เหตุการณ์ในข้อใด ไม่ได้ เป็นผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆของทวีปอเมริกาใต้

แม้ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะไม่เชื่อว่าโลกร้อนเกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์ ดังที่สะท้อนจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของเขา เช่น การประกาศขู่ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว รวมถึงความพยายามผลักดันอุตสาหกรรมถ่านหินและพลังงานฟอสซิลให้กลับมาเฟื่องฟู

แม้ภายหลังดูเหมือนว่าสหรัฐจะมีท่าทีที่อ่อนลง อาจเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่สหรัฐต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายกว่านับแสนล้านดอลลาร์ ทำให้ทรัมป์ที่ไม่เคยเชื่อเรื่องโลกร้อนมีท่าทีเปลี่ยนไปอย่างที่ให้สัมภาษณ์กับ the New York Times ในช่วงเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา และยอมรับว่ากิจกรรมของมนุษย์มีความเกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

รายงานขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) และศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Centers for Environmental Information: NCEI) เปิดเผยตัวเลขความเสียหายจาก 16 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตลอดปี 2017 ได้แก่ ภัยแล้ง 1 เหตุการณ์ น้ำท่วม 2 เหตุการณ์ อากาศเย็นจัด 1 เหตุการณ์ พายุ 8 เหตุการณ์ พายุหมุนเขตร้อน 3 เหตุการณ์ และไฟป่าครั้งใหญ่ 1 เหตุการณ์

มูลค่าความเสียหายทุกเหตุการณ์สูงถึง 3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ  ประกอบด้วย ค่าประกันภัยต่างๆ มูลค่าความเสียหายของอาคาร บ้านเรือน และระบบโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละรัฐ รวมถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจและผลผลิตทางการเกษตร จำนวนผู้เสียชีวิต 362 คน ไม่รวมตัวเลขผู้บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก

ต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่า ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพราะปรากฏการณ์โลกร้อนเสียทั้งหมด ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากให้ความเห็นคล้ายกันว่า ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เร่งให้ภัยพิบัติต่างๆ รุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ เช่น วัฒนธรรมเมือง (urbanization) ที่แผ่ขยายทับพื้นที่ป่าและชนบทอย่างต่อเนื่อง

ภัยพิบัติที่รุนแรงและสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ยิ่งทำให้กลุ่มธุรกิจต้องหันกลับมาทบทวนต้นตอของปัญหา เพราะเดิมพันคือเงินและกระบวนการทางธุรกิจที่พวกเขาต้องจ่ายทดแทน ซึ่งตรงกับการศึกษาของ ไมเคิล แมน (Michael Mann) ศาสตราจารย์วิชาบรรยากาศศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตท (Penn State Earth System Science Center) ค้นพบว่า การเพิกเฉยต่อประเด็นโลกร้อนมีราคาแพงกว่าการเตรียมนโยบายรับมือ

“เพราะต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศอย่างรุนแรงได้ไปขัดขวางห่วงโซ่อาหารและสร้างหายนะให้กับตลาด” ศาสตราจารย์แมน กล่าว

และนี่คือการประมวลเหตุการณ์สำคัญ 12 ภัยพิบัติ จากทั้งหมด 16 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในสหรัฐเมื่อปี 2017

เหตุการณ์ในข้อใด ไม่ได้ เป็นผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆของทวีปอเมริกาใต้

อุทกภัยในแคลิฟอร์เนีย

เวลาเกิดเหตุ: 8-22 กุมภาพันธ์ 2017
ความเสียหาย: 1,500 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 5 ราย

อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของรัฐแคลิฟอร์เนีย เกิดจากพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกก่อให้เกิดน้ำท่วมหนัก ดินโคลนถล่ม หลุบยุบ ต้นไม้ล้มกีดขวางทางจราจร ทำให้ทั้งเมืองไม่มีไฟฟ้าใช้กว่า 10 วัน พายุลูกนี้ยังทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อน Oroville เอ่อล้นจนรัฐต้องประกาศให้ประชาชนกว่า 188,000 ครัวเรือน อพยพออกจากพื้นที่ รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ Coyote Creek อีก 14,00 ครัวเรือน ต้องอพยพพื้นที่เช่นกัน

