ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เรียกว่าอะไร

1.ซอฟท์แวร์ คืออะไร

   ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

2.ซอฟท์แวร์ระบบ คืออะไร

 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

3.ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

– โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ DOS Unix Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT) Sun OS/2 Warp Netware และ Linux

– ตัวแปลภาษาจาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์ใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อนแล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำส่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่งแล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้นจะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น

– ยูทิลิตี้โปรแกรม (Utility Program) คือ ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Norton WinZip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น

– ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่า ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Windows Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound Driver CD-ROM Driver Printer Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น

4.จงบอกหน้าที่ของระบบปฏิบัติการมา 3 อย่าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

          ระบบปฏิบัติการ DOS มีข้อเสียคือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้อง โปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Microsoft Windows Version 1.0 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึง Version Microsoft Windows 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานในสภาพแวดล้อม ที่เป็นกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface(GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ Microsoft Windows 3.11 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติเด่นของ Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic OS แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User OS แต่ก็ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูตเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน


ระบบปฏิบัติการวินโดวส์95
 :::: ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ และวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 1995 เป็นซอฟต์แวร ์ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป ที่มีคุณลักษณะฮาร์ดแวร ์และหน่วยความจำ สูงกว่าระบบปฏิบัติการดอส ต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็ว ในการประมวลผลด้วย ตัวโปรแกรมต้องใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ประมาณ 40 MB มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นภาพกราฟิก ทำให้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น (Friendly User Interface)
วินโดวส์ 95 ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิก การใช้งานควบคุมโปรแกรม โดยใช้เมาส์เป็นส่วนใหญ่ ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่ง สะดวกต่อการใช้งานมาก นอกจากนั้นยังมี DOS Prompt ให้สามารถใช้คำสั่ง ที่จำเป็นของดอสในวินโดวส์ 95 ได้อีกด้วย ความสามารถของวินโดวส์ 95 คือเตรียมโปรแกรม สำหรับการควบคุม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ไว้จำนวนมาก สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ ที่นำมาเชื่อมต่อใหม่ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้สะดวกอย่างมาก ในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เข้ากับคอมพิวเตอร์ การทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า Pnp (Plug and Play) นอกจากนี้ยังมีความสามารถ จัดการในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) เพื่อใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่ายร่วมกัน

       ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 :::: วินโดวส์ 98 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง พัฒนาต่อเนื่องมาจาก วินโดวส์ 95 สามารถทำงานแบบหลายงาน (Multi-Tasking OS) มีผู้ใช้ในระบบเพียงคนเดียว แบบ Single- User OS ได้ อีกทั้งยังสามารถ นำไปใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ทั่วไป เรียกว่าเป็นแบบ Generic Operating System การทำงานของวินโดวส์ 98 ติดต่อกับผู้ใช้แบบ Graphic User Interface (GUI) เช่นเดียวกับวินโดวส์ 95 แต่ปรับรูปแบบให้ดูสวยงาม อัตโนมัติยิ่งขึ้น มีความสามารถ ในการเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้สะดวกยิ่งขึ้น มีโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือ สำหรับการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มาพร้อมคือโปรแกรม Internet Explore
ข้อด้อยของโปรแกรม ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 คือ ต้องการทรัพยากรของระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์มัลติมีเดียสูง คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ ไม่สามารถติดตั้งวินโดวส์ 98 ได้ แต่มีข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มากกว่าวินโดวส์ 95 มีซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ สนับสนุนทำงานบนระบบวินโดวส์ 98 เป็นจำนวนมาก รองรับการใช้งาน ด้านอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

       ระบบปฏิบัติการ Windows ME :::: Windows ME (Windows Millennium Edition) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95และ98 ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสม กับผู้ใช้ตามบ้าน เป็นระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย ฉลาด และเข้าใจผู้ใช้ มากกว่าวินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 หน้าตาของ Windows ME จะมีรูปลักษณ์เหมือนวินโดวส์ 98 มาก แต่มันมีคุณลักษณะพิเศษ ที่เหนือกว่าเดิมมาก เช่นสามารถสร้างระบบเครือข่าย ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังมีความสามารถ ด้านอินเทอร์เน็ต และมัลติมีเดีย มากกว่าวินโดวส์ 98 อีกด้วย


