ผีนางนากพระโขนงที่สองคือใคร

ผีนางนากพระโขนงที่สองคือใคร

Focus

  • 30 กรกฎาคม 2542 วันแรกของการเปิดฉาย นางนาก  ภาพยนตร์ไทยทำรายได้ทะลุ 150 ล้านเรื่องแรก ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร  นำแสดงโดย ทราย เจริญปุระ ในบท นางนาก และ  วินัย ไกรบุตร ในบท พ่อมาก
  • นางนาก เป็นภาพยนตร์ไทยดัดแปลงที่บ้างก็มาจากตำนาน จากนิทานโบราณ ที่ถูกเล่าขานต่อกันมา สันนิษฐานว่าจะเล่าต่อๆ กันมาตั้งสมัยรัชกาลที่ 4
  • เนื้อเรื่องเล่าเรื่องราวความผูกพันของแม่นาก สาวชาวบ้านแห่งทุ่งพระโขนง กับพ่อมาก ชายสยามที่ได้เวลาไปเป็นทหารรับใช้ชาติ แต่ความรับกลับไม่สมหวังเมื่อแม่นากก็เสียชีวิตระหว่างการคลอดบุตร กลายเป็นผีตายท้องกลม และเฝ้ารอการกลับมาของพ่อมาก

นางนาก หรือ แม่นาก พระโขนง คือหนึ่งในตำนานเรื่องผีไทยที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ยังคงมีมนต์ขลัง ทั้งในฐานะตำนาน ความสยองขวัญอย่างครบสูตร นิยาย บทเพลง ละคร หรือแม้แต่การหยิบจับมาทำภาพยนตร์ และภาพยนตร์นางนากที่โด่งดังเป็นประวัติการณ์ต้องยกให้ นางนากฉบับ ทราย เจริญปุระ กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร มี วินัย ไกรบุตร รับบท พ่อมาก เปิดฉายในโรงภาพยนตร์สำหรับผู้ชมทั่วไปในวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 พร้อมสร้างปรากฏการณ์เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำรายได้จากการขายบัตรชมภาพยนตร์ วัดเฉพาะรายได้ในโรงภาพยนตร์ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทะลุ 150 ล้านบาท ในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน

ผีนางนากพระโขนงที่สองคือใคร

นางนาก เป็นภาพยนตร์ไทยดัดแปลงจากนิทานโบราณ บ้างก็ว่ามาจากตำนาน บ้างก็ว่าเป็นเรื่องเล่า ที่ถูกเล่าขานต่อๆ กันมาซึ่งสันนิษฐานว่าเล่ากันในหมู่ชาวบ้านตั้งสมัยรัชกาลที่ 4  โดยเนื้อเรื่องในแต่ละยุคสมัยมีจุดที่เหมือนกันคือ ความผูกพันระหว่าง นางนาก สาวชาวบ้านแห่งท้องทุ่งพระโขนง กับ พ่อมาก ชายสยามที่ต้องไปเป็นทหารรับใช้ชาติ และต้องปล่อยให้นากเมียรักที่กำลังตั้งท้องต้องอยู่เรือนเพียงลำพัง

โศกนาฏกรรมความรักเริ่มต้นระหว่างที่พ่อมากกำลังออกรบ แม่นากก็ได้มาตายจากระหว่างการคลอดลูก กลายเป็น ผีตายท้องกลม ที่ยังคงวนเวียนมาเฝ้ารอพ่อมากที่ริมท่าน้ำในทุกพลบค่ำ ชาวท้องทุ่งพระโขนงต่างเล่าลือของความดุ ความเฮี้ยนของนางนาก ต่อเมื่อพ่อมากกลับมา เขาได้ใช้ชีวิตอยู่กับแม่นากและลูกน้อยอยู่นานโดยไม่รู้ว่าตนอยู่ร่วมเรือนเดียวกับผี

เรื่องราวของแม่นากโยงไปถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 5 และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ตั้งแต่ในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 และในตำนานก็กล่าวถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ว่าเป็นผู้ที่เข้ามาโปรดและปราบนางนาก รวมทั้งเป็นผู้เจาะกระโหลกหน้าผากของนางนากเพื่อเปิดทางให้วิญญาณได้เดินทางไปสู่ภพภูมิใหม่ (กระโหลกนางนากชิ้นนั้นยังคงเป็นปริศนาว่ามีจริงหรือไม่)

