เพราะเหตุใดญี่ปุ่นจึงเป็นชาติที่เข้มแข็ง

ประเด็นสำคัญ

  •     ตัวแปรที่สำคัญต่อพัฒนาการของประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community)และการกำหนดประเด็นและรายละเอียดของความร่วมมือในภูมิภาคคือผลประโยชน์ทางการเมืองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งมีความขัดแย้งและการช่วงชิงบทบาทนำในภูมิภาคและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น 
  •    จีนสนับสนุนการรวมตัวกันในกรอบอาเซียน+3 (ญี่ปุ่นจีนและเกาหลีใต้) แต่ญี่ปุ่นสนับสนุนกรอบการประชุมสุดยอดอาเซียน (East Asia Summit: EAS) หรืออาเซียน+6 (ซึ่งรวมถึงอินเดียออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย)เพื่อหวังถ่วงดุลอำนาจของจีนในกระบวนการความร่วมมือในภูมิภาค 
  •     ประชาคมเอเชียตะวันออกน่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีลักษณะเป็นกระบวนการความร่วมมือมากกว่าที่จะเกิดเป็น ประชาคมที่มีความร่วมมือในเชิงลึกดังเช่นสหภาพยุโรปเนื่องจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกยังมีความแตกต่างกันทั้งระดับพัฒนาทางเศรษฐกิจระบบการเมืองตลอดจนความเชื่อทางศาสนาอยู่มากทั้งนี้กระบวนการความร่วมมือมีความเป็นไปได้ใน3 รูปแบบได้แก่เขตการค้าเสรีความร่วมมือด้านการเงิน และความร่วมมือเชิงหน้าที่ต่าง (functional cooperation)ซึ่งมีพัฒนาการที่คืบหน้าในกรอบอาเซียน+3
  •     ไทยควรให้ความสำคัญกับกรอบอาเซียน+3 มากกว่าEAS เนื่องจากกรอบอาเซียน+3มีลักษณะเป็นกระบวนการของความร่วมมือที่ต่อเนื่องในขณะที่กรอบEAS มีลักษณะเป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำปีมากกว่าระดับความเข้มข้นของความร่วมมือจึงอยู่ที่อาเซียน+3 มากกว่าอย่างไรก็ดีไทยก็ไม่ควรละเลยกรอบEAS ซึ่งอาจมีความร่วมมือเชิงหน้าที่บางสาขาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันได้
  •     ไทยควรพัฒนาความสัมพันธ์กับทั้งญี่ปุ่นและจีนซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการขับเคลื่อนประชาคมเอเชียตะวันออกอย่างสมดุล และควรเพิ่มบทบาทในการร่วมมือกับญี่ปุ่นและจีนในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาซึ่งเป็นผลดีต่อการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและควรแสดงบทบาทในความร่วมมือเชิงหน้าที่มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่เป็นประโยชน์ต่อไทยพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนต่อข้อเสนอต่างที่เป็นผลประโยชน์ต่อไทยและอาเซียน

* สรุปและเรียบเรียงจาก โครงการวิจัยเรื่องญี่ปุ่นกับประชาคมเอเชียตะวันออก: ผลประโยชน์ ความเป็นไปได้ และผลกระทบต่อไทย โดยกิตติ ประเสริฐสุข (2553) (ยอดยิ่ง ศุภศรี: ผู้สรุปและเรียบเรียง) 

1.    บทนำ

1.1 ความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก

ในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมาเอเชียตะวันออกเป็นหัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียเมื่อปี 2540 – 2541 ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างในภูมิภาคชะลอตัวลงชั่วคราวแต่วิกฤติดังกล่าวกลับช่วยกระตุ้นให้ประเทศในภูมิภาคตระหนักถึงความเชื่อมโยงและการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ญี่ปุ่นจีนและเกาหลีใต้) กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือในเอเชียตะวันออกโดยมีเป้าหมายระยะยาวคือการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก

จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของเอเชียตะวันออกและมีแนวโน้มที่เอเชียตะวันออกจะมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกอีกครั้งพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกในศตวรรษที่21 การรวมตัวในเอเชียตะวันออกจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและมีหลายประเทศสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการรวมตัวในภูมิภาคนี้โดยกระบวนการรวมตัวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกยังต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควรและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 