ระบบปฏิบัติการ Windows 2000
 :::: Windows 2000 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ระบบเครือข่าย และเป็น OS ที่สร้างขึ้นมาเป็น GUI ตั้งแต่ต้น ดังนั้นการนำ Application เดิม ๆ ที่เคยใช้กับระบบปฏิบัติการดอส หรือโปรแกรม ที่สั่งงานฮาร์ดแวร์โดยตรง มาใช้บนระบบปฏิบัติการ วินโดวส์2000 อาจไม่ยอมทำงานให้ แต่การทำงานระบบ Multi-Tasking และ Multi-User ใช้งานได้ดีกว่าตระกูล วินโดวส์ 95 และ 98 โดยทำการควบคุม ขบวนการทำงาน ของแต่ละโปรแกรมได้ดีขึ้น

         ระบบปฏิบัติการ Windows XP :::: WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง
Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Vista เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ที่พัฒนาต่อมาจาก Microsoft Windows XP และ Microsoft Windows Server 2003 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความล้ำสมัย ทั้งรูปร่างหน้าตา (Interface) และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ นอกจากที่ Vista จะมีความพิเศษในเรื่องฟังก์ชั่นต่างๆ แล้ว ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและเน็ตเวิร์คให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ Microsoft Windows Vista อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์

5.ระบบปฏิบัติการเครือข่ายคืออะไร

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS)

เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส จะแตกต่างในส่วนของการเพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) คือ การจัดการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลแอนด์ เช่น การประมวลผล และการติดต่อกับผู้ใช้

โปรแกรมนี้ เป็น โปรแกรม FTP Client ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย กลุ่มนักพัฒนาโปรแกรม แบบ OpenSource ดังนั้น โปรแกรม FileZilla นี้ท่านสามารถ นำไปใช้กันโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นครับ นอกจากที่จะฟรี แล้ว โปรแกรม FTP นี้ยังมาพร้อมกับความสามารถ ที่พิเศษ และไม่ธรรมดาอีกมากมาย

โปรแกรม FTP นี้สนับสนุนทั้งการส่งไฟล์ (Upload) หรือ ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จากเครื่องลูกข่าย (Client) สู่เครื่องเซิฟเวอร์ แม่ข่าย (Server) และเป็น โปรแกรม FTP ที่มีระบบ ตรวจสอบการรับส่งข้อมูล ว่ามีปัญหาหรือไม่ หรือที่เรียกว่าระบบ TimeOut Detection และสนับสนุนระบบ Firewall และโปรโตคอล ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (Security) มากมาย อาทิเช่น SSL, SFTP และ การใช้งานนั้น ก็สามารถใช้งานได้ง่ายแสนง่าย โดยหลักการเป็น Drag & Drop เป็นหลัก ง่ายมากๆ ครับ …

Features (คุณสมบัติและความสามารของ โปรแกรม FTP นามว่า FileZilla) :
– โปรแกรมรับส่งไฟล์ ที่มีขนาดเล็กมากๆ (มีขนาดไม่ถึง 5 MB.) กินทรัพยากรเครื่องน้อย
– สนับสนุนการลากแล้ววาง (Drag-and-Drop) ไม่ว่าจะจากในตัวโปรแกรม FTP นี้เอง หรือ จาก Windows Explorer ด้านนอก ก็สามารถลากเข้ามาได้เช่นกัน
– สามารถส่งออกข้อมูล รายละเอียดของ FTP Site เพื่อนำไปใส่ใน โปรแกรม FileZilla ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องอื่นๆ ได้ ในกรณีที่คุณใช้คอมพิวเตอร์หลายเครื่อง
– มีระบบเชื่อมต่ออัตโนมัติ ในกรณีที่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหลุด
– มีระบบ Quick Connect หรือ เชื่อมต่อแบบเร่งด่วน ใส่ค่าต่างๆ อาทิเช่นโฮสท์ ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน จากแท็บด้านบนของโปรแกรมแล้วกดปุ่ม QuickConnect ได้เลย ลดเวลาการ- กรอกรายละเอียดเชื่อมต่อ ปลอดภัย เพราะจไม่เซฟรายละเอียดเอาไว้เลย หากกดปุ่ม Clear History
– สามารถแบ่งการเชื่อมต่อออกเป็นแท็บ (Tab Connection) ได้ ไม่ต้องเปิดทีละหลายๆ หน้าต่าง ในกรณีที่ต้องการ รับส่งไฟล์ พร้อมกันในหลายๆ เครื่องเซิฟเวอร์ ลักษณะเหมือนเว็บเบราว์เซอร์ชั้นนำในปัจจุบัน
– มีระบบการแจ้งเตือนอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ โดยอัตโนมัติ
– เป็นโปรแกรม FTP ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก ในปัจจุบัน
– และอื่นๆ อีกมากมาย