อุทกภัยในรัฐมิสซูรีและรัฐอาร์คันซอ

เวลาเกิดเหตุ: 25 เมษายน – 7 พฤษภาคม 2017
ความเสียหาย: 1,700 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 20 ราย

ฝนที่ตกหนักเป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ ในรัฐมิสซูรีและรัฐอาร์คันซอ กลายเป็นมูลเหตุให้เขื่อนกั้นแม่น้ำ Black River ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโพคาฮอนทัสและมีอาณาเขตใกล้กับรัฐอาคาร์ซอกับมิสซูรีเกิดรอยร้าวและแตกในที่สุด ส่งผลให้ทั้งสองรัฐกลายเป็นเมืองบาดาลในชั่วพริบตา แทบทุกภาคส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัยทั่วหน้า ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และระบบโครงสร้างพื้นฐาน

พายุทอร์นาโด 70 ลูก บริเวณตอนใต้และกลางของสหรัฐ

เวลาเกิดเหตุ: 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2017
ความเสียหาย: 1,800 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 6 ราย

เพียง 48 ชั่วโมงที่พายุทอร์นาโดเข้าพัดถล่มรัฐบริเวณทางใต้และกลางของสหรัฐ เช่น อาร์คันซัส จอร์เจีย อิลินอยส์ อินเดียนา ไอโอวา เคนทักกี้ มิชิแกน มิสซูรี โอไฮโอและเทนเนสซี กรมอุตุวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศรายงานความรุนแรงเตือนประชาชนถึง 1,000 ฉบับ ทำลายทุกสถิติการรายงานตลอด 6 ปีที่ผ่านมา นับเป็นพายุทอร์นาโดครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในปี 2017 ห่างจากครั้งแรกเพียงไม่กี่สัปดาห์และมีจำนวนทอร์นาโดมากถึง 70 ลูก

พายุทอร์นาโดกว่า 60 ลูก ถล่มมิดเวสต์

เวลาเกิดเหตุ: 6-8 มีนาคม 2017
ความเสียหาย: 2,200 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 2 ราย

ประชาชนจาก 11 รัฐในมิดเวสต์ ได้แก่ อาร์คาซัส ไอโอวา อิลลินอยส์ แคนซัส มิชิแกน มินนิโซตา มิสซูรี เนแบรสกา นิวยอร์ก โอไฮโอ และวิสคอนซิน ต่างต้องเผชิญกับพายุทอร์นาโดกันถ้วนหน้า แต่สถานการณ์รุนแรงที่สุดคือรัฐอิลลินอยส์และรัฐมิสซูรี ซึ่งถูกพายุทอร์นาโดถล่มมากกว่า 60 ลูก ขณะเดียวกัน ประชาชนในมิชิแกนไม่มีไฟฟ้าใช้ ระบบสาธารณูปโภคและระบบคมนาคมล้มเหลว

เหตุการณ์ในข้อใด ไม่ได้ เป็นผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆของทวีปอเมริกาใต้

พายุลูกเห็บในรัฐมินิโซตา

เวลาเกิดเหตุ: 9-11 มิถุนายน 2017
ความเสียหาย: 2,400 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

พายุลูกเห็บและลมมรสุมพัดโหมกระหน่ำสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่รัฐมินิโซตาและรัฐวิสคอนซิน โดยเฉพาะที่มินนีแอโพลิส เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐมินนิโซตา ความรุนแรงของพายุลูกเห็บในครั้งนี้ นอกจากจะทำลายบ้านเรือนเสียหาย กิ่งไม้หักพังตลอดถนนแล้ว ระบบไฟฟ้ายังขัดข้องจนใช้การไม่ได้ นับว่าสร้างความเสียหายมากกว่าเหตุการณ์พายุลูกเห็บถล่มเมื่อวันที่ 15 เมษายน 1998

