วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ได้แก่บริเวณใด

   วงแหวนไฟ (Ring of Fire) คือ แนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง ซึ่งกินบริเวณตามขอบมหาสมุทรแปซิฟิคมาจนถึงแถวหมู่เกาะสุมาตรา มีการเรียกชื่อนี้มาก่อนที่นักธรณีวิทยาจะเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก โดยอธิบายด้วยทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

   นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายสาเหตุการเกิดของแผ่นดินไหว ซึ่งทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีว่าด้วยทวีปเลื่อน (Theory of Continental Drift) ของอัลเฟรด โลทาร์ เวเกเนอร์ (Alfred Lothar Wegener พ.ศ. 2423 – 2473 นักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน) ซึ่งเสนอไว้เมื่อ พ.ศ.2455 ต่อมาแฮร์รี แฮมมอนด์ เฮสส์ (Harry Hammond Hess พ.ศ. 2449 – 2512 นักธรณีวิทยา ชาวอเมริกัน) ได้เสนอแนวคิด ที่พัฒนาใหม่นี้ในทศวรรษ 2500 ในชื่อ ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (Plate Tectonics Theory) ซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน และทฤษฎีนี้ยังสามารถใช้อธิบายได้ว่าทำไมลักษณะทางกายภาพของโลกจึงแตกต่างจากดวงจันทร์ ดาวอังคาร และดาวพุธ

ประเภทของแผ่นเปลือกโลก

   โลกของเราประกอบด้วยมหาสมุทร และทวีปที่สามารถแบ่งแยกได้ว่าเป็นแผ่นเปลือกโลก (Crustal Plates) คนละส่วนที่นำมาต่อกันเป็นชิ้น แต่ละชิ้นแยก จากกันได้เหมือนจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ซึ่งวงแหวนไฟ คือ เขตรอยต่อของเปลือกโลก บางแผ่นเรียกว่า แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร บางแผ่นเรียกว่า แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (continental plates) แต่ละแผ่นมีความหนาตั้งแต่ 70 – 250 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นเปลือกโลกจะมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเนื่องจากมีการไหลวนหรือไม่หยุดนิ่งของหินหลอมละลายใต้โลก 

พื้นที่วงแหวนแห่งไฟ | Ring of Fire จุดแผ่นดินไหวใหญ่

พื้นที่วงแหวนแห่งไฟ | Ring of Fire จุดแผ่นดินไหวใหญ่


จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ลึกลงไป 7 กิโลเมตร บนเกาะลอมบอก ประเทศอินโดนีเซีย จนทำให้นักท่องเที่ยวติดอยู่บนเขารินจานีหลายร้อยคน ไทยพีบีเอสสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ ถึงสาเหตุการเกิดภัยพิบัติครั้งนี้

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายหรือไม่

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นเรื่องไม่เหนือความคาดหมาย หากมองตามแนววงแหวนไฟที่พาดผ่านลอมบอก เนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจะเกิดบริเวณวงแหวนไฟอยู่แล้ว  เมื่อเกิดแผ่นดินไหว แรงดันของแมกม่าจะไปดันรอยต่อต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้น แรงสั่นสะเทือนก็ทำให้เกิดการสไลด์ของหินและดินบนภูเขา เนื่องจากความแข็งแรงในดินหลวม ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยภูเขาไฟทำให้เกิดแผ่นดินไหว ในขณะเดียวกันแผ่นดินไหวอาจจะเกิดพร้อมกับภูเขาไฟลูกใหม่ก็ได้ เพราะปะทุอยู่แล้ว ก็อาจเกิดแผ่นดินไหวขึ้นเรื่อยๆ เป็นอาฟเตอร์ช็อกตามมา

วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ได้แก่บริเวณใด

Ring of fire หรือ วงแหวนไฟ คืออะไร

วงแหวนไฟ คือ จุดที่มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่ชนกันอยู่ ซึ่งจะเกิดแผ่นดินไหว มีภูเขาไฟอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นความเสี่ยงของประเทศที่อยู่บริเวณแนววงแหวนไฟที่จะเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับประเทศไทยถือว่าอยู่ห่าง ดังนั้นแผนบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติจึงไม่มีแผนเตรียมพร้อมภูเขาไฟ ส่วนสึนามิที่ไทยได้รับผลกระทบเมื่อปี 2547 มีผลจากวงแหวนไฟ เนื่องจากจุดกำเนิดอยู่ใกล้บริเวณแนวรอยเลื่อนที่พาดผ่านไปทางเมียนมา ขณะที่สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 ก็มีจุดกำเนิดที่วงแหวนไฟ