ผีนางนากพระโขนงที่สองคือใคร

ภาพยนตร์นางนาก ฉบับปี 2542   ได้สร้างปรากฏการณ์ทั้งภาพยนตร์ทำเงิน และภาพยนตร์ไทยเกี่ยวกับเรื่องผี ที่ไม่ได้เล่นกับความน่ากลัวเพียงเท่านั้น แต่หนังชีวิตที่สะท้อนการมีอยู่ของตัวตนปัจเจก ปัจจัยในสังคม และบทบาทของพุทธศาสนาแบบไทยๆ อีกความโดดเด่นของงานสร้างภาพยนตร์มีเกร็ดประวัติศาสตร์และบริบทแทรกอยู่ในทุกองค์ประกอบศิลป์ โดยไม่ลืมอรรถรสของหนังชีวิตไทยๆ ในยุคที่สังคมกำลังโหยหาอัตลักษณ์และหันกลับมาสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย สู้วิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ที่เพิ่งเกิดขึ้นหมาดๆในช่วง 2 ปีก่อนนางนากเข้าฉาย

เรื่องราวของ นางนากแห่งท้องทุ่งพระโขนง ยังถูกสร้างต่อเนื่องทั้งในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ไทย และละครเวที  ต่อจากเรื่อง นางนาก ก็มีเรื่อง แม่นาคพระโขนง ออกมาเป็นภาพยนตร์อีกหลายเวอร์ชั่นรวมทั้งละครเวที แถมเรื่องของนางนากยังถูกสร้างในฉบับเปลี่ยนแกนของเรื่องจากแม่นากไปเป็น “พ่อมาก” ในภาพยนตร์เรื่อง  “พี่มาก…พระโขนง”  ออกฉาย พ.ศ. 2556 กำกับโดย บรรจง ปิสัญธนะกุล และทุบสถิติภาพยนตร์ไทยอีกครั้ง ด้วยรายได้เฉพาะช่วงเข้าฉายโรงภาพยนตร์ทะลุ  1 พันล้านบาท เป็นเรื่องแรกและเรื่องเดียวของไทย ประชา สุวีรานนท์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ เคยให้เหตุผลถึงความคลาสสิกของนางนากไว้ว่า

“แม่นากคือผีที่ทุกคนรัก แม่นากคือผีที่ทุกคนกลัว”

ต้นเรื่อง : นิตยสารคดี พฤศจิกายน 2542

ผีนางนากพระโขนงที่สองคือใคร


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่นากพระโขนง

กลุ่มสิ่งมีชีวิตในตำนาน
เทพารักษ์
เทพปกรณัมผีไทย
ชื่ออื่นแม่นาก, นางนาก
ประเทศประเทศไทย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถิ่นที่อยู่เขตพระโขนง​, กรุงเทพมหานคร

ผีนางนากพระโขนงที่สองคือใคร

แม่นากพระโขนง หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แม่นาก (โดยมากสะกดด้วย ค.ควาย[1]) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า นางนาก เป็นผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักของไทย มีลักษณะผมยาว ห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน ลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือนางจะยืนอุ้มลูกอยู่ที่ท่าน้ำ

เชื่อกันว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีศาลแม่นาคตั้งอยู่ที่วัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

มีสามีภรรยาหนุ่มสาวคู่หนึ่ง อาศัยอยู่ด้วยกันที่ย่านพระโขนง สามีชื่อนายมาก ส่วนภรรยาชื่อนางนาก ทั้งสองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันจนนางนากตั้งครรภ์อ่อน ๆ นายมากก็มีหมายเรียกให้ไปเป็นทหารประจำการที่บางกอก นางนากจึงต้องอยู่ตามลำพัง