  1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น

7.ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

  1. ภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

ภาษาคอมพิวเตอร์
มนุษย์ ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน  กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)
          1  ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การ เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียน โปรแกรมใหม่ทั้งหมด

        2  ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)

เนื่อง จากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ  ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่ง เป็นตัวเลขล้วน ดังตารางแสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวน ที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ

ตารางที่ 5.1 แสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง
ภาษาระดับต่ำ    ภาษาเครื่อง    รหัสเลขฐานสิบหก
MOV   AL,05    10110000     00000101    B0     05
MOV   BL,08    10110011     00001000    B3     08
ADD   AL,BL    00000000     11011000    00     D8
MOV   CL,AL    10001000     11000001    88     C1
จาก ตารางบรรทัดแรก 10110000 00000101 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 5 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00000101) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ AL โดยส่วนแรก 10110000 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่ สอง 10110011 00001000 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 8 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00001000) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ BL โดยส่วนแรก 10110011 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ BL
บรรทัดที่สาม เป็นคำสั่งการบวกระหว่างรีจิสเตอร์ AL กับ BL หรือนำ 5 บวก 8 ผลลัพธ์เก็บในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สี่ เป็นการนำผลลัพธ์จากรีจิสเตอร์ชื่อ AL ไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ชื่อ CL
การ ใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า “แอสเซมเบลอร์” (Assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซ มบลีของเครื่องชนิดอื่น ๆ ได้ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง ละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์

3  ภาษาระดับสูง (High Level Language)

ภาษา ระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอ สเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปล ภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่
    1)  ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัด เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียน โปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครง สร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้
    2)  ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็น ภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและ รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3)  ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็น ภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอน เขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
นอก จากนี้    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน    ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา    ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
    4) ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้ง ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์
     5)  ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษา ซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้า ไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอก จากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า “ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)
    6)  ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็น ภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก  ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม   แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
7)  การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษา นี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
     8)  ภาษาจาวา (Java)
พัฒนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบ ปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอก จากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งาน ระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า “แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้
    9)  ภาษาเดลฟาย (Delphi)
เป็น ภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิ ชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล  ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้ งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม
4.  ภาษาระดับสูงมาก

เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย

  1. ภาษาธรรมชาต

เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย

ตัวอย่างภาษาในยุคต่างๆ ดังนี้

Fortran : ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด

Colbol : ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

Basic : ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา

Pascal : เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย

Ada : ภาษามาตรฐาน ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โปรแกรมเมอร์คนแรก คือ เคาต์ Add Lovelace เป็นภาษาที่ประสบความเร็จกับงานด้านธุรกิจ

C : ภาษาสมับใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฎิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง

ALGOL : เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์

LISP : เป็นภาษาที่ใช้เมื่อประมวลผลด้านสัญลักษณ์, อักขระ,หรือคำต่างๆ ซึ่งเป็นการได้ตอบระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ภาษานี้นิยมใช้เขียนโปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์

Prolog : เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งแทนการใช้ภาษาLISP

PL/1 : เป็นภาษาที่เรียนรู้ง่าย ใช้งานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านธุรกิจ ดังนั้นภาษานี้จะมีขนาดใหญ่ มี option มาก

ALP : เป็นภาษที่เหมาะสมกับการทำตาราง มีสัญลักษณ์ต่างๆ มาก

Logo : เป็นภาษาย่อยของ lisp เป็นโปรแกรมสำหรับเด็ก มีการสนทนาโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้ “เต่า” เป็นสัญลักษณ์โต้ตอบกับคำสั่งง่ายเช่น forward, left

Pilot : เป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดในการเขียนโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน(CAI) เช่น งานเกี่ยวกับคำสั่ง ฝึกหัด การทดสอบ เป็นต้น

Smalltalk : เป็นภาษาเชิงโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยการจำ และการพิมพ์ เป็นภาษาที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ภาพ เป็นภาษาเชิงวัตถุไม่ใช่เชิงกระบวนการ

Forth : เป็นภาษาสำหรับงานควบคุมแบบทันที เช่นการแนะนำกล้องดาราศาสตร์ และเป็นภาษาโปรแกรมที่มีความเร็วสูง

Modula-2 : คล้ายคลึงกับภาษาปาสคาล ออกแบบมาเพื่อให้เขียนซอฟต์แวร์ระบบ

RPG : เป็นภาษาเชิงปัญหา ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาการทำรายงานเชิงธุรกิจ เช่น การปรับปรุงแฟ้มข้อมูล

……………….