1.2 การประชุมอาเซียน+3

จากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียในปี2540 ส่งผลให้กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเห็นพ้องกันมากขึ้นถึงความจำเป็นในการรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างกันจนทำให้เกิดการพบหารือกันอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำของประเทศในอาเซียนผู้นำญี่ปุ่นจีนและเกาหลีใต้ในปี2540 และนำไปสู่การจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 ซึ่งมีพัฒนาการมาโดยลำดับโดยที่สำคัญได้แก่ (1) การออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 1 ในปี2542 ซึ่งทำให้กรอบอาเซียน+3 ก่อตัวเป็นรูปร่างอย่างชัดเจน(2) การจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก (East Asia Vision Group: EAVG)ในปี2542 ได้ช่วยวางวิสัยทัศน์ของการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (3) การจัดตั้งกลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออก (East Asia Study Group: EASG)ในปี2543 ได้นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการความร่วมมือที่ช่วยส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น

การลงนามปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ในปี2548 ได้กำหนดบทบาทของกรอบอาเซียน+3 ในฐานะกลไกหลักที่จะนำไปสู่เป้าหมายระยะยาวซึ่งได้แก่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกนอกจากนี้แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่2 และแผนงานความร่วมมืออาเซียน+3 ในปี2550 ในโอกาสครบรอบ10 ปีของกรอบอาเซียน+3 เป็นเอกสารสำคัญที่ช่วยกำหนดทิศทางในอนาคตของกรอบอาเซียน+3 และรักษาพลวัตรความร่วมมือที่ดำเนินมาด้วยดีในช่วงทศวรรษแรกให้ดำเนินไปได้อย่างมั่นคงโดยเฉพาะภายหลังที่มีการจัดตั้งเวทีความร่วมมือใหม่ได้แก่การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ซึ่งเดิมทีจะเป็นวิวัฒนาการของการประชุมสุดยอดอาเซียน+3

1เป็นข้อเสนอของประธานาธิบดีคิม แด จุง ของเกาหลีใต้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย เพื่ออภิปรายหาทิศทางของความร่วมมือในเอเชียตะวันออกให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยประกอบด้วยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน+3 ประเทศละ 2 คน รวม 26 คน โดยในรายงานของ EAVG ในปี 2544 เน้น การสร้างสันติภาพ ความรุ่งเรืองและความก้าวหน้าร่วมกัน และได้เสนอแนะให้มีการปรับกระบวนการอาเซียน+3 ให้เป็นสถาบันมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ให้เป็น การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) อันจะทำให้ทุกประเทศมีสถานะเท่าเทียมกัน มิใช่ให้อาเซียนเป็นแกนกลางเพียงฝ่ายเดียว โดยญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้สามารถเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดและกำหนดวาระการประชุมได้ด้วย นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอเพิ่มความร่วมมือซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การเมืองและความมั่นคง สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และความร่วมมือเชิงสถาบัน

3.3 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS)

การจัดตั้งEAS ในปี2548 เป็นพัฒนาการที่สำคัญในความร่วมมือเอเชียตะวันออกเนื่องจากเป็นการเปิดมิติใหม่ของความสัมพันธ์และความร่วมมือในภูมิภาคและมีการเปิดโอกาสให้ประเทศนอกภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมด้วยโดยประเทศอาเซียน+3 ที่ผลักดันให้ประเทศนอกภูมิภาคได้เข้าร่วมในEAS แม้จะมีเหตุผลแตกต่างกันไปแต่ก็มีเป้าหมายตรงกันคือไม่ต้องการให้EAS จำกัดอยู่เฉพาะแค่ประเทศอาเซียน+3 เนื่องจากยังมีความหวาดระแวงกันเองทั้งที่จุดประสงค์ดั้งเดิมของEAS จะเป็นวิวัฒนาการของการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ซึ่งจะจัดขึ้นเมื่อประเทศอาเซียน+3 มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากพอ 

ปัจจุบันEAS ประกอบไปด้วยสมาชิก16 ประเทศซึ่งได้แก่ประเทศอาเซียน+3 และประเทศที่เข้ามาใหม่ 3 ประเทศได้แก่อินเดียออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ซึ่งมักเรียกกันว่าอาเซียน+6 โดยในมุมมองของอาเซียนEAS จะเป็นเวทีใหม่อีกเวทีหนึ่งที่อาเซียนปรารถนาจะมีบทบาทนำแต่ในมุมมองของประเทศภายนอกอาเซียนโดยเฉพาะประเทศที่เข้ามาใหม่ทั้ง 3 ประเทศEASเป็นเวทีที่ประเทศทั้ง16 ประเทศมีความเท่าเทียมกัน 