เวลาผ่านไป ท้องของนางนากก็ยิ่งโตขึ้นเรื่อย ๆ จนครบกำหนดคลอด หมอตำแยก็มาทำคลอดให้ ทว่าลูกของนางนากไม่ยอมกลับหัว จึงไม่สามารถคลอดออกมาตามธรรมชาติ ยังผลให้นางนากเจ็บปวดเป็นยิ่งนัก และในที่สุดนางนากก็ทานความเจ็บปวดไว้ไม่ไหว สิ้นใจไปพร้อมกับลูกในท้อง กลายเป็นผีตายทั้งกลม

หลังจากนั้น ศพของนางนากได้ถูกนำไปฝังไว้ยังป่าช้าท้ายวัดมหาบุศย์ ส่วนนายมากเมื่อปลดประจำการก็กลับจากบางกอกมายังพระโขนงโดยที่ยังไม่ทราบความว่าเมียของตัวได้หาชีวิตไม่แล้ว นายมากกลับมาถึงในเวลาเข้าไต้เข้าไฟพอดี จึงไม่ได้พบชาวบ้านเลย เนื่องจากบริเวณบ้านของนางนาก หลังจากที่นางนากตายไปก็ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้เพราะกลัวผีนางนากซึ่งต่างก็เชื่อกันว่าวิญญาณของผีตายทั้งกลมนั้นเฮี้ยน และมีความดุร้ายเป็นยิ่งนัก

ครั้นเมื่อนายมากกลับมาอยู่ที่บ้าน ผีนางนากก็คอยพยายามรั้งนายมากให้อยู่ที่บ้านตลอดเวลา ไม่ให้ออกไปพบใคร เพราะเกรงว่านายมากจะรู้ความจริงจากชาวบ้าน นายมากก็เชื่อเมีย เพราะรักเมีย ไม่ว่าใครที่มาพบเจอนายมากจะบอกนายมากอย่างไร นายมากก็ไม่เชื่อว่าเมียตัวเองตายไปแล้ว จนวันหนึ่งขณะที่นางนากตำน้ำพริกอยู่บนบ้าน นางนากทำมะนาวตกลงไปใต้ถุนบ้าน ด้วยความรีบร้อน นางจึงเอื้อมมือยาวลงมาจากร่องบนพื้นเรือนเพื่อเก็บมะนาวที่อยู่ใต้ถุนบ้าน นายมากขณะนั้น บังเอิญผ่านมาเห็นพอดี จึงปักใจเชื่ออย่างเต็มร้อย ว่าเมียตัวเองเป็นผีตามที่ชาวบ้านว่ากัน

นายมากวางแผนหลบหนีผีนางนาก โดยการแอบเจาะตุ่มใส่น้ำให้รั่วแล้วเอาดินอุดไว้ ตกกลางคืนทำทีเป็นไปปลดทุกข์เบา แล้วแกะดินที่อุดตุ่มไว้ให้น้ำไหลออกเหมือนคนปลดทุกข์เบา จากนั้นจึงแอบหนีไป นางนากเมื่อเห็นผิดสังเกตจึงออกมาดู ทำให้รู้ว่าตัวเองโดนหลอก จึงตามนายมากไปทันที นายมากเมื่อเห็นผีนางนากตามมาจึงหนีเข้าไปหลบอยู่ในดงหนาด นางนากไม่สามารถทำอะไรได้เพราะผีกลัวใบหนาด นายมากหนีไปพึ่งพระที่วัด นางนากไม่ลดละพยายาม ด้วยความที่เจ็บใจชาวบ้านที่คอยยุแยงตะแคงรั่วผัวตัวเองอีกประการหนึ่ง ทำให้นางนากออกอาละวาดหลอกหลอนชาวบ้านจนหวาดกลัวกันไปทั้งบาง ซึ่งความเฮี้ยนของนางนาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ถูกฝังไว้ระหว่างต้นตะเคียนคู่นั่นเอง ในที่สุด นางนากก็ถูกหมอผีฝีมือดีจับใส่หม้อถ่วงน้ำ จึงสงบไปได้พักใหญ่