  การทำงานของโปรแกรมแปลภาษา
ใน การประมวลผลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง จำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็น ภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1)  คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็น โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า “โปรแกรมต้นฉบับ” (Source Program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (Object Program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรม และสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีก โดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี
2)  อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
เป็น โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นโปรแกรม ภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือถ้านำโปรแกรมนั้นมาใช้งานอีกจะต้องทำการแปล โปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

9.ภาษาขั้นสูง คืออะไร ยกตัวอย่างประกอบ

ภาษาระดับสูง (High Level Language)
เป็นภาษาที่ใช้ง่ายขึ้นกว่าภาษาสัญลักษณ์ โดยผู้คิดค้นภาษาได้ออกแบบคำสั่ง ไวยากรณ์ และกฏเกณฑ์ต่างๆ ออกมาให้รัดกุม และจำได้ง่าย ภาษาระดับสูงนี้ยังอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น
ประเภทที่เหมาะกับงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ได้แก่ ภาษา Fortran ภาษา BASIC ภาษา PASCAL ภาษา C
ประเภทที่เหมาะกับงานธุรกิจได้แก่ ภาษา COBOL ภาษา RPG
ประเภทที่เหมาะกับงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ได้แก่ ภาษา Cโปรแกรมที่จัดทำขึ้นโดยใช้ภาษาระดับนี้ก็เช่นเดียวกับโปรแกรมภาษาสัญลักษณ์คือ จะต้องใช้ตัวแปลภาษาแปลให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานให้ได้
ตัวอย่างภาษาระดับสูง

1. ภาษาเบสิค (BASIC ย่อมาจาก Beginnig’s All Purpose Symbolic Instruction Code) เป็นภาษาที่นิยมมากที่สุดภาษาหนึ่ง ส่วนมากใช้กับมินิและไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะสื่อสารโต้ตอบได้ทันที (Interactive language) การเขียนค่อนข้างง่าย การแก้ไขโปรแกรมก็สะดวก ภาษานี้จะต้องใช้ตัวแปลประเภท “ตัวแปลคำสั่ง” (Interpreter) แปลให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลนั้นจะแปลทีละคำสั่ง แล้วปฏิบัติการตามคำสั่งเลย ถ้ามีการสั่งให้ทำซ้ำ ก็จะต้องแปลใหม่ทุกครั้ง
ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่เก่าแก่และได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนและใช้นักวิชาการคอมพิวเตอร์เองไม่ชอบภาษานี้ และกล่าวหาว่าเป็นภาษาที่มีโครงสร้างภาษาไม่ค่อยดีจึงไม่ส่งเสริมให้นำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์เห็นไม่ตรงกัน คือคิดว่าเป็นภาษาที่ง่าย ดังนั้นจึงบรรจุตัวแปลภาษานี้เอาไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อให้ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ใช้ภาษานี้ได้
2. ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN คำนี้ย่อมาจาก Formular Translator) เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 โดยบริษัท IBM ได้ว่าจ้างให้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ภาษานี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาตลอดจาก FORTRAN I จนมาเป็น FORTRAN 77 ภาษานี้เหมาะกับงานคำนวณมาก จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวิศวกร นักสถิติและนักวิจัย ในการคำนวณจะมีฟังก์ชันต่างๆ ไว้ให้เรียกใช้ได้เต็มที่ เช่น การหารากที่สอง การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น แต่ไม่สามารถสั่งพิมพ์ผลหรือรายงานได้ดีเหมือนภาษาโคบอล

ขั้นตอนวิธี (Algorithm)

