เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ หมายถึง

เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ หมายถึง

          ภาษีศุลกากร หรือ Customs Duty เป็นภาษีชนิดที่เรียกว่า กำแพงภาษี หรือ Tariff Barrier คือเป็นภาษีที่ไม่เกิดจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่เป็นภาษีที่สกัดกั้นการไหลบ่าของสินค้า จากต่างประเทศที่จะเข้ามาภายในประเทศ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ไม่ให้ถูกโจมตีจากสินค้าต่างประเทศ ที่มีคุณภาพดีกว่าแต่ราคาย่อมเยากว่า

          ฉะนั้น ภาษีศุลกากรของสินค้าแต่ละตัวจึงมีอัตราที่ไม่เท่ากัน สินค้าใดที่สามารถผลิตภายในประเทศได้ อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าชนิดนั้นจะสูง เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะให้ใครนำสินค้าชนิดนั้นมาขายแข่งกับเรา เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น ที่จะมีอัตราอากรตั้งแต่ 30-60% ส่วนสินค้าที่เราผลิตเองไม่ได้ หรือต้องการนำเข้า จะมีอัตราที่ต่ำ เช่น เครื่องจักรโรงงาน เป็นต้น มีอัตราอากรตั้งแต่ 0-5% นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ภาษีศุลกากรแตกต่างกันไป เช่น สินค้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้หรือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ อัตรา 0% สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง อัตรา 40% สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น ไม้ หนังดิบ ไหม สารเคมี อัตรา 0-5%
          กิจการภาษี หรือการศุลกากร มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย เรียกว่า จกอบ โดยที่สมัยสุโขทัยนั้น การค้าขายเป็นปัจจัยสร้างความมั่งคั่งของรัฐ และในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็มีประกาศยกเว้นภาษีแก่ผู้มาค้าขาย ดังความในศิลาจารึก ว่า เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พ่อเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทางเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า
          ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านตรวจเก็บภาษีขาเข้าขาออกเฉพาะ เรียกว่า พระคลังสินค้า มีสถานที่สำหรับการภาษี เรียกว่า ขนอน เก็บภาษีจากระวางบรรทุกสินค้า และจากสินค้า ครั้นสมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองอยู่ในยุคสงคราม การค้าขายระหว่างประเทศ ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก
          ล่วงถึงยุครัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 มีการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า ระบบเจ้าภาษีนายอากร ส่วนสถานที่เก็บภาษี เรียกว่า โรงภาษี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาริ่งที่เกี่ยวกับศุลกากร คือ ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือ เปลี่ยนมาเป็นเก็บภาษีสินค้าขาเข้าที่เรียกว่า ภาษีร้อยชักสาม ส่วนสินค้าขาออกให้เก็บตามที่ระบุในท้ายสัญญาเป็นชนิดไป ทั้งมีการตั้งโรงภาษี เรียกว่า ศุลกสถาน (Customs House) ขึ้นเป็นที่ทำการศุลกากร
          ยุคใหม่ของศุลกากรไทยเริ่มในพ.ศ.2417 เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน งานศุลกากรซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้าขาออก เป็นรายได้ของรัฐ อยู่ในความควบคุมดูแลของหอรัษฎากรพิพัฒน์ ส่งงานศุลกากรเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง และสถานการณ์โลก มีการสร้างอาคารที่ทำการใหม่ให้เหมาะสม ขึ้นแทนที่ทำการศุลกากรที่เรียกว่าศุลกสถานเดิมในปี 2497 คือสถานที่ตั้งกรมศุลกากรคลองเตยในปัจจุบัน
          ช่วงเวลาที่ผ่านมาอัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกรมศุลกากรมีภารกิจหลัก คือจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาใน และส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อนำไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และดูแล ป้องกัน ปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากร เพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากรเป็นไปตามเป้าหมาย และเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่สุจริต