ภัยแล้งเกือบ 1 ปี ที่นอร์ท ดาโกต้า, เซาท์ ดาโกตา และมอนทานา

เวลาเกิดเหตุ: มีนาคม-ธันวาคม 2017
ความเสียหาย: 2,500 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

ภัยแล้งครั้งนี้ที่ถือเป็นภัยแล้งครั้งแรกที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมาของนอร์ท ดาโกตา, เซาท์ ดาโกตา และมอนทานา กินเวลายาวนานเกือบ 1 ปี ส่งผลให้หลายๆ เมืองในรัฐเหล่านั้นถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับภาคเกษตรกรรมและต่อเนื่องมาถึงปศุสัตว์ เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์จำนวนมากต้องขายกิจการทิ้ง เพราะไม่สามารถหาอาหารมาเลี้ยงสัตว์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น อุณหภูมิที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่องประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง ยังเป็นมูลเหตุให้เกิดไฟป่าตามมา

พายุลูกเห็บและลมมรสุมบริเวณตอนใต้ของสหรัฐ

เวลาเกิดเหตุ: 6-28 มีนาคม 2017
ความเสียหาย: 2,700 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

พายุลูกเห็บ ลมมรสุมและพายุทอร์นาโดเกิดขึ้นอย่างๆ พร้อมกัน สร้างความเสียหายให้กับระบบไฟฟ้า ประปา และคมนาคมในเมืองดัลลัส เมืองทางตอนเหนือของรัฐเท็กซัส โดยผลกระทบดังกล่าวยังส่งต่อไปอีกหลายๆ รัฐใกล้เคียง เช่น โอกลาโฮมา เทนเนสซี เคนทักกี มิสซิสซิปปี และอลาบามา

พายุลูกเห็บในรัฐโคโลราโด

เวลาเกิดเหตุ: 8-11 พฤษภาคม 2017
ความเสียหาย: 3,400 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

ความรุนแรงในครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับหลายๆ รัฐ ได้แก่ โคโลราโด โอคลาโฮมา เท็กซัส นิวเม็กซิโก และมอนทานา แต่ที่เสียหายที่สุดคือเดนเวอร์ เมืองใหญ่ของรัฐโคโลราโด ซึ่งโดนลูกเห็บขนาดเท่าลูกเบสบอลโจมตีอย่างหนัก สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะมีประชาชนมายื่นเคลมประกันรถยนต์มากกว่า 15,000 คัน และประกันภัยบ้านอีกไม่น้อยกว่า 50,000 หลัง

เหตุการณ์ในข้อใด ไม่ได้ เป็นผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆของทวีปอเมริกาใต้

ไฟป่าโธมัสที่รัฐแคลิฟอร์เนีย

เวลาเกิดเหตุ: มิถุนายน-ธันวาคม 2017
ความเสียหาย: 18,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 54 ราย

ขณะที่รัฐทางใต้กำลังจมน้ำเพราะพายุฝนและทอร์นาโด หลายเมืองใกล้กับรัฐแคลิฟอร์เนียต่างถูกไฟป่าที่ชื่อ “โธมัส” เผาผลาญพื้นที่กว่า 9.8 ล้านเอเคอร์ (39,659 กิโลเมตร) โดยเฉพาะในรัฐมอนทานา ที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่ากินพื้นที่ไปถึง 1 ล้านเอเคอร์

ช่วงเวลาตลอด 6 เดือน ไฟป่าโธมัสได้กลืนกินสิ่งปลูกสร้างและบ้านเรือนไปกว่า 15,000 หลัง ทำลายสิ่งมีชีวิตไปเป็นจำนวนมากและรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ปัจจัยหนึ่งที่เร่งให้ไฟป่ารุนแรงอย่างต่อเนื่องและยากต่อการควบคุม มาจากภัยแล้งของแต่ละรัฐ อย่างไรก็ตาม หายนะครั้งนี้นำไปสู่ความท้าทายในการฟื้นฟูระบบนิเวศต่างๆ ต่อไปในอนาคต