ผลกระทบแผ่นดินไหวในเมืองใหญ่

ถ้าเกิดขึ้นที่เมืองใหญ่ ประชากรหนาแน่น มีอาคารบ้านเรือนจำนวนมาก ความเสียหายจะเกิดอย่างมหาศาล อย่างกรณีที่ประเทศอิหร่านเมื่อไม่นานมานี้ มีผู้เสียชีวิตถึง 30,000 คน จากแผ่นดินไหวขนาดใกล้เคียงกันนี้ ซึ่งถือว่าเป็นเหตุแผ่นดินไหวบนบกที่รุนแรงและตื้นมาก แต่ในกรณีของลอมบอกนั้น เป็นบริเวณภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ จึงเป็นพื้นที่หวงห้าม ไม่มีประชาชนอยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบจึงไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้ 

วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ได้แก่บริเวณใด

ความกังวลเรื่องภูเขาไฟในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จำนวนภูเขาไฟมีประมาณ 750 ลูก ในบริเวณพื้นที่ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนภูเขาไฟที่ยังมีพลังและเชื่อว่าในรอบ 100 ปี ยังมีการระเบิดอยู่มีประมาณ 70 ลูก สิ่งนี้ทำให้ต้องจับตามองเป็นพิเศษ สำหรับภูเขาไฟรินจานีที่ลอมบอกนี้ มีดัชนีความรุนแรงแผ่นดินไหวอยู่ที่ระดับ 3 คือ ไม่เกิน 10 ปี จะเกิดขึ้น 1 ครั้ง ซึ่งเมื่อ 3 ปีที่แล้วภูเขาไฟลูกนี้เคยระเบิดแล้วครั้งหนึ่ง

ทำอย่างไร เมื่อเกิดแผ่นดินไหว-ภูเขาไฟปะทุ

เมื่อแผ่นดินไหว นักท่องเที่ยวต้องหลบเข้าไปในอาคารที่ปลอดภัย เนื่องจากควัน ฝุ่นเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก ต้องสวมหน้ากากอนามัย โดยอาคารห้ามอยู่ในที่ต่ำเพราะลาวาจะไหลไปในที่ต่ำ จึงต้องอยู่ในที่ๆ โคลนหรือลาวาไหลไปไม่ถึง แต่หากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีอาคารนักท่องเที่ยวจะต้องอพยพไปยังจุดที่คาดว่าปลอดภัย

วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ได้แก่บริเวณใด

ความเสี่ยงของไทยกับภัยพิบัติในอนาคต

ข้อมูลในประเทศไทยบ่งชี้ว่าในฤดูฝน ฝนจะหนักมากขึ้นร้อยละ 30 สิ่งใดที่ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานไว้ไม่เพียงพอ เช่น ท่อระบายน้ำใน กทม.ก็จำเป็นต้องปรับปรุง เขื่อนออกแบบไว้สำหรับรับน้ำได้ขนาดนี้ ต้องเพิ่มไปอีก 1.3 เท่า ภัยพิบัติเหล่านี้ เกิดจากสภาพอากาศ หรือ climate change ทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่น ที่ฝนตกหนัก ถึงวันละ 300 มิลลิเมตร เนื่องจากแนวปะทะอากาศเคลื่อนขึ้นมาบริเวณนั้นพอดี

ในอนาคตข้างหน้าสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนใจเราว่าภัยเป็นของทั่วโลก แต่ในอดีต ร้อยละ 40 ภัยเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย มีคนเสียชีวิตมากที่สุดในทวีปเอเชีย ถึงร้อยละ 50 ระยะหลังเอเชียเติบโตมากขึ้น คนย้ายไปอยู่ในพื้นที่มีผลกระทบมากขึ้น อนาคตเรารู้ว่าภัยมาถึงตัว คงต้องกลับมาดูตัวเองว่าเราพร้อมจะรับมือกับมันหรือยัง

บริเวณวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) อยู่บริเวณใด

Ring of fire” หรือในภาษาไทย แปลว่า “วงแหวนแห่งไฟ” เป็นบริเวณในมหาสมุทร แปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวม ประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่น เปลือกโลก โดยภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มี ...

แนววงแหวนแห่งไฟพบมากที่สุดบริเวณใด

เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75%

Ring of Fire กินอาณาเขตกี่ประเทศ *

วงแหวนแห่งไฟประกอบไปด้วยภูเขาไฟทั้งหมด 452 ลูก หรือกว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บนโลก โดยครอบคลุมพื้นที่ในมหาสมุทรและประเทศในทวีปต่าง ๆ รวมกันถึง 31 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศโบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิจิ และสหรัฐอเมริกา

บริเวณ The Ring of Fire มีความสําคัญอย่างไร

วงแหวนไฟ คือ จุดที่มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่ชนกันอยู่ ซึ่งจะเกิดแผ่นดินไหว มีภูเขาไฟอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นความเสี่ยงของประเทศที่อยู่บริเวณแนววงแหวนไฟที่จะเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับประเทศไทยถือว่าอยู่ห่าง ดังนั้นแผนบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติจึงไม่มีแผนเตรียมพร้อมภูเขาไฟ ส่วนสึนามิที่ ...