สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ

ประกาศที่ AP-HRHRS-101/2564

Show

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ( Human Rights Policy )

บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (รวมเรียกว่า "บริษัท") ได้ตระหนักและให้ ความสำคัญในการส่งเสริมและรักษาสิทธิมนุษยชนทั้งภายในและภายนอกบริษัท ควบคู่กับหลักจริยธรรมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยบริษัทได้คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ด้วยการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนที่ยั่งยืนและมั่นใจได้ว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทปลอดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน

นิยาม

สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิดและความเสมอ ภาคที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใดตาม กฎหมายของแต่ละประเทศ (ที่มา: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)

แนวทางปฏิบัติ

  1. สนับสนุน ส่งเสริม และเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมครอบคลุมพนักงาน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ เพศ ภาษา อายุ สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือเรื่องอื่นใด
  2. สื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ ทำความเข้าใจ กำหนดแนวทาง และให้การสนับสนุนอื่นใด แก่ พนักงานทุกคนในบริษัท ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ (Supplier) ผู้รับเหมา (Contractor) ตลอดจนผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture) เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม เคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนตามนโยบายนี้ รวมถึงการไม่ใช้แรงงานเด็กที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดหรือการไม่ใช้แรงงานบังคับ ภายในบริษัทหรือภายในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท
  3. สนับสนุนให้พนักงานใช้สิทธิของตนในฐานะพลเมืองโดยชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมาย
  4. พัฒนาและดำเนินกระบวนการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน (Due Diligence Process) อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะระบุประเด็นและประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน กำหนดกลุ่มหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบ วางแผนและกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกัน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และตรวจสอบติดตามผล โดยจัดให้มีกระบวนการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  5. สนับสนุนให้พนักงานทุกคนให้ความสำคัญและปฏิบัติตามนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การคุ้ม ส่วนบุคคล ดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ การเปิดเผยหรือการถ่ายโอน ข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ ไปสู่สาธารณะจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ ผู้นั้น เว้นแต่ได้กระทำได้ตามระเบียบบริษัทหรือตามกฎหมาย
  6. พัฒนาช่องทางการแจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยซนที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  7. บริษัทสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กร ที่ยึดมั่นต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนนี้และไม่สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน
  8. ผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณของบริษัท ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบบทลงโทษที่บริษัทกำหนดไว้ นอกจากนี้อาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
  9. บริษัททบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยซน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายด้านสิทธิมนุษยชนยังคงสอดคล้องและหมะสมกับสภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทในปัจจุบัน

ให้ประกาศนี้มีผลตั้งแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

(นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน)
ประธานเจ้าหน้าที่และรองประธานคณะกรรมการ(นายโกศล สุริยาพร)
ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและบริหารความเสี่ยง

Home Know Sustainability Business and Human Rights

ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิดและความเสมอภาค
ที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา
เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด

(ที่มา: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)

ธุรกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องกับ “มนุษย์” หรือ “คน” ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้ส่งมอบ พนักงานและครอบครัวของพนักงาน ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของธุรกิจหรือชุมชนไกล ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินงานอาจจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มเหล่านี้ไม่มากก็น้อยอย่างเลี่ยงไม่ได้ และหนึ่งในประเด็นความขัดแย้งสำคัญที่เกิดขึ้นบ่อยคือ เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่หลายครั้งลุกลามจนเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกัน ดังนั้น การดูแลใส่ใจการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ โดยควรกําหนดแนวทางการดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล กำหนดกลยุทธ์และแผนในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีกลไกการคุ้มครองและเยียวยาเมื่อเกิดเหตุ รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงาน ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมหารือในประเด็นดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นพร้อมกัน

ประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องค่อนข้างอ่อนไหวและสามารถเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่องมายังการทำธุรกิจได้อย่างคาดไม่ถึง จึงนับเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อยู่กับการดำเนินธุรกิจตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีความต้องการ การเรียกร้อง และแรงผลักดันจากสังคมที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อีกทางด้วย