จนกระทั่งตายายคู่หนึ่งที่ไม่รู้เรื่องเพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ เก็บหม้อที่ถ่วงนางนากได้ขณะทอดแหจับปลา นางนากจึงถูกปลดปล่อยออกมาอีกครั้ง แต่สุดท้ายก็ถูกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สยบลงได้ กะโหลกศีรษะส่วนหน้าผากของนางนากถูกเคาะออกมาทำหัวปั้นเหน่ง เพื่อเป็นการสะกดวิญญาณ และนำนางนากสู่สุคติ หลังจากนั้น ปั้นเหน่งชิ้นนั้นก็ตกทอดไปยังเจ้าของอื่น ๆ อีกหลายมือ ตำนานรักของนางนาก นับเป็นตำนานรักอีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจผู้ฟังอย่างไม่รู้จบ กับความรักที่มั่นคงของนางนากที่มีต่อสามี ที่แม้แต่ความตายก็มิอาจพรากหัวใจรักของนางไปได้[2]

ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์[แก้]

เอนก นาวิกมูลผู้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ไทยได้ค้นคว้าเอกสารร่วมสมัยเกี่ยวกับเรื่องแม่นากพระโขนงนี้ พบว่า จากหนังสือพิมพ์สยามประเภทฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ น่าจะมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ของ อำแดงนาก ลูกสาวกำนันตำบลพระโขนงชื่อ ขุนศรี ที่ตายลงขณะยังตั้งท้อง และทางฝ่ายลูก ๆ ของอำแดงนากก็เกรงว่าบิดาของตน (สามีแม่นาก) จะไปแต่งงานมีภรรยาใหม่ และต้องถูกแบ่งทรัพย์สิน จึงรวมตัวกันแสร้งทำเป็นผีหลอกผู้คนที่ผ่านไปมาด้วยการขว้างหินใส่เรือผู้ที่สัญจรไปมาในเวลากลางคืนบ้าง หรือทำวิธีต่าง ๆ นานา เพื่อให้คนเชื่อว่าผีของมารดาตนเองเฮี้ยน และพบว่าสามีของอำแดงนากไม่ใช่ชื่อมาก แต่มีชื่อว่านายชุ่มทศกัณฐ์ (เพราะเป็นนักแสดงในบททศกัณฐ์[1]) และพบว่าคำว่าแม่นาก เขียนด้วยตัวสะกด ก ไก่ (ไม่ใช่ ค ควาย)[1] แต่การที่สามีแม่นากได้ชื่อเป็น มาก เกิดขึ้นครั้งแรกจากบทประพันธ์เรื่อง "อีนากพระโขนง" ซึ่งเป็นบทละครร้อง ในปี พ.ศ. 2454 โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์[1] และกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เคยทรงครอบครองกระดูกหน้าผากของแม่นากนี้ด้วยเช่นกัน โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำมาถวาย[3]

ความเชื่อของคนไทย[แก้]

เรื่องราวของแม่นากพระโขนงปรากฏอยู่ทั่วไปตามความเชื่อของคนไทยร่วมสมัยและตราบจนปัจจุบัน เช่น เชื่อว่าชื่อสี่แยกมหานาค ที่เขตดุสิตในปัจจุบัน มาจากการที่แม่นากอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย[2] หรือ เชื่อว่าพระรูปที่มาปราบแม่นากได้นั้นคือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นต้น อีกทั้งยังเชื่อว่าท่านเป็นคนเจาะกะโหลกที่หน้าผากของแม่นากทำเป็นปั้นเหน่ง เพื่อสะกดวิญญาณแม่นาก และได้สร้างห้องเพื่อเก็บปั้นเหน่งชิ้นนี้ไว้ต่างหาก หรือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ยังได้เขียนบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านเคยเห็นเรือนของแม่นากด้วย เป็นเรือนลักษณะเหมือนเรือนไทยภาคกลางทั่วไปอยู่ติดริมคลองพระโขนง มีเสาเรือนสูง มีห้องครัวอยู่ด้านหลัง ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว [2] และยังเคยขึ้นไปบนศาลาการเปรียญของวัดมหาบุศย์ด้วย ในขณะนั้นศาลาการเปรียญหลังใหม่ บนฝ้าเพดานมีรอยเท้าเปื้อนโคลนคล้ายรอยเท้าคนเหยียบย่ำไปมาหลายรอย สมภารบอกว่าเป็นรอยเท้าของแม่นาก[4]