EAS จะเข้ามาแทนที่กรอบอาเซียน+3 หรือจะพัฒนาคู่ขนานกันไปจะทำให้ความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเข้มแข็งขึ้นหรืออ่อนแอลงเป็นสิ่งที่ต้องศึกษากันต่อไปอย่างไรก็ดีEAS อาจเป็นผลดีต่อความร่วมมือในเอเชียตะวันออกในระยะยาว เพราะจะช่วยให้ความร่วมมือในเอเชียตะวันออกมีพลวัตมากขึ้นการที่เป็นเวทีความร่วมมือที่เปิดกว้างไม่จำกัดเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกทำให้EAS สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังอาจใช้เป็นเครื่องมือสำคัญควบคุมจีนหากในอนาคตจีนมีท่าทีเปลี่ยนไปในทางที่พยายามจะแสดงอิทธิพลมากขึ้น

ทั้งนี้ในปัจจุบัน EAS มีการประชุมมาแล้ว5 ครั้งในการประชุมEAS ครั้งที่5 ในเดือนตุลาคม2553 ที่กรุงฮานอยได้มีการออกเอกสารHa Noi Declaration on the Commemoration of 5th Anniversary of the EAS เพื่อแสดงเจตนารมณ์และพันธะทางการเมืองในการส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับEAS ต่อไป รวมทั้งขยายสมาชิกEAS โดยให้สหรัฐอเมริกาและรัสเซียเข้าร่วมประชุมด้วยในการประชุมครั้งที่6 ในปี2554 

อย่างไรก็ดีกรอบอาเซียน+3 เป็นกรอบที่มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปได้มากกว่าEASเนื่องจากมีความร่วมมือที่มีความก้าวหน้าไปแล้วในหลายประเด็น

2 ประกอบไปด้วยข้าราชการระดับสูงจากชาติอาเซียน+3 เพื่อศึกษาและประเมินความเป็นไปได้ในรายละเอียดตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอ EAVG ซึ่งต่อมา EASG ได้นำเสนอรายงานการศึกษาในการประชุมผู้นำอาเซียน+3 ครั้งที่ 6 ที่กัมพูชา เมื่อปี2545 โดยเสนอมาตรการระยะสั้นและมาตรการระยะกลางถึงระยะยาวหลายข้อซึ่งได้พัฒนาจากข้อเสนอของ EAVG ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดนโยบายเพื่อนำไปปฏิบัติจริง

2.    ข้อค้นพบ

2.1 ผลประโยชน์ของญี่ปุ่นในประชาคมเอเชียตะวันออก

ญี่ปุ่นมีผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างสูงในการรวมตัวกันในเอเชียตะวันออกโดยการรวมตัวกันแบบEAS (อาเซียน+6) จะทำให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเกิดขึ้นสูงที่สุดเนื่องจากจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าการรวมตัวในแบบอาเซียน+3สำหรับด้านการเมืองการขับเคลื่อนประเด็นเกี่ยวกับประชาคมเอเชียตะวันออก จะช่วยให้ญี่ปุ่นสามารถรักษาสถานภาพการมีบทบาทนำในภูมิภาคไว้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานภาพนำต่อจีนโดยญี่ปุ่นมองว่าการดำเนินนโยบายการต่างประเทศในประเด็นนี้จะสามารถตอบสนองผลประโยชน์ของญี่ปุ่นได้ใน3 ประการคือ(1) กระบวนการความร่วมมือนี้มีประโยชน์ในเนื้อหาสาระในตัวของมันเอง (2) การพบหารือกันแบบพหุภาคีเป็นโอกาสที่จะสามารถหารือในประเด็นอื่น ที่นอกเหนือจากเรื่องประชาคมได้ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี (3) เป็นโอกาสดีที่ญี่ปุ่นจะสามารถมีนโยบายต่อเอเชียอย่างครอบคลุมเป็นครั้งแรกตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 เป็นต้นมา

          ทั้งนี้ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะใช้เอเชียตะวันออกเป็นฐานเพื่อมีบทบาทในการปฏิรูประบบการบริหารจัดการโลกเพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดวิกฤติพลังงานวิกฤติอาหาร และวิกฤติการเงินโลกในปี2551 อย่างยั่งยืนตลอดจนเอื้อต่อการสร้างระบบการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกใหม่ที่เหมาะสมขึ้นมา 