ขั้นตอนวิธี คือ กระบวนวิธีการ (procedure) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของกฎเกณฑ์ ข้อกำหนดเฉพาะที่ไม่สับสน กำหนดถึงลำดับของวิธีการ(operations) ซึ่งให้ผลลัพธ์สำหรับปัญหาต่าง ๆ ในรูปของขั้นตอนที่มีจำนวนจำกัด
โดยทั่วไป ขั้นตอนวิธี จะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ (iterate) หรือ เวียนเกิด (recursive) โดยใช้ตรรกะ (logic) และ/หรือ ในการเปรียบเทียบ (comparison) ในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน
ในการทำงานอย่างเดียวกัน เราอาจจะเลือกขั้นตอนวิธีที่ต่างกันเพื่อแก้ปัญหาได้ โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ และจะมีความแตกต่าง ที่จำนวนและชุดคำสั่งที่ใช้ต่างกันซึ่งส่งผลให้ เวลา (time) และขนาดหน่วยความจำ (space) ที่ต้องการต่างกัน หรือเรียกได้อีกอย่างว่ามีความซับซ้อน (complexity) ต่างกัน
การนำขั้นตอนวิธีไปใช้ ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้เช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้า, การทำงานเครื่องจักรกล, หรือแม้กระทั่งปัญหาในธรรมชาติ เช่น วิธีของสมองมนุษย์ในการคิดเลข หรือวิธีการขนอาหารของแมลง

คุณสมบัติของขั้นตอนวิธี
1. ขั้นตอนวิธีเป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นมาจากกลุ่มของกฎเกณฑ์ อาจอยู่ในรูปแบบประโยคภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์หรือคำสั่งจำลอง
2. กฎเกณฑ์ที่สร้างขั้นตอนวิธีจะต้องไม่คลุมเครือ(definiteness)
3. การประมวลผล operations ที่กำหนดโดยกฎเกณฑ์จะต้องเป็นลำดับที่แน่นอน(effectiveness)
4. กระบวนวิธีการต้องให้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดในปัญหา โดยออกแบบให้อยู่ในรูปแบบทั่วไป (generality)
5. ขั้นตอนวิธีต้องอยู่ในรูปของขั้นตอนวิธีการที่มีการสิ้นสุดได้(finiteness)

ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
1. เข้าใจปัญหา
2. วางแผนลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหา
3. เขียนโปรแกรม
4. แปลงโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง
5. ทดสอบโปรแกรม
6. นำโปรแกรมไปใช้

 10.จงบอกวิธีการเลือกซื้อซอฟต์แวร์

เนื่องจากในปัจจุบันซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มีมาให้เลือกใช้อย่างมากมาย แต่เนื่องจากว่ามีราคาที่ค่อนข้างสูง หากเราต้องการที่จะได้มาใช้งานจริง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาถึงรายละเอียดต่าง ๆ ด้วยว่าเหมาะสมกับลักษณะงานหรือไม่ เช่น บางโปรแกรมมีการออกแบบมาให้ใช้งานหลายส่วน ซึ่งหากนำมาใช้ในธุรกิจของคุณแล้วค่อนข้างที่จะมากเกินความจำเป็นก็ไม่น่า ใช้งาน หรือ ขาดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ขาดทีมงานบริการหลังการขาย คือ ขายแล้วขายเลย ไม่มาดูดำดูดีกันอีก อย่างนี้ถึงถูกแค่ไหนก็ไม่น่าซื้อมาใช้งาน ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวใด ก็ขอให้พิจารณาถึงหลักการคร่าว ๆ เป็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้

ข้อควรพิจารณาสำหรับการเลือกซอฟต์แวร์เพื่อใช้งาน

ข้อ 1 มีซอฟต์แวร์ทดลองใช้งานหรือไม่
ค่อน ข้างถือเป็นอันดับแรกในการเลือกซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานกับธุรกิจของคุณ เนื่องจากการได้ทดลองใช้งานถือเป็นทางเลือกในการทดสอบและทดลองซอฟต์แวร์ว่า เหมาะกับธุรกิจหรือไม่ อีกประการคือถือเป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตด้วยว่าใช้งานได้จริงตาม ที่โฆษณาไว้หรือไม่ ถ้าหากดีจริงก็ค่อยซื้อมาใช้งาน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อโปรแกรมทันทีหลังจากที่ดูจากการสาธิตเพราะการสาธิต นั้นจะยกเอาเฉพาะข้อดีของโปรแกรมมาให้ และค่อนข้างเป็นการทำงานที่หลอกตาเนื่องจากยังไม่มีการป้อนข้อมูลจริงลงไป บางบริษัทอาจบอกว่าไม่มีนโยบายเพราะกลัวลูกค้าใช้งานไม่เป็นก็ให้บอกปัดไป ได้เลย แหม ถ้าเราเอามาลองใช้เองไม่เป็นแล้วจะเอามาให้ทำไม อย่างน้อยที่สุดในแต่ละโปรแกรมจะต้องมีรายการช่วยเหลืออธิบายถึงวิธีการใช้ งานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และถ้าหากซอฟต์แวร์ของบริษัทใดที่ไม่มีให้ทดลองใช้งานก็อาจต้องระแวงไว้ก่อน ว่า ซอฟต์แวร์นั้นค่อนข้างมีปัญหาในบางจุดหรือที่เรียกว่า Bug นั่นเอง

