำคัญของวันหยุดราชการที่สำคัญ           ได้ถูกต้อง เหมาะสม 3-4 วัน

อธิบายความสำคัญของวันหยุดราชการที่สำคัญ          ได้ถูกต้อง เหมาะสม 1-2 วัน

5.     การยกตัวอย่างบุคคลซึ่งมีผลงาน     ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตน

บอกประวัติของบุคคลซึ่งมีผลงานที่เป็นประโยชน์         แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตนได้ 3 คนขึ้นไป

บอกประวัติของบุคคลซึ่งมีผลงานที่เป็นประโยชน์         แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตนได้ 2 คน

บอกประวัติของบุคคลซึ่งมีผลงานที่เป็นประโยชน์         แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตนได้ 1 คน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

12 - 15

8 - 11

ต่ำกว่า 8

ระดับคุณภาพ

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

                                             แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่                                   5  

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. การปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมควรคำนึงถึงเรื่องใดมากที่สุด

     ก. ความโดดเด่น

     ข. ความสวยงาม

     ค. ความเหมาะสม

     ง. หน้าตาทางสังคม

2. คนไทยมีวัฒนธรรมการทักทายอย่างไร

     ก. การไหว้

     ข. การจับมือ

     ค. การหอมแก้ม

     ง. การโอบกอด

3. ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว สามารถถ่ายทอด       ได้โดยวิธีใด

     ก. การบังคับ

     ข. การสังเกตจากเพื่อน

     ค. การเลียนแบบพฤติกรรมจากครู

     ง. การอบรมสั่งสอนของคุณพ่อคุณแม่

4. นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่

     ก. เดินสวนทางไป

     ข. เดินหลีกไปอีกทาง

     ค. ค้อมตัว แล้วเดินผ่านไป

     ง. หลบทาง แล้วเดินผ่านไป

5. ใครปฏิบัติตนตามความเชื่อของศาสนาคริสต์

     ก. ภูมิรักษาศีลทุกวันพระ

     ข. พสุไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์

     ค. ภพไม่รับประทานเนื้อสุกร

     ง. ดินถือศีลอดเป็นประจำทุกปี

เฉลย

1.  ค

2.  ก

3.  ง

4.  ค

5.  ข

6.  ก

7.  ค

8.  ง

9.  ก

10.

6. ข้าวยำ น้ำบูดูเป็นอาหารของภาคใด

     ก. ภาคใต้

     ข. ภาคกลาง

     ค. ภาคอีสาน

     ง. ภาคเหนือ

7. นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไร ในวันที่ 23 ตุลาคม

     ของทุกปี

     ก. รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

     ข. จุดเทียนชัยถวายพระพร

     ค. ถวายพวงมาลาที่พระบรมรูปทรงม้า

     ง. ไปดูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

8. วันใดเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยเกิดขึ้นครั้งแรกในโลก

     ก. วันมาฆบูชา                  

     ข. วันวิสาขบูชา

     ค. วันเข้าพรรษา    

     ง. วันอาสาฬหบูชา    

9. วันพืชมงคลแสดงถึงการให้ความสำคัญแก่ใคร

     ก. เกษตรกร  

     ข. ข้าราชการ

     ค. พ่อค้าแม่ค้า

     ง. พระมหากษัตริย์

10.    การศึกษาประวัติบุคคลตัวอย่างของท้องถิ่น มีผลดีอย่างไร

     ก. ทำให้มีอาชีพเป็นของตนเอง

     ข. ทำให้รู้จักบุคคลที่หลากหลาย

     ค. ทำให้เห็นคุณค่าของการทำความดี

     ง. ทำให้เข้าใจสภาพของชุมชนดียิ่งขึ้น

                                             แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่                                   5  

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. การศึกษาประวัติบุคคลตัวอย่างของท้องถิ่น มีผลดีอย่างไร

     ก. ทำให้เข้าใจสภาพของชุมชนดียิ่งขึ้น

     ข. ทำให้เห็นคุณค่าของการทำความดี

     ค. ทำให้รู้จักบุคคลที่หลากหลาย

     ง. ทำให้มีอาชีพเป็นของตนเอง     

2. วันพืชมงคลแสดงถึงการให้ความสำคัญแก่ใคร

     ก. พระมหากษัตริย์    

     ข. พ่อค้าแม่ค้า

     ค. ข้าราชการ

     ง. เกษตรกร

3. วันใดเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยเกิดขึ้นครั้งแรกในโลก

     ก. วันอาสาฬหบูชา                       

     ข. วันเข้าพรรษา

     ค. วันวิสาขบูชา    

     ง. วันมาฆบูชา

4. นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไร ในวันที่ 23 ตุลาคม

     ของทุกปี

     ก. ไปดูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

     ข. ถวายพวงมาลาที่พระบรมรูปทรงม้า

     ค. จุดเทียนชัยถวายพระพร

     ง. รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

5. ข้าวยำ น้ำบูดูเป็นอาหารของภาคใด

     ก. ภาคเหนือ

     ข. ภาคอีสาน

     ค. ภาคกลาง

     ง. ภาคใต้

6. ใครปฏิบัติตนตามความเชื่อของศาสนาคริสต์

     ก. ดินถือศีลอดเป็นประจำทุกปี

     ข. ภพไม่รับประทานเนื้อสุกร

     ค. พสุไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์

     ง. ภูมิรักษาศีลทุกวันพระ

7. นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่

     ก. หลบทาง แล้วเดินผ่านไป

     ข. ค้อมตัว แล้วเดินผ่านไป

     ค. เดินหลีกไปอีกทาง

     ง. เดินสวนทางไป

8. ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว สามารถถ่ายทอด       ได้โดยวิธีใด

     ก. การอบรมสั่งสอนของคุณพ่อคุณแม่

     ข. การเลียนแบบพฤติกรรมจากครู

     ค. การสังเกตจากเพื่อน

     ง. การบังคับ

9. คนไทยมีวัฒนธรรมการทักทายอย่างไร

     ก. การโอบกอด

     ข. การหอมแก้ม

     ค. การจับมือ

     ง. การไหว้

10.    การปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมควรคำนึงถึงเรื่องใดมากที่สุด

     ก. หน้าตาทางสังคม

     ข. ความเหมาะสม

     ค. ความสวยงาม

     ง. ความโดดเด่น

เฉลย

1.  ข

2.  ง

3.  ก

4.  ข

5.  ง

6.  ค

7.  ข

8.  ก

9.  ง

10.

  ได้คะแนน     คะแนนเต็ม

 เอกสารอ้างอิง

ที่มา:     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2553.แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา.          กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

 จากเว็บไซต์:URL Address

ตัวอย่าง:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2553.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2553.สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561,

จาก

http://www.kruupdate.com/news/newid-3116.html