3 จากการคำนวณจากแบบจำลอง Global Trade Analysis Project (GTAP) เวอร์ชั่น 6.0 ซึ่งคำนวณการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในประเทศและกลุ่มประเทศต่าง ๆ หากมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจด้วยข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีอัตราภาษีศุลกากรร้อยละศูนย์ทุกรายการสินค้า โดยอิงฐานตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในปี 2544 แม้ในความเป็นจริง ประเทศต่าง ๆ มักสงวนสินค้าบางชนิดไว้ไม่ให้มีอัตราภาษีเป็นศูนย์ และมีอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีแม้จะลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว

2.2 จุดยืนของญี่ปุ่นต่อประชาคมเอเชียตะวันออก

ญี่ปุ่นเน้นแนวทางEAS (อาเซียน+6) ที่มีออสเตรเลียนิวซีแลนด์และอินเดียเข้าเป็นสมาชิกด้วย โดยนโยบายและบทบาทของญี่ปุ่นมักจะขึ้นอยู่กับนโยบายและบทบาทของจีนในประชาคมเอเชียตะวันออกเป็นอย่างมาก

         หลายฝ่ายในญี่ปุ่นมองว่าเอเชียตะวันออกจะไม่สามารถพัฒนาเป็นประชาคมในลักษณะเดียวกับสหภาพยุโรปได้เพราะมีเงื่อนไขที่ต่างกันทั้งในเชิงสถาบันและค่านิยมไม่ว่าจะเป็นการขาดองค์การระหว่างประเทศที่จะเป็นกลไกในการประสานความร่วมมือค่านิยมที่แตกต่างกันในประเด็นประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ตลอดจนความรู้สึกชาตินิยมที่ยังคงเข้มข้นในหมู่ชาติเอเชียอย่างไรก็ตามเอเชียตะวันออกน่าจะสามารถรวมตัวกันได้ในลักษณะเฉพาะแบบเอเชีย 

        ที่ผ่านมาญี่ปุ่นยังขาดการบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออกเนื่องจากการแบ่งแยกกันสูงระหว่างการทำงานของกระทรวงต่าง โดยนโยบายประชาคมเอเชียตะวันออกของญี่ปุ่นมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์กับจีนเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยนายกรัฐมนตรีจุนอิจิโรโคอิสึมิอย่างไรก็ดีหลังจากที่ญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่หลังพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan: DPJ) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเหนือพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party: LDP) ซึ่งเป็นรัฐบาลมายาวนานกว่า50 ปีและนายยูกิโอะฮาโตยามาเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยได้ประกาศอย่างแข็งขันที่จะผลักดันการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกทั้งยังได้กล่าวเชิญจีนให้มาร่วมมือกันสร้างประชาคมอย่างแข็งขันแสดงให้เห็นถึงท่าทีใหม่ของรัฐบาลญี่ปุ่นในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับเอเชียมากยิ่งขึ้น โดยนายฮาโตยามาต้องการผลักดันการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคบนพื้นฐานของการเปิดกว้างโปร่งใสและครอบคลุมและเน้นหลักการความเป็นพี่น้องกันเริ่มจากความร่วมมือด้านเศรษฐกิจก่อนแล้วค่อยขยายไปในสาขาอื่นนอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการมีเงินสกุลเดียวกันอีกด้วยทั้งนี้นายฮาโตยามา มิได้กล่าวถึงประเทศที่จะเป็นสมาชิกของประชาคมเอเชียตะวันออกแต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าญี่ปุ่นต้องการให้ครอบคลุมประเทศที่เข้าร่วมในEAS แต่หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้เนื่องจากไม่อยากจะเผชิญหน้ากับจีนซึ่งมีท่าทีที่ชัดเจนว่าประชาคมเอเชียตะวันออกควรเริ่มจากกรอบอาเซียน+3 ก่อน

           ล่าสุดเมื่อวันที่1 มิถุนายน2553 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับการดำเนินการในอนาคตเกี่ยวกับแนวคิดประชาคมเอเชียตะวันออกซึ่งเน้นการดำเนินการในด้านต่างได้แก่ (1) ด้านเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีและหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) และการส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคและส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค(2) ด้านการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเสนอที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของญี่ปุ่นรวมทั้งถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนให้แก่ประเทศอื่น (3) ด้านการป้องกันภัยพิบัติและโรคระบาดโดยเสนอให้มีการตั้งศูนย์ป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชียเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครือข่ายเพื่อป้องกันและสร้างมาตรการในการรับมือกับโรคระบาด (4) ด้านความมั่นคงทางทะเลโดยส่งเสริมการแก้ไขปัญหาโจรสลัดรวมทั้งส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยทางทะเล (5) ด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทั้งนักเรียนเยาวชนและนักวิจัย

