หน่วยอินพุตของ plc จะทำงานร่วมกับข้อใด

PLC คืออะไร

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที ตัวตรวจวัดหรือสวิทช์ต่างๆ จะต่อเข้ากับอินพุต ส่วนเอาต์พุตจะใช้ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นเป้าหมาย เราสามารถสร้างวงจรหรือแบบของการควบคุมได้โดยการป้อนเป็นโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน PLC นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเช่นเครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเครื่อง PLC จะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand alone) แล้วยังสามารถต่อ PLC หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน (Network) เพื่อควบคุมการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยจะเห็นได้ว่าการใช้งาน PLC มีความยืดหยุ่นมากดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงเปลี่ยนมาใช้ PLC มากขึ้น

การใช้ PLC สำหรับควบคุมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีข้อได้เปรียบกว่าการใช้ระบบของรีเลย์ (Relay) ซึ่งจำเป็นจะต้องเดินสายไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Hard- Wired ฉะนั้นเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิต หรือลำดับการทำงานใหม่ ก็ต้องเดินสายไฟฟ้าใหม่ ซึ่งเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ PLC แล้ว การเปลี่ยนกระบวนการผลิตหรือลำดับการทำงานใหม่นั้นทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรมใหม่เท่านั้น นอกจากนี้แล้ว PLC ยังใช้ระบบโซลิด สเตท ซึ่งน่าเชื่อถือกว่าระบบเดิม การกินกระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และสะดวกกว่าเมื่อต้องการขยายขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักรส่วนประกอบของ PLC

หน่วยอินพุตของ plc จะทำงานร่วมกับข้อใด

PLC แบ่งออกได้ 3 ส่วนด้วยกันคือ

1.ส่วนที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง (Control Processing Unit : CPU)

2.ส่วนที่เป็นอินพุต/เอาต์พุต (Input Output : I/O)

3.ส่วนที่เป็นอุปกรณ์การโปรแกรม (Programming Device)

ความสามารถของ PLC

PLC สามารถควบคุมงานได้ 3 ลักษณะคือ
1.งานที่ทำตามลำดับก่อนหลัง (Sequence Control) ตัวอย่างเช่น

(1) การทำงานของระบบรีเลย์
(2) การทำงานของไทเมอร์ เคาน์เตอร์
(3) การทำงานของ P.C.B. Card
(4) การทำงานในระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ หรืองานที่เป็นกระบวนการทำงานของเครื่องจักรกลต่างๆ

2.งานควบคุมสมัยใหม่ (Sophisticated Control) ตัวอย่างเช่น
(1) การทำงานทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร
(2) การควบคุมแบบอนาล็อก (Analog Control) เช่น การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature) การควบคุมความดัน (Pressure) เป็นต้น
(3) การควบคุม P.I.D. (Proportional-Intergral-Derivation)
(4) การควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ (Sevo-motor Control)
(5) การควบคุม Stepper-motor
(6) Information Handling

3.การควบคุมเกี่ยวกับงานอำนวยการ (Supervisory Control) ตัวอย่างเช่น
(1) งานสัญญาณเตือน (Alarm) และ Process Monitoring
(2) Fault Diagnostic and Monitoring
(3) งานต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ (RS-232C/RS422)
(4) Printer/ASCII Interfacing
(5) งานควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม (Factory Automation Networking)
(6) LAN (Local Area Network)
(7) WAN (Wide Area Network)
(8) FA. , FMS., CIM. เป็นต้น

การติดตั้ง PLCข้อควรพิจารณาก่อนติดตั้ง
(1) พื้นที่ในการติดตั้งมีเพียงพอหรือไม่
(2) จะต้องเผื่อไว้ขยายในอนาคตหรือไม่
(3) การซ่อมบำรุงต้องทำได้ง่าย
(4) อุณหภูมิที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรมีผลกระทบกับ PLC หรือไม่
(5) วิธีการป้องกัน PLC จากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย

สภาพแวดล้อมหรือสถานที่ที่ไม่ควรติดตั้ง PLC
(1) มีแสงแดดส่องโดยตรง
(2) มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 C หรือสูงกว่า 55 C
(3) มีฝุ่น หรือไอเกลือ
(4) มีความชื้นมาก
(5) มีก๊าซที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน หรือไวไฟ
(6) สั่นสะเทือนมาก
ตู้ควบคุมสำหรับ PLCควรมีลักษณะอย่างไร
1. ต้องป้องกันไม่ให้ PLC เสียหายจากการใช้งานหรือจากส่วนอื่นๆ เช่น จากสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งปนเปื้อนในอากาศ เช่น ความชื้น น้ำมัน ฝุ่นผง ก๊าซที่มีฤทธิ์การกัดกร่อน
2. มีขนาดใหญ่เพียงพอ สะดวกในการเดินสายไฟต่างๆ
3. ควรติดตั้งตู้ PLC ห่างจากแผงควบคุมไฟฟ้าแรงสูงอย่างน้อย 8 นิ้ว
4. มีสายดิน
5. ควรแยกการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง
6. ควรแยกการติดตั้งกับอุปกรณ์ที่มีความร้อนสูง เช่น ฮีทเตอร์ หม้อแปลง หรือตัวต้านทานขนาดใหญ่
7. ไม่ควรให้ PLC ติดตั้งอยู่บนเพดาน หรืออยู่กับพื้น
8. ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่า 60? C ควรติดพัดลมเป่าระบายความร้อน

หน่วยอินพุตของ PLC ทําหน้าที่อะไร

2.3 หน่วยอินพุต (Input Unit) หน่วยอินพุต เป็นหน่วยท างานของ PLC ท าหน้าที่รับสัญญาณอินพุตภายนอก และ แปลงให้มี ความเหมาะสมเพื่อส่งเข้าไปยัง PLC แบ่งตามประเภทของสัญญาณ ได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.3.1 ดิจิตอลอินพุต (Digital Input) เป็นหน่วยอินพุตที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์อินพุต สถานะสัญญาณเป็น 0–1 ของสัญญาณแรงดัน 0-24 V ส่งผ่าน ...

อินพุตของ PLC มีกี่ประเภท

ภาคอินพุตอยูหลายแบบเชนกัน เพื่อรองรับอุปกรณอินพุตในแตละแบบใหเหมาะสม ✪ วงจรภาคอินพุต (Input Circuit PLC) วงจรภาคอินพุตแบงออกเปน 2 ประเภทใหญๆ คือ 1) ดิจิตอลอินพุต(Digital Input) 2) อนาลอกอินพุต(Analog Input) ✪ ดิจิตอลอินพุต (Digital Input Type)

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของ PLC ทำหน้าที่อะไร

ทำ หน้าที่เก็บรักษาโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่งออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PLC ประกอบด้วยหน่วยความจำสองชนิดคือ ROM และRAM.

อุปกรณ์ใดข้อใดบรรจุอยู่ในตัวของ PLC

โครงสร้างโดยทั่วไปของ PLC.
ตัวประมวลผล(CPU) ... .
หน่วยความจำ(Memory Unit) ... .
หน่วยอินพุต-เอาต์พุต (Input-Output Unit) ... .
แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) ... .
อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices).