ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีประเภทใด

รหัสข้อมูล

TLD-001-237

ชื่อเรื่องหลัก

ศิลาจารึกหลักที่ 1

ชื่อเรื่องอื่น

ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง

ยุคสมัย

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

ร้อยแก้ว 

ฉันทลักษณ์

ความเรียง 

เนื้อเรื่องย่อ

บรรทัดที่ 1 - 18 เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงที่ทรงเล่าพระประวัติของพระองค์เอง โดยใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า กู ทรงเล่าว่าพระราชบิดาทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชมารดาทรงพระนามว่านางเสือง ทรงมีพี่น้อง 5 พระองค์ ทรงเล่าถึงพระกรณียกิจที่ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดที่มาตีเมืองตาก และพระจริยาวัตรที่ทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นอย่างดียิ่ง เมื่อพระราชบิดาและพระราชมารดาสิ้นพระชนม์ก็ทรงปรนนิบัติต่อพ่อขุนบานเมืองพระเชษฐาธิราชเช่นเดียวกับที่ทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดาและพระราชมารดา เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์  พระองค์ก็ทรงปกครองบ้านเมือง    

ตั้งแต่บรรทัดที่ 19 ในด้านที่ 1 จนจบ เป็นการเล่าเรื่องเมืองสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีลักษณะเป็นการยอพระเกียรติโดยบุคคลอื่นเป็นผู้เล่า บรรยายถึงเมืองสุโขทัยว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ใครอยากค้าขายสิ่งใดก็ทำได้โดยสะดวก ประชาชนมีแต่ความเกษมสำราญ พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยุติธรรม ทรงเอาพระทัยใส่ต่อประชาราษฎร์ด้วยพระเมตตา ทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาเพื่อให้พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนาในวันพระ และเป็นที่ทรงว่าราชการในวันอื่น ทรงสร้างวัดมหาธาตุ ประชาชนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา รักษาศีลในช่วงเข้าพรรษา เมื่อออกพรรษาก็มีการทอดกฐิน มีการสร้างพระเจดีย์ พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทย ตอนท้ายเป็นการสรรเสริญพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงว่าทรงเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนชาวไทยให้รู้บุญรู้ธรรม เมืองสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีอาณาเขตกว้างขวาง

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2548.

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คำสำคัญ

Skip to content

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทย และตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นในปี พุทธศักราช 1826 นับต่อเนื่องมาถึงในปีปัจจุบัน พุทธศักราช 2546 รวมระยเวลา 720 ปี

ลักษณะของศิลาจารึก เป็นแท่นหินชนวนสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ออกกลมมนมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร ความหนา 35 เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน

ด้านที่ 1 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 3 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุด ขีดข่วนและร่องรอยถูกกระเทาะ

มรดกแห่งความทรงจำ (Memorial of the World Project)

คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 28-30 สิงหาคม (พ.ศ. 2546) ที่ผ่านมา ณ เมือง กแดนซค์ (Gdansk) ประเทศโปแลนด์ มีมติเห็นชอบให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลก ศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ภายใต้โครงการมรดกแห่งความทรงจำของโลก ทั้งนี้ถือว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นหลักฐานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย ที่มีความสำคัญกับนานาชาติซึ่งโครงการมรดกความทรงจำของโลกนี้เป็นโครงการเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกแห่งความทรงจำทีเป็นเอกสาร วัสดุหรือข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เช่น กระดาษ สื่อทัศนูปกรณ์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ด้วย โดยที่สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะต้องมีความสำคัญ มีการเก็บรักษาให้อยู่ในความทรงจำในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เมื่อองค์การยูเนสโก ได้ประกาศจดทะเบียนแล้ว ประเทศเจ้าของมรดก จะมีพันธกรณีทางปัญญาและทางศีลธรรม ที่จักต้องอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถเผยแพร่ให้ความรู้แก่มหาชน อนุชนคนรุ่นหลังทั่วโลกให้กว้างขวางเพื่อให้มรดกดังกล่าวอยู่ในความทรงจำของโลกตลอดไป

ในปีนี้ (พ.ศ. 2546) กระทรวงศึกษาธิการมีแผนงานที่จะร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา สื่อสารมวลชน กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดงานสมโภชในวาระครบ 720 ปี

ส่วนรูปแบบนั้นจะเน้นเรื่องการพิมพ์และการเผยแพร่ การจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ การจัดนิทรรศการ การประชุม สัมมนาทางวิชาการ และกิจกรรมสำคัญอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญของหลักศิลาจารึก ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ด้านการเมือง การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมทุกด้านของไทยที่สืบทอดจากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตระหนักถึงคุณค่า ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นเอกสารมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทย ภาคภูมิใจในประวัติ และเรื่องราวของสุโขทัย ภาคภูมิใจ ตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทย และความร่วมใจอนุรักษ์ภาษาไทย จึงได้จัดนิทรรศการ “720 ปีลายสือไทย” ขึ้น ณ บริเวณชั้น 1 อาคาร 1

และใคร่ขอเชิญชวนผู้สนใจ ชมนิทรรศการดังกล่าว หากท่านผู้ใดสนใจต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สำนักหอสมุดกลางมีหนังสือเกี่ยวกับสมัยสุโขทัยและหลักศิลาจารึกให้บริการที่ชั้น 2 และชั้น 4 อาคาร 1 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ประชาสัมพันธ์ สำนักหอสมุดกลาง โทร. 0-2310-8653 (ปี พ.ศ. 2560 เปลี่ยนเป็น โทร. 02-310-8661)

บรรณานุกรม

  • ประเสริฐ ณ นคร. ลายสือไทย. เอกสารประกอบโครงการสัมมนาเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องมุด ปีที่ 28 พุทธศักราช 2546 เรื่อง 720 ปีลายสือไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, 2546.
  • มรดกแห่งความทรงจำโลก มติ”ยูเนสโก” ยกย่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงฯ. มติชน 26, 9308 (3 ก.ย. 46)

บทความโดย วิภาภรณ์ หาญสุทธิวารินทร์
ข่าวรามคำแหง ปีที่ 33 ฉบับที่ 22 วันที่ 22-28 กันยายน 2546

ศิลาจารึกเป็นวรรณกรรมประเภทใด

ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลาย ...

ศิลาจารึกหลักที่หนึ่งเป็นวรรณคดีเพราะเหตุใด

ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีคุณค่าทางวรรณกรรมมาก โดยเฉพาะด้านภาษาศาสตร์ เพราะเป็นต้นกำเนิดของภาษาไทยในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของตัวอักษร วิธีการเขียน การใช้คำ และหลักภาษา นอกจากนี้ยังมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ความเชื่อ กฎหมาย การปกครอง ตลอดจนสภาพการณ์บ้านเมืองในอดีต และที่สำคัญ ศิลาจารึก หลัก ...

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นคำประพันธ์ประเภทใด

ถ้าสังเกตดูในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ ๑ จะมีลักษณะคำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองเพราะจะเห็นลักษณะซึ่งเกิดจากการใช้คำคล้องจองกัน เช่น "ในน้ำมาปลา ในนามีข้าว" "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" "ไพร่ฟ้าหน้าใส"

ศิลาจารึกหลักที่ 1 คืออะไร

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นการบรรยายเรื่องราวของกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคำแหง จารึกหลักนี้ นักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าข้อความในตอนต้นๆ ของศิลาจารึกเป็นสิ่งที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้จารึกขึ้น แต่ตอนท้ายๆ มาสร้างขึ้นในสมัยหลัง