ข้อ 2 พิจารณาถึงประวัติของบริษัทในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับ การพิจารณาในจุดนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการการันตีว่า เมื่อเราซื้อสินค้าของบริษัทนี้แล้วจะได้รับการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความ สามารถใหม่ ๆ ทันยุคของโลกปัจจุบันเสมอ เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ไม่ถึง 5 ปีก็จะต้องมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ แต่หากขาดบริษัทที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว เราก็จะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ตัวใหม่มาใช้งานอีก

ข้อ 3 พิจารณาถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานร่วม
โดย ส่วนใหญ่เรามักทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Windows หากซอฟต์แวร์ตัวใดที่มีการทำงานบนระบบดอส ซึ่งถือว่าล้าหลังมากก็ไม่ควรที่จะซื้อหามาใช้งานเพราะไม่รองรับกับ เทคโนโลยีที่จะมีมาในอนาคตนั่นเอง โดยเล่ห์เหลี่ยมของผู้ขายซอฟต์แวร์มักจะบอกว่าใช้ได้ทั้งดอสและ Windows แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้งานจริงใช้ได้เฉพาะระบบดอสข้อนี้จึงควรระวังก่อนการ เลือกใช้

ข้อ 4 พิจารณาถึงบริการหลังการขาย

การ พิจารณาบริการหลังการขาย ถือเป็นจุดสำคัญในการเลือกซอฟต์แวร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานบางอย่างของระบบอาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใช้งานนานวันเข้า สำหรับการทดสอบในจุดนี้ก็ทำได้ไม่ยาก ก่อนอื่นควรที่จะดูบริการก่อนการซื้อก่อนว่ามีการให้คำปรึกษาเป็นอย่างไร โทรเข้าไปสอบถาม หรือเข้าไปที่บริษัทแล้วได้รับการต้อนรับอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงของการทดลองใช้โปรแกรมหากขอรับความรู้หรือขอทราบการแก้ไข ปัญหาแล้วได้รับการแก้ไขหรือตอบรับที่ดีก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ชี้วัดต่อ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทนั้น ๆ

ข้อ 5 คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย

โดย ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาในปัจจุบันจะเขียนในลักษณะที่ค่อนข้างครอบ คลุมหลายธุรกิจให้สามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานในแต่ละส่วนแต่ละ กิจการ เราจึงควรศึกษาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าในหน่วยงานมีการใช้งานหรือไม่ ส่วนใดที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้หรือไม่ได้จะได้เป็นการลดส่วนที่ไม่จำ เป็นออกไปและค่อนข้างประหยัดงบประมาณลงไปอีก นอกจากนี้การพิจารณาเลือกหน้าจอของซอฟต์แวร์ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้อง พิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากหน้าจอที่มีสีสันฉูดฉาดบาดตา อาจดูสวยงามในช่วงแรก แต่เมื่อมีการใช้งานนานไป ก็อาจทำให้เกิดความลำบากต่อการมองหรือทำงานได้

ประเภทของซอฟต์แวร์

ปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ค่อนข้างได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการต่าง ๆ ซึ่งมีค่อนข้างหลายบริษัทที่ให้บริการในจุดนี้ เราสามารถที่จะแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาใช้งานเอง
    เป็น ซอฟต์แวร์ที่ทางบริษัทได้จ้างโปรแกรมเมอร์หรือบริษัทเข้ามารับผิดชอบกับการ เขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะบริษัทเอง ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแยกเป็นดังนี้