เฮอริเคนเออร์มา

เวลาเกิดเหตุ: 6-12 กันยายน 2017
ความเสียหาย: 50,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 97 ราย

เฮอริเคนเออร์มานับเป็นภัยพิบัติที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดแห่งปี 2017  สิ่งปลูกสร้างในหมู่เกาะฟลอริดาเสียหายมากกว่า 25% ในขณะที่อีก 65% พังทลายไม่มีชิ้นดี โดยเฮอริเคนเออร์มาได้โหมกระหน่ำใส่หมู่เกาะทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวอร์จินและหมู่เกาะอื่นๆ รอบทะเลแคริบเบียน ก่อนจะขยับความรุนแรงขึ้นเป็นระดับ 5 เมื่อถึงเกาะเซนต์จอห์นและเซนต์โธมัส โดยสาเหตุที่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเกิดจากอุณหภูมิท้องทะเลที่สูงขึ้น

ด้าน NOAA ชี้ว่าพายุเออร์มารักษาความเร็วลมไว้ได้อย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเวลา 37 ชั่วโมง และเป็นหนึ่งในบรรดาเฮอริเคนที่รักษาความรุนแรงไว้ที่ระดับ 5 ซึ่งถือเป็นความรุนแรงระดับสูงสุด ได้นานที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ รองจากเฮอริเคนไอแวนที่มีความรุนแรงระดับ 5 เมื่อปี 2004

 

เหตุการณ์ในข้อใด ไม่ได้ เป็นผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆของทวีปอเมริกาใต้

เฮอริเคนมาเรีย

เวลาเกิดเหตุ: 19-21 กันยายน 2017
ความเสียหาย: 90,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 65 ราย

เฮอริเคนมาเรียความรุนแรงอยู่ที่ระดับ 4 ความเร็วลม 282 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของเปอร์โตริโกไปถึงเกาะเซนต์ครอยหนึ่งในหมู่เกาะเวอร์จิน ทำลายทุกอย่างไม่เหลือซาก ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่ง ระบบสื่อสาร โครงสร้างขั้นพื้นฐาน ไฟฟ้า และพื้นที่เกษตรกรรมในเปอร์โตริโกเกือบทั้งหมด โดยมีน้ำท่วมสูงถึง 37 นิ้ว ดินโคลนถล่ม ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความมืดเป็นเวลาหลายวัน

เฮอริเคนฮาร์วีย์

เวลาเกิดเหตุ: 25-31 สิงหาคม 2017
ความเสียหาย: 125,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 89 ราย

จากรายงานของ NOAAA เฮอริเคนฮาร์วีย์ถูกจัดระดับความรุนแรงที่ระดับ 4 ด้วยความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุฝนที่ตกกระหน่ำกว่า 7 วัน 7 คืน ส่งผลให้ประชาชนกว่า 6.9 ล้านคน ต้องอาศัยอยู่ท่ามกลางภาวะน้ำท่วมสูงถึง 30 นิ้ว ประชาชนอีก 1.2 ล้านคน อาศัยอยู่กับน้ำท่วมสูง 45 นิ้ว และอีก 11,000 คน อาศัยอยู่กับน้ำท่วมสูงกว่า 50 นิ้ว

มหาอุทกภัยครั้งนี้ทิ้งให้ประชาชนกว่า 30,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างกว่า 200,000 หลัง ถูกทำลายจนใช้การไม่ได้ นับเป็นปรากฏการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดของสหรัฐอเมริกา

ที่มา:
https://www.scientificamerican.com/article/the-16-ldquo-billion-dollar-disasters-rdquo-that-happened-in-2017/
https://www.treehugger.com/climate-change/top-16-extreme-weather-disasters-2017.html
https://www.ncdc.noaa.gov/billions/events/US/1980-2017

ต่างประเทศ น้ำท่วม พายุ อเมริกา โลกร้อน ไฟป่า