กล่าวโดยสรุปธุรกิจต้อง ดำเนินงานโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง และ สร้างให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงพลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการนำหลักสิทธิมนุษยชนไปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานภายในองค์กร คู่ค้า ตลอดจนทั้งห่วงโซ่อุปทาน และแน่นอนว่าหากธุรกิจมีการดูแลพนักงานที่ดีและสร้างสังคมรอบด้านที่ดีแล้ว องค์กรก็จะดีตามไปด้วย

หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP

ด้วยความคาดหวังต่อการแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ประกอบการ องค์การสหประชาชาติได้จัดทำ หลักการชี้แนะด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจ (United Nations Framework and Guiding Principles on Business and Human Rights) หรือ UNGP สำหรับธุรกิจใช้เป็นแนวปฏิบัติในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยสาระสำคัญของหลักการนี้อยู่บนเสาหลัก 3 ประการ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจคือเสาหลักที่ 2 และ 3

เสาหลักที่ 1: การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect)

สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

หมายถึง รัฐมีหน้าที่คุ้มครองมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจากองค์กรของรัฐเองหรือองค์กรภาคธุรกิจ

เสาหลักที่ 2: การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect)

สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

หมายถึง บุคคลและองค์กรที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือขนาดใดก็ตาม ย่อมมีความรับผิดชอบที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน

เสาหลักที่ 3: การเยียวยา (Remedy)

สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

หมายถึง การแก้ไข ฟื้นฟู ชดเชยเมื่อเกิดผลกระทบหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เนื่องมาจากการประกอบธุรกิจ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องมีกลไกในการเยียวยาที่มีประสิทธิผล

กรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการ UNGP

สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

ตัวอย่างประโยชน์ของการจัดทํานโยบายเคารพสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนให้ความสําคัญกับเรื่องใด

  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างผลตอบแทนทางการเงินและสังคม
  2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย
  3. สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน
  4. ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น
  5. สร้างการมีส่วนร่วมและขวัญกําลังใจ รวมถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย
  6. ส่งผลในทางบวกต่อการสรรหา จูงใจและรักษาพนักงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อย

เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

เพื่อให้ธุรกิจสามารถระบุประเด็นที่น่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนได้สะดวกขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอแนะนำ คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และรายการตรวจสอบ (Checklist) ของภาคธุรกิจ ที่จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คู่มือเล่มนี้จะช่วยให้วิธีปฏิบัติและการดูแลประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจเป็นระบบยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของหลักการสากล UNGP รวมถึงบริบทของการประกอบการในประเทศไทย

LEARN MORE

สิทธิมนุษยชนให้ความสำคัญกับเรื่องใด

สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียม กัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง

สิทธิมนุษยชน มีเรื่องอะไรบ้าง

สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิต่อชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การศึกษา เสรีภาพทาง ความคิด มโนธรรมและศาสนา เสรีภาพแห่งความคิดเห็น การแสดงออก การมีงานท า การ แสวงหาและได้รับการลี้ภัย ในประเทศอื่น (เป็นต้น)

แนวคิดเรื่องใดเป็นจุดกำเนิดของสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) มีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะทําให้ศักดิ์ศรี ของ มนุษยชนได้รับการเคารพ ได้การริเริ่มใส่ใจดูแลจากมวลหมู่ประชาชนด้วยการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความ เสมอภาคให้เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก โดยจุดเริ่มต้นของแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเกิดจาก บรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีและศาสนา ต่อ ...

นักเรียนควรได้รับสิทธิมนุษยชนอะไรบ้าง

สิทธิในโรงเรียนในโรงเรียนเป็นอย่างไร เด็กทุกคนในโรงเรียน รวมทั้งเด็กที่มีความพิการ เด็กชาติพันธุ์ เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ และเด็กชนกลุ่มน้อย มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน สนับสนุนการเคารพซึ่งกันและกัน และการไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และสถานะทางเพศในหมู่นักเรียน ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และในสังคมในวงกว้าง