2.3 บทบาทของญี่ปุ่นต่อประชาคมเอเชียตะวันออก

            ในกรอบอาเซียน+3 ญี่ปุ่นแสดงบทบาทแข็งขันไม่ว่าจะเป็นบทบาทในความร่วมมือทางการเงินโดยเฉพาะในส่วนของข้อตกลงความริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ตั้งแต่ปี2543 หรือการประกาศที่จะจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP) ในปี2545 เป็นต้นโดยในทางปฏิบัติ ญี่ปุ่นมีเครื่องมือทางนโยบายที่สำคัญอยู่3 ประการเพื่อผลักดันนโยบายและแสดงบทบาทของตนได้แก่(1) การจัดทำและใช้บังคับAJCEPซึ่งเป็นความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียนซึ่งญี่ปุ่นถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก เนื่องจากมีส่วนในการส่งเสริมสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศที่จะส่งผลต่อญี่ปุ่นในการกำหนดกลยุทธ์ทางการเมืองและการทูตกับประเทศอื่นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนการก่อตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก(2) การช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพ (capacity building) ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียนด้วยการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (Official Development Assistance: ODA) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในภูมิภาคซึ่งที่ผ่านมาเป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการรวมตัวกันของประชาคมเอเชียตะวันออกโดยญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างในอาเซียนโดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในหลายรูปแบบเช่นการพัฒนาสาธารณูปโภคและเทคโนโลยีการพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรบุคคลและการเสริมสร้างสมรรถนะและ(3) ความร่วมมือด้านการเงินภายในภูมิภาคเพื่อสร้างเสถียรภาพของค่าเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาคเช่นนโยบายการทำให้เงินเยนเป็นสากล (internationalization of yen)ตลอดจนเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเองทั้งในส่วนของภาคเอกชนและภาครัฐเนื่องจากการพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคที่มีเครือข่ายการค้าการลงทุนของญี่ปุ่นมีเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสถาบันการเงินของญี่ปุ่นได้ปล่อยเงินกู้จำนวนมหาศาลแก่ประเทศเหล่านี้เมื่อประเทศที่เป็นฐานการผลิตและลูกหนี้เงินกู้ของญี่ปุ่นประสบวิกฤติญี่ปุ่นก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันญี่ปุ่นจึงต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนอกจากนี้ญี่ปุ่นยังเล็งเห็นว่าการผูกติดค่าเงินสกุลต่าง ของเอเชียกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐไม่เป็นผลดีประเทศในภูมิภาคควรมีกลไกช่วยเหลือตนเองดังนั้นการทำให้เงินเยนเป็นสากลจึงเป็นการทำให้เงินเยนเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้ในธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยสร้างระบบทางการเงินที่มีเสถียรภาพไม่ผูกติดกับเงินสกุลเดียวและลดความเสี่ยงด้านเงินทุนที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นมีทั้งวิสัยทัศน์และบทบาทเด่นในการผลักดันการรวมตัวของเอเชียตะวันออก ซึ่งบทบาทดังกล่าวย่อมเป็นการตอบสนองผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเองทั้งในส่วนของธุรกิจภาคเอกชนและภาครัฐที่ต้องการสร้างเกียรติภูมิของญี่ปุ่นในประชาคมโลกแต่ในขณะเดียวกันถือได้ว่าบทบาทดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและภูมิภาคในลักษณะผลประโยชน์ร่วมมือจากการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างประเทศในภูมิภาค

2.4 ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกได้แก่ (1) นโยบายและบทบาทของญี่ปุ่นและจีนในประเด็นการรวมตัวในภูมิภาคซึ่งต่างขึ้นอยู่กับนโยบายและบทบาทของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอย่างมากโดยต่างฝ่ายต่างช่วงชิงบทบาทนำในการริเริ่มข้อเสนอต่าง(2) ทัศนะและท่าทีที่แตกต่างกันของประเทศในอาเซียน+3 และความสนใจอย่างมากของประเทศภายนอกที่มีต่อความร่วมมือและการรวมตัวกันในเอเชียตะวันออก และ (3) ปัจจัยพื้นฐานของประเทศภายในภูมิภาคซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกันมาก 

