สมองส่วน ใด ควบคุมการทรงตัว

1.สมอง(Brain)

เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกายเป็นอวัยวะชนิดเดียวที่
แสดงความสามารถด้านสติปัญญา การทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่างๆสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น3 ส่วน ดังนี้

สมองส่วน ใด ควบคุมการทรงตัว

1.1 เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์ (Cerebrum Hemisphrer) คือ สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับ ความรู้สึกและอารมณ ์

ควบคุมความคิด ความจำ และความเฉลียวฉลาด เชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆเช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับกลิ่น การรับรส การรับสัมผัส
เป็นต้น 

สมองส่วน ใด ควบคุมการทรงตัว

1.2 เมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata)คือ ส่วนที่อยู่ติดกับไขสันหลัง ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น 
การหายใจการเต้นของหัวใจ การไอ การจาม การกะพริบตา ความดันเลือด เป็นต้น

สมองส่วน ใด ควบคุมการทรงตัว

1.3 เซรีเบลลัม (Cerebellum) คือ สมองส่วนท้าย เป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัวช่วยให้เคลื่อนไหว
ได้อย่างแม่นยำเช่น การเดิน การวิ่ง การขี่รถจักรยาน เป็นต้น

สมองส่วน ใด ควบคุมการทรงตัว

สมองส่วน ใด ควบคุมการทรงตัว

การทรงตัวผิดปกติอันตรายแค่ไหน

อวัยวะที่ควบคุมกลไกการทรงตัวของมนุษย์ประกอบไปด้วย

  1. ระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง)
  2. ระบบสายตา การมองเห็น
  3. ระบบรักษาสมดุลโดยหูชั้นใน
  4. ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ

ทั้ง 4 อวัยวะนี้เป็นอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวของมนุษย์เพื่อให้เป็นปกติได้การทรงตัวที่ผิดปกติหรือการศูนย์เสียสมรรถภาพการทรงตัว อาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวที่กล่าวมาข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น ความผิดปกติของระบบประสาท ได้แก่โรคหลอดเลือดสมอง(หลอดเลือดสมองอุดตัน, เลือดออกในสมองตรงตำแหน่งที่ควบคุมการทรงตัว เช่น กานสมอง, พาร์กินสัน เนื้องอกในสมอง หรือ ภาวะช่องน้ำในโพรงสมองโต เป็นต้น) นอกจากนี้แล้วอาจเกิดจาภาวะความผิดปกติของหูชั้นใน เช่น กลุ่มโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคตะกอนในหูอยู่ผิดที่ผิดตำแหน่ง, การมองเห็นภาพไม่ชัดเจนจากโรคต้อต่างๆ ทั้งภาวะสายตาสั้น ยาว เอียง รวมถึงกระดูกข้อต่อกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ เช่น กระดูกคอ กระดูกหลัง เสื่อมสภาพ ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะทรงตัวที่ผิดปกติได้เช่นกัน

ผู้ป่วยที่มีอาการทรงตัวผิดปกติมักจะมาตรวจด้วยปัญหาการทรงตัวไม่ดี มีอุบัติเหตุหกล้มบ่อยๆ มีการเดินที่ช้าลง โดยเฉพาะถ้าเกิดในผู้สูงอายุอาจถึงขั้นเดินน้อยลงหรือไม่กล้เดินเลย ส่วนอาการร่วมอื่นๆ นั้น จะแล้วแต่สาเหตุของโรคว่าเกิดจากอะไร เช่น ภาวะโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ผู้ป่วยอาจจะมีอาการทรงตัวผิดปกติเฉียบพลันร่วมกับอาการเวียนศรีษะ เช่น การมองเห็นภาพซ้อน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง และแขนขาอ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคต้องอาศัยประวัติจากผู้ป่วย, การตรวจร่างกาย, การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ อาจรวมถึงการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษเช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือ เอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้าสมอง การรักษาขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของการทรงตัวผิดปกตินั้นๆ เพื่อให้การรักษาจำเพาะในโรคนั้น ซึ่งบางโรคมีความสำคัญต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที การฟื้นสภาพปกติก็จะกลับมาอย่างรวดเร็วและปลอดภัยต่อผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีการทรงตัวผิดปกติจากหลอดเลือดสมองอุดตันจะได้รับการรักษาด้วยยา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น

การทรงตัวของมนุษย์มีความสำคัญที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตเป็นปกติได้แม่ว่าเราจะอายุมากขึ้นการทรงตัวก็ยังคงปกติ ดังนั้นหากพบความผิดปกติของการทรงตัว ทั้งแบบเฉียบพลัน, รุนแรง หรือมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจการรักษา เพราบางโรคนั้นสำคัญหากทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายได้

พญ. ตวงรัตน์ ตะเพียนทอง 

แพทย์อายุรกรรมโรคระบบประสาท, อายุรกรรมทั่วไป