ถึงอย่างไรก็ตาม ความเชื่อเรื่องแม่นากพระโขนงยังคงปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ณ วัดมหาบุศย์ ภายในซอยสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช) เขตสวนหลวงในปัจจุบัน มีศาลแม่นากตั้งอยู่ ซึ่งเป็นที่สักการบูชาอย่างมากของบุคคลในและนอกพื้นที่ โดยบุคคลเหล่านี้จะเรียกแม่นากด้วยความเคารพว่า "ย่านาก" บ้างก็เชื่อว่าร่างของแม่นากถูกฝังอยู่ระหว่างต้นตะเคียนคู่ภายในศาล[5] โดยมีผู้มาบนบานขอในสิ่งที่ตนต้องการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องความรัก [5]

พีท ทองเจือนักแสดงชาวไทย อ้างตัวว่าสืบเชื้อสายจากแม่นาก[6] และมีความเชื่อว่าในปัจจุบันปั้นเหน่งที่ทำจากหน้าผากกะโหลกแม่นากถูกครอบครองโดยนักสะสมพระเครื่องผู้หนึ่ง[7]

การแสดงและบทประพันธ์[แก้]

เรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้กลายเป็นบทประพันธ์ในรูปแบบการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นบทละครร้องในปี พ.ศ. 2454 ในชื่อ "อีนากพระโขนง" โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แสดงที่โรงละครปรีดาลัย (โรงเรียนตะละภัฏศึกษาในปัจจุบัน) ได้รับความนิยมอย่างมากจนต้องเปิดการแสดงติดต่อกันถึง 24 คืน[8]

ในทางบันเทิง เรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ และภาพยนตร์หลายครั้ง โดยเรื่องราวของแม่นากพระโขนงได้นำมาสร้างภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2470 โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ แต่พอสร้างแล้วฉายจนฟิล์มเปื่อย ฟิล์มก็หล่นหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย[9] อีกทั้งยังสร้างเป็นละครหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนก็เคยมาแล้ว เช่น ละครเวทีโอเปร่าอำนวยการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล ในปี พ.ศ. 2545[10]

แม่นากพระโขนงในสื่อต่าง ๆ[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ผีนางนากพระโขนงที่สองคือใคร

  • นางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2479 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ, กำกับโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์​[1])
  • ลูกนางนาค/ลูกนางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2493 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ)
  • นางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2495 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ)
  • นางนาคพระโขนง - พ.ศ. 2498 (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ)
  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2502 นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง
  • แม่นาคคืนชีพ - พ.ศ. 2503 นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์, วิไลวรรณ วัฒนพาณิช
  • วิญญาณรักแม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2505 นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง
  • แม่นาคคนองรัก - พ.ศ. 2511 นำแสดงโดย ปรียา รุ่งเรือง, ชุมพร เทพพิทักษ์, ฤทธี นฤบาล
  • แม่นาคพระนคร- พ.ศ. 2513 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, อรัญญา นามวงศ์
  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ, สุภัค ลิขิตกุล
  • แม่นาคอาละวาด - พ.ศ. 2516 นำแสดงโดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ, สุภัค ลิขิตกุล
  • แม่นาคอเมริกา - พ.ศ. 2518 นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์
  • แม่นาคบุกโตเกียว - พ.ศ. 2519 นำแสดงโดย อุเทน บุญยงค์, ภาวนา ชนะจิต, อรสา พรหมประทาน
  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2521 นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, ปรียา รุ่งเรือง, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
  • นางนาค ภาคพิสดาร - พ.ศ. 2528 นำแสดงโดย โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา พัวพิมล
  • แม่นาค 30 - พ.ศ. 2530 นำแสดงโดย โน้ต เชิญยิ้ม, สีดา สุทธิรักษ์, ยอด นครนายก, ท้วม ทรนง, เด๋อ ดอกสะเดา, เหี่ยวฟ้า
  • แม่นาคคืนชีพ - พ.ศ. 2533 นำแสดงโดย ลิขิต เอกมงคล, ชุดาภา จันทร์เขตต์
  • แม่นาคเจอผีปอบ- พ.ศ. 2535 นำแสดงโดย ตรีรัก รักการดี, ณัฐนี สิทธิสมาน
  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2537 นำแสดงโดย ดาริน กรสกุล, รอน บรรจงสร้าง
  • นางนาก - พ.ศ. 2542 นำแสดงโดย ทราย เจริญปุระ, วินัย ไกรบุตร
  • นาค (ภาพยนตร์แอนิเมชัน) - พ.ศ. 2551 ให้เสียงโดย ศศิกานต์ อภิชาตวรศิลป์, หม่ำ จ๊กมก, นุ้ย เชิญยิ้ม
  • แม่นาค 3D (ภาพยนตร์ 3 มิติ) - พ.ศ. 2555 นำแสดงโดย บงกช คงมาลัย, รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง
  • พี่มาก..พระโขนง - พ.ศ. 2556 นำแสดงโดย ดาวิกา โฮร์เน่, มาริโอ้ เมาเร่อ
  • ม.6/5 ปากหมาท้าแม่นาค - พ.ศ. 2557 นำแสดงโดย วนิดา เติมธนาภรณ์
  • แดง พระโขนง - พ.ศ. 2565 นำแสดงโดย เมลิค เอเฟ่ย์ ไอกูน ,หม่ำ จ๊กมก และสุเทพ สีใส