           จากปัจจัยสำคัญข้างต้นการรวมตัวเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกจะมีความแตกต่างจากสหภาพยุโรปที่มีการรวมตัวกันในเชิงลึกจนพัฒนาก้าวหน้าจนเป็นสหภาพทางการเมืองซึ่งเอเชียตะวันออกคงไม่สามารถเจริญรอยตามนั้นได้อย่างไรก็ตามเอเชียตะวันออกจะรวมตัวและร่วมมือกันด้วย3 เสาหลักได้แก่เขตการค้าเสรีความร่วมมือด้านการเงินและความร่วมมือเชิงหน้าที่โดยทั้ง 3ส่วนนี้มีพัฒนาการที่ค่อนข้างดีในกรอบอาเซียน+3 ซึ่งในปี2550 อาเซียน+3 ได้ออกแผนงานเพื่อความร่วมมืออาเซียน+3 ระหว่างปี2550-2560 (ASEAN Plus Three Cooperation Work Plan 2007-2017) เพื่อกำหนดทิศทางในการเพิ่มความร่วมมือต่างอีกด้วยซึ่งเอเชียตะวันออกน่าจะมีการรวมตัวกันในลักษณะเฉพาะของตัวเองเนื่องจากยังมีความแตกต่างและข้อจำกัดอยู่มากแต่ก็ถือได้ว่าเป็นกระบวนการความร่วมมือและภูมิภาคนิยมที่มีนัยสำคัญอันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศในภูมิภาคได้ 

           เมื่อพิจารณาจากภาพรวมของความเป็นประชาคมในด้านต่าง ในเอเชียตะวันออกประชาคมด้านเศรษฐกิจจะมีความคืบหน้ามากที่สุดรองลงมาเป็นด้านสังคมและวัฒนธรรมในขณะที่จะมีความยากลำบากที่สุดในการสร้างประชาคมด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเนื่องจากบางประเทศยังไม่มีความไว้วางใจระหว่างกันโดยเฉพาะญี่ปุ่นกับจีนและจากการที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ยังคงเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับมหาอำนาจนอกภูมิภาคอย่างสหรัฐอเมริกา

