เครื่องยนต์ดีเซลทำไมมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

เครื่องยนต์ดีเซลทำไมมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้มีน้ำมันสำหรับรถยนต์เกิดขึ้นมากมาย แต่น้ำมันหลักๆ ที่รถยนต์ส่วนใหญ่ใช้กันนั้นมี 2 ประเภท ก็คือ น้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน และน้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งน้ำมันที่ใช้นอกจากจะต้องเลือกให้ถูกกับเครื่องยนต์แล้ว ในเรื่องของราคาก็แตกต่างกันอีกด้วย โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่จะมีราคาสูงกว่าน้ำมันดีเซล แล้วในเรื่องความแตกต่างของเครื่องยนต์เบนซินกับเครื่องยนต์ดีเซลเป็นอย่างไร วันนี้เรามีมากฝาก

เครื่องยนต์ดีเซลทำไมมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

ความต่างของเครื่องยนต์เบนซินกับดีเซล

  1.  ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่ออกแบบต่างกัน – ต้องขอบอกก่อนว่าในเรื่องชิ้นส่วนเครื่องยนต์นั้น ดีเซล มีความแข็งแรง และเหมาะกับแรงดันมากกว่าเบนซิน ตั้งแต่กระบอกสูบ แบริ่ง ลูกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลง ฯลฯ เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลมีแรงดันรวมถึงอากาศร้อนที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิงเผาไหม้ในกระบอกสูบค่อนข้างมาก และเพื่อให้ชิ้นส่วนสามารถใช้งานได้ดี ยาวนาน จึงต้องออกแบบให้สามารถรองรับได้ในทุกสถานการณ์
  2. ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง – ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซลแม้ว่าจะจุดติดไฟได้ง่ายด้วยอุณหภูมิที่ไม่สูง แต่ก็ให้พลังงานสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน เนื่องจากมีอะตอมไฮโดรเจนมากกว่านั่นเอง ในทางวิทยาศาสตร์การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทำให้เกิดพลังงาน แต่การเกิดพลังงานจะมากน้อยเพียงใดต้องขึ้นอยู่กับปริมาณอะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ น้ำมันโซล่า ที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะมีราคาถูกกว่า น้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
  3. การจุดระเบิด และการส่งเชื้อเพลิง – เครื่องยนต์เบนซิน การจุดระเบิดและเผาไหม้จะมีตัวกระตุ้นนั่นคือหัวเทียน ที่เกิดประกายไฟจากการที่น้ำมันและอากาศผสมกันแล้วถูกดูดเข้ากระบอกสูบ เกิดการดูดอัดกันเป็นจังหวะนั่นเอง เครื่องยนต์ดีเซล ต้องบอกก่อนว่าเครื่องยนต์ดีเซลมีเพียงอากาศเท่านั้น การจุดระเบิดและเผาไหม้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเกิดการอัดอากาศเข้าไปภายในกระบอกสูบ จึงเกิดแรงดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ความร้อนและอากาศผสมกัน หรือกล่าวได้ว่าเครื่องยนต์ดีเซลใช้แรงดันจากปั๊ม จนฉีดน้ำมันออกมาเป็นแบบฝอย

คราวนี้ลองมาเปรียบเทียบข้อดีของเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลว่าโดดเด่นต่างกันมากน้อยแค่ไหน

เครื่องยนต์ดีเซล

            1. เครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพดีกว่า

2. เครื่องยนต์ดีเซลจะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า

            3. เครื่องยนต์ดีเซลจะทำงานได้สม่ำเสมอมากกว่า

            4. เครื่องยนต์ดีเซลจะจะมีอายุการใช้งานน้ำมันหล่อลื่นนานกว่า

            5. เครื่องยนต์ดีเซลจะมีเวลาการใช้งานก่อนบำรุงรักษานานกว่า

เครื่องยนต์เบนซิน

            1. เครื่องยนต์เบนซินจะมีราคาเครื่องที่ถูกกว่า

            2. เครื่องยนต์เบนซินมีอัตราการเร่งเครื่องได้เร็วกว่า

            3. เครื่องยนต์เบนซินมีจำนวนรอบสูงสุดต่อนาทีที่สูงกว่า

            4. เครื่องยนต์เบนซินมีน้ำหนักต่อกำลังม้าที่เบากว่า

5. เครื่องยนต์เบนซินเมื่อต้องสตาร์ทรถในที่เย็นเครื่องจะติดง่ายกว่า

Post navigation

เครื่องยนต์ดีเซล กับ เครื่องยนต์เบนซิน แตกต่างกันอย่างไร

ไขข้อสงสัยระหว่างขุมพลัง เครื่องยนต์ดีเซล กับ เครื่องยนต์เบนซิน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร มีจุดเด่นและข้อด้อยอะไรบ้าง ห้ามพลาด !

แม้ว่าค่ายรถยนต์ในปัจจุบันจะมีการพัฒนาและผลิตรถยนต์ขุมพลังทางเลือกใหม่ออกมามากมาย แต่เครื่องยนต์สันดาปภายในรูปแบบ เครื่องยนต์ดีเซล และ เครื่องยนต์เบนซิน ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหารถใหม่ หรือมีความสงสัยว่าเครื่องยนต์ทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน

เครื่องยนต์ดีเซล คืออะไร

และมีหลักการทำงานอย่างไร

เครื่องยนต์ดีเซลทำไมมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน ที่อาศัยการจุดระเบิดโดยหลักการอัดอากาศ และฉีดเชื้อเพลิงด้วยความดันสูงจนเชื้อเพลิงนั้นสามารถติดไฟได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหัวเทียนในการจุดระเบิด ซึ่งหลักการทำงานนั้นเมื่ออากาศถูกอัดตัวจะมีความร้อนที่สะสมสูงขึ้น  และเมื่อได้รับเชื้อเพลิงจากการฉีดจ่ายอย่างรวดเร็วและแรงจากหัวฉีดแรงดันสูง จึงเกิดการระเบิดภายในและเผาไหม้ภายในกระบอกสูบ ส่งเป็นกำลังหรือแรงผลักไปยัง ลูกสูบ ก้านสูบ เพลาข้อเหวี่ยง จนเป็นกลายพละกำลังในการขับเคลื่อนตัวรถ 

เครื่องยนต์เบนซิน คืออะไร

และมีหลักการทำงานอย่างไร

เครื่องยนต์ดีเซลทำไมมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

 เครื่องยนต์เบนซิน หรือที่เรียกกันว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และที่เรียกแบบนี้ก็เป็นเพราะการใช้เชื้อเพลิง น้ำมันเบนซิน , โซฮอล, แก๊ส หรือแม้แต่เอทานอล เป็นส่วนผสมในกระบวนการจุดระเบิด ร่วมกับอากาศ และไฟจุดระเบิด โดยมีหัวเทียนเป็นตัวจุดประกายไฟ และมีหัวฉีดเป็นตัวจ่ายเชื้อเพลิง โดยการทำงานจะเป็นแบบ 4 จังหวะ คือ จังหวะ ดูด อัด ระเบิด และคาย จัวหวะทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในกระบอก จึงเรียกว่าสันดาปภายใน เครื่องยนต์เบนซินนี้จะทำงานแบบวนไปเรียกว่า กลวัตร (Cycle) พลังงานภายในที่ได้จะถูกส่งต่อไปยังชิ้นส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่ลูกสูบ ก้านสูบ ต่อไปจนถึงเพลาข้อเหวี่ยง จนทำให้เกิดกำลังในการขับเคลื่อน

เครื่องยนต์ดีเซล vs เบนซิน ต่างกันอย่างไร

เครื่องยนต์ดีเซลทำไมมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

  • ชื่อเรียกที่ต่างกัน อันดับแรกที่เห็นได้ชัดคือชื่อเรียกที่ต่างกัน เริ่มจากเครื่องยนต์ดีเซล นั้นใช้เชื้อเพลิง ดีเซล หรือที่หลายคนเรียกว่า โซล่า ส่วนเครื่องยนต์เบนซิน หรือเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ใช้เชื้อเพลิง น้ำมันเบนซิน, โซฮอล, แก๊ส หรือแม้แต่เอทานอล 
  • รูปแบบการทำงานของเครื่องยนต์ แม้จะเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ต้อง ดูด อัด ระเบิด คาย เหมือนกัน แต่การจุดระเบิดต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเครื่องเบนซินใช้กระแสไฟจากหัวเทียนในการช่วยจุดระเบิด แต่เครื่องดีเซลใช่แรงอัดภายในจนเกิดความร้อนสูงในการจุดระเบิด
  • พละกำลังงานที่ได้ ในส่วนพละกำลังหรือพลังงานที่ได้จากเครื่องยนต์สองประเภทนั้นต่างกัน เครื่องเบนซินจะได้เรื่องของความเร็วเพราะการจุดระเบิดที่รวดเร็วกว่า ส่วนเครื่องดีเซลจะได้กำลังในการฉุดลากมากกว่าเพราะมีกำลังแรงอัดในระบบที่สูงกว่ามาก 
  • ความแข็งแรงทนทานของชิ้นส่วน เครื่องเบนซินไม่ได้สร้างมาเพื่อใช้ฉุดลาก ชิ้นส่วนภายในจึงไม่ต้องรับภาระหนักจึงเลือกใช้วัสดุที่เบากว่าบางกว่าได้ ต่างกันเครื่องยนต์ดีเซล ที่ต้องการกำลังในการลากจูงสูง จำเป็นต้องมีชิ้นส่วนที่ต้องทนกับสภาพวะการใช้งานหนักทำให้ต้องใช้วัสดุที่แข็งกว่า ซึ่งก็นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไม่เครื่องดีเซลมีน้ำหนักมากกว่าเครื่องเบนซิน และทนทานกว่า
  • ค่าใช้จ่าย จากรูปแบบการทำงาน รวมถึงชิ้นส่วนประกอบ ทำให้เครื่องยนต์ทั้งสองประเภทนี้มีค่าใช้จ่ายที่ต่างกันไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอะไหล่ ค่าบำรุงรักษา