ละครโทรทัศน์[แก้]

  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2522 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย ปริศนา วงศ์ศิริ, ชานนท์ มณีฉาย
  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2532 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย ตรีรัก รักการดี, เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต
  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2537 ออกอากาศทาง ช่อง 5 นำแสดงโดย ลีลาวดี วัชโรบล, วรุฒ วรธรรม
  • แม่นาคพระนคร - พ.ศ. 2539 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ, นุติ เขมะโยธิน
  • แม่นาค - พ.ศ. 2542 ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย พัชราภา ไชยเชื้อ, พีท ทองเจือ
  • แม่นากพระโขนง - พ.ศ. 2543 ออกอากาศทาง ช่อง 3 นำแสดงโดย กุลณัฐ ปรียะวัฒน์, ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
  • แม่นาคพระโขนง รักนี้นิรันดร - พ.ศ. 2556 ออกอากาศทาง ช่อง 9 และออกอากาศซ้ำในปี 2558 ทาง ไบรท์ทีวี นำแสดงโดย อมราพร พร้อมลาภ, กวี วงศ์จันทรา
  • แม่นาก - พ.ศ. 2559 ออกอากาศทางช่อง ช่อง 8 นำแสดงโดย สุธีวัน ทวีสิน, มาร์ติน มิดาล
  • แม่นาคพระโขนง - พ.ศ. 2564 ออกอากาศทาง ช่อง 9 นำแสดงโดย อุษามณี ไวทยานนท์, ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต

ละครวิทยุ[แก้]

  • นางนาคพระโขนง - โดย หม่อมหลวงเปลื้อง อิศรางกูร ณ อยุธยาและคุณครูละม่อม อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะเกศทิพย์ (จำนวน 20 ตอน)
  • วิญญาณรักของแม่นาค - โดย คณะแก้วฟ้า
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะกันตนา
  • นางนาก - โดย คณะ ๒๑๓ การละคร
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะรังสิมันต์
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะเสนีย์ บุษปะเกศ
  • แม่นาค - โดย คณะมิตรมงคล
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะผาสุกวัฒนารมย์
  • แม่นาคพระโขนง - โดย คณะนีลิกานนท์

ละครเวที[แก้]

  • อีนากพระโขนง - ละครร้องของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จัดแสดงเมื่อปี พ.ศ. 2455 ที่โรงละครปรีดาลัย
  • แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล - จัดแสดงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม -26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ นำแสดงโดย นัท มีเรีย, อาณัตพล ศิริชุมแสง
  • นางนาก เดอะมิวเซียม - จัดแสดงเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่มะขามป้อม สตูดิโอ
  • แม่นาค เดอะมิวสิคัล - จัดแสดงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ เอ็มเธียเตอร์ นำแสดงโดย ธีรนัยน์ ณ หนองคาย, วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์

