ข้อ ใด เป็น ความ หมาย ของ ชื่อ ไตรภูมิ พระร่วง

                    1.�����Ծ����ǧ ���� �����ԡ�� ��觾����Ҹ����Ҫ����·ç����Ҫ�Ծ����� �������ӹǹ���¡�ا��⢷�¹�� ����ҡ�����յ鹩�Ѻ������駡�ا��⢷�µ��ʹ�Ҩ��֧�Ѩ�غѹ �鹩�Ѻ����������������� ��� �鹩�Ѻ�������Ҫ����Ѵ�ҡ��� �ѧ��Ѵ��طû�ҡ�� (�Ѵ��ҧ�������) ��鹩�Ѻ�Ҩҡ�ѧ��Ѵྪú��� �֧��������ͧ ������ ������ҹ 30 �١ ����� �.�. 2321 ������稾����Һ��ǧ���� �������Ҵ�ç�Ҫҹ��Ҿ �ô�����͡�վ����������繤����á ���¡������� "�����Ծ����ǧ" ����ҹ�¸�Ե ����⾸�� ʹյ͸Ժ�ա����Żҡ� ���й����ҧ��ŷ�Ѿ�� ����蹡Ԩ ����ͤ��駴�ç���˹觼���ӹ�¡�áͧ��ó�����л���ѵ���ʵ�� �Ѵ�Ҽ������Ǫҭ��Ǩ�ͺ���л�Ѻ��ا����Ի��ʤ�Ҵ����͹����ѧ������ ��йҧ��ŷ�Ѿ�� ����蹡Ԩ���ͺ����¾Է�� �������� ���­��������¤ 9 �������Ǫҭ��ҹ��ó��վط���ʹҵ�Ǩ�ͺ���� ������ѡ�Ңͧ�������ҡ����ش ����͵�Ǩ�ͺ������������ �������Ѵ���������� ����� �.�. 2517, 2525 ��� 2526 ����ӴѺ

ประวัติความเป็นมา
                ไตรภูมิพระร่วง   เป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยตกทอดมาถึงปัจจุบัน  เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก   เดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา" หรือ "ไตรภูมิพระร่วง" ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "ไตรภูมิพระร่วง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระร่วงเจ้ากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย (พระยาลิไท)  ซึ่งเป็นผู้พระราชนิพนธ์ นับว่าเป็นหนังสือวรรณคดีเล่มแรกที่เกิดจากการค้นคว้าจากคัมภีร ์พุทธศาสนาถึง ๓๐ คัมภีร์ และมีลักษณะเป็นหนังสือที่สมบูรณ์ คือ บอกชื่อ วัน เดือน ปี และความมุ่งหมายในการแต่งไว้อย่างครบถ้วน
                หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับไตรภูมิพระร่วงมาจากจังหวัดเพชรบุรี เป็นใบลาน ๑๐ ผูก  จารด้วยอักษรขอม  ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  โดยบอกไว้ในตอนจบว่า  “พระมหาช่วยจารพระไตรภูมิกถา  วักปากน้ำ  ชื่อวัดกลาง  แล้วแต่ในเดือน ๔ ปีจอ  วันอาทิตย์  เมื่อเวลาตะวันบ่าย  สามโมงเศษ  เมื่อพระพุทธศักราชลางไปได้ ๒๓๒๑ พระวรรษา เศษสังขยาเดือนได้ ๙ เดือน ๒๖วัน  เป็นสำเร็จแล้วแล”  พระมหาช่วยผู้คัดลอกจะได้ต้นฉบับมาจากที่ใดไม่ปรากฏ  หอพระสมุด
วชิรญาณได้ถอดความออกเป็นอักษรไทย  โดยมิได้แก้ไขถ้อยคำให้ผิดไปจากต้นฉบับเดิม
ผู้แต่ง      พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท)
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
                กล่าวไว้ในบานแพนกว่า "ใส่เพื่อมีอัตถพระธรรม และจะใคร่เทศนาแก่พระมารดาท่าน..... ผู้ใดปรารถนาเถิงทิพยสมบัติปัตถโมกขนิพพาน ให้สดับพระไตรภูมิกถานี้ ด้วยทำนุบำรุง ด้วยใจศรัทธา"

ผู้แต่ง      

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง ๒ ประการ คือ
       ๑. เพื่อเทศน์โปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมความกตัญญู
       ๒. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม และเข้าใจพุทธศาสนา จะได้ช่วยดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน


ลักษณะคำประพันธ์     

            เป็นร้อยแก้ว แบบเทศนาโวหาร และพรรณนาโวหาร


เนื้อเรื่อง
                   เริ่มต้นบอกชื่อผู้แต่ง วัน เดือน ปี และความมุ่งหมายในการแต่ง หลักฐานประกอบการเรียบเรียง จากนั้นกล่าวถึงภูมิทั้งสาม (เตภูมิ) คือ
               ๑. กามภูมิ พรรณนาถึงที่อยู่ของมนุษย์ เทวดา และอื่น ๆ รวม ๑๑ ภูมิ ได้แก่   สวรรค์ ๖ ภูมิ มนุษย์ ๑ ภูมิ   และอบาย ๔ ภูมิ   กามภูมิเป็นที่กำเนิดของชีวิตทั้งหายที่ยังลุ่มหลงอยู่ในกาม มีแดน
สุขสบายและแดนที่เป็นทุกข์ปะปนกันผู้ที่เกิดในภูมิต่าง ๆ เหล่านี้    เป็นเพราะผลกรรมของตนเป็นใหญ่
               ๒. รูปภูมิ หมายถึงที่อยู่ของพรหมมีรูปร่าง รวมทั้งหมด ๑๖ ชั้น เป็นแดนที่อยู่ของพรหม ซึ่งมีสมาธิ มีจิตสูงขึ้นไปโดยลำดับ
               ๓. อรูปภูมิ ได้แก่สวรรค์อันเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูปร่างมีแต่จิตใจเท่าน ั้น มี ๔ ชั้น
               หนังสือนี้กล่าวเริ่มตั้งแต่การกำเนิดของชีวิตต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นอย่างไร แล้วพรรณนาถิ่นที่เกิดคือ  ภูมิต่าง ๆ ทั้ง ๓๑ อย่างละเอียด เช่น ตอนที่ว่าด้วยมนุษย์ภูมิ และะโลกสัณฐาน ได้เล่าอย่างละเอียดว่า ลักษณะของโลกเป็นอย่างไร ทวีปต่าง ๆ ภูเขา แม่น้ำ คน และสัตว์เป็นอย่างไร และจบลงด้วย การเน้นเรื่องทางไปถึงการดับทุกข์ คือ  นิพพาน  ว่าเป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดของชีวิต


คุณค่าของหนังสือ
               ๑.  ด้านศาสนา เป็นหนังสือสอนศีลธรรม เนื้อเรื่องกล่าวถึงบาปบุญคุณโทษ การเกิด
การตาย เกี่ยวกับโลกทั้งสาม (ไตรภูมิ)
               ๒. ด้านภาษาและวรรณคดี ใช้พรรณนาโวหารอย่างละเอียดลออ จนทำให้นึกเห็นสมจริง ให้เห็นสภาพอันน่าสยองขวัญของนรก สภาพอันสุขสบายของสวรรค์ จนทำให้จิตรกรสามารถถ่ายทอดบทพรรณนานั้งลงเป็นภาพได้นอกจากนี้ย ังมีอิทธิพล ต่อวรรณคดียุคหลังได้นำเอาความเชื่อต่าง ๆ มาอ้างอิงในวรรณคดีไทย เช่น ประวัติของเทวดา เขาพระสุเมรุ ช้างเอราวัณ ช้างทรงของพระอินทร์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น
               ๓. ด้านสังคมและวัฒนธรรม มุ่งใช้คุณธรรมความดี เป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม
                                ๓.๑  คำสอนทางศาสนา  ไตรภูมิพระร่วงสอนให้คนทำบุญละบาป  เป็นเสมือนแนวการสอนศีลธรรมของสังคมให้คนประพฤติดีประพฤติชอบ
                                ๓.๒  ค่านิยมเชิงสังคม  อิทธิพลของหนังสือเล่มนี้ให้ค่านิยมเชิงสังคมต่อคนไทยให้
ตั้งมั่นและยึดมั่นในการเป็นคนใจบุญ  มีเมตตากรุณา  รักษาศีล  บำเพ็ญทาน  เชื่อมั่นกฎแห่งกรรม
                                ๓.๓  ศิลปกรรม  จิตรกรนิยมนำเรื่องราวและความคิดในไตรภูมิพระร่วงไปเขียนภาพสีไ ว้ในโบสถ็วิหาร เช่น ภาพนรกสวรรค์ เพื่อให้ประชานชนเกรงกลัวต่อบาปและมุ่งทำความดี
                ๔.  ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น  ไตรภูมิพระร่วงมีอิทธิพลสำคัญต่อแนวความคิดของกวีรุ่นหลัง  โดยนำความคิดในไตรภูมิพระร่วงสอดแทรกในวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ  มหาเวสสันดรชาดก  รามเกียรติ์  กากีคำกลอน  ขุนช้างขุนแผน  เป็นต้น  และยังก่อให้เกิดวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ อีกด้วย

วิดีโอ


อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=v3QkcCbZBdY
http://www.ebook.mtk.ac.th/main/forum_posts.asp?TID=803