 ข้อดี
– ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน เนื่องจากได้มีการศึกษาถึงระบบการทำงานต่าง ๆ อย่างละเอียด
– มีความยึดหยุ่นสูงในการทำงาน สามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เหมาะสมกับระบบปัจจุบัน
ข้อเสีย
– ผู้ประกอบการต้องลงทุนในด้านค่าใช้จ่ายสูงเพื่อจ้างทีมวิศวกรหรือโปรแกรมเมอร์ในการวิเคราะห์ระบบและเขียนโปรแกรม
– ค่อนข้างใช้เวลาในการจัดทำและพัฒนาซอฟต์แวร์นาน เพื่อให้ได้ตรงตามความต้องการและสามารถประสานข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ให้เข้ากันได้ ซึ่งต้องอาศัยการทดสอบจริงและใช้ระยะเวลานาน
– ความเสียหายจากการพัฒนาไม่สำเร็จค่อนข้างสูงหากมีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมเมอร์หรือทีมงาน

  1. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package)
    ซอฟต์แวร์ สำเร็จรูป เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ของการจัดทำซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้งานเอง เนื่องจากมีให้เลือกหลากหลายบริษัทแต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนี้

ข้อดี
– สะดวกต่อการเลือกซื้อเนื่องจากมีหลายซอฟต์แวร์ในตลาดที่ผลิตออกมาแข่งขันกัน
– สามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อการติดตั้งสำเร็จ
– ประหยัดงบประมาณ เนื่องจากมีราคาค่อนข้างถูกกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์เอง
ข้อเสีย
– ต้องทำการศึกษาซอฟต์แวร์ให้เข้าใจถึงหลักการใช้งาน
– บางส่วนของการทำงานไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากไม่ตรงความต้องการ
– ไม่มีบริการหลังการขาย

  1. ซอฟต์แวร์ที่เป็นกึ่งสำเร็จรูป (Package)
    ซอฟต์แวร์ กึ่งสำเร็จรูปเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหากผู้ประกอบการต้องการใช้งานซอฟต์แวร์ ที่สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เข้ากับงานได้ โดยส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะสร้างงานที่เป็นพื้นฐานมาให้แล้วผู้ประกอบ การสามารถที่จะนำมาปรับเปลี่ยนในรายละเอียด หรือข้อมูลให้เข้ากับกิจการหรือการทำงานแต่ละส่วนได้ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะสร้างออกมาในรูปแบบนี้และหากมีบริการที่ดีก็จะ มีทีมงานเข้ามาช่วยเหลือ ในด้านการให้คำแนะนำหากเกิดปัญหาในการใช้งาน ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมากนัก

ผลเสียที่เกิดจากการเลือกซอฟต์แวร์ไม่มีคุณภาพ

สำหรับ ผู้ประกอบการที่เคยมีประสบการณ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์มาแล้วคงพอจะทราบว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่ตามมาเมื่อเลือกซอฟต์แวร์ที่ไม่ตรงกับงาน หรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงเพราะเห็นว่าซอฟต์แวร์นั้น ๆ มีราคาถูกและน่าจะศึกษาการใช้งานได้เอง ก่อเกิดผลเสียอย่างไรบ้างต่อกิจการ เช่น

  • เกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิผลต่อการทำงานในระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในฝ่ายขายและบัญชีซึ่งต้องการความฉับไว และความมีประสิทธิผล
  • ขาด โอกาสในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากขาดข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ดีโดยส่วนใหญ่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านนี้ให้
  • เพิ่มภาระในการจัดงบประมาณเพื่อการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ หรือต้องตั้งงบประมาณเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ตัว ใหม่เข้ามาใช้ในกิจการ
  • ขาดความก้าวหน้าต่อการพัฒนาระบบ เนื่องจากต้องทนใช้ซอฟต์แวร์เดิม ซึ่งไม่รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  • เสียเวลาในการเลือกซื้อซอฟต์แวร์ตัวใหม่ เนื่องจากต้องมีการคิดพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียและความเข้ากันได้กับระบบเดิม
  • กิจการหรือองค์กรขาดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจเพราะขาดเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ 

ผล เสียต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นผลเสียที่ผู้ประกอบการจะต้องชั่งใจให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ ซื้อซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ในงานหรือกิจการ เพราะค่อนข้างเป็นภาระที่หนักหากต้องซื้อซอฟต์แวร์มาแล้วไม่สามารถใช้งานให้ เกิดประโยชน์ต่อกิจการหรือองค์กรได้

 ที่มา http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson3-1.asp

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/08/web/lesson/lesson_4/lesson_1.html

 https://chanapolza50.wordpress.com/2013/06/25/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2/

 http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean7.html