หนังสือ[แก้]

  • สยามประเภท - พ.ศ. 2442 โดย ก.ศ.ร. กุหลาบ
  • นากพระโขนงที่สอง - พ.ศ. 2467 โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (หนึ่งในตอนของนิทานทองอิน)
  • ดาม นางนากฉบับบางกอกการเมือง - พ.ศ. 2470 โดย ขุนชาญคดี
  • กลอนแปดแม่นาคพระโขนง - หนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ ปี พ.ศ. 2475 โดย ประภาศรี
  • ผีอีนากพระโขนง - นิยาย ปี พ.ศ. 2481
  • นางนาคพระโขนง - นิยายตลกชุด สามเกลอ ปี พ.ศ. 2495 โดย ป. อินทรปาลิต
  • แม่นากพระโขนง - นิยายภาพ พ.ศ. 2503 โดย ประพัฒน์ ตรีณรงค์
  • นิยายเรื่องแม่นาคพระโขนง - (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์)
  • การ์ตูน แม่นาคพระโขนง - (ไม่มีข้อมูลผู้แต่งและปีพิมพ์)
  • เปิดตำนานแม่นากพระโขนง - พ.ศ. 2543 โดย เอนก นาวิกมูล

ดูเพิ่ม[แก้]

  • แม่นาค (ละครโทรทัศน์)

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 คนยาก, ลูกทุ่ง (2011-04-21). "บางอ้อ ปั้นเหน่งแม่นาค 01 (มีทั้งสิ้น 11 ตอน)". บางอ้อ.
  2. ↑ 2.0 2.1 2.2 ทองเล็ก, พลเอก นิพัทธ์ (2017-02-13). "ภาพเก่าเล่าตำนาน : แม้ความตายมิอาจพราก แม่นาคพระโขนง". มติชน.
  3. เจนจบ ยิ่งสุมล. (ตุลาคม 2553). ๑๓๐ ปี ไม่มีวันตาย พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์. สำนักพิมพ์ DK พับลิชิ่ง. ISBN 978-616-7327-07-5. หน้า 45
  4. ประลองเชิง, กิเลน (2010-10-04). "ปลุกผีแม่นาค". ไทยรัฐ.
  5. ↑ 5.0 5.1 "เด็ดข่าวแปลก - ตำนานรักแม่นาคพระโขนง". ช่อง 7. 2015-02-15.
  6. "'พีท'นับสาแหรก เชื่อทายาทแม่นาค". สนุกดอตคอม.
  7. "เทพ กำแพง กับ...ความเฮี้ยนของปั้นเหน่งแม่นาค". คมชัดลึก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  8. "ตำนาน "ปรีดาลัย"". นิตยสารผู้จัดการ.
  9. "ตอน เปิดตำนานแม่นากพระโขนง". คุณพระช่วย. 2011-02-12.
  10. "ย้อนรอยหนัง-ละคร'แม่นาค'จากตำนานถึงปัจจุบัน". คมชัดลึก. 2013-03-27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "เที่ยววัด "แม่นาค" รำลึกตำนานรักอมตะ". ผู้จัดการออนไลน์.
  • "สวัสดีน๊านนาน... "แม่นาคพระโขนง"!!!". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2007-04-16.
  • "สวัสดีน้านนาน ... แม่นาคพระโขนง ตอน (จบ) 3 4 แอ็คชัน!". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2007-04-16.
  • ถามพี่ ๆ นอกเรื่องนิดหนึ่งครับ เก็บถาวร 2009-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • "แม่นาคพระโขนง ภาคไหนที่ดูแล้วขนลุกที่สุดครับ". ไทยฟิล์ม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-31. สืบค้นเมื่อ 2008-05-03.
  • "Mae Nak films" (PDF). matthewhunt.
  • ฟังเพลง สัญญาใจ เพลงประกอบละครโทรทัศน์แม่นาคพระโขนงฉบับ พ.ศ. 2532
  • แผนที่วัดมหาบุตร จากกูเกิ้ลแมป