จุดเด่นของเครื่องยนต์ดีเซล

  • เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพทางความร้อนที่สูงกว่า จึงทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อย และประหยัดน้ำมันมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

  • เครื่องยนต์ดีเซลมีความทนทาน เพราะต้องใช้ชิ้นส่วนที่แข็งแรงเพื่อรองรับกำลังอัดสูงภายในกระบอกสูบ

  • พละกำลังแรงบิดที่รอบต่ำของเครื่องยนต์ดีเซล มีมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน รองรับการทำงานที่ยืดหยุ่น อาทิสามารถลากรอบได้มากกว่า เพื่อสร้างพละกำลังให้มากขึ้น 

  • น้ำมันเชื้อเพลิงที่จะมีราคาถูกกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

ข้อด้อยของเครื่องยนต์ดีเซล

  • มีแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์มาก เพราะจะมีการจุดระเบิดที่รุนแรง รวมถึงมีเสียงที่ออกมาจากห้องเครื่องยนต์ที่จะดังกว่าเครื่องเบนซิน

  • ตัวเครื่องมีน้ำหนักมาก เพราะชิ้นส่วนของขุมพลังดีเซลต้องใช้วัสดุที่แข็งแรง และทนทานกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

  • เครื่องยนต์ดีเซลต้องมีระบบจ่ายเชื้อเพลิงที่แม่นยำ ชิ้นส่วนภายในต้องปรับให้ทนทานตามไปด้วย ทั้งระบบจ่ายเชื้อเพลิง ระบบอัดอากาศ รวมถึงกลไกการทำงานของวาล์ว ฯ ส่งผลทำให้ราคาเครื่องยนต์ดีเซลสูง การบำรุงรักษาก็จะสูงตาม

  • เครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะการปล่อยค่าฝุ่น PM2.5 มากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน 

จุดเด่นของเครื่องยนต์เบนซิน

  • เครื่องยนต์จะความเงียบกว่าเพราะมีกำลังอัดที่น้อยกว่าเครื่องยนต์ดีเซล

  • น้ำหนักเครื่องยนต์ที่เบา เพราะการออกแบบ ใช้วัสดุที่ไม่ต้องหนักและหนา เพื่อมารองรับแรงอัดที่สูงภายในเครื่องยนต์

  • จะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ เพราะการใช้น้ำมันเบนซินจำเป็นต้องมีหัวเทียนในการจุดระเบิด จึงเผาไหม้ได้หมดจด

  • เครื่องยนต์รีดพละกำลังแรงม้าออกมาได้มาก เพราะสามารถลากรอบเครื่องได้สูงได้ถึง 8,000 – 11,000 รอบต่อนาที

ข้อด้อยของเครื่องยนต์เบนซิน

  • เครื่องยนต์เบนซินนั้นจะมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันนั้นมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล เมื่อเทียบความจุของเครื่องยนต์ที่อยู่ในระดับเท่ากัน

  • ความทนทานของระบบภายในเครื่องยนต์จะน้อยกว่าของทางดีเซล เพราะมีชิ้นส่วนภายในที่มีขนาดเล็กและซับซ้อน

  • แรงบิดที่รอบต่ำของเครื่องยนต์น้อยกว่า ทำให้เครื่องยนต์เบนซินจะมีความสามารถในการฉุดลากจูงที่ต่ำ เพราะกำลังของเครื่องจะมาเต็มที่ ต้องรอรอบเครื่องยนต์ที่ค่อนข้างสูง ทำให้ไม่ค่อยมีพละกำลังในการใช้งานเพื่อบรรทุก 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อแตกต่าง จุดเด่น และข้อด้อยของขุมพลังทั้งสองประเภท สุดท้ายแล้วถ้าจะให้แนะนำแบบตรง ๆ ว่าต้องเลือกรถแบบเครื่องยนต์ดีเซลหรือเครื่องยนต์เบนซินนั้น คงจะฟันธงได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับว่าจะนำรถไปใช้งานแบบไหนมากกว่า ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งนั่ง ก็มีเครื่องยนต์ดีเซลทรงประสิทธิภาพเป็นตัวท็อปให้เลือก เช่นเดียวกันกับรถกระบะทรงสมรรถนะก็มีเครื่องยนต์เบนซินมาให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเช่นกัน