พิกัดอัตราภาษีศุลกากร
          1. หนังสือพิกัดอัตราศุลกากรฉบับนี้รวบรวมโดยกรมศุลกากร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการ และพ่อค้าประชาชนในการปฎิบัติ จัดเก็บอากรศุลกากรที่เรียกเก็บจากของที่นำเข้าและส่งออก โดยแสดงประเภทสินค้า รายการสินค้าและอัตราอากรและรหัสสถิติ เรียงตามลำดับ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร
          2.พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พุทธศักราช 2530 ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ มกราคม 2531 นี้ได้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ที่ตราเป็นพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดรวม 6 ฉบับและประกาศกระทรวงการคลังดังนี้
                    2.1     พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ( ฉบับที่ 1)พุทธศักราช 2537
                   2.2     พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ( ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2541
                    2.3     พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ( ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2541
                    2.4     พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2541
                    2.5     พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ( ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2543
                    2.6     พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ( ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2543
                    2.7    ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 23/2541 (ฮมน.1) เรื่อง ยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราอากรขาเข้าในภาคที่ 2                               แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
                    2.8    ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการยกเลิก เพิ่ม และแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าในภาค 2 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ( ฮมน.)
          3.หนังสือพิกัดอัตราศุลกากรฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยนำพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎหมายที่ได้แก้ไขเพิ่มเติ่มในข้อ 2 ทั้งหมด ส่วนบทบัญญัติของกฎหมายและประกาศกระทรวงการคลังนั้น ได้จัดพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือพิกัดอัตราศุลกากรเล่มนี้
          4.คำแปลภาษาอังกฤษนั้น มีไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ไม่รู้ภาษาเท่านั้น
          5.ข้อความในช่องต่างๆในภาค 2 (พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า มีความหมายดังต่อไปนี้
                    5.1    ประเภท หมายถึง ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร มีเลขรหัส 4 ตัว เลข 2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ"ตอน"และเลข 2 ตัว หลังเป็นเลขลำดับของ"ประเภท"ในตอนนั้น
                    5.2    ประเภทย่อย หมายถึง ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร ที่แยกย่อยลงไป ส่วนใหญ่มีเลขรหัส ตัว แต่บางประเภทมีเลขรหัส 7 ตัว โดยเลขรหัส 6 ตัว เป็นเลขรหัสสากล ที่ทุกประเภทซึ่งใช้พิกัด ศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ใช้ตรงกัน การสำแดงประเภทพิกัดในใบขนสินค้าต้องสำแดงเลขรหัสตามประเภทย่อย
                    5.3    รหัสสถิติ หมายถึง รหัสสินค้าและรหัสหน่วยสินค้า รหัสสินค้ามีเลข 10 ตัว โดยเลข 7 ตัวแรก ตรงกับรหัสประเภทย่อยตาม 5.2 (ในกรณีที่ประเภทย่อยแสดงเลขรหัส 6 ตัว เลขตัวที่ 7 คือ 0 ) ดังนั้นในช่อง"รหัสสถิติ" จึงแสดงเฉพาะรหัสสินค้า ตัวหลังแล้วต่อท้ายด้วยรหัสหน่วยสินค้า เป็นอักษร ตัว และเครื่องหมาย ***ซึ่งมีคำแปล อยู่ท้ายคำชี้แจงนี้ ในกรณีที่ประเภทหรือประเภทย่อยใดแยกสถิติสินค้ามากกว่าหนึ่งรายการ จะจำแนกรายการตามรหัสสถิติในลำดับถัดจากประเภทหรือประเภทย่อยนั้นๆ ปรากฏตามแถบแรเงาสีเทา
                    5.4    รายการ หมายถึง รายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากร ข้อความที่ไม่มีเส้นขีดนำหน้า เป็นรายการสินค้าตามประเภทเลขรหัส 4 ตัว ส่วนข้อความที่มีเส้นขีดนำหน้า เป็นรายการสินค้าตามประเภทย่อยซึ่งแบ่งระดับออกเป็น ระดับ 1 (-) ระดับ 2 (- -) และระดับ 3 (- - -) ความหมายของข้อความในประเภทย่อยระดับเหนือขึ้นไป
                    5.5     อัตราอากร อัตรา"ตามราคา" หมายถึง อัตราเป็นร้อยละของราคา ซีไอ.เอฟ และอัตรา"ตามสภาพ" หมายถึงอัตราที่เรียกเก็บตามหน่วยของสินค้า
ถ้าสินค้าประเภทหรือประเภทย่อยใดมีอัตราอากรระบุไว้ทั้งตามราคาและตามสภาพจะต้องชำระอากรศุลกากร ตามอัตรา ที่คำนวณเป็นเงินได้สูงกว่า
การลดหรือยกเว้นอัตราอากรศุลกากรหรือการเรียกเก็บอากรพิเศษตามมาตรา 12 แห่งพระราช กำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ. ศ. 2530 ให้ดูในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากร และการยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดให้ของ ได้รับยกเว้นจากบทบังคับตามความใน มาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 การยกเว้นและการลดอัตราอากรตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ ตามมาตรา 14 แห่ง พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ซึ่งมิได้นำมาแสดงไว้ในหนังสือนี้ให้ดูในประกาศกระทรวงการคลังที่ เกี่ยวข้อง ดังนี้
          (1)    ข้อผูกพันตามความตกลงมาร์ราเกซจัดตั้งองการการค้าโลกและความตกลงการค้าพหุภาคี อื่นที่ผนวกท้าย ความตกลงดังกล่าว รวมทั้งพิธีสาร มติ และตราสารอื่นๆ อันเป็นผลจากการ เจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย (WTO) ตามประกาศกระทรวงการคลัง (อคล. 9-12)
          (2)     ข้อผูกพันตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITA) ตามประกาศ กระทรวงการคลัง (ทส. 3-4)
          (3)   ข้อตกลงตามความผูกพันว่าด้วยการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามประกาศกระทรวงการคลัง (ทล. 7-9)
          (4)     ข้อผูกพันตามความตกลงว่าด้วยการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ตามประกาศกระทรวงการคลัง (ทก.2)
          (5)   ข้อผูกพันในการให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนด อัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ตามประกาศกระทรวงการคลัง (อต.20-21)
          (6)   ข้อผูกพันตามความตกลงพื้นฐานว่าด้วยโครงการร่วมลงทุนทางอุตสาหกรรมของอาเซียน ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน ตามประกาศกระทรวงการคลัง (รทอ.8)
          (7)     มาตรการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียนโดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ตามประกาศกระทรวงการคลัง (สห. 1-
          6.ความที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรในหนังสือนี้เป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรที่แก้ไขเพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 และการ พิจารณาความหมายของถ้อยคำที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรต้องพิจารราตามหลักการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรประกอบกับคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของคณะมนตรีความร่วมมือทาง ศุลกากร
          7.นอกจากอากรศุลกากรแล้วผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร และภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยสรรพสามิต (ถ้ามี)
          8.อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    8.1     ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 7 กับการนำเข้าสินค้า เว้นแต่การนำเข้าที่ได้รับยังเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2)(ก) -(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
                    8.2     ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 กับการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
          9.ข้อความใดๆในหนังสือพิกัดอัตราศุลกากรฉบับนี้ใช้ เพื่อการอ้างอิงเท่านั้นโดยไม่ผูกพันกรมศุลกากรแต่ประการใด

เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ หมายถึง

เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ หมายถึง

จกอบ หรือ จังกอบ คืออะไรในสมัยสุโขทัย *

ในสมัยสุโขทัย จังกอบคือภาษีชนิดหนึ่งอันเก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของสินค้าไปเพื่อขายในที่ต่าง ๆ หรือนำเข้ามาขายในกรุงสุโขทัย การเรียกเก็บจังกอบใช้วิธี "สิบชักหนึ่ง" หรือ "สิบหยิบหนึ่ง" คือเก็บในอัตราร้อยละสิบตามภาษาปัจจุบัน และจังกอบนั้นไม่จำเป็นต้องชำระเป็นเงินสดเสมอไป อาจเป็นสิ่งขอหรือสัตว์ก็ได้เนื่องจากระบบการเงินใน ...

ภาษีจกอบ มีความหมายตรงกับข้อใด

(จะกอบ) น. ภาษีสินค้าผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, จังกอบ ก็เรียก.

คำว่าโอยทานในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแปลว่าอย่างไร

ให้ค่อย ไปผาบแย้ เขาอ่อนโอยบา เที่ยวเทอญ ยาแคลนใด โชคดี โดยได้ (ท้าวกุ้ง หน้า 166) ด้วยเหตุนี้ คำ โอยทาน จึงน่าจะหมายความว่า ให้ทาน หรือถวายทาน คือ ถ้าโอยทานแก่คนทั่วไป ก็มีความหมายเพียงว่า ให้ทาน เช่นในศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึก วัดศรีชุม) ว่า...แต่งแง่เล็งดู มีรูปงามแก่ตา โอยทาน แก่ท่านผู้มาขอ...” ถ้าโอยทาน แก่พระสงฆ์ ...

จังกอบ หมายถึงอะไร และ10หยิบ1คืออะไร

1) จังกอบ คือ การเรียกเก็บสินค้าของราษฎร โดยชักส่วนสินค้าที่ผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ ใน อัตรา 10 หยิบ 1 หรือ 1 ส่วนต่อ 10 ส่วน