3.    ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

  •     ไทยควรให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นหลักเนื่องจากเป็นกรอบที่มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปได้มากกว่าอีกทั้งมีความร่วมมือที่มีความก้าวหน้าไปแล้วในหลายประเด็นโดยเฉพาะความร่วมมือด้านการเงินไม่ว่าจะเป็นCMI หรือพันธบัตรเอเชียทั้งยังมีความเป็นสถาบันมากกว่ากรอบอาเซียน+6 เนื่องจากมีการประชุมคณะทำงานความร่วมมือเชิงหน้าที่เป็นระยะและต่อเนื่องมากกว่าอย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันก็ไม่ควรละเลยกรอบความร่วมมือEAS (หรืออาเซียน+6) ซึ่งเป็นการเน้นความร่วมมือเชิงหน้าที่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกอยู่แล้วและจะเป็นการดีกว่าหากความร่วมมือบางประการมีประเทศเช่นออสเตรเลียหรืออินเดียเข้าร่วมด้วยเช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความเข้มแข็งในด้านดังกล่าว
  •     ไทยและอาเซียนควรสงวนท่าทีไม่เอนเอียงหรือสนับสนุนข้างใดข้างหนึ่งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นโดยควรรักษาสมดุลในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศทั้งสองและให้ความร่วมมือทั้งกรอบอาเซียน+3 และEAS โดยการมี2 มหาอำนาจในภูมิภาคย่อมทำให้ชาติเล็กในอาเซียนสามารถต่อรองได้มากขึ้นทั้งนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการเดินทางเยือนทั้งสองประเทศมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันโดยคำนึงด้วยว่าญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ไทยและอาเซียนพึ่งพาทางเศรษฐกิจสูงกว่าจีน
  •    ไทยควรพยายามเข้าไปมีบทบาทในความร่วมมือเชิงหน้าที่มากขึ้น เนื่องจากความร่วมมือดังกล่าวเป็นความร่วมมือที่มิได้เน้นผลประโยชน์ด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจเป็นสำคัญหากแต่มุ่งเน้นความร่วมมือด้านสังคมวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นช่องทางที่ช่วยเร่งสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศได้ง่ายมากกว่าโดยไทยอาจเน้นและมีบทบาทนำในความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวการขนส่งและสาธารณสุข ซึ่งเป็นด้านที่ไทยมีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญที่พอจะให้เกิดความร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้มแข็งต่อไป 
  •     ไทยต้องให้ความสำคัญกับการรวมตัวในอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับญี่ปุ่นและจีนซึ่งปัจจุบันไทยมีโอกาสอันดีในการแสดงบทบาทนำในอาเซียนและกำหนดทิศทางของความร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาคไปในทิศทางที่อาเซียนและไทยจะได้รับประโยชน์สูงสุดโดยใช้ประโยชน์จากการที่ปัจจุบันเลขาธิการอาเซียนเป็นชาวไทย (ดร.สุรินทร์พิศสุวรรณ) ทำให้เป็นจังหวะที่ดีในการร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนอย่างใกล้ชิดดีขึ้นรวมถึงจากการที่อาเซียนได้รับรองกฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter)ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นสถาบันมากยิ่งขึ้นซึ่งล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ไทยสามารถแสดงบทบาทนำในช่วงจุดเปลี่ยนของอาเซียนได้อย่างดี
  • ​​ ไทยควรเพิ่มบทบาทในการร่วมพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงร่วมกับญี่ปุ่นและจีน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาอันจะเป็นการเอื้อต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วยซึ่งญี่ปุ่นเองก็ต้องการลดต้นทุนในการให้ความช่วยเหลือประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจึงเป็นโอกาสสำหรับไทยซึ่งเป็นประเทศระดับกลางที่มีศักยภาพได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยใช้เงินทุนจากญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่​
  •     ไทยและอาเซียนควรแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในข้อเสนอต่างเช่นระบบตะกร้าเงินเอเชียตะวันออก หรือหน่วยเงินเอเชียโดยมีการศึกษาวิเคราะห์ว่าอะไรจะเป็นประโยชน์ต่ออาเซียนสูงสุดกล่าวคือไม่มีบทบาทในเชิงรับแต่เพียงอย่างเดียวเนื่องจากหลายชาติในอาเซียนก็มีศักยภาพมากขึ้นแล้วในด้านการศึกษาและการวิจัย
  •    จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิภาคในปัจจุบันซึ่งสหรัฐอเมริกาและรัสเซียจะเข้ามาเป็นสมาชิกในEAS ในปี2554 และจากการที่เอเชียกำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีระดับโลกโดยมีจีนและอินเดียเป็นแกนนำหลักเนื่องจากมีอัตราของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นกว่าประเทศอื่นในภูมิภาครัฐบาลไทยควรดำเนินยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างอาเซียนให้มีความเข้มแข็งและเน้นการสร้างไทยให้เป็นแกนหลักของอาเซียนที่เข้มแข็งดังกล่าวซึ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าว นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งหมดมีความสำคัญเป็นลำดับแรกเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันโดยไทยควรจะต้องได้รับมากกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเนื่องจากมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์โดยตั้งอยู่ตรงกลางที่มีประเทศอื่นรอบข้างมากที่สุด 

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

กิตติประเสริฐสุข (2553) ญี่ปุ่นกับประชาคมเอเชียตะวันออก: ผลประโยชน์ความเป็นไปได้และผลกระทบต่อไทยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ไพศาลหรูพาณิชย์กิจ (2553) เอเชียตะวันออกบนเส้นทางสู่การเป็นประชาคม (East Asia on a road toward a community) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

สุนทรชัยยินดีภูมิ (2553) สถาปัตยกรรมในเอเชียตะวันออก (East Asian Regional Architecture)กระทรวงการต่างประเทศ

ศิริพรวัชชวัลคุ (2551) รายงานวิจัยโครงการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นและผลกระทบต่อไทยกรณีศึกษาภาคเกษตรและนโยบายความมั่นคงทางอาหารของญี่ปุ่นกับความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเกษตรของญี่ปุ่นในเอเชียสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ภาษาญี่ปุ่น

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่น (1 มิถุนายน2553) เอกสารการดำเนินการในอนาคตเกี่ยวกับแนวคิดประชาคมเอเชียตะวันออก”(http://www.kantei.go.jp/jp/tyoukanpress/201006/__icsFiles/afieldfile/2010/06/01/koso